มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2560 03751111 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2560
แนวทางในการพัฒนาคุณภาพประชากร - ให้การศึกษาทุกรูปแบบ - ให้บริการด้านสาธารณสุข อาหารและโภชนาการ - ควบคุมอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร - การสร้างงานและจัดสรรให้ประชากรมีงานทำ - การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมประชาธิปไตย การส่งเสริมการรวมกลุ่มทางสังคมและศาสนา
นโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรไทย - การพัฒนาอุตสาหกรรมและการจ้างงาน กระจายรายได้ การลงทุนสู่ส่วนภูมิภาค - เน้นการศึกษาภาคบังคับและฝึกอบรมการประกอบอาชีพ วางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร - นโยบายด้านการเงินและการคลัง - นโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - การสร้างเมืองใหม่ ลดความแออัดของกรุงเทพฯ
ทิศทางการพัฒนาตามแผนฯ 12
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) วัดความสำเร็จโดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศ 3 ด้านหลักคือ อายุขัย ความรู้ คุณภาพชีวิต HDI > 0.80 ถือว่า พัฒนาสูงมาก 0.70-0.79 พัฒนาสูง 0.55-0.69 พัฒนาปานกลาง < 0.55 พัฒนาต่ำ
ตัวอย่าง HDI ปี 2016 ประกาศเมื่อ 21 มี.ค. 2017 10 อันดับแรกคือ Norway(0.949), Australia, Switzerland, Germany, Denmark, Singapore Netherlands, Ireland, Iceland, Canada=US 12. Hong Kong 13. New Zealand 16. UK 17.Japan 18. South Korea 30. Brunei Darussalam 59. Malaysia 87. Thailand (0.740) สนใจ ดูเพิ่มเติมที่ http://hdr.undp.org/en/composite/HDI
วีดิทัศน์ 9 Spirit of Asia : แดนเนรมิตรบนคาบสมุทรอาหรับ youtu.be/5mXR42UTSnA เมื่อผืนทะเลทรายที่แห้งแล้งได้ถูกเนรมิตให้กลายเป็นเมืองที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ในเวลาไม่กี่ปี ดูไบ เมืองที่เติบโตอย่างไม่มีขีดจำกัด จะหลงเหลือร่องรอยอันเป็นจุดกำเนิดของการค้าโบราณให้เราได้ย้อนรอยมากน้อยแค่ไหน การเดินทางครั้งนี้ กลิ่นกำยาน รสร้อนแรงของเครื่องเทศ เย้ายวนให้เราหลงเสน่ห์อาหรับ การเนรมิตเมืองได้ในพริบตา ทั้งตึกสูงทุบสถิติโลก แผ่นดินงอกด้วยฝีมือมนุษย์ที่ดัดแต่งเป็นรูปทรงต้นปาล์ม และโชติช่วงไปด้วยบ่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ล้วนเป็นภาพความตื่นตาที่อยากไปเห็นดูไบ 1 ใน 7 ของรัฐ ที่รวมตัวเป็นชาติเดียวกันในนาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
การตั้งถิ่นฐาน วิวัฒนาการในการตั้งถิ่นฐาน ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตั้งถิ่นฐาน การตั้งถิ่นฐานเกิดขึ้น เมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว จึงเกิด การรวมกลุ่ม เพื่อตั้งบ้านเรือน และจัดการกับสิ่งรอบตัวให้เหมาะกับการดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานนั้นๆ ดังนี้
ปัจจัยทางกายภาพ - โครงสร้างและระดับความสูงของพื้นที่ ที่ราบ เพาะปลูกสะดวก กว้างขวาง อุดมสมบูรณ์ ภูเขา ปลอดภัยจากการรุกราน ต้องเลือกด้านที่เหมาะสม - อากาศ อุณหภูมิ ความชื้น - น้ำ ปริมาณน้ำฝน แหล่งน้ำ น้ำบาดาล
ปัจจัยทางวัฒนธรรม - ภาษา โดยเฉพาะภาษาพูด - ศาสนา อาจมีอิทธิพลต่อการเกษตรกรรม เศรษฐกิจ การบริโภค - การเมือง กฎหมาย ที่ดิน สัมปทาน อุทยาน
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ - การเพาะปลูก การทำไร่เลื่อนลอย ไร่นาสวนผสม - การเลี้ยงสัตว์ ไว้บริโภค ใช้งาน ขาย - อุตสาหกรรม เกิดชุมชนเมือง
ลักษณะของการตั้งถิ่นฐาน การตั้งถิ่นฐานในเมือง เป็น “เมือง” หรือไม่ พิจารณาจาก - จำนวนประชากร - ความหนาแน่นของประชากร - อาชีพของประชากร - การใช้ที่ดิน
การใช้ที่ดิน ดูได้ในผังเมืองรวมจังหวัดต่าง ๆ - ที่อยู่อาศัย - พาณิชยกรรม - อุตสาหกรรม - เกษตรกรรม - ที่โล่งเพื่อนันทนาการและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม - สถาบันศึกษา - สถาบันศาสนา - สถาบันราชการ
การตั้งถิ่นฐานในชนบท (นอกเขตเทศบาล) - การตั้งถิ่นฐานแบบรวมกลุ่ม เพื่อจะได้อยู่ในสังคมใกล้ชิดกัน อาจจะมีวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะการเกษตร แหล่งน้ำ การป้องกันอันตราย - การตั้งถิ่นฐานแบบกระจาย พบบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ เกษตรกรเป็นเจ้าของที่ดินผืนใหญ่ มีจุดอ่อนคือ สาธารณูปโภคจัดการได้ยาก ลงทุนสูง
วีดิทัศน์ 10 Spirit of Asia : เมืองผลไม้ของคนปลายน้ำ youtu.be/bHDFFmCkp04 ที่ปลายสายของลุ่มน้ำโขง ตกตะกอนพิษภัยจากธรรมชาติและน้ำมือคน การรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้พวกเขาต้องปรับตัวและเริ่มวิถีชีวิตใหม่ พื้นที่ปลายสายของลุ่มน้ำโขงก่อนออกสู่ทะเลเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์จากการชะล้างแร่ธาตุตามลำน้ำไหลรวมลงมา แต่อุปสรรคของพื้นที่ใกล้ทะเลก็ยังคงมี ระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นทุกปีทำให้พวกเขาชาวเกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนอาชีพ ทำให้วิถีดั้งเดิมเริ่มจางหาย