Supply Chain Information Systems (SCIS)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
Advertisements

บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
บทที่5 การควบคุมการผลิตและต้นทุนการผลิต
จัดทำโดย ด. ญ. ดลยา มณีขัติย์ ชั้น ม.1/12 เลขที่ 18 ด. ญ. ณัฐธิดา วันเวียง ชั้น ม.1/12 เลขที่ 19 เสนอ อาจารย์ อรอุมา พงค์ธัญญะดิลก.
อัตราบรรจุ ข้าราชการ 2625 พนักงานราชการ 99 ลูกจ้างประจำ 77 รวม 4241 อัตราว่าง จำนวน 1 อัตรา ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ มาช่วย ราชการ น. ส. สุริยา.
ผู้รับผิดชอบ ผลผลิต ฝ่ายบริหารทั่วไป
Chapter I พฤติกรรมผู้บริโภค.
ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
LOGO การคำนวณต้นทุนผลผลิต ของปีงบประมาณ 2553 โดย นายธีรชาติ พันธุ์หอม หัวหน้าฝ่ายแผนงานและ งบประมาณด้านก่อสร้าง คณะทำงานต้นทุนผลผลิตสำนัก ชลประทานที่ 11.
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
LOGO แนวคิดเกี่ยวกับระบบ สารสนเทศ นางสาวกนกรัตน์ นพ โสภณ SMET
โปรแกรมสต๊อกสินค้า และ โปรแกรมขายหน้าร้าน Nanosoft Smart INV.NET วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปและการ ประยุกต์ใช้งาน อ. วิสุตร์ เพชรรัตน์
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ Introduction to Information.
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
ประเภทของ CRM. OPERATIONAL CRM เป็น CRM ที่ให้การสนับสนุนแก่กระบวนการธุรกิจ ที่เป็น “FRONT OFFICE” ต่างๆ อาทิ การขาย การตลาด และการ ให้บริการ SALES FORCE.
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
รายชื่อกลุ่ม 1.นางสาว ศลัญญากรณ์ ศิลป์มณีโชค (พลอย) ปวส. 2/6 รหัส สาขาโลจิสติกส์ 2.นางสาว พรพรรณ หมอนสวัสดิ์ (มุก) ปวส. 2/6 รหัส สาขาโลจิสติกส์
ระบบบัญชาการในสถานการณ์ Incident Command System: ICS
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
นำเสนอวิธีปฏิบัติที่ดี ด้านกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
รายชื่อกลุ่ม 1.น.ส.อริศรา มีตัน ปวส. 2/6 รหัส น.ส.พรพรรณ หมอนสวัสดิ์ ปวส. 2/6 รหัส น.ส.ศลัญญากรณ์ ศิลป์มณีโชค ปวส. 2/6 รหัส
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
การจัดหาพัสดุในส่วนของรายจ่ายลงทุนในภาพรวม ประจำเดือนมิถุนายน 2561
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
บทที่ 3 แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บทที่ 5 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Chapter 3 Executive Information Systems : EIS
ฝ่ายการดำเนินงานในโรงแรม
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
การประเมินคุณภาพการศึกษา สำนักงานอธิการบดี
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
KMA หมวด 6 การจัดการกระบวนการ.
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
รูปแบบ และ ประโยชน์การขายสินค้าออนไลน์
แผนการตลาดสำหรับ [ชื่อผลิตภัณฑ์]
Integrated Information Technology
SMS News Distribute Service
รายวิชา การบริหารการศึกษา
เราคือ ‘One PPG’ We protect and beautify the world วัตถุประสงค์ของเรา
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
โครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
บทที่ 7 การบริหารงานขนส่ง ( Transportation Management System : TMS )
การวางแผนกำลังการผลิต
Supply Chain Management
การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ (ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์)
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation : OA)
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
8/26/2019 ชื่อบริษัท แผนธุรกิจ.
อ. อรนพัฒน์ เหมือนเผ่าพงษ์ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
การขายและการตลาดสำหรับธุรกิจโรงแรมและที่พัก
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
Transportation Management System ( TMS )
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Supply Chain Information Systems (SCIS) จัดทำโดย 1. นางสาวจินตนาพร คำแปงไชย 5506105007 2. นางสาวรักษ์สุดา ปัญญาทิพย์ 5506105036 3. นายวันชนะ สายปะละ 5506105042 4. นางสาววารุณี แก้วเทพ 5506105043 5. นายสุธิพงษ์ โมทารัตน์ 5506105050

Supply chain information systems (SCIS)

introduction ในโลกของธุรกิจ ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ต้องมีการวางแผนนำเอา เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในองค์การ โดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์ได้มีการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งLambert et al.(1998) ได้กล่าวว่า กิจกรรมของโลจิสติกส์ประกอบด้วยการบริการลูกค้า การจัดการคำสั่งซื้อของลูกค้า การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าการจัดซื้อ การบริหารสินค้าคงคลัง การบริการขนส่ง การบริหารคลังสินค้า และการจัดเก็บ การจัดการโลจิสติกส์แบบย้อนกลับ กาจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่าง ๆ การเลือกที่ตั้งโรงงาน และคลังสินค้า การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและสินค้า การบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ การสื่อสารในการกระจายสินค้า และการกำจัดของเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ Reference : http://logisticscorner.com

Supply Chain Information Systems (SCIS) - ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange System: EDI) - ระบบบาร์โค้ด (Barcode System) - รหัสบ่งชี้โดยใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Identification: RFID) - ระบบกำหนดพิกัดที่ตั้งดาวเทียม (Global Positioning System: GPS) - ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-commerce - การวางแผนทรัพยากรองค์การโดยรวม (Enterprise Resource Planning: ERP) - ระบบการจัดการคลังสินค้า(Warehouse Management System: WMS) - ระบบการจัดการการขนส่ง (Transportation Management System: TMS)

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange System: EDI) เป็นระบบเทคโนโลยีที่มีการแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้า 2 ฝ่ายในรูปแบบมาตรฐานสากลจากคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยจะมีการใช้เอกสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์มาแทนเอกสารที่เป็นกระดาษ เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า บัญชีราคาสินค้า ใบส่งของ รายงาน เป็นต้น ภายใต้มาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้เอกสารมีการแลกเปลี่ยนกันได้

ประโยชน์ของ EDI 1. ช่วยลดข้อผิดพลาด จากการบันทึกข้อมูลเข้าระบบ 1. ช่วยลดข้อผิดพลาด จากการบันทึกข้อมูลเข้าระบบ 2. ช่วยลดงบประมาณ ในเรื่องของเอกสาร 3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน สามารถทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องโต้ตอบ กับคู่ค้าได้อย่างรวดเร็วซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพที่ดี ในการทำงานทั้ง 2 ฝ่าย 4. ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันองค์การที่มีการนำ EDI มาใช้ สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ทำให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขันมากกว่าคู่แข่งขัน

ระบบบาร์โค้ด (Barcode System) บาร์โค้ดหรือรหัสแท่งเป็นระบบบ่งชี้ที่มีการนำมาใช้งานมากที่สุดเมื่อ เทียบกับระบบอื่น ๆ เนื่องจากเป็นที่นิยมในการติดบนตัวสินค้า เพื่อต้องการทราบรหัสหมายเลขประจำตัว อันจะส่งผลให้กิจการทราบข้อมูลอื่น ๆ ของสินค้าได้รวดเร็ว เช่น ยอดขาย จำนวนสินค้าที่ขาย จำนวนสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น

ประโยชน์ของบาร์โค้ด 1. ทำให้กระบวนการทำงานที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลสินค้า สามารถทำได้อย่าง รวดเร็ว ถูกต้องมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้ซื้อ และผู้ให้บริการ โลจิสติกส์สามารถใช้รหัสบาร์โค้ดทำธุรกรรมร่วมกันได้ 2. คู่ค้าทุกระดับตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ลดระยะ เวลาและปัญหาที่อาจเกิดจากข้อผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลตัวสินค้าได้

ประโยชน์ของบาร์โค้ด (ต่อ) ประโยชน์ของบาร์โค้ด (ต่อ) 3. สามารถต่อยอดขีดความสามารถทางด้านโลจิสสติกส์ด้านอื่น ๆ เช่น ระบบ บริหารคลังสินค้า ระบบการจัดซื้อ ระบบขนส่งสินค้า เป็นต้น 4. สามารถใช้โปรแกรมระบบการจัดการโลจิสติกส์สมัยใหม่ได้ เช่น Cross-Docking, Just-in-Time (JIT), Vendor Managed Inventory(VMI) 5. สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับของสินค้า (Traceability) ทำให้ทราบว่าสินค้านั้นมีแหล่งวัตถุดิบ หรือแหล่งผลิตจากที่ใดตลอดทั้งระบบห่วงโซ่อุปทาน

รหัสบ่งชี้โดยใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Identification: RFID) ด้วยเทคโนโลยีที่ระบุตำแหน่งของวัตถุ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น ด้วยคลื่นของความถี่วิทยุ โดยมีการติดป้าย (RFID Tag) ที่วัตถุเหล่านั้น นอกจากนี้ RFID จะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่ บาร์โค้ดในอนาคต เนื่องจากมีความสะดวก และประสิทธิภาพการใช้งานดีกว่า แต่เนื่องจาก RFID ยังมีราคาสูงจึงทำให้บาร์โค้ด ยังคงได้รับความนิยมอยู่ อย่างไรก็ตาม การนำระบบ RFID มาใช้ผู้บริหารต้องคำนึง ถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ของการใช้งาน เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระเบียบการใช้คลื่น ความถี่วิทยุและกำลังส่งของแต่งประเทศ หรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าใน สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ของการใช้งาน เป็นต้น

ประโยชน์ของ RFID ความถูกต้องมีค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 99.5 แต่การอ่านจาก บาร์โค้ดอยู่ที่ร้อยละ 80 ความละเอียด และสามารถบรรจุข้อมูลได้มาก ซึ่ง สามารถแยกความแตกต่าง ของสินค้าแต่ละชิ้นได้ แม้เป็นสินค้า (Stock Keeping Unit : SKU) ชนิดเดียวกัน สามารถอ่านข้อมูลสินค้าจากแถบ RFID ได้พร้อมกัน จำนวนมาก ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแถบ RFID เร็วกว่าการอ่านแถบจากบาร์โค้ด Reference : http://www.vcharkarn.com

ประโยชน์ของ RFID (ต่อ) สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องอ่านได้โดยไม่จำเป็นต้องนำข้อมูลให้ใกล้ เหมือนกับ บาร์โค้ด สามารถเขียนข้อมูลได้ จึงสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ทำให้ลดต้นทุนการผลิตป้ายสินค้า สามารถขจัดปัญหาการอ่านข้อมูลซ้ำ ที่อาจเกิดขึ้นจาก ระบบบาร์โค้ด ระบบความปลอดภัยสูง ยากต่อการเปลี่ยนแปลงและลอกเลียนแบบ

(Radio Frequency Identification: RFID) Video RFID

ระบบกำหนดพิกัดที่ตั้งดาวเทียม (Global Positioning System: GPS)

ระบบกำหนดพิกัดที่ตั้งดาวเทียม (Global Positioning System: GPS) เป็นระบบติดตามยานพาหนะแบบเรียลไทม์ที่ใช้กันอย่าง แพร่หลายในส่วนของงานการขนส่งสินค้าของธุรกิจ ซึ่งผู้บริหาร อาจพบผู้ปฏิบัติงานมีการทำงานที่ไม่เป็นไปตามแผนงานของ องค์การ เช่น มีการจัดส่งสินค้าล่าช้า มีการขนส่งสินค้าน้อยกว่า เป้าหมาย มีการเบิกค่าน้ำมันมากกว่าปกติ มีการนำรถของธุรกิจ ไปใช้ในงานส่วนตัว เป็นต้น ซึ่งในอดีตจะไม่สามารถตรวจสอบ พฤติกรรมเหล่านี้ได้

ทั้งนี้ จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ GPS อยู่กับตัวรถบรรทุก สินค้า หรืออาจติดอยู่กับตัวตู้บรรทุกสินค้าเพื่อแสดงตำแหน่งที่ตั้ง ของรถบรรทุกหรือตู้บรรทุกสินค้า เพื่อควบคุมให้พนักงานขับรถ ปฏิบัติ งานอยู่ในขอบเขตภารกิจขององค์การ การใช้เทคโนโลยี ผ่าน ดาวเทียมทำให้สามารถทราบตำแหน่งยานพาหนะได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ด้วยสัญญาณผ่านดาวเทียม และสัญญาณโทรศัพท์ GSM และมีการส่งข้อความผ่านทางเครือขายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถแสดง ลักษณะการทำงานของ GPS

ประโยชน์ของ (Global Positioning System: GPS) 1. ทราบถึงปัจจุบัน สถานะต่างๆของสิ่งที่เราต้องการติดตามไม่ว่าจะเป็นคน หรือ ยานพาหนะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญ เช่น ตำแหน่งในปัจจุบัน  2. ทราบถึงอดีต รายงานย้อนหลัง หลายๆอย่างในระบบยานพาหนะได้ เช่น การคำนวณการ ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อวัน ระยะทางที่วิ่งต่อวัน 3. เพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง เนื่องจากในหลาย ๆ ผู้ผลิต Tracking GPs เราสามารถ ทราบตำแหน่งและความเร็วของยานพาหนะเราในปัจจุบัน ได้ ทำให้สามารถเตือนผู้ขับขี่ ได้เมื่อมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ   

ประโยชน์ของ (Global Positioning System: GPS) 4. วางแผนเส้นทางทำงานล่วงหน้า ระบบสามารถวางแผนไว้ล่วงหน้าก่อนการเดิน ทางจะมาถึง และระบบสามารถ วิเคราะห์แจ้งเตือนเมื่อมีการทำงานนอกแผน ที่วางไว้ 5. ลดการทุจริต ระบบติดตามยานพาหนะ สามารถตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิง และสรุปการจอดของยาน พาหนะทั้งหมดได้ ซึ่งเป็นข้อมูลอย่างดีในกรณี การ ขโมยน้ำมันเชื้อเพลิง หรือแอบขายอะไหล่ได้ GPS

ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-commerce         Electronic Commerce หรือ E-Commerce คือการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยส่งข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเครือข่าย เช่น Internet ถ้าผู้ใช้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ คู่สายโทรศัพท์ โมเดม และเป็นสมาชิกของบริการ Internet ก็สามารถทำการค้าผ่านระบบเครือข่ายได้        E-Commerce เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี Internet กับการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยสามารถนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าหรือบริการผ่านทาง Internet สู่คนทั่วโลกภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้การดำเนินการซื้อขายอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น Reference : http://nrctnew.nrct.go.th

ประเภทของอีคอมเมิร์ซ (1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) (2) ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) (3) ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) (4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) (5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้

ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซ (1) ช่วยให้การทำธุรกรรม (Business Transaction) และกระบวนการทำงาน (Work Process) ขององค์กร ง่ายและเป็นไปโดยอัตโนมัติ (2) ช่วยให้การบริการรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้สูง  (3) ใช้ในการให้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นแก่ลูกค้าหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทาน ทำให้สามารถประสานกันได้ง่าย ลดความผิดพลาด (4) ลดช่องว่างทางการแข่งขันระหว่างองค์กรขนาดใหญ่และขนาดเล็ก (5) สร้างช่องทางการขายและการจัดจำหน่ายมากขึ้น (6) เพิ่มความสะดวกและความพึงพอใจแก่ลูกค้า (7) ลดต้นทุนในการดำเนินการสื่อสารทางธุรกิจ ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงาน (8) เพิ่มช่องทางในการขยายตลาด ระบบร้านค้าออนไลน์สามารถทำให้ลูกค้า สามารถซื้อสินค้าหรือบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

การวางแผนทรัพยากรองค์การโดยรวม (Enterprise Resource Planning: ERP) ธุรกิจมีการใช้ทรัพยากรทางการจัดการ ประกอบด้วย คน เครื่องจักร วัตถุดิบ เงิน และการจัดการ เพื่อทำให้การผลิต สินค้า และบริการ มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อย่างมีประสิทธิภาพอันจะ ทำให้เกิดประสิทธิผล ที่ดี และสามารถสร้างผลประโยชน์สูงสุดแก่ องค์การได้

1. ชุดการทำงานทางการเงิน (Financial Modules) ชุด การทำงานนี้ทำให้เห็นภาพรวมทางบัญชีและการเงิน สามารถสร้าง รายงานได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ชุดการทำงานทางการเงินแยกออกเป็นชุดหลักๆ อีก คือ 1.1) ชุดบัญชีการเงิน มีชุดทำงานย่อย เช่น บัญชีแยกประเภท บัญชีลูกหนี้การค้า บัญชีเจ้าหนี้ บัญชีสินทรัพย์ การรวมบัญชีจาก บริษัทในเครือ เป็นต้น

1. ชุดการทำงานทางการเงิน (ต่อ) 1.2) ชุดการควบคุม เป็นชุดการทำงานที่ สัมพันธ์กับต้นทุนฐานกิจกรรม การควบคุมต้นทุนการผลิตและ สินค้าสำเร็จรูป การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร 1.3) ชุด ควบคุมองค์การ เป็นชุดที่ใช้ติดตามปัจจัยความสำเร็จ และจุด สำคัญที่ต้องมีการควบคุม เช่น ระบบ การรวบรวมการจัดการ บัญชีศูนย์กลางกำไร ข้อมูลของผู้บริหาร เป็นต้น 1.4) การ จัดการเงินลงทุน เป็นชุดทำงานเพื่อวางแผนและจัดการโครงการ เงินลงทุนและงบประมาณและจัดการทรัพย์สินที่มีตัวตน

2. ชุดการทำงานระบบทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Modules) ชุดการทำงานนี้สามารถจัดการทรัพยากร มนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การสรรหาบุคคลจนถึงการประเมิน ผลงาน การจ่ายเงินเดือน การฝึกอบรม ชุดการทำงานระบบ ทรัพยากรมนุษย์มีการแยกออกเป็นชุดหลักๆ คือ 2.1) การบริหาร งานบุคคล เป็นชุดการทำงาน ที่ใช้สำหรับการวางแผนกำลังคน การ รับสมัคร บุคลากร การจัดการเวลา และการจัดการผล ตอบแทนทั้ง ค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส ฯลฯ 2.2) การพัฒนาบุคลากร เป็นชุด การทำงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร การจัดการองค์การ การ จัดการอบรม/สัมมนา และการวางแผนการใช้ห้องประชุม

3. ชุดการทำงานระบบโลจิสติกส์ (Logistics Modules) เป็นชุดการทำงานที่ใหญ่ที่สุดเพราะครอบคลุมระบบห่วงโซ่อุปทาน ของสินค้า ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจนถึงการจัดส่งสินค้าให้กับ ลูกค้าคนสุดท้าย ชุดการทำงานนี้จะมีความสลับซับซ้อนเพราะมี ความสัมพันธ์และเชื่อมต่อกับทุกชุดทำงาน ทั้งการเงิน การผลิต การตลาด ทรัพยากรมนุษย์ โดยโลจิสติกส์สามารถแบ่งเป็นชุดย่อย ดังนี้ 3.1) โลจิสติกส์ทั่วไป จะเกี่ยวข้องกับระบบ สารสนเทศ โลจิสติกส์ การพยากรณ์ เป็นต้น 3.2) การจัดการวัสดุจะเกี่ยวข้อง กับ ระบบการ จัดการสินค้าคงคลัง การจัดซื้อ การจัดการคลังสินค้า เป็นต้น

3. ชุดการทำงานระบบโลจิสติกส์ (Logistics Modules) 3.3) การวางแผนการผลิต จะเกี่ยวข้องกับระบบการ ประกอบตามคำสั่งซื้อ การวางแผนความต้องการกำลังการผลิต การวางแผนความต้องการวัสดุ การออกใบสั่งผลิต การวางแผน การดำเนินงานและการขาย เป็นต้น 3.4) การซ่อมบำรุงโรงงาน จะเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศซ่อมบำรุงโรงงาน การบริหารการ ซ่อมบำรุง การจัดการคำสั่งซ่อมบำรุง เป็นต้น 3.5) ระบบโครงการ จะเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศโครงการ การวางแผนโครงการ โครงสร้างการดำเนินงาน เป็นต้น 3.6) ระบบการจัดการคุณภาพ จะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลการตรวจสอบ เครื่องมือในการ วางแผน การแจ้งเตือนด้านคุณภาพ เป็นต้น 3.7) การขายและการจัดจำหน่ายสินค้า จะเกี่ยวข้องกับระบบใบเรียกเก็บเงิน การ แลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้ากับต่างประเทศ การ จัดส่ง การขาย การขนส่ง เป็นต้น

คุณสมบัติที่ดีของ ERP 1. โปรแกรมสามารถปรับตามการใช้งานของผู้ใช้ (User) เพราะเป็นระบบเปิด (Open Source) โดยปรับได้ตามความ ต้องการของผู้ใช้ 2. เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่มีชุดการทำงานหลายชุดซึ่งมี ความสามารถสูงสำหรับทำงานหลักๆ ร่วมกันของธุรกิจได้ 3. มีระบบสนับสนุนการดูแลและบำรุงรักษาระบบ 4. มีขั้นตอนและวิธีการในการติดตั้งระบบ ERP ในองค์การ ที่พร้อมและชัดเจน 5. สามารถพัฒนาในส่วนของงานที่ยังมีการใช้ระบบเดิม อยู่และสามารถใช้ข้อมูลร่วมกับโปรแกรมที่ มี อยู่ในบริษัทได้โดยการ เชื่อมโยงข้อมูล เช่น การวางแผน การบัญชีต้นทุน บัญชีเงินเดือน การส่งออก เป็นต้น

ระบบการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System: WMS) ปัจจุบันการบริหารคลังสินค้าจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีใน การปฏิบัติงาน เนื่องจากงานมีปริมาณและความซับซ้อนที่มากขึ้น โดยได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเรียกว่า ระบบการจัดการคลัง สินค้า (Warehouse Management System: WMS) ที่ถูกพัฒนา ขึ้นมาเพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานภายในคลัง สินค้าและการ บริหารสต็อกให้เป็นโดย อัตโนมัติ มีความถูกต้อง รวดเร็วและ แม่นยำ มากขึ้น สามารถดำเนินการผ่านหน้าจอ คอมพิวเตอร์ โดย ไม่จำเป็นต้องอาศัยงาน ที่ใช้กระดาษ (Paperless)

ระบบการจัดการคลังสินค้ามีความสามารถที่ช่วยแก้ไข ปัญหาโลจิสติกส์ ดังนี้ 1. การรับสินค้า (Receiving) ระบบสามารถจองพื้นที่ว่าง หรือจองพื้นที่ไว้ล่วงหน้า เพื่อช่วยในการวางแผนการจัดวางในคลัง สินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรับสินค้าโดยไม่มีการวางแผน การจัดเก็บ จะมีผลทำให้ต้นทุนของกิจการมากขึ้น เพราะต้องเสีย เวลาในการค้นหาสินค้านั้นๆ 2. การจัดเก็บ (Put Away) ระบบสามารถแนะนำตำแหน่ง ที่เหมาะสมในการจัดเก็บ และมีการยืนยันตำแหน่งที่จัดเก็บได้ อย่างถูกต้อง โปรแกรม WMS ในส่วนของการจัดเก็บ สามารถ ทำงานร่วมกับ ERP และบาร์โค้ดสแกนเนอร์ เพื่อทำให้ทราบ ตำแหน่งที่แม่นยำ และชัดเจน 3. การหยิบสินค้า (Picking) ระบบจะช่วยหาตำแหน่งของ สินค้าที่ มี การจัดเก็บไว้ได้อย่างง่าย ทำให้ผู้ปฏิบัติ งานสามารถหยิบสินค้าได้ถูกต้องและรวดเร็ว

ระบบการจัดการการขนส่ง (Transportation Management System: TMS)

2. การจัดการยานพาหนะ มีงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การ บริหารยานพาหนะ การจัดการเช่ายานพาหนะ การจัดการน้ำมัน เชื้อเพลิง การจัดการอุบัติเหตุ การจัดการบุคคล การซ่อมบำรุง ภายใน การจัดการอะไหล่ และการจัดการเรียกเก็บเงิน เป็นต้น 3. การจัดการผู้รับขน มีงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การวางแผน ขนส่ง/เวลาในการบรรทุก การจัดตารางการขนส่ง การสรรหา พนักงานขับรถ การกำหนดชั่วโมงพนักงานขับรถ การบำรุงรักษา ยานยนต์ และการสนับสนุนการขนส่งสินค้าขากลับ เป็นต้น 4. การออกแบบเครือข่าย มีงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การเลือก ทำเลที่ตั้ง การกระจายสินค้าในระดับดีที่สุด การวางแผนกำลังการ ผลิต การให้บริการคลังสินค้าแต่ละพื้นที่ให้ดีที่สุด และการประเมิน ผลกลยุทธ์โลจิสติกส์ เป็นต้น

สรุป ระบบสารสนเทศที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นเทคโนโลยีเบื้องต้นที่ผู้บริหารควรพิจารณาก่อนที่จะ เริ่มดำเนินการกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะ มี การจะเลือกเทคโนโลยี ใดๆ มาใช้ จะต้องคำนึงถึงผู้ใช้ (User) ในองค์การก่อนว่ามีความพร้อมหรือไม่ เพราะผู้ใช้ระบบต่างๆ จะ ต้องปรับตัวและประยุกต์ให้เข้ากับบริบทการทำงานของแต่ละ หน่วยงาน ซึ่งจะต้องมีความสอดคล้องกัน และเข้ากันได้ทุกหน่วย งาน มิฉะนั้นจะทำให้องค์การประสบปัญหาในการใช้เทคโนโลยีที่ ไม่เหมาะสมองค์การ

สาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555