บทที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทาน ผศ.ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์ J.chontanawat@gmail.com
ความหมายและกฎของอุปสงค์ จำนวนสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคประสงค์จะซื้อในช่วงเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆของสินค้าและบริการนั้น หรือ ณ ระดับรายได้ต่างๆของผู้บริโภค หรือ ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง
อุปสงค์ประกอบด้วย 2 เงื่อนไข ผู้บริโภคมีความสามารถที่จะซื้อ ( Ability to Pay ) ผู้บริโภคมีความเต็มใจที่จะซื้อ ( Willing to Pay ) ชนิดของอุปสงค์มี 3 ชนิด อุปสงค์ต่อราคา ( Price Demand ) อุปสงค์ต่อรายได้ ( Income Demand ) อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นหรืออุปสงค์ไขว้ ( Cross Demand )
กฎของอุปสงค์ (Law of Demand ) ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคประสงค์ที่จะซื้อย่อมแปรผันผกผันกับระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้นเสมอ ฟังก์ชันของอุปสงค์ (Demand Function) Qx = f(Px) สมการอุปสงค์ Qx = a - bPx
สาเหตุที่ปริมาณซื้อแปรผกผันกับราคาสินค้า ผลทางรายได้ ( Income Effect ) ผลทางการทดแทน ( Substitution Effect ) A B 10 5 20 50 D ราคา ปริมาณ
ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ (Demand Determinants) ราคาของสินค้า (Price) ระดับรายได้ของผู้บริโภค (Income) รสนิยมของผู้บริโภค (Tastes) ราคาสินค้าอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (Relative Price) ขนาดของประชากร (Size of Population) การคาดคะเนราคาสินค้าในอนาคต (Price Expectation)
การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์และระดับอุปสงค์ การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ (Change in demand quantity) คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อเนื่องจากราคาสินค้าเปลี่ยน โดยที่ปัจจัยอื่นคงที่ A B 10 5 100 200 D ราคา ปริมาณ
การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์และระดับอุปสงค์ (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์ (Shift in Demand Curve) คือ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์ในขณะที่ราคาสินค้าและบริการคงที่ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์ (ที่ไม่ใช่ราคาของสินค้านั้นๆ) 20 50 A B 10 D0 ราคา ปริมาณ D1
อุปสงค์ของบุคคลและอุปสงค์ของตลาด อุปสงค์ของตลาดหาได้จากการนำอุปสงค์ส่วนบุคคลในการซื้อสินค้าแต่ละชนิด ณ ระดับราคาเดียวกันมารวมกัน D2 P Q 10 Dm D1 q1 q2 Q=q1+q2
อุปสงค์ต่อราคา INDIVIDUAL DEMAND : ส่วนบุคคล FIRM DEMAND : ผู้ผลิต INDUSTRY DEMAND / MARKET DEMAND : ของอุตสาหกรรม / ตลาด AGGREGRATE DEMAND : ระบบเศรษฐกิจ / ประเทศ EXTERNAL DEMAND : ภายนอกประเทศ
ความหมายของอุปทาน (Definition of Supply) ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องการจะขายสินค้า ณ ระดับราคาหนึ่งๆ ย่อมแปรผันโดยตรงกับราคาสินค้านั้น ฟังก์ชันของอุปทาน (Supply Function) Qx = f(Px) สมการอุปทาน Qx = a+bPx
ปัจจัยที่กำหนดอุปทาน (Supply Determinants) ราคาสินค้านั้น เทคโนโลยีในการผลิต ราคาปัจจัยการผลิต ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวนผู้ขายในตลาด
เส้นอุปทาน (Supply Curve) A B 20 10 100 200 ราคา ปริมาณ S
การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทานและระดับอุปทาน: การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน(Change in the Quantity Supplied) การเปลี่ยนแปลงปริมาณขายเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงราคา เป็นการเคลื่อนย้ายจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งบนเส้นอุปทาน ราคา 100 200 A B 20 10 ปริมาณ S
การเปลี่ยนแปลงของระดับอุปทาน (Shift in Supply Curve) การที่ปริมาณสินค้าที่ผู้ขายนำออกขายในตลาด ณ ระดับราคาเดิมได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานเปลี่ยนโดยที่ราคาสินค้าคงที่ ปริมาณ ราคา P q1 S1 S0 S2 q0 q2
อุปทานส่วนบุคคลและอุปทานของตลาด อุปทานส่วนบุคคล : ปริมาณสินค้าที่ผู้ขายแต่ละคนนำออกขายในตลาด ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง อุปทานของตลาด : ปริมาณหรือจำนวนทั้งหมดของสินค้าชนิดหนึ่งที่ผู้ขายทุกคนจะนำออกเสนอขายในตลาด ณ ระดับราคาต่างๆ D2 P Q 10 Dm D1 P1 q1 q2 Q=q1+q2 S1 S2 S=S1+S2
การกำหนดราคาและดุลยภาพของตลาด ราคาสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดสินค้าและบริการชนิดนั้น ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพจะเกิดพร้อมกันตรงระดับซึ่งปริมาณซื้อเท่ากับปริมาณขายพอดี เราเรียกสภาวะดังกล่าวว่า “ดุลยภาพตลาด” Pe Q S P E D Qe
การปรับตัวโดยอัตโนมัติของระบบราคา กรณีที่อุปสงค์ของสินค้าและบริการในตลาด ไม่เท่ากับอุปทานของสินค้าและบริการ กรณีที่ปัจจัยอื่นที่กำหนดอุปสงค์และอุปทานไม่เปลี่ยนแปลง กลไกราคาจะเป็นตัวปรับให้กลับสู่ดุลยภาพ Pe Q S P E D Qe P1 P2 Qc Qa Qb Qf A B F C Excess Supply Excess Demand
การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพ เกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์และอุปทานเปลี่ยนแปลง แบ่งได้ 3 กรณี - กรณีปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์เปลี่ยน ปัจจัยที่กำหนดอุปทานคงที่ - กรณีปัจจัยที่กำหนดอุปทานเปลี่ยน ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์คงที่ - กรณีปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์และอุปทานเปลี่ยนทั้งคู่
กรณีปัจจัยกำหนดอุปสงค์เปลี่ยน เช่น รายได้ผู้บริโภคเพิ่มขึ้น , ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลง P1 Q S P E1 D1 Q1 E2 D2 Q2 P2
กรณีปัจจัยกำหนดอุปสงค์และอุปทานเปลี่ยน P1 Q S1 P E1 D1 Q2 E2 D2 Q1 P2 S2
กรณีปัจจัยกำหนดอุปทานเปลี่ยน เช่น ราคาปัจจัยการผลิต , เทคโนโลยีการผลิตเปลี่ยนแปลง P1 Q S2 P E1 Q1 E2 D Q2 P2