งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อุปสงค์ อุปทาน ดุลยภาพของตลาด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อุปสงค์ อุปทาน ดุลยภาพของตลาด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อุปสงค์ อุปทาน ดุลยภาพของตลาด
รายวิชา : Week 02

2 อุปสงค์ (Demand) อุปสงค์ คือ ปริมาณความต้องการบริโภคสินค้าและบริการของ ผู้บริโภค ณ ระดับราคาต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย - Want : ความต้องการจะซื้อ - Willingness to Pay : เต็มใจที่จะซื้อ - Ability to Pay : สามารถที่จะซื้อได้

3 อุปสงค์ (Demand) มี 3 ชนิด คือ 1. อุปสงค์ต่อราคา (Price Demand)
มี 3 ชนิด คือ 1. อุปสงค์ต่อราคา (Price Demand) 2. อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand) 3. อุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น (Cross Demand)

4 กฎของอุปสงค์ (Law of Demand)
ปริมาณของสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ ย่อมแปรผกผัน (Inverse Relation) กับราคาของสินค้าหรือบริการ ชนิดนั้นๆ - QXD = f (PX) P   QD  P   QD 

5 จากกฎของอุปสงค์ เมื่อราคาสินค้า สูงขึ้น ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าปริมาณน้อยลง เมื่อราคาสินค้า ลดลง ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าในปริมาณที่มากขึ้น

6 การที่ปริมาณซื้อแปรผกผันกับราคาสินค้าเกิดจาก
1. ผลทางรายได้ (Income Effect) 2. ผลทางการทดแทน (Substitution Effect) 3. การลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ส่วน เพิ่ม(Law of Diminishing Marginal Utility)

7 ผลทางรายได้ (Income Effect)
เป็นการเปลี่ยนแปลงรายได้ที่แท้จริง (Real Income) เมื่อราคาสินค้าถูกลง รายได้ที่เป็นตัวเงินคงที่ ซื้อของได้มากขึ้น P I Q เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น รายได้ที่เป็นตัวเงินคงที่ ซื้อสินค้าได้น้อยลง P I Q

8 ผลทางการทดแทน (Substitution Effect)
ถ้าราคาสินค้า A สูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้า B คงที่ คนจะซื้อ A ลดลง และหันไปซื้อ สินค้า B แทน เช่น โค้ก และเป๊ปซี่ ถ้าสินค้ายี่ห้อใดแพงขึ้น คนก็จะหันไปบริโภค อีกยี่ห้อหนึ่งแทน

9 กฎว่าด้วยการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Law of Diminishing)
บอกไว้ว่า การที่เราบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้น แต่ละหน่วย จะทำให้ความพอใจลดลงเรื่อย ๆ เช่น กินข้าวไปแล้ว 1 จาน เริ่มอิ่มนิดหน่อย กินเพิ่มจานที่ 2 เริ่มอิ่มมาก จะกินเพิ่มจานที่ 3 อาจจะเกินพอดี หรือไม่พอใจจะบริโภคอีก

10 Demand Curve ราคาไอศกรีม ปริมาณซื้อไอศกรีม 25 20 2 15 4 10 6 5 8 P Q
Demand : D 15 5 4 2 25 20 10 6 8 A B ราคาไอศกรีม ปริมาณซื้อไอศกรีม 25 20 2 15 4 10 6 5 8 เส้นอุปสงค์ ลาดลงจากซ้ายไปขวา (Downward Slope) หรือมีความชันเป็นลบ (Negative Slope) แสดงถึงปริมาณซื้อสินค้า กับระดับราคา ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม

11 ฟังก์ชันอุปสงค์ Qx = f (PX,A1,A2,A3,…)
Qx = อุปสงค์ของสินค้า x เป็นตัวแปรตาม PX = ราคาสินค้า x เป็นตัวแปรตรง A1,A2,A3 = อื่นๆ เป็นตัวแปรโดยอ้อม

12 ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ (Demand Determinants)
1. ราคาของสินค้าชนิดนั้น - ถ้าราคาเพิ่ม ปริมาณซื้อจะลดลง ราคาลด ปริมาณซื้อเพิ่ม

13 ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ (Demand Determinants)
2. รสนิยมของผู้บริโภค (+/-) - รสนิยมเพิ่ม ปริมาณซื้อเพิ่ม

14 ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ (Demand Determinants)
3. รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนหรือผู้บริโภค - รายได้เพิ่ม ปริมาณซื้อจะเพิ่ม

15 ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ (Demand Determinants)
4. ราคาของสินค้าชนิดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ** สินค้าทดแทนกัน - ราคา A เพิ่ม ปริมาณซื้อ B จะเพิ่ม

16 ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ (Demand Determinants)
4. ราคาของสินค้าชนิดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ** สินค้าประกอบกัน - ราคา A เพิ่ม ปริมาณซื้อ C จะลดลง

17 ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ (Demand Determinants)
5. ฤดูกาลและเทศกาล (+/-) - หน้าหนาว เสื้อกันหนาวขายดี

18 คุณลักษณะของสินค้าและบริการต่างๆ
1. สินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ (Substitution Goods)

19 คุณลักษณะของสินค้าและบริการต่างๆ
2. สินค้าที่ใช้ประกอบหรือร่วมกัน (Complementary Goods)

20 คุณลักษณะของสินค้าและบริการต่างๆ
3. สินค้าปกติ (Normal Goods) เป็นสินค้าที่แปรผันโดยตรงกับรายได้ของผู้บริโภค

21 คุณลักษณะของสินค้าและบริการต่างๆ
4. สินค้าด้อย ( Inferior Goods) เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคจะซื้อน้อยลง เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น

22 การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์
การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ Change in Demand การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์ Shift in Demand

23 การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ (Change in Demand)
เกิดจาก ราคาสินค้า(P) เปลี่ยนแปลง โดยที่ ปัจจัยอื่นๆ คงที่ P Qd D A Q ราคา เพิ่มขึ้น B p1 ราคา ลดลง C p2 Q1 Q2

24 การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์
(Shift in Demand) เกิดจาก ปัจจัยอื่นๆ เปลี่ยนแปลง โดยที่ ราคาสินค้า(P) คงที่ - Money Income (Y) - Normal Goods - Inferior Goods - Consumer Tastes - Population - Expectations Prices - Expectations Income - Cross Demand - Substitution Goods - Complementary Goods P Qd D A p Q0 ปัจจัยที่ทำให้อุปสงค์เพิ่ม ขึ้น Q2 B D1 Q1 C D2 ปัจจัยที่ทำให้อุปสงค์ลดลง

25 อุปทาน (Supply) คือ ปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผู้ผลิต
เต็มใจที่จะทำการผลิตออกขายขาย ณ ระดับราคาต่างๆ ภายในระยะเวลา ที่กำหนด โดยที่ - Want to sell - Willingness to sell - Ability to sell สรุป คือ ความต้องการจะขาย

26 กฎแห่งอุปทาน ( Law of Supply)
ปริมาณความต้องการขายของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง ย่อมแปรผันโดยตรงกับราคาสินค้าและบริการชนิดนั้นเสมอ QXS = f (PX) P   Qs  P   Qs 

27 ตัวกำหนดอุปทาน (Supply Determinants)
หมายถึง ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของจำนวนสินค้าที่ผู้ผลิตต้องการจะผลิตออกมาขาย ได้แก่ ราคาของปัจจัยการผลิต 2. เทคนิคที่ใช้ในการผลิต 3. ราคาของสินค้าอื่น 4. นโยบายหรือการคาดการณ์ 5. จำนวนของผู้ขาย 6. อื่น ๆ

28 ตัวกำหนดอุปทาน (Supply Determinants)
1. ราคาของปัจจัยการผลิตสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตสูงตาม กำไรลด เช่น - ต้องการผลิตคุณภาพสูง ต้นทุนราคาก็จะสูงตามไปด้วย ความต้องการขายลดลง - ราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่ม ต้นทุนสูง อุปทานของที่อยู่อาศัยจะ ลดลง

29 ตัวกำหนดอุปทาน (Supply Determinants)
2. เทคนิคที่ใช้ในการผลิต เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ต้นทุนเฉลี่ยถูกลง ทำให้อุปทานเพิ่มขึ้น

30 ตัวกำหนดอุปทาน (Supply Determinants)
3. ราคาของสินค้าอื่น - กรณีสินค้าประกอบกัน เช่น ราคาไข่เป็ดแพง อุปทานเป็ดไข่ แพงตามไปด้วย - กรณีสินค้าทดแทนกัน เช่น หมูราคาแพง อุปทานไก่ลดลง เพราะอยากขายหมูมากกว่า

31 ตัวกำหนดอุปทาน (Supply Determinants)
4. นโยบายหรือการคาดการณ์ หรือจุดมุ่งหมายของหน่วยผลิต เช่น ถ้าคนขายคิดว่าทองจะแพงขึ้น คนขายจะอยากขายทองในวันนี้ลดลง

32 ตัวกำหนดอุปทาน (Supply Determinants)
5. จำนวนของผู้ขาย ผู้ผลิตมาก ความต้องการขายมากตาม

33 ตัวกำหนดอุปทาน (Supply Determinants)
6. อื่น ๆ เช่น ฤดูกาล หยุดประท้วง สงคราม

34 ฟังค์ชั่นอุปทาน QxS = f (PX,C,T,Py, G) เมื่อ QXS = ปริมาณอุปทาน
PX = ราคาสินค้า X C = ต้นทุนในการผลิต T = เทคโนโลยี Py = ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง G = นโยบายรัฐ

35 Supply Curve ราคาไอศกรีม ปริมาณขายไอศกรีม 25 10 20 8 15 4 3 5 2 Q 15 5
เส้นอุปทาน เอียงขึ้นจากซ้ายไปขวา (Upward Slope) หรือ มีความชันเป็นบวก (Positive Slope) แสดงถึงปริมาณขายสินค้า กับระดับราคา ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ราคาไอศกรีม ปริมาณขายไอศกรีม 25 10 20 8 15 4 3 5 2 Q 15 5 3 2 25 20 10 4 8 Supply: S

36 การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน (Change in Supply)
Qs A 3 8 S ราคา เพิ่มขึ้น B ราคา ลดลง 4 C 2 6 10

37 การเปลี่ยนแปลงระดับอุปทาน (Shift in Supply)
Qs A 3 8 S S2 ปัจจัยที่ทำให้อุปทานเพิ่ม ขึ้น S1 ปัจจัยที่ทำให้อุปทานลดลง C B 6 10

38 อุปทานส่วนบุคคลและอุปทานของตลาด
อุปทานส่วนบุคคล : ปริมาณสินค้าที่ผู้ขายแต่ละคนนำออกขายในตลาด ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง อุปทานของตลาด : ปริมาณหรือจำนวนทั้งหมดของสินค้าชนิดหนึ่งที่ผู้ขายทุกคนจะนำออกเสนอขายในตลาด ณ ระดับราคาต่างๆ D2 P Q 10 Dm D1 P1 q1 q2 Q=q1+q2 S1 S2 S=S1+S2

39 ดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium)
ดุลยภาพตลาด* เป็นจุดที่ปริมาณอุปสงค์ เท่ากับปริมาณอุปทานพอดี Qd = Qs

40 ดุลยภาพตลาด ราคาสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งจะถูกกำหนด โดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดสินค้าและบริการชนิดนั้น ราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price) และปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium Quantity) จะเกิดพร้อมกันตรงระดับ ซึ่งปริมาณซื้อเท่ากับปริมาณขายพอดี เราเรียกสภาวะดังกล่าวว่า “ดุลยภาพตลาด”

41 ยกตัวอย่างเรื่องนม Qs - Qd - 20 - 10 10 20 สถานะ Qs 12 16 24 28 32 26
10 20 สถานะ Qs 12 16 24 28 32 26 14 8 5 15 25 Qd ปริมาณนม (ลิตร/สัปดาห์) ราคานม (บาท/ลิตร) Shortage สมดุล Surplus การปรับตัวของราคา P เพิ่มขึ้น P คงที่ P ลดลง P Q 10 5 15 20 25 30 D S จุดดุลยภาพ ราคาดุลยภาพ ปริมาณดุลยภาพ

42 การกำหนดขึ้นเป็นภาวะดุลยภาพ (Determination of Equilibrium)
ราคา OP1 เป็นราคาที่สูงกว่าราคาดุลยภาพ P Q excess supply S เกิด อุปทานส่วนเกิน (excess supply) จำนวน AB หน่วย A B P1 ราคาจึงปรับตัวลดลง เข้าสู่ ดุลยภาพ E P ราคาดุลยภาพ OP ปริมาณดุลยภาพ OQ D C P2 ราคา OP2 เป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ เกิด อุปสงค์ส่วนเกิน (excess demand) จำนวน DC หน่วย excess demand D Q1 Q Q2 ราคาจึงปรับตัวเพิ่มขึ้น เข้าสู่ ดุลยภาพ

43 ตัวอย่าง อุปสงค์ อุปทาน และดุลยภาพ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
ตัวอย่าง อุปสงค์ อุปทาน และดุลยภาพ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

44 ข่าวจีนจะควบคุมการใช้ตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้ง
ผู้ผลิตตะเกียบแบบใช้ครั้งเดียว ในจีนกำลังเผชิญหน้ากับกฎระเบียบที่เข้มงวดของรัฐบาลท้องถิ่นที่มีเป้าหมายลดการทิ้งตะเกียบที่ใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น  เมื่อกระทรวงพาณิชย์จีนเตือนให้ควบคุมการใช้ตะเกียบชนิดดังกล่าว และว่าภัตตาคารควรบริการด้วยตะเกียบสะอาดที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้มากกว่าที่จะใช้ตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้ง  เสียงเรียกร้องให้ยุติการใช้ตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้งกำลังเพิ่มกระแสสูงมากขึ้นในจีนขณะนี้  แม้ว่ารัฐบาลจีนไม่เคยเปิดเผยสถิติการใช้ตะเกียบชนิดนี้ แต่ก็มีการประมาณการณ์ไว้ว่าจำนวนตะเกียบที่ใช้แล้วทิ้งในแต่ละปีมีจำนวนมากถึง 45,000 ล้านคู่ ซึ่งคิดเป็นปริมาณเทียบเท่ากับต้นไม้ที่โตเต็มที่แล้วจำนวนถึง 25 ล้านต้น การเรียกร้องให้หยุดใช้ตะเกียบใช้แล้วทิ้งครั้งล่าสุดของรัฐบาลจีนเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรณรงค์ประหยัดพลังงานในเดือนนี้  ซึ่งรัฐสภาจีนได้เริ่มต้นแคมเปญขึ้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน เรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐช่วยกันประหยัดไฟฟ้า น้ำมันและน้ำเพื่อให้ประเทศสามารถบรรลุถึงเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกแห่งชาติ จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

45 ข่าว ททท.ดึง"มาร์ทา สจ๊วต"ทำรายการในไทย โปรโมตอาหาร-ท่องเที่ยว
ข่าว ททท.ดึง"มาร์ทา สจ๊วต"ทำรายการในไทย โปรโมตอาหาร-ท่องเที่ยว รองผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในครึ่งปีหลังว่า ททท.ได้จับมือกับสายการบินเอทิฮัท และบริษัทนำเที่ยวรายใหญ่ของดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เจาะตลาดนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลาง ด้วยการจัดโปรแกรม "ไทยแลนด์ ซัมเมอร์"นำเสนอแพคเกจทัวร์เที่ยวไทยในราคาพิเศษ เริ่มจำหน่ายและเดินทางช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมนี้ ส่วนตลาดยุโรปได้ร่วมมือกับสายการบินไทย ขายตั๋วราคาพิเศษไฟลท์ละ 50 ที่นั่ง รวม 4,600 ที่นั่งต่อสัปดาห์ เพื่อให้บริษัทนำเที่ยวจัดแพคเกจทัวร์บินเข้าประเทศไทย รวมถึงจะเชิญ "มาร์ทา สจ๊วต" เจ้าของแม็กกาซีนและพิธีกรดังจากอเมริกา รายการ "มาร์ทา สจ๊วต ลิฟวิ่ง" เข้ามาถ่ายทำรายการในประเทศไทยประมาณเดือนกันยายนนี้ คาดว่าจะช่วยประชาสัมพันธ์เรียกความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวและอาหารไทยได้ นางจุฑาพรกล่าวว่า สำหรับแผนการตลาดประจำปีงบประมาณ 2555 ของภูมิภาคยุโรป จะเน้นทำตลาดแบบเจาะกลุ่มความสนใจพิเศษ ให้มากขึ้น ส่วนตลาดนักท่องเที่ยวทั่วไปจะเป็นการรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ไม่ให้ลดไปกว่าเดิม โดยสินค้าที่จะนำเสนอ เน้นเจาะกลุ่มฮันนีมูน แต่งงาน กอล์ฟ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (เมดิคัลทัวร์ริสซึ่ม) หากได้รับงบประมาณกระตุ้นตลาดพิเศษจากรัฐบาล ก็จะมีการเดินสายส่งเสริม (โรดโชว์) หลายเมืองในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางด้วย จากประชาชาติธุรกิจออนไลน์

46 การบ้าน งานกลุ่ม จงหาข่าวอธิบายแล้ววิเคราะห์ว่าเกี่ยวข้องกับอุปสงค์ และอุปทานอย่างไร พร้อมสุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทุกข่าว


ดาวน์โหลด ppt อุปสงค์ อุปทาน ดุลยภาพของตลาด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google