กฤฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การใช้กฎหมายอาญา กฤฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สืบเนื่องมาจาก... ขอบเขตในเชิงเนื้อหาของกฎหมายอาญา ลักษณะเฉพาะของกฎหมายและมาตรการทางอาญา วิถีแห่งการใช้อำนาจในรัฐสมัยใหม่-รัฐเสรีนิยม ทำให้ประมวลกฎหมายอาญาต้องกำหนดวิธีการใช้และตีความกฎหมายอาญา อย่างเคร่งครัด ทั้งขอบเขตด้านเวลา ขอบเขตด้านพื้นที่ (เขตอำนาจ) และวิธีการ ตีความกฎหมาย
“Nullum crimen, nulla poena sine lege” (No crime, no punishment without law)
Inner morality of Law Lon Fuller: King Rex fail to apply his law because; ad hoc and inconsistent adjudication => general application Failure to publicize or make known the rules of law => publication Unclear or obscure legislation => clarify law Retrospective legislation Contradictions in the law Demands that are beyond the power Unstable legislation Divergence between adjudication/administration and legislation
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550... มาตรา ๓๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนด ไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น เสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
มาตรา 2 ของประมวลกฎหมายอาญา “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการ อันกฎหมาย ที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และ โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่ บัญญัติไว้ใน กฎหมาย” “ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำ เช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้ กระทำการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้ นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับ โทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง”
การลงโทษบุคคลต้องลงแก่บุคคลที่มีความผิด โดยอาศัยอำนาจของ กฎหมาย “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการ อันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็น ความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย” การลงโทษบุคคลต้องลงแก่บุคคลที่มีความผิด โดยอาศัยอำนาจของ กฎหมาย กฎหมายที่ให้อำนาจนั้น ต้องมีสถานะเป็นกฎหมายและมีผลบังคับ ใช้ในขณะกระทำความผิด โทษที่ลงกับบุคคลต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย คณิต ณ นคร เรียกว่า “หลักประกันในทางอาญา”
1. การลงโทษบุคคลที่มีความผิด โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อต่อเมื่อได้กระทำการ อันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติ เป็นความผิดและกำหนดโทษ” กฎหมายที่ใช้ลงโทษต้องเป็นกฎหมายที่ถูก “บัญญัติ” ขึ้นเท่านั้น ดังนั้น รัฐจึงไม่สามารถนำ “กฎหมายจารีตประเพณี” (customary law) มาใช้ลงโทษบุคคลได้ กฎหมายจารีตประเพณี = กฎหมายที่เกิดจากการปฏิบัติที่ต่อเนื่องกันมาอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานานของ ประชาชนจนเป็นที่ยอมรับ (ปรีดี, 2538: 63 ใน คณิต, 2554: 82) แต่โปรดสังเกต: มาตรา 2 ว.1 กล่าวถึง เฉพาะกรณีที่ “บุคคลจักต้องรับโทษ” (การลงโทษใดๆ/เพิ่มโทษ) เท่านั้น หากกรณีการใช้กฎหมายจารีตประเพณีมาส่งผลให้บุคคล “ไม่ต้องรับโทษ” หรือ “รับโทษน้อยลง” ไม่ ถูกห้ามโดยมาตรา 2 ดังกล่าว
ประเด็นนี้แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งอย่างชัดเจน มาตรา 4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วรรค 2 คือ “การอุดช่องว่างของกฎหมาย” “เมื่อมีมีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับใช้กับคดีได้ให้วินิจฉัยคดีนั้นไปตามจารีคประเพณีแห่ง ท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเปรียบเทียบบทกฎหมายที่ ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป” เช่นเดียวกับกฎหมายทุกประเภท กฎหมายอาญาก็มีช่องว่าง แต่นิติวิธีแบบกฎหมาย อาญาเลือกที่จะไม่อุดช่องว่างนั้น เพราะการลงอาญาเป็นการใช้อำนาจในเรื่อง ร้ายแรงที่ต้องใช้ความชอบธรรมสูงสุด
การใช้กฎหมายจารีตประเพณีมาเป็นข้อต่อสู้ มาตรา 2 ไม่ได้ห้ามการนำกฎหมายจารีตประเพณีมาเป็นข้อต่อสู้ในคดีอาญา ห้ามแต่การเอา กฎหมายจารีตฯ มาลงโทษหรือเพิ่มโทษแก่บุคคลเท่านั้น “การชกมวยที่ดำเนินไปตามกติกา แม้จะทำให้คู่ต่อสู้ถึงแก่ความตาย ก็ไม่มีใครรู้สึกว่านักมวย มีความผิดฐานฆ่าคนตาย” “แพทย์ทำการรักษาคนไข้และจำเป็นต้องมีการตัดอวัยวะบางส่วนออกไปก็ไม่มีใครรู้สึกว่า แพทย์ทำผิดฐานทำร้ายร่างกายจนได้รับอันตรายสาหัส” “การสาดน้ำกันในประเพณีสงกานต์ แม้จะทำให้ทรัพย์สินเสียหาย” (หยุด, 2542: 73)
ตัวอย่าง... คดี ดิ๊ แปะโพ พระราชบัญญัติป่าไม้ 2484 มาตรา 54 : ห้ามมิให้ผู้ใด ก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า หรือ กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือเข้ายึดถือหรือครอบครอง ป่าเพื่อตนเอง หรือผู้อื่น เว้นแต่จะกระทำภายในเขตที่ได้จำแนกไว้เป็นประเภท เกษตรกรรม และรัฐมนตรีได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือโดยได้รับ ใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 72 ตรี ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 54 ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เรื่องของเรื่อง... ดิ๊ แปะโพ กับหน่อเฮหมุ่ย มีอาชีพทำไร่บนพื้นที่สูง ปลูกข้าวและพืชผักต่างๆ เพื่อยัง ชีพ ทั้งสองถูกจับด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้จำนวน 20 คน ด้วยเหตุที่ทั้งสองทำการแผ้ว ถางพื้นที่เพาะปลูกซึ่งอยู่ในไร่ ที่อยู่บนพื้นที่สูงอันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติท่าสอง ยาง ใน พ.ศ. 2526 อย่างไรก็ตาม พื้นที่หมู่บ้านแม่อมกิได้ก่อตั้งมาประมาณ 300 ปี ตามหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดยประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพทำไร่
บ้านแม่อมกิ ท่าสองยาง จังหวัดตาก
ข้อต่อสู้หลัก... จารีตประเพณีของท้องถิ่นดั้งเดิมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในประเด็นการทำไร่ เลื่อนลอย/ไร่หมุนเวียน มติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2541 เรื่องการกแก้ปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ ที่ใช้ยืนยันว่าพื้นที่ป่าสงวนท่า สองยางยังมีปัญหาอยู่และ จำเลยทั้งสองได้ทำมาหากินในลักษณะไร่หมุนเวียนมาตั้งแต่รุ่นยาย ซึ่งเข้าใจว่า ทางราชการผ่อนผันให้ทำกินได้ ไม่มีเจตนาบุกรุกป่า เพราะทั้งสองอยู่อาศัยในพื้นที่และทำกินในที่ดินแปลงพิพาทมานาน อีกทั้งไม่เคยทราบ ว่าพื้นที่ดังกล่าวถูกประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ การยกข้อต่อสู่เรื่องสิทธิชุมชน ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่กล่าวถึงการใช้และรักษาจารีตประเพณีในการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
คำพิพากษาของศาลชั้นต้น และอุทธรณ์ ศาลชั้นต้น พิพากษาให้ยกฟ้อง เพราะขาดเจตนาในการบุกรุกพื้นที่อุทยานด้วยเหตุผลว่ามติคณะรัฐมนตรี ได้รับรองว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นปัญหา และจำเลยทั้งสองทำกินในที่ดินป่าสงวนมานานก่อนจะมีการ ประกาศใช้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ และการประกาศพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าสงวนใน พ.ศ. 2526 ศาลอุทธรณ์ กลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น พิจารณาว่าประเด็นที่อุทธรณ์ได้มีเรื่องเดียว คือ “จำเลยมี เจตนาหรือไม่” ว่าถึงแม้มีมติคณะรัฐมนตรีที่รับรองว่าพื้นที่พิพาทเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการแก้ปัญหา ก็ไม่ได้ ทำให้ความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติหมดไป และเมื่อประกาศในราชกิจานุเบกษาแล้ว จำเลยจะอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ โปรดสังเกตว่า ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ล้วนแต่หลีกเลี่ยงการนำ “จารีตประเพณี” มาเป็นข้อต่อสู้ ในทางกฎหมาย ที่แม้ว่าจะได้รับรองตามรัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายอาญาไม่ห้ามก็ตาม
ซึ่งการใช้กฎหมายดังกล่าว ไม่ได้ใช้กันอย่างเสมอหน้า จารีตประเพณีบางอย่างเรายอมรับได้ เช่น จารีตของชายว่าการที่หญิงทำชู้เป็นเรื่องที่เสื่อมเสียเกียรติยศอย่างรุนแรง จนฝ่ายชาย สามารถสังหารชายชู้และหญิงที่มีชู้ได้ ดิ๊ แปะโพ และหน่อเฮหมุ่ย เป็นกระเหรี่ยง (ปากากะญอ) ที่สังคมพื้นราบพึ่งค้นพบความ แตกต่างระหว่างการทำไร้เลื่อยลอย และจารีต “การทำไร่หมุนเวียน” เมื่อประมาณยี่สิบกว่าปี ก่อนนี่เอง จารีตของคนบางกลุ่ม ศาลรับเป็นข้อต่อสู้ ยอมตีความขยายความให้ แต่บางอย่างแม้มีการ กล่าวถึงอย่างชัดแจ้ง มีนักวิชาการ งานวิจัยรองรับเป็นพันๆ หน้า ศาลก็ยังไม่ฟังอยู่ดี
2. การห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงยิ่ง “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อต่อเมื่อได้กระทำการ อันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษ” การลงโทษต้องเกิดจากการผิดกฎหมายโดยชัดแจ้งเท่านั้น ถ้ากฎหมายไม่ได้บัญญัติชัดก็ไม่สามารถ กำหนดความผิดและลงโทษได้ด้วยการตีความกฎหมายแบบเทียบเคียงขยายความ แต่ก็เช่นเดียวกัน หากการตีความขยายตัวบทไปในทางที่ไม่ได้ทำให้บุคคลใดๆ ต้องรับโทษในทาง อาญา การตีความด้วยการใช้เทคนิคเทียบเคียงกฎหมายไม่ถูกห้ามด้วยมาตรา 2 วรรค 1 ห้ามใช้กฎหมายอาญาที่เกินเลยขอบเขตของบทบัญญัติที่พึงจะหาได้จากตัวบทกฎหมาย
การ “ลักทรัพย์” และ “ลักทรัพย์สิน” มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม อยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิด ฐานลักทรัพย์ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท “ข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษร ภาพ แผนผัง และตราสารเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอด ความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูลโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อ ป. พ.พ. มาตรา 137 บัญญัติว่า ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็น ทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็น ความผิดฐานลักทรัพย์” (ฎ 5161/2547)
“สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลย ลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์แห่งประเทศ ไทยไปใช้ เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลัก กระแสไฟฟ้า” (ฎ 1880/2542) ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ ๑ เฉพาะข้อกฎหมายที่ว่า กระแสไฟฟ้าไม่ใช่ทรัพย์ตาม ความหมายของประมวลกฎหมายอาญา จึงย่อมลักกันไม่ได้ แต่ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่ มีมติว่า การลักกระแสไฟฟ้าย่อมเป็นผิดตามประมวลกฎหมาย มาตรา ๓๓๔ หรือ ๓๓๕ แล้วแต่กรณี (ฎ 877/2501)
การ “บุกรุก” กับการขวางทาง มาตรา 362 ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไป กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินสอง พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ “การที่จำเลยใช้ไม้กระดานตีขวางทับประตูห้องพิพาทที่โจทก์ครอบครองในขณะที่โจทก์ไม่อยู่ และปิดห้องไว้ ทำให้โจทก์เข้าห้องไม่ได้ เป็นการล่วงล้ำเข้าไปกระทำการรบกวนการ ครอบครองของโจทก์ ถือได้ว่าเข้าไปกระทำการรบกวนการครอบครองของโจทก์โดยปกติสุข ตามมาตรา 362 แล้ว” (ฎ 1/2512)
3.กฎหมายอาญาต้องบัญญัติให้ชัดเจนแน่นอน การบัญญัติกฎหมายอาญาให้ชัดเจนแน่นอนที่สุด หลีกเลี่ยงถ้อยคำที่กำกวม ตรงตามเจตจำนงของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความ ใกล้ชิดกับประชาชน และป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของศาล ประเด็นนี้ส่งผลถึงลักษณะเฉพาะของกฎหมายอาญา 2 ประการ บทนิยามในกฎหมายอาญา (มาตรา 1 ปอ. และพระราชบัญญัติอื่นๆ) วิธีการตีความกฎหมายอาญา
วิธีการตีความกฎหมายอาญา การทำความเข้าใจความหมายในทางกฎหมายของตัวบทกฎหมาย 1) การทำความเข้าใจกฎหมายตามหลักภาษา 2) การทำความเข้าใจกฎหมายอย่างเป็นระบบ 3) การทำความเข้าใจกฎหมายตามประวัติความเป็นมาของกฎหมาย 4) การทำความเข้าใจกฎหมายจากจุดมุ่งหมายของกฎหมาย กฎหมายอาญาต้องตีความอย่างเคร่งครัด = ห้ามขยายความ การเทียบเคียงตัวบทที่ใกล้เคียงยิ่ง (analogy) การใช้จารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป
3.1 การตีความตามหลักภาษาในกฎหมายอาญา ความชัดเจนในความหมายของคำและไวยกรณ์ “ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น (โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ) (โดยใช้กำลังประทุษร้าย) (โดยผู้อื่นนั้นอยู่ใน ภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้) หรือ (โดยทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น) ต้องระวางโทษ...” ประโยคหลัก = ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น = “ X ” วลีขยาย X + โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ X + โดยใช้กำลังประทุษร้าย X + โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ X + โดยทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น “หรือ” ต้องระวางโทษ
“ผู้ใด (subject) / (หมิ่นประมาท) (ดูหมิ่น) หรือ (แสดงความอาฆาตมาดร้าย) (verb) / (1)พระมหากษัตริย์ (2)พระราชินี (3)รัชทายาท หรือ (4) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (object) ต้อง ระวางโทษ....” ผู้ใด การแยกแยะโครงสร้างของประโยคจะทำให้เราเข้าใจความหมายของกฎหมาย และองค์ประกอบความผิด ในกฎหมายอาญาได้ง่าย หมิ่นประมาท บุคคล (วัตถุแห่งการกระทำ) พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย
ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นโดยเหตุที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ โดย เหตุที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความหรือผู้สอบบัญชี หรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วยในการ ประกอบอาชีพนั้น แล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษ... ลองแยกโครงสร้างประโยชน์ของมาตรานี้?
เทียบความแตกต่าง ผู้ใด = เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่, แพทย์ เภสัชกร คน จำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความหรือผู้สอบบัญชี หรือโดย เหตุที่เป็นผู้ช่วย การกระทำ = เปิดเผย พฤติการณ์ประกอบการกระทำ = ในประการที่ น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย วัตถุแห่งการกระทำ = ความลับของผู้อื่น ผู้ใด = บุคคล การกระทำ = (1) รับรู้ แล้ว (2) เปิดเผย พฤติการณ์ประกอบการกระทำ = (1) รับรู้ เนื่องจากการเป็นเจ้าพนักงาน ฯลฯ แล้ว (2) ใน ประการที่บุคคลอื่นน่าจะเสียหาย วัตถุแห่งการกระทำ = ในประการที่น่าจะบุคคลอื่น เสียหาย
ลองพิจารณาข้อเท็จจริง กฤษณ์พชร เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์ แอบฟังนักศึกษาคุยกันแล้วได้ยินว่า นายอาบิดที่เคยเป็นศิษย์เก่าของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยสอบตกวิชากฎหมายเบื้องต้น ซึ่งขณะนั้นนายอาบิดกำลังวางแผนจะสอบชิงทุนเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยมีคนเดียวคือนายอาบาส เพียงแต่นายอาบาสไม่มีความมั่นใจมากนัก กฤษณ์พชร สนิทกับนายอาบาส จึงนำเรื่องนี้ไปบอกกับอา บาส พออาบาสทราบเรื่องดังกล่าวจึงตัดสินใจสอบแข่งขันต่อไป เพราะรู้ว่านายอาบิดมีจุดอ่อนที่สำคัญ และ ตนน่าจะมีโอกาสชนะการสอบแข่งขันนี้ กฤษณ์พชร เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์ ได้ให้คำปรึกษากับนายอาบิดที่เข้ามา ปรึกษาเรื่องผลการเรียนเพื่อเตรียมตัวศึกษาต่อต่างประเทศ โดยนายอาบิดที่เคยเป็นศิษย์เก่าของคณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ความว่านายอาบิดเคยสอบตกวิชากฎหมายเบื้องต้น ทั้งนี้ คู่แข่งเพียง คนเดียว คือ นายอาบาส แต่นายอาบาสไม่มีความมั่นใจมากนัก กฤษณ์พชร สนิทกับนายอาบาส จึงนำ เรื่องนี้ไปบอกกับอาบาส พออาบาสทราบเรื่องดังกล่าวจึงตัดสินใจสอบแข่งขันต่อไป เพราะรู้ว่านายอาบิดมี จุดอ่อนที่สำคัญ และตนน่าจะมีโอกาสชนะการสอบแข่งขันนี้
3.2 การทำความเข้าใจกฎหมายอย่างเป็นระบบ บางครั้งการทำความเข้าใจกฎหมายแต่ละมาตรา ต้องใช้หลักกฎหมายข้ออื่นที่ถูก กล่าวถึงไว้โดยตรงเข้ามาประกอบด้วย หากกฎหมายอื่นๆ นั้นไม่ได้ถูกกล่าวถึงโดยตรง ไม่สามารถนำมาประกอบเพื่อเพิ่ม โทษได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 ทั้งนี้ “ประมวลกฎหมาย” ต่างจากการ “รวมกฎหมาย” เพราะถ้อยคำแต่ละถ้อยคำ มาตราแต่ละมาตราถูกนำมาโยงกันไว้เชื่อมกันหมด
“ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น (โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ) (โดยใช้กำลังประทุษร้าย) (โดย ผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้) หรือ (โดยทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น) ต้องระวางโทษ...” คำว่า “ข่มขืน” เป็นคำความหมายธรรมดา ขณะที่ “กระทำชำรา” เป็นคำที่ต้องทำความเข้าใจ (ตีความ) ตาม 276 วรรค 2 “หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดย การใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่ง อื่นสิ่งใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น” พฤติการณ์ประกอบการกระทำที่สอง : “โดยใช้กำลังประทุษร้าย” ตามมาตรา 1 ของ ประมวลกฎหมายอาญา
“ผู้ใด (subject) / (หมิ่นประมาท) (ดูหมิ่น) หรือ (แสดงความอาฆาตมาดร้าย) (verb) / (1)พระมหากษัตริย์ (2)พระราชินี (3)รัชทายาท หรือ (4) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (object) ต้อง ระวางโทษ....” การกระทำ 3 วิธี เป็นถ้อยคำทางกฎหมาย “หมิ่นประมาท” ตาม 326 : “ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูก ดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง...” “ดูหมิ่น” มีกฎหมายอยู่ แต่ตาม 393 ไม่ได้ให้นิยามไว้ จึงใช้ความหมายทั่วไป และแนวทางการตีความ: “ดู ถูก เหยียดหยาม ทำให้อับอาย เสียหาย สบประมาทหรือด่า...” “แสดงความอาฆาตมาดร้าย” ไม่มีทั้งกฎหมายและแนวทางวินิจฉัยกล่าวถึงไว้โดยตรง
เท่ากับว่า การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทำได้ สามทาง คือ 1) “ใส่ความพระมหากษัตริย์ ฯลฯ ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสีย ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง...” 2) “ดูถูก เหยียดหยาม ทำให้อับอาย เสียหาย สบประมาทหรือด่า พระมหากษัตริย์ ฯลฯ” 3) “แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ ฯลฯ” เราเข้าใจแบบนี้ได้ เพราะเชื่อม 112 เข้ากับ 326, 393
อีกประเด็นที่ต้องคิด คือ ใครบ้างได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว ต้องพาดพิงกฎหมายอื่นเช่นกัน “พระมหากษัตริย์”, “พระราชินี”, “รัชทายาท” หรือ “ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ล้วนแต่เป็นตำแหน่ง หน้าที่และบทบาทเชิงสถาบันของรัฐ ดังนั้น บุคคลใดอยู่ในบทบาทดังกล่าวต้องพิจารณาตัวบทกฎหมายที่แต่งตั้ง “ตำแหน่งหน้าที่” เหล่านั้นด้วย กฎหมายดังกล่าว คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ “พระมหากษัตริย์” คือ สถาบันทางการเมืองในหมวดสองของรัฐธรรมนูญ กรณี 2550 คือ มาตรา 8-25 โดย บุคคลที่เป็นกษัตริย์ต้องมาจากกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 “รัชทายาท” คือ บุคคลตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ตลอดจนรัฐธรรมนูญ มาตรา 22, 23 “ผู้สำเร็จราชการ” คือ บุคคลที่พระมหากษัตริย์แต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจของรัฐธรรมนูญ มาตรา 18 เราจะเข้าใจ (ตีความ) แบบนี้ได้ ต้องเชื่อม รัฐธรรมนูญกับประมวลกฎหมายอาญาเข้าด้วยกัน ซึ่ง ประมวลกฎหมายอาญาใช้ถ้อยคำตามที่บัญญัติไว้รัฐธรรมนูญโดยตรง เพราะกฎหมายทั้งหมด ล้วนแต่เรียงร้อยอยู่ใน “ระบบ” เดียวกันทั้งสิ้น
3.3 การตีความตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติ เช่นอะไร? : ความยุติธรรม, ความเสมอภาค, เสรีภาพ ฯลฯ “เจตนารมณ์ของกฎหมาย” เป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ง่าย กล่าวอย่างเคร่งครัด คือ เราต้องนำเอาทั้ง หลักภาษา, โครงสร้างระบบกฎหมาย, เจตนาจำนงและบริบท ทางสังคมของผู้ร่าง, บริบททางสังคม ณ ปัจจุบัน มาคิดประกอบกัน เจตนารมณ์ของกฎหมาย ไม่ใช่สิ่งที่แสดงออกมาให้เห็นกันง่ายๆ และไม่มีใครสักคนบนโลกนี้รู้ว่า เจตนารมณ์แท้ๆ คืออะไร โปรดสังเกต ในมิตินี้การพูดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายจึงเป็นหลักการกว้างๆ ที่ไม่ชัดเจน แนวโน้มที่เราเห็นได้ คือ การตีความด้วย “เจตนารมณ์ของกฎหมาย” มักจะถูกใช้เพื่อเป็นข้อต้อสู้ของจำเลย มากกว่าที่จะเป็นข้อต่อสู้ของรัฐ
ตัวอย่าง... ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 358 มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของ ผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่ เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การเอาทรัพย์สินไปซ่อนไว้ในบ้านของเจ้าทรัพย์โดยที่เจ้าทรัพย์หาไม่เจอจะเป็นความผิด ฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่? การทำให้หาไม่เจอเป็นการทำให้ทรัพย์นั้น “ไร้ประโยชน์” ต่อเจ้าทรัพย์ก็จริง แต่ก็เพียงแค่ ชั่วคราว ไม่ได้ทำให้สภาพของทรัพย์นั้นเสียไป
ความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ มาตรา 217 ประมวลกฎหมายอาญา “ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษ...” ผู้กระทำ = ผู้ใด (บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล) การกระทำ = วางเพลิง (ทำให้เกิดไฟใหม้) วัตถุแห่งการกระทำ = ทรัพย์ของผู้อื่น (บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล)
ข้อเท็จจริง เช่น... สิดา เป็นรุ่นพี่ปกครองชั้นปีที่สี่ ได้ขอยึดป้ายชื่อที่รุ่นน้องปีหนึ่งคณะ นิติศาสตร์ช่วยกันทำขึ้นมา ด้วยเหตุเพราะรุ่นน้องปีหนึ่งไม่อยู่ในระเบียบ วินัยเท่าที่ควร แล้วนำป้ายชื่อทั้งหมดโยนใส่ถังน้ำมันแล้วร้อยลิตร แล้วจุด ไฟเผาป้ายชื่อทั้งหมด เป็นเหตุให้รุ่นน้องคนหนึ่งไม่พอใจ ต้องการจะดำเนินคดีอาญากับสิดา
สิดา มีความผิดตามฐานไหน? หรือมีความผิดทั้งสองฐาน? ป้ายชื่อ เป็น “ทรัพย์” เพราะป้ายชื่อ คือ “วัตถุมีรูปร่าง” ป้ายชื่อ เป็นของ “ผู้อื่น” เพราะนักเรียนปีหนึ่งเหล่านั้นมีสภาพบุคคล และสามารถถือครอง กรรมสิทธิ์ในป้ายชื่อได้ เพราะเป็นคนทำขึ้นมาเองกับมือ การเอาป้ายชื่อไปเผา เป็นการ “ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ ไร้ประโยชน์” ในขณะเดียวกัน การจุดไฟเผาป้ายชื่อ ก็เป็นการ “วางเพลิงเผา” เช่นเดียวกัน สิดา มีความผิดตามฐานไหน? หรือมีความผิดทั้งสองฐาน?
หากสิดา มีความผิดสองฐานเท่ากับว่า การกระทำครั้งเดียว สิดา ต้องรับผิดตามกฎหมายถึงสองกระทง และ อีกด้านหนึ่งเท่ากับว่า สิดาต้องรับผิดสองอย่างในการกระทำแค่ครั้งเดียว เรื่องนี้ กฎหมายอาญายอมรับไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการที่บุคคลต้องรับผิดสองครั้งในการกระทำเดียวกัน (double jeopardy) ในประมวลกฎหมายของไทยวางเรื่องนี้ไว้ในชื่อ “การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง” มาตรา 90 “เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่โทษ หนักที่สุด ลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด” (จะได้เรียนอย่างละเอียดในครึ่งหลัง) ดังนั้น ปอ. อนุญาตให้ลงโทษและเอาผิดกับสิดา ครั้งเดียวเท่านั้น
จะผิดฐานไหน? วางเพลิงเผาทรัพย์ มาตรา 217 : “ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท” ทำให้เสียทรัพย์ มาตรา 358: “ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” อันไหนโทษหนักกว่า? สิดา จะต้องรับผิดฐานไหน?
เรายังบอกไม่ได้ เพราะการใช้มาตรา 90 เรื่องการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลาย บทหรือหลายกระทง ต้องตีความให้เสร็จก่อนว่า สิดามีความผิดทั้งสองฐานจริงๆ ตรงนี้ ลองพิจารณาตาม “เจตนารมณ์ของกฎหมาย” วางเพลิงเผาทรัพย์ กำหนดระวางโทษทั้งขั้นต่ำและขั้นสูง หนักกว่า ทำให้เสียทรัพย์ : เรา จึงพิจารณาได้ว่ากฎหมายเข้มงวดและถือว่าการวางเพลิงเผาทรัพย์มี “ความน่าตำหนิ” มากกว่า การทำลายทรัพย์ของผู้อื่นด้วยไฟ กับทำลายทรัพย์ของคนอื่นด้วยการเอาไปทิ้งน้ำ แตกต่างกัน ตรงไหน?
การเอาทรัพย์ไปทิ้งน้ำ สิ่งที่สูญสลายไป ย่อมเป็นทรัพย์นั้นเพียงอย่างเดียว แต่การวางเพลิงเผาทรัพย์ ด้วย ธรรมชาติของเพลิงซึ่งเป็นอันตรายด้วย ตัวมันเอง และอาจลุกลามไม่อย่างไม่มี ทิศทาง
“คุณธรรมที่กฎหมายคุ้มครอง” ในสองกรณีนี้จึงต่างกัน ทำให้เสียทรัพย์ คุ้มครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์จึงเป็นเรื่องที่บุคคลทำต่อทรัพย์สินของอีกบุคคลหนึ่ง กฎหมายจึง อนุญาตให้ผู้เสียหายอาจยอมความได้ เพรามันเป็นแค่ความผิดต่อกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ตาม มาตรา 361 “ความผิดตามมาตรา 358 และมาตรา 359 เป็นความผิดอันยอมความได้” ภาษากฎหมายอาญา เรียกว่า “ความผิดต่อส่วนตัว” ซึ่งต่างจากความผิดอาญาแผ่นดิน
ในขณะที่ “วางเพลิงเผาทรัพย์” ตามมาตรา 217 เป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความได้ เป็น อาญาแผ่นดิน (การดูว่าความผิดไหนเป็นความผิดต่อส่วนตัว/อาญาแผ่นดิน ให้ดูจากท้ายหมวดที่กฎหมาย นั้นๆ บัญญัติไว้ เช่น มาตรา 281, 361, 325, 333, 348, 351, 356, 366) การเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน = ต้องกระทบต่อสังคมมากกว่าบุคคล กฎหมายจึงไม่อนุญาต ให้ผู้เสียหาย หรือเจ้าของทรัพย์นั้นยอมความได้ หากพิจารณาจากการจัดกลุ่มความผิด การวางเพลิงถูกจัดอยู่ใน “ความผิดเกี่ยวกับการ ก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน”
ดังนั้น หากพิจารณาตาม เจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งเราดูจากการเปรียบเทียบกฎหมายอื่น, โครงสร้างในบทบัญญัติ, วิธีการลงโทษ ฯลฯ ทำให้เรารู้ว่า เจตนารมณ์ของ มาตรา 217 คือ การป้องกันภยันตรายต่อประชาชน ด้วยสภาพและ ธรรมชาติของไฟ การกระทำของสิดา เป็นการกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือไม่? ในมิตินี้ การทำให้เสียทรัพย์ด้วยไฟ เป็นสิ่งที่ทำได้เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องลงว่าเป็น 217 ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การตีความตามเจตนารมณ์นี้ ส่วนใหญ่ทำเพื่อให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ในขณะที่การตีความตามเจตนารมณ์แล้วเป็นเหตุให้บุคคลต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสิ่งที่ไม่ทำกัน เพราะ เท่ากับขยายความไปลงโทษบุคคล แม้ว่าจะไม่ได้ขัดกับมาตรา 2 วรรคหนึ่ง โดยตรง แต่หมิ่นเหม่จะขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ว่า “ในคดีอาญา ต้อง สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด”
3.4 การทำความเข้าใจจากประวัติความเป็นมาของกฎหมาย ประเด็นนี้เป็นไปตาม ทฤษฎีการตีความกฎหมายแบบอำเภอจิต (มักถูกอธิบายคู่กับ ทฤษฎีอำเภอการณ์) คือ ความหมายของกฎหมายย่อมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในขณะที่ร่างกฎหมาย (Originalism) การแสวงหาความหมายของกฎหมาย จึงต้องสืบย้อนไปถึงเจตนารมณ์ของผู้ร่าง เช่น ความผิดฐานอั้งยี่ ตามมาตรา 209: “ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการ และมี ความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย...” ความผิดฐานนี้ โปรดสังเกตว่า ความผิดอาจสำเร็จได้ด้วยการเป็นสมาชิกเท่านั้น โดยที่บุคคลนั้นอาจยัง ไม่ได้กระทำการใดใด ที่ขัดต่อกฎหมายในเชิงเนื้อหาเลยก็ได้ เพราะจุดตั้งต้นของการกำหนดความผิดฐานนี้ คือ การลดพลังของเครือข่ายชาวจีนซึ่งมีอิทธิพลสูงมากใน ด้านเศรษฐกิจทั้งในและนอกระบบ ตลอดจนการเคลื่อนเข้ามาของความคิดคอมมิวนิสต์ ช่วง 2490
3.5 บทนิยาม เมื่อกฎหมายต้องการให้คำบางคำมีความหมายพิเศษไปจากความเข้าใจทั่วไปใน สังคม กฎหมายอาจกำหนดให้ “คำ” นั้นๆ มีความหมายกว้างหรือแคบกว่าความเข้าใจทั่วไปก็ได้ เช่น อาวุธ หมายความรวมถึงสิ่งที่มิใช่อาวุธโดยสภาพ กฎหมายจะกำหนดบทนิยามขึ้นมาให้เป็น “ศัพท์เทคนิคทางกฎหมาย” (legal technical term) กรณีของประมวลกฎหมายอาญา บทนิยาม ถูกรวมไว้ในมาตรา 1 ซึ่งเราจะเลือกบางคำที่มีความสำคัญมาพูดคุยในห้องนี้
“โดยทุจริต” (1) “โดยทุจริต” หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือ ผู้อื่น (เพื่อ (กริยา) แสวงหา (กรรมตรง) ประโยชน์) (ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย) ((กรรมรอง)สำหรับตนเองหรือผู้อื่น) เพื่อ = บ่งบอกถึงระดับเจตนา ไม่จำเป็นต้องมีการกระทำนั้นเกิดขึ้นจริงๆ ประโยชน์ = ต้องตีความว่า “ประโยชน์” หมายถึงอะไรบ้าง โดยชอบด้วยกฎหมาย = ต้องไปดูสิทธิที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายต่างๆ
“โดยทุจริต” (2) กรณี “ทุจริต” ในทางอาญานั้นมีแนวการตีความที่แตกต่างจากทางแพ่ง (จึงกำหนดบทนิยามไว้ ต่างหาก) ในทางแพ่ง “ทุจริต” หมายถึง “ไม่สุจริต” คือ การรับรู้ถึงการที่ไม่มีสิทธิหรือความบกพร่องแห่งสิทธิ (ฎ 540/2490 อ้างใน จิตติ, 2553 :623) ในขณะที่ “โดยสุจริต” หมายถึง การไม่รู้ถึงความไม่มีสิทธิ หรือบกพร่องแห่งสิทธิของตน ในทางอาญา พิจารณาตาม มาตรา 1 : “โดยทุจรติ” ต้องประสงค์ต่อประโยชน์บางอย่างโดยตรง มิใช่เพียง “ไม่สุจริต” เหมือนในทางแพ่ง ดังนั้น ดูว่าทุจริตหรือไม่ ต้องดูว่าต้องการ “ประโยชน์” หรือไม่
“โดยทุจริต” (3) ประโยชน์ แปลว่าอะไร? จิตติ ตีความคำว่า “ประโยชน์” โดยมองผ่านตัวบทที่มีการใช้ถ้อยคำตามมาตรา 1(1) ได้แก่ มาตรา 126 (ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร) มาตรา 143 (ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง) มาตรา 147,151, 154, 157 (ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ) มาตรา 242 (ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและแปลง) มาตรา 269 วรรค 2 (ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร) มาตรา 317-319 (ความผิดต่อเสรีภาพ) ของเขตของ “ประโยชน์” โดยพิจารณาจากบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องโดยตรง พบว่าประโยชน์ที่ผู้กระทำการโดย ทุจริตแสวงหานั้น ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์สินเท่านั้น
“โดยทุจริต” (4) “ถ้าเทียบกับถ้อยคำที่ใช้ในมาตรา 1(13), 148, 149, 150, 324 กับมาตรา 337, 338 แล้วที่ใดที่กฎหมายประสงค์ ให้หมายความถึงประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ก็จะบัญญัติลงไว้ให้ชัดเช่นนั้น ที่ใดที่ไม่บัญญัติเฉพาะ ประโยชน์ในลักษณะทรัพย์สิน ย่อมหมายความถึงประโยชน์ทั่วไป ทั้งที่เป็นและไม่เป็นทรัพย์สิน ” (จิตติ, 2553 :624-625) มาตรา 1(13) “ค่าไถ่” = ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาไป ผู้ถูก หน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขัง มาตรา 148 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้ หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่ง ผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่ สิงพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
“โดยทุจริต” (5) การใช้ถ้อยคำในบทนิยาม มักมีลักษณะแทนค่าลงไปในบทที่กำหนดความผิด (ภาคสองของประมวล กฎหมายอาญา) เช่น ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ (โดยทุจริต) เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผู้อื่น = มาตรา 157+1(1) ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป (โดยทุจริต) เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น = 334+1(1)
“อาวุธ” มาตรา 1(7) “หมายความรวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาใช้ ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ” = อาวุธ หมายถึง สิ่งที่เป็นอาวุธโดยสภาพ + สิ่งซึ่งมิใช่อาวุธโดยสภาพ (ตาม (7)) อาวุธโดยสภาพ หมายถึง สิ่งซึ่งใช้สำหรับทำให้เป็นอันตรายสาหัสแก่บุคคลเป็นลักษณะ ปกติของสิ่งนั้น เปรียบเทียบกับกฎหมายเก่า “สาสตราวุธ เช่น ปืน ดาบ หอก แหลน หลาว มีด และตะบอง เป็นต้น” ในขณะที่ อาวุธโดยการใช้หรือเจตนา ต้องทำให้เกิดอันตรายสาหัสอย่างอาวุธเช่นกัน
“อันตรายสาหัส” พิจารณาตาม มาตรา 297 วรรค 2 กล่าวคือ ดังนั้น หัวใจของ “อาวุธ” คือ สิ่งที่ได้ใช้ หรือเจตนาจะใช้ และอยู่ในวิสัยที่จะทำให้เกิดอันตรายสาหัสได้ “อันตรายสาหัส” พิจารณาตาม มาตรา 297 วรรค 2 กล่าวคือ (1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท (2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธ์ (3) เสีย แขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด (4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว (5) แท้งลูก (6) จิตพิการอย่างติดตัว (7) ทุพลภาพ หรือเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต (8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า ยี่สิบวัน
ปืนยิงด้วยการอัดลมทำให้เกิดบาดแผลมากน้อยแล้วแต่ระยะยิงจึงเป็น “อาวุธ” อาวุธที่ไม่พร้อมจะทำอันตรายสาหัสได้ เช่น ปืนไม่มีกระสุน ไม่เป็นอาวุธ (ฎ. 1154/2478) อย่างไรก็ตาม ปืนที่ยิ่งไม่ได้อาจอยู่ในข่ายการตีความของกฎหมายอื่นว่าเป็น “อาวุธปืน” เช่น พระราชบัญญัติอาวุธปืน พ.ศ. 2490 แต่อาวุธตามมาตรา 1(5) ของประมวลกฎหมายอาญา กับพระราชบัญญัติอาวุธปืน มีวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน ไม่นำมาตีความเทียบเคียงซึ่งกัน และกัน เพื่อให้บุคคลต้องรับโทษ ตามมาตรา 2 วรรคหนึ่ง
อาวุธโดยการใช้หรือเจตนาจะใช้ คือสิ่งที่ไม่มีสภาพเป็นอาวุธ แต่ได้ใช่หรือเจตนาจะใช้ให้เป็นอันตรายสาหัสก็ถือเป็นอาวุธ ตาม 1(5) ขวานใช้ในการตัดไม้ ไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ใช้อย่างอาวุธได้ (ฎ. 144/2483) ชักสิ่วออกมาขู่จะทำร้ายในการปล้น เป็นปล้นโดยมีอาวุธ (ฏ. 2009/2522) ถือเคียวกลับจากเกี่ยวข้าวพบไม่ตะปูนที่ปลายนาเลยลักไป ไม่เป็นลักทรัพย์โดยมีอาวุธ เพราะไม่ได้ใช้หรือ เจตนาจะใช้เคียวเป็นอาวุธ (ฎ. 144/2483) มีจอบเสียมบุกรุกขุดดินในนา ไม่ได้ใช้จอบเสียมเป็นอาวุธ (ฎ. 335/2493) ท่อนไม้ไผ่ใช้ปาไปถูกหน้าผากแตก ไม่เป็นอาวุธ (ฎ 423/2454)
“ใช้กำลังประทุษร้าย” มาตรา 1(6) “ใช้กำลังประทุษร้าย” หมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะ ทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีการอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการกระทำใดๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคล หนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้ในเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอัน คล้ายคลึงกัน” “ใช้กำลังประทุษร้าย” หมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล (ไม่ว่าจะทำด้วยใช้ แรงกายภาพหรือด้วยวิธีการอื่นใด) และ (ให้หมายความรวมถึงการกระทำใดๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่ง บุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้) (ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอัน คล้ายคลึงกัน)” กฎหมายต้องการให้คำนี้มีความหมายกว้างกว่าความหมายทั่วไป
สรุป: การตีความกฎหมายอาญาในเชิงเนื้อหา การใช้กฎหมายอาญา ซึ่งโดยปกติใช้เพื่อลงโทษบุคคล ต้องใช้ตามบทบัญญัติของกฎหมาย การตีความด้วยจารีตก็ดี เทียบเคียงก็ดี พึงใช้เฉพาะกรณีที่อาจเป็นคุณต่อจำเลย มิฉะนั้นรัฐจะกลายเป็นรัฐ ตำรวจ (police state) การตีความ = การทำความเข้าใจกฎหมาย ต้อง; 1. ทำความเข้าใจจากบทนิยาม 2. ทำความเข้าใจตามหลักภาษา 3. ทำความเข้าใจจากการศึกษากฎหมายอย่างเป็นระบบ 4. ทำความเข้าใจจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย 5. ทำความเข้าใจจากประวัติความเป็นมาของกฎหมาย เมื่อสามารถเข้าใจกฎหมายอาญาในเชิงเนื้อหาได้ เราพิจารณากันต่อเรื่องเวลาและพื้นที่ในการใช้กฎหมาย อาญา