ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์ความปลอดภัยแรงงาน สำนักความปลอดภัยแรงงาน คู่มือการปฏิบัติตามมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานแห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ สำหรับหน่วยงานราชการ (ตามมาตรา ๓ วรรคสอง) สุวดี ทวีสุข ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์ความปลอดภัยแรงงาน สำนักความปลอดภัยแรงงาน
พรบ. ความปลอดภัยฯ พ.ศ. 2554 1.แรงงานในระบบ 357,123 แห่ง 8.22 ล้านคน 2.แรงงานนอกระบบ+แรงงานข้ามชาติ มากกว่า 27 ล้านคน 3.แรงงานภาคราชการ มากกว่า 2 ล้านคน 4.บุคคล/นิติบุคคลตามมาตรา 9 และมาตรา 11 มากกว่า 10,000 คน/แห่ง
ทฤษฎีโดมิโน โดย H.W. Heinrich (1920)
บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยฯ พนักงานตรวจความปลอดภัย ข้าราชการที่มีคุณสมบัติ ประสบการณ์ และ ผ่านการฝึกอบรม ตามที่กระทรวงกำหนด บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มา: dรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (*ประมวลผล ณ วันที่ 30 กันยายน 2556) สำนักความปลอดภัย แรงงาน (**สำรวจปี 2555,***สำรวจปี 2556) ประเภท จำนวน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (ทุกระดับ) 268,127 คน* คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ 10,146 แห่ง* ผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านอาชีวอนามัย 13,563 คน*** บุคลากรด้านอาชีวเวชศาสตร์ (แพทย์ พยาบาล) 1,650 คน** หน่วยฝึกอบรมด้านความปลอดภัยฯ 137 แห่ง*** สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนด้านความปลอดภัยฯ 32 สถาบัน
เนื้อหา 1. นำเข้าสู่เนื้อหา - พระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ มาตราที่เกี่ยวข้อง - การดำเนินการของสำหรับส่วนราชการที่ผ่านมา 2. คู่มือการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ สำหรับหน่วยงานราชการ - บทที่ ๑ บททั่วไป - บทที่ ๒ มาตรฐานการดำเนินการ - บทที่ ๓ การรายงาน - ภาคผนวก
พระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น (๒) กิจการอื่นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่นและกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง จัดให้มีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยฯ ในหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานฯ ตามพระราชบัญญัตินี้
พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ประกอบด้วย 8 หมวด 75 มาตรา หมวด 1 บททั่วไป กำหนดหน้าที่ นายจ้าง/ลูกจ้าง หมวด 2 การบริหารจัดการและการ ดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ หมวด 3 คณะกรรมการความปลอดภัยฯ หมวด 4 การควบคุม กำกับ ดูแล หมวด 5 พนักงานตรวจความปลอดภัย หมวด 6 กองทุนความปลอดภัยฯ หมวด 7 สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ หมวด 8 บทกำหนดโทษ
บทนิยามศัพท์ที่สำคัญ (มาตรา ๔) “ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” การกระทำหรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน
บทนิยามศัพท์ (ต่อ) “นายจ้าง” นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และให้หมายความรวมถึง ผู้ประกอบกิจการซึ่งยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาทำงานหรือทำผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการ ไม่ว่าการทำงานหรือการทำผลประโยชน์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการนั้นหรือไม่ก็ตาม
บทนิยามศัพท์ (ต่อ) “ลูกจ้าง” ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับความยินยอมให้ทำงานหรือทำผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการของนายจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม
บทนิยามศัพท์ (ต่อ) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ลูกจ้างตั้งแต่ระดับผู้จัดการในหน่วยงานขึ้นไป “หัวหน้างาน” หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ควบคุม ดูแล บังคับบัญชา หรือสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของหน่วยงาน
บทนิยามศัพท์ (ต่อ) “เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน” หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามพระราชบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า หน่วยงานแต่ละแห่งของนายจ้างที่มีลูกจ้างทำงานอยู่ในหน่วยงาน 12
การบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย ฯมาตรา ๘-๒๓ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย ฯ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวง ที่ใช้บังคับตามมาตรา ๘ ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา ๗๔ กฎกระทรวง ที่ใช้บังคับตามมาตรา ๘ ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา ๗๔ - ที่อับอากาศ - รังสี - การตรวจสุขภาพ - ประดาน้ำ - ความร้อน แสง เสียง - การบริหารจัดการ - งานก่อสร้าง - เครื่องจักร กฎกระทรวงที่ใช้บังคับตามมาตรา ๘ - การป้องกันและระงับอัคคีภัย - สารเคมีอันตราย - ไฟฟ้า
มาตรา ๘ วรรคสอง การกำหนดกฎกระทรวงมาตรฐานตามมาตรา ๘วรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดทำเอกสารหรือรายงานใดโดยมีการตรวจสอบหรือรับรองโดยบุคคลหรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ผู้ใดประสงค์ให้บริการต้องขึ้นทะเบียน/ขอใบอนุญาตตามมาตรา ๙ หรือ มาตรา ๑๑)
การขอขึ้นทะเบียน (มาตรา ๙) การขอใบอนุญาต (มาตรา ๑๑) - บุคคล/นิติบุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย ฯ ตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ จะต้องขึ้นทะเบียน/ขอใบอนุญาตต่อสำนักความปลอดภัยแรงงาน คุณสมบัติ วิธีการ หลักเกณฑ์ฯลฯ กำหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวง ที่ใช้บังคับตามมาตรา ๑๑ กฎกระทรวงการเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น และการเป็นหน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ (รองรับกฎกระทรวงฯ การป้องกันและระงับอัคคีภัย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๘)
จป.และบุคลากรจะต้องขึ้นทะเบียนต่อ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน การจัดให้มี จป. (มาตรา ๑๓) ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จป.และบุคลากรจะต้องขึ้นทะเบียนต่อ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กฎกระทรวงที่ใช้บังคับตามมาตรา ๑๓ ประกอบมาตรา ๗๔ กฎกระทรวงที่ใช้บังคับตามมาตรา ๑๓ ประกอบมาตรา ๗๔ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร และการจัดการด้านความปลอดภัยฯ พ.ศ. ๒๕๔๙
การให้ลูกจ้างไปทำงาน มาตรา ๑๔ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกายจิตใจ หรือสุขภาพอนามัย - แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน -แจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน 20
- ผู้บริหาร หัวหน้างาน - ลูกจ้างทุกคน การฝึกอบรมลูกจ้าง (มาตรา ๑๖) ให้นายจ้างจัดการฝึกอบรม - ผู้บริหาร หัวหน้างาน - ลูกจ้างทุกคน - ลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ก่อนการเริ่มทำงาน
ประกาศกรมฯ ที่ใช้บังคับตามมาตรา ๑๖ ประกาศกรมฯ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
การฝึกอบรม มาตรา ๑๖ เก็บหลักฐานการฝึกอบรมไว้ให้ตรวจสอบ โดยวิทยากรตามที่กำหนด ลูกจ้างระดับบริหาร ๑๒ ชั่วโมง การบริหาร กฎหมาย ระบบการจัดการ ลูกจ้างระดับหัวหน้างาน (ความรู้ด้าน OHS กฎหมาย การค้นหาอันตราย)การป้องกันและควบคุม ลูกจ้างทั่วไป ลูกจ้างใหม่ ๖ ชั่วโมง (ความรู้ด้าน OHS กฎหมาย) ข้อบังคับ ลูกจ้างเปลี่ยนงาน ๓ ชั่วโมง ปัจจัยเสี่ยง ข้อบังคับ
การฝึกอบรม มาตรา ๑๖ โดยวิทยากรตามที่กำหนด ๑. เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในหัวข้อที่บรรยาย ปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัยฯโดยตรง ๓ ปี เป็นวิทยากร ๑ ปี ประสบการณ์ ๑ ปี สำหรับ การฝึกอบรมลูกจ้างทั่วไป ลูกจ้างใหม่ ลูกจ้างเปลี่ยนงาน ๒. เป็นอาจารย์ ในสถาบันที่สอน ป.ตรีสาขาอาชีวอนามัย ที่มีประสบการณ์ ๓ ปี ๓. เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่มีวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรีอาชีวอนามัย/ ผ่านหลักสูตรพนักงานตรวจฯ ประสบการณ์ ๓ ปี เป็นวิทยากร ๑ ปี
- สัญลักษณ์เตือนอันตราย การปิดประกาศสัญลักษณ์และข้อความแสดงสิทธิ (มาตรา ๑๗) ให้นายจ้างติดประกาศ - สัญลักษณ์เตือนอันตราย -ข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง 25
ประกาศกรมฯ ที่ใช้บังคับตามมาตรา ๑๗
เครื่องหมายและสีความปลอดภัยในการทำงาน
เครื่องหมายด้านความปลอดภัย เครื่องหมายบังคับ เครื่องหมายปลอดภัย
เครื่องหมายด้านความปลอดภัย เครื่องหมายเตือน เครื่องหมายห้าม
ข้อความแสดงสิทธิ ๑๓ ข้อ (๑) นายจ้างและลูกจ้างมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒) นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของลูกจ้าง มิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย (๓) นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐาน ถ้าลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้หยุดการทำงานจนกว่าลูกจ้างจะสวมใส่อุปกรณ์นั้น
หน้าที่นายจ้างและลูกจ้าง (มาตรา ๑๘) สถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง - นายจ้างทุกรายของสถานประกอบกิจการในสถานที่นั้น มีหน้าที่ร่วมกันดำเนินการด้านความปลอดภัย ฯ - ลูกจ้างซึ่งทำงานในสถานที่นั้น ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย ฯ
อาคารและอุปกรณ์ที่เช่า (มาตรา ๑๙) นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ - นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย ฯเกี่ยวกับอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้น - ตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ -การดำเนินการไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคารฯ หรือผู้ให้เช่าในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือ ค่าทดแทนใด ๆ ตลอดจนการบอกเลิกสัญญาเช่า
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (มาตรา ๒๒) ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด -ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่และดูแลรักษาให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทำงาน - ให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดการทำงานจนกว่าลูกจ้าง จะสวมใส่อุปกรณ์
การสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองฯ มาตรา ๒๒ ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด 34
ประกาศกรมฯ ที่ใช้บังคับตามมาตรา ๒๒ ประกาศกรมฯ เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครอง ความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๔
ประกาศกรมฯ เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ. ศ ประกาศกรมฯ เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๔ มอก. ISO EN AS/NZS American National Standards Institute : ANSI JIS NIOSH OSHA NFPA ให้เหมาะสมกับชนิดหรือประเภทของงานที่ลูกจ้างปฏิบัติ
มาตรา ๓๒ ให้นายจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการประเมินอันตราย การควบคุม กำกับ ดูแล (มาตรา ๓๒-๓๔) มาตรา ๓๒ ให้นายจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการประเมินอันตราย (๒) ศึกษาผลกระทบฯที่มีผลต่อลูกจ้าง (๓) จัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย และแผนควบคุม (๔) ส่งผลตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้อธิบดี หลักเกณฑ์ วิธีการ ฯ ประเภทกิจการ และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนด ในการดำเนินการตาม (๑) –(๔) ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและได้รับการรับรองผลจากผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย ฯ
ปัจจุบันยังไม่มีประกาศกระทรวง ตามมาตรา ๓๒ ใช้บังคับ
การแจ้งการประสบอันตราย มาตรา ๓๔ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการใดเกิดอุบัติภัยร้ายแรง หรือลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน (๑) กรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต แจ้งทันทีที่ทราบ และเป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างเสียชีวิต (๒) กรณีที่ได้รับความเสียหายหรือต้องหยุดการผลิต ให้แจ้งทันทีที่ทราบ แจ้งเป็นหนังสือภายในเจ็ดวัน (๓) กรณีที่มีลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน เมื่อนายจ้างแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมแล้ว ให้ส่งสำเนาต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยด้วย
ประกาศกรมฯ ที่ใช้บังคับตามมาตรา ๓๔ ประกาศกรมฯ เรื่องกำหนดแบบแจ้งการเกิดอุบัติภัยร้ายแรง หรือการประสบอันตรายจากการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔
การดำเนินการที่ผ่านมา ระยะแรก การประสานงานกับคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ การดำเนินการของกรมฯ - จัดทำคู่มือการปฏิบัติ โดยผ่านการวิพากษ์ของหน่วยงาน - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีหนังสือแจ้งรัฐมนตรีทุกกระทรวงให้ดำเนินการ - การประชุมชี้แจงหน่วยงานราชการต่างๆ - คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนความปลอดภัยฯของส่วนราชการ - โครงการสร้างความปลอดภัยขั้นพื้นฐานในองค์กรภาครัฐ
หนังสือกระทรวงแรงงาน ที่ ๐๕๑๐/ว๑๙๓๔ ลว หนังสือกระทรวงแรงงาน ที่ ๐๕๑๐/ว๑๙๓๔ ลว. ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖ แจ้งไปยังรัฐมนตรี ทุกกระทรวงให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯ
หนังสือกระทรวงแรงงาน ที่ ๐๕๑๐/ว๑๙๓๔ ลว หนังสือกระทรวงแรงงาน ที่ ๐๕๑๐/ว๑๙๓๔ ลว. ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖ แจ้งไปยังรัฐมนตรี ทุกกระทรวงให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯ
คู่มือการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ สำหรับหน่วยงานราชการ เนื้อหา คู่มือการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ สำหรับหน่วยงานราชการ
องค์ประกอบของคู่มือ คำนำ บทที่ ๑ บททั่วไป บทที่ ๒ มาตรฐานในการดำเนินการ (แบ่งเป็น ๓ ส่วน) บทที่ ๓ การรายงานการดำเนินการ ภาคผนวก - แบบทบทวนสถานะ - ตัวอย่างการดำเนินการ - แบบรายงาน
บทที่ ๑ บททั่วไป
วัตถุประสงค์ของคู่มือ เพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัยฯ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่บุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง เป็นคู่มือสำหรับหน่วยงานในส่วนราชการในการดำเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัยฯ
แบบทบทวนสถานะ
บทที่ ๒ มาตรฐานในการดำเนินการ
บทที่ ๒ มาตรฐานในการดำเนินการ ส่วนที่ ๑ แนวปฏิบัติฯ สำหรับทุกหน่วยงาน ส่วนที่ ๒ แนวปฏิบัติฯ สำหรับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงเฉพาะ เกี่ยวกับความร้อน เสียง รังสี สารเคมีอันตราย เครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ งานประดาน้ำ ที่อับอากาศ และงานก่อสร้าง ส่วนที่ ๓ แนวปฏิบัติฯ สำหรับหน่วยงานราชการที่เข้าข่ายกิจการเฉพาะ
ส่วนที่ ๑ แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน ส่วนที่ ๑ แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน
ส่วนที่ ๑ แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน ส่วนที่ ๑ แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายและแต่งตั้งบุคคล หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการตามมาตรฐาน ๒. จัดให้มีนโยบายความปลอดภัยฯของหน่วยงาน เป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยหัวหน้าส่วนราชการ ๓. จัดให้มีแผนงาน งบประมาณ และรายงานผลการดำเนินงานฯ
แนวทางในการประกาศนโยบายความปลอดภัยฯ ราชการส่วนกลาง โดยหัวหน้าส่วนราชการ เหมาะสมกับโครงสร้างและภารกิจ กำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในภาพรวม ราชการส่วนภูมิภาค - ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำหนด - หน่วยงานที่มีความเสี่ยงเฉพาะให้ส่วนกลางกำหนดนโยบายให้ปฏิบัติควบคู่กัน ราชการส่วนท้องถิ่น -ผู้มีอำนาจสูงสุด
ตัวอย่างในภาคผนวกของคู่มือ
แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน (ต่อ) ๔. ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหน่วยราชการทุกแห่งที่มีที่ตั้งในสถานที่เดียวกันมีหน้าที่ร่วมกันดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ - คณะบุคคล/คณะกรรมการความปลอดภัยฯ - การป้องกันและระงับอัคคีภัย - การติดสัญลักษณ์เตือน การจราจร - กฎระเบียบความปลอดภัยฯ
แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน (ต่อ) ๕. จัดให้มีกฎ ระเบียบ หรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยฯ ที่เหมาะสมภายในส่วนราชการ หรือหน่วยราชการ - มาตรฐานการทำงานสำหรับพนักงานขับรถ - มาตรฐานฯ ๕ ส - มาตรฐานฯ การปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ - ระเบียบการขึ้นลงบันได - ระเบียบการยกด้วยแรงกาย
แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน (ต่อ) ๖. ในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการให้บุคลากรทำงานในสภาพที่อาจทำให้ได้รับอันตรายต้องแจ้งบุคลากรให้ทราบถึงอันตรายและวิธีการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานก่อนมอบหมายงาน - การออกตรวจพื้นที่ - การกู้ภัยต่างๆ - การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ที่มีน้ำหนัก - การปฏิบัติเกี่ยวกับรังสี สารเคมี
แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน (ต่อ) ๗. จัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยฯ ให้แก่ผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคลากรทุกคน - หลักสูตรตามมาตรา ๑๖ - การยกของด้วยแรงกาย - การยศาสตร์ - การดูแลสายตาในการทำงาน - การป้องกันอันตรายจากการทำงาน
แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน (ต่อ) ๘. จัดให้มีสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ ที่เหมาะสมภายในหน่วยงาน
แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน (ต่อ) ๙. เมื่อบุคลากรทราบถึงข้อบกพร่องฯ และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองให้แจ้งต่อบุคคล หรือคณะบุคคล หรือผู้บังคับบัญชาขั้นต้นเพื่อแจ้งให้ผู้บริหารหรือหัวหน้าส่วนราชการดำเนินการแก้ไข - รถยนต์ - อุปกรณ์ไฟฟ้า - เครื่องมือ - พื้นชำรุด
แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน (ต่อ) ๑๐. จัดและดูแลให้มีการใช้และสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐาน เหมาะสมตามลักษณะงาน
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล Head Eye Face Respiratory Hand & Arm Foot Clothing Hearing Fall Specific Task
แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน (ต่อ) ๑๑. ทำแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยประจำหน่วยงาน ๑๒. ฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน แนวการจัดทำ แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๔ จัดทำโดย สำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ๒๒/๒๒ ถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๗๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๔๔๘ ๙๑๒๘-๓๙ www.oshthai.org มกราคม ๒๕๕๖
ข้อควรปฏิบัติในเมื่อพบเหตุ เพลิงไหม้ - ถ้าเพลิงยังมีขนาดเล็กพอที่จะดับเพลิงเองได้ให้ใช้ ถังดับเพลิงมือถือเข้าทำการดับเพลิง - ดึงอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือในบริเวณใกล้ - ถ้าคิดว่าไม่สามารถดับเพลิงได้ให้รีบอพยพหนี ออกจากพื้นที่ทันทีและให้ปิดประตูห้อง พร้อมแจ้ง..........ทันที - การหนีไฟให้ใช้บันไดเท่านั้น ห้าม! ใช้ลิฟต์โดย เด็ดขาด - .............
ตัวอย่างป้ายบอกทางหนีไฟ ตาม วสท.
ประตูที่ในเส้นทางหนีไฟ
ประตูเปิดตามทิศทางการหนีไฟ
บันไดหนีไฟ ปล่องทางหนีไฟ
สายส่งน้ำดับเพลิง ข้อต่อ ข้อต่อสายส่ง
การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ อาคารกระทรวงแรงงาน
การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ อาคารกระทรวงแรงงาน
การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ อาคารกระทรวงแรงงาน
แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน (ต่อ) ๑๓. สำรวจ ตรวจสอบ เพื่อประเมินสภาพการทำงานที่อาจก่อให้เกิดอันตราย และจัดทำแผนการควบคุมหรือปรับปรุงแก้ไข ๑๔. บุคลากรทุกคนในหน่วยงานมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนด และให้ความร่วมมือ ๑๕. จัดเก็บข้อมูลการประสบอันตรายจากการทำงานของหน่วยงาน
ส่วนที่ ๒ แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ
ส่วนที่ ๒ แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ หน่วยงานราชการในสังกัดมีความเสี่ยงเกี่ยวกับความร้อน แสงจ้า เสียงดัง รังสีชนิดก่อไอออน สารเคมีอันตราย เครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ งานประดาน้ำ การทำงานในที่อับอากาศ งานก่อสร้าง และงานซ่อมบำรุงหรือลักษณะการดำเนินการ อื่นที่มีความเสี่ยงจากการทำงาน
หน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ - โรงพิมพ์ - ดับเพลิง - เครื่องเอ๊กซ์เรย์ - จัดเก็บวัตถุระเบิด - ห้องปฏิบัติการเคมี - จัดเก็บวัตถุไวไฟ - งานก่อสร้าง - การสร้างทาง - เครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ - ที่มีที่อับอากาศ
ส่วนที่ ๒ แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ หน่วยงานราชการ - ต้องดำเนินการและสำรวจสถานที่ทำงานของบุคลากร ว่ามีความเสี่ยงเฉพาะอะไรบ้าง - เมื่อพบว่ามีความเสี่ยงใดให้ดำเนินการเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง
แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานตามปัจจัยเสี่ยง ความร้อน เสียงดัง รังสีชนิดก่อไอออน (x-ray) สารเคมีอันตราย สภาพบรรยากาศอันตราย เป็นต้น
ตัวอย่างการปฏิบัติ เครื่องมือตรวจวัดปริมาณรังสีชนิดก่อไอออน
แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ ตรวจสุขภาพบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยง (รังสี ความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน ความกดดันบรรยากาศ แสงสว่าง เสียงดัง) หากพบความผิดปกติให้ได้รับการรักษาพยาบาลทันที และจัดเก็บรายงานสรุปผลการตรวจสุขภาพไว้ ๓. จัดให้มีอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นเพื่อปฐมพยาบาลบุคลากรที่ทำงานที่มีความเสี่ยงก่อนนำส่งโรงพยาบาล แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ
การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยง การตรวจสุขภาพ เสียงดัง การทดสอบการได้ยิน ตะกั่ว ระดับตะกั่ว รังสี ระบบที่ถูกทำลาย ฝุ่นละเอียด สมรรถภาพการทำงานของปอด ขึ้นอยู่กับระดับการรับสัมผัส
แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ ๔. จัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายสำหรับเครื่องจักร ๕. จัดให้มีการตรวจสอบหรือรับรองความปลอดภัยของเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ ลิฟต์ นั่งร้าน ค้ำยัน เครื่องตอกเสาเข็ม โดยวิศวกร
9/16/2018 8989
9/16/2018 9090
9/16/2018 9191
โครงหลังคามั่งคงแข็งแรง สัญญาณเสียงหรือ แสงไฟเตือนภัย ป้ายบอกพิกัด น้ำหนักยก 1 11 ตันตัน ตรวจสอบให้ปลอดภัย ก่อนใช้งานทุกครั้ง
แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ ๖. จัดให้มีมาตรฐาน หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย ในงานที่มีความเสี่ยง และควบคุมดูแลการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ความปลอดภัยในงานเครื่องกล 1. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักรทุกส่วน ให้แน่ใจก่อนเปิดเครื่อง 2. ทดลองเปิดและปิดเครื่อง 3. ก่อนเปิดเครื่องทำงานต้องแน่ใจว่าได้จัดยึดชิ้นงาน และเครื่องมือตัดไว้แน่น และเรียบร้อยแล้ว 4. ขณะเครื่องจักรกำลังทำงาน อย่าปรับแต่งเครื่อง หยอดน้ำมัน หรือปัดเศษชิ้นส่วนเพื่อทำความสะอาด 5. อย่าใช้มือหรือส่วนใด ๆ ของร่างกายหยุดเครื่องจักรแม้จะปิดสวิตช์แล้วก็ตาม 5. ควรรักษาพื้นที่ปฏิบัติงานให้สะอาด อย่าให้มีคราบน้ำมัน หรือเศษชิ้นงาน 6. ควรใช้เครื่องจักรเพียงคนเดียว อย่าให้เพื่อนเปิด ปิด เครื่องจักรให้ 7. อย่าเล่นกันระหว่างปฏิบัติงาน 8. ระหว่างปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ต้องมีสมาธิกับเครื่องจักร ไม่พูดคุยกับเพื่อน 9. อย่าปล่อยให้เครื่องจักรทำงานโดยไม่คอยควบคุม 10. บริเวณที่ปฏิบัติงานควรมีแสงสว่างที่พอเพียง
แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ ๗. จัดให้มีมาตรการหรือแผนรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน - สารเคมีหรือรังสีรั่วไหล - กรณีแก๊สระเบิด - กรณีหม้อน้ำระเบิด
แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ ๘. จัดให้มีการกำหนดพื้นที่ควบคุม และมีป้ายข้อความในบริเวณที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับ รังสีชนิดก่อไอออน สารเคมีอันตราย ไฟฟ้าแรงสูง ที่อับอากาศ เครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ และก่อสร้าง รวมทั้งห้ามบุคคลภายนอกที่ไม่มีเกี่ยวข้องเข้าพื้นที่
เครื่องหมายห้าม
การแสดงป้ายเตือนอันตรายการใช้รังสีชนิดก่อไอออนใน
แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ จัดให้มีระบบการขออนุญาตเข้าทำงานในงานอันตราย - ที่อับอากาศ - ที่จัดเก็บสารเคมีอันตราย - ห้องปฏิบัติการเคมี
แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ ๑๐. การทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน จัดให้มีผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีประจำหน่วยงาน พร้อมอุปกรณ์บันทึกปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ ๑๑. ติดตั้งสัญญาณแสงหรือเสียงเพื่อเตือนอันตรายในการทำงานของเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนที่ และติดตั้งป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกสำหรับเครื่องจักรที่ใช้ยก ติดสัญลักษณ์เตือนอันตรายที่เห็นได้ชัดเจน กรณีมีการใช้ลิฟต์ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับลิฟต์
แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีความเสี่ยงเฉพาะ ๑๒.กรณีมีงานก่อสร้างขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่ สะพาน ทางต่างระดับ งานขุด ซ่อมแซม รื้อถอนระบบสาธารณูปโภคที่ลึก ๓ เมตรขึ้นไป อุโมงค์ หรือ ทางลอด ต้องกำหนดให้ผู้รับเหมาก่อสร้างจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้าง
ส่วนที่ ๓ แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการ ที่มีการดำเนินการเข้าข่ายประเภทกิจการเฉพาะ
ส่วนที่ ๓ แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการ ที่มีการดำเนินการเข้าข่ายประเภทกิจการเฉพาะ การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น (๓) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าชหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
ส่วนที่ ๓ แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการ ที่มีการดำเนินการเข้าข่ายประเภทกิจการเฉพาะ การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันหรือก๊าซ (๖) โรงแรม (๗) ห้างสรรพสินค้า (๘) สถานพยาบาล (๙) สถาบันทางการเงิน (๑๐) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
ส่วนที่ ๓ แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการ ที่มีการดำเนินการเข้าข่ายประเภทกิจการเฉพาะ สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ (๑๓) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนตาม (๑) ถึง (๑๒)
หน่วยงานราชการ ที่มีการดำเนินการเข้าข่ายประเภทกิจการเฉพาะ โรงพยาบาล โรงกษาปณ์ งานก่อสร้าง งานรื้อถอน ปฏิบัติการเคมี
ส่วนที่ ๓ แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการ ที่มีการดำเนินการเข้าข่ายประเภทกิจการเฉพาะ จัดให้มีข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานไว้ในหน่วยงาน รวมทั้งต้องจัดให้มีการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจนปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ แล้วแต่กรณี ๓. กรณีที่หน่วยงานราชการมีบุคลากรในหน่วยงานตั้งแต่ ๕๐ คนขึ้นไป ให้จัดให้ มีคปอ. ของหน่วยงานราชการ ๔. หน่วยงานราชการที่มีการดำเนินการเข้าข่ายกิจการตามข้อ (๑) ที่มีบุคลากร ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป และข้อ (๒) ถึง (๕) ที่มีบุคลากรตั้งแต่ ๒๐๐ คนขึ้นไป มีหน่วยงานความปลอดภัย
ตารางแสดงการแต่งตั้งจป.และหน่วยงานความปลอดภัยฯ ประเภท กิจการ จำนวน ลูกจ้าง (คน) จป. หัวหน้างาน จป. เทคนิค จป. เทคนิค ขั้นสูง จป. วิชาชีพ จป. บริหาร หน่วยงาน ความ ปลอดภัย 2 คนขึ้นไป a 2-19 20-49 1ช.ม./วัน 50-99 100-199 200 คนขึ้นไป 20 คนขึ้นไป 1 1 2-5 2-5 2-5 6-14 6-14 6-14 ตารางแสดงการแต่งตั้งจป.และหน่วยงานความปลอดภัยฯ
ตารางแสดง การแต่งตั้ง คปอ.ตามขนาดของกิจการ จำนวนลูกจ้าง (คน) จำนวน กรรมการฯ ประธาน (นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร) ผู้แทนนายจ้างระดับ บังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้าง เลขานุการ 50-99 5 1 2 100-499 7 3 500 ขึ้นไป 11 4 ตารางแสดง การแต่งตั้ง คปอ.ตามขนาดของกิจการ
บทที่ ๓ การรายงานผลการดำเนินการ
การรายงานผลการดำเนินการของส่วนราชการตามมาตรา ๓ วรรคสอง หน่วยงานราชการ ให้รายงานผลต่อ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคแบบเฉพาะ ส่วนราชการในระดับกรม ราชการส่วนภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัด ราชการส่วนท้องถิ่น ผู้มีหน้าที่กำกับดูแลหน่วยงานตามกฎหมาย ส่วนราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ปลัดกรุงเทพมหานคร/ผู้ว่าเมืองพัทยา ทั้งนี้ อาจพิจารณาให้เหมาะสมกับโครงสร้างและภารกิจ
ผู้มีหน้าที่กำกับดูแลหน่วยงาน ราชการส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนท้องถิ่น ผู้มีหน้าที่กำกับดูแลหน่วยงาน ตามกฎหมาย องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภอ เทศบาล
ผลการประชุมคณะอนุกรรมการ ขับเคลื่อนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของส่วนราชการ
Gantt chart การดำเนินการตามคู่มือ ส่วนที่ ๑
Gantt chart การดำเนินการตามคู่มือ ส่วนที่ ๑ (ต่อ)
Gantt chart การดำเนินการตามคู่มือ ส่วนที่ ๑ (ต่อ)
www.oshthai.org www.labour.go.th โทร. 0 2448 8338
Question?