งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 การเตรียมดำเนินโครงการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 การเตรียมดำเนินโครงการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 การเตรียมดำเนินโครงการ
บทที่ 3 การเตรียมดำเนินโครงการ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ

2 ลำดับกิจกรรมสำหรับเตรียมจัดทำโครงการ
การกำหนดความคิดโครงการ การนิยามวัตถุประสงค์ การกำหนดทางเลือก การเปรียบเทียบทางเลือก การเตรียมงานสำหรับขั้นตอนต่อไป

3 การวิเคราะห์ความต้องการ การจัดทำข้อเสนอโครงการ
ลำดับกิจกรรมเพื่อเตรียมจัดทำโครงการ การวิเคราะห์ความต้องการ พิจารณาถึงโครงการเป็นที่ต้องการหรือไม่ การศึกษาเบื้องต้น พิจารณาถึงโครงการเป็นไปได้หรือไม่ การจัดทำข้อเสนอโครงการ พิจารณาถึงข้อเสนอโครงการเป็นที่ยอมรับหรือไม่ การจัดทำโครงการ

4 การวิเคราะห์ความต้องการ
ความต้องการที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคหรือผู้ปฏิบัติงานในองค์การเป็นผู้ริเริ่มคิดค้นผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ จนเกิดเป็นความต้องการในผลิตภัณฑ์หรือบริการของโครงการ ความต้องการที่เป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ความต้องการที่เกิดขึ้นในสังคมซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นความต้องการในผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือกระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพโดยผู้ใช้บริการหรือผู้รับบริการซึ่งอยู่ในสังคมภายนอกองค์การเป็นผู้เรียกร้องความต้องการที่เป็นผลเนื่องมาจากผู้ใช้บริการหรือผู้รับบริการ

5 การวิเคราะห์ความต้องการ คำร้องขอให้ส่งข้อเสนอ การจัดทำข้อเสนอโครงการ
ลำดับกิจกรรมเพื่อเตรียมจัดทำโครงการภาครัฐ การวิเคราะห์ความต้องการ พิจารณาถึงโครงการไม่เป็นที่ต้องการ การศึกษาเบื้องต้น พิจารณาถึงโครงการเป็นไปได้ของโครงการ คำร้องขอให้ส่งข้อเสนอ การจัดทำข้อเสนอโครงการ พิจารณาถึงข้อเสนอโครงการเป็นที่ยอมรับหรือไม่ หรือคำร้องขอให้ส่งข้อเสนอ โครงการใหม่ การจัดทำโครงการ

6 การศึกษาเบื้องต้นของโครงการ
ความเป็นไปได้ด้านการตลาด ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค ความเป็นไปได้ด้านการเงิน ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจ ความเป็นได้ด้านการบริหาร ความเป็นไปได้ด้านสังคม ความเป็นไปได้ด้านการเมือง ความเป็นไปได้ด้านสิ่งแวดล้อม

7 ภารกิจในการบริหารโครงการ
ภารกิจภายนอกโครงการ ภารกิจภายในองค์การ

8 ประเภทของโครงการ โครงการจำแนกตามระดับของหน่วยงาน โครงการระดับชาติ
โครงการระดับกระทรวง โครงการระดับกรม โครงการระดับกอง

9 ประเภทของโครงการ โครงการจำแนกตามเนื้อหาการพัฒนา โครงการด้านเกษตรกรรม
โครงการด้านอุตสาหกรรม โครงการด้านการพลังงาน โครงการด้านการคมนาคม โครงการด้านสังคม

10 ประเภทของโครงการ โครงการจำแนกตามวัตถุประสงค์ โครงการเพื่อการลงทุน
โครงการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

11 ประเภทของโครงการ โครงการจำแนกตามความเป็นเจ้าของโครงการ
โครงการของภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ โครงการของภาคเอกชน

12 ประเภทของโครงการ โครงการจำแนกตามชนิดของงาน โครงการประเภทก่อสร้าง
โครงการประเภทโรงงาน โครงการประเภทการจัดการ โครงการวิจัย

13 การเขียนโครงการ โครงการด้านผลิตภัณฑ์ โครงการด้านการให้บริการ
โครงการปรับปรุงต่อเนื่อง

14 การเขียนโครงการแบบประเพณีนิยม
1. ชื่อโครงการ 2. ชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ และหรือชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 3. ความสำคัญและที่มาของโครงการ หรือหลักการและเหตุผล 4. วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของโครงการ 5. ขอบเขตของโครงการ 6. วิธีการดำเนินงานของโครงการ 7. ระยะเวลาการดำเนินการและขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ 8. ทรัพยากรที่ต้องใช้ในโครงการ 9. งบประมาณโครงการ 10. การประเมินผลโครงการ 11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 12. ภาคผนวก

15 การเขียนโครงการแบบประเพณีนิยม
ชื่อโครงการ โครงการจะต้องมีความเหมาะสมและชัดเจน และมีความเฉพาะเจาะจง เป็นที่เข้าใจโดยง่ายแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ

16 การเขียนโครงการ หลักการและเหตุผล (ความสำคัญของโครงการ)
ทำให้ทราบว่าทำไมต้องจัดทำโครงการที่กำลังเขียนข้อเสนอโครงการโดยกล่าวว่าโครงการที่มีมาอย่างไร มีแนวคิดอะไรที่เป็นพื้นฐานของโครงการ โครงการมีความสำคัญต่อองค์การ สังคมและหรือประเทศในอนาคตอย่างไร วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ เป็นสิ่งที่ชี้แนวทางในการดำเนินงานของโครงการ และชี้ให้เห็นว่าโครงการดำเนินการเพื่ออะไร และ/หรือดำเนินการเพื่อให้ได้ผลงานปริมาณเท่าใด

17 การเขียนโครงการ ขอบเขตของโครงการ ขอบเขตด้านเวลา ขอบเขตทางภูมิศาสตร์
ขอบเขตทางปฏิบัติ ขอบเขตอื่นๆ

18 การเขียนโครงการ วิธีดำเนินการ
เป็นงานที่ผู้รับผิดชอบโครงการต้องนำโครงการไปปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนด โดยต้องแบ่งกิจกรรมให้ชัดเจนว่าทำอะไร อย่างไร เมื่อใด ใครคือผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้มีปฏิทินกำหนดเวลาปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรม ซึ่งอาจอยู่ในรูปแผนภูมิของแกนต์ (Gantt Chart) หรือแผนภูมิแท่ง (Bar Chart) เป็นตัวกำกับควบคู่กันไป

19 การเขียนโครงการ ระยะเวลาดำเนินโครงการ
เป็นการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนสิ้นสุดโครงการว่าใช้เวลาทั้งหมดเท่าใด โดยแสดงให้เห็นว่าเวลาที่เริ่มดำเนินการและแล้วเสร็จในวันที่ เดือน ปีอะไร เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถที่จะดำเนินการโครงการที่กำลังพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

20 การเขียนโครงการ งบประมาณ-ทรัพยากร
เป็นการระบุถึงจำนวนงบประมาณ บุคลากร วัสดุ ครุภัณฑ์ และปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการ การกำหนดงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินโครงการ

21 การเขียนโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ
เป็นการระบุเพื่อจะให้ทราบถึงหน่วยงานหรือบุคคลใดเป็นผู้รับผิดชอบในการนำเสนอ และดำเนินงานโครงการเพื่อให้ผู้พิจารณาสามารถตรวจสอบได้ว่า โครงการที่จัดทำขึ้นเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบและเป็นภารกิจของหน่วยงานหรือบุคคลนั้นอย่างแท้จริงหรือไม่ ผู้รับผิดชอบโครงการมีประสบการณ์และคุณสมบัติที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

22 การเขียนโครงการ การประเมินผลโครงการ
การติดตาม ควบคุมและวัดคุณค่าของการดำเนินงานโครงการที่กำลังจัดว่ามีวิธีการควบคุมอย่างไร มีวิธีการวัดคุณค่าโดยรูปแบบใด เพื่อพิจารณาว่าโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด และต้องระบุบุคคลหรือหน่วยงานที่จะรับผิดชอบในการทำการประเมินผล วิธีการประเมิน และระยะเวลาที่ทำการประเมิน

23 การเขียนโครงการ ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ในส่วนที่ดีทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดจากการมีโครงการซึ่งต้องแสดงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพชัดเจนว่า ใครคือผู้รับประโยชน์ รับประโยชน์ในลักษณะใด โดยผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการในที่นี้อาจจะเป็นสินค้าและบริการ

24 การเขียนโครงการ ข้อเสนอแนะ
ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถเสนอแนะแนวทางที่สามารถทำให้โครงการมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ผู้รับผิดชอบโครงการอาจทราบถึงปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลบางอย่างที่อาจช่วยสนับสนุนให้โครงการมีคุณค่าและมีความเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น

25 การเขียนโครงการแบบตารางเหตุผลต่อเนื่อง
การนำเสนอรูปแบบการเขียนโครงการที่พิจารณาได้ง่ายมีเหตุผลเชื่อมโยงกันตลอด เรียกว่าการเขียนโครงการแบบตารางเหตุผลต่อเนื่อง (logical framework matrix) อาจเรียกสั้นๆ ว่า “Log Frame”

26 แบบฟอร์มการทำ Log Frame
สาระสำคัญโดยสรุปของการดำเนินงาน ดัชนีบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ แหล่งอ้างอิงเพื่อตรวจสอบและประเมินความสำเร็จ ข้อสมมติที่สำคัญของโครงการ 1.1 1.2 1.3 1.4 วัตถุประสงค์ของแผนงาน ตัวบ่งชี้ที่แสดงว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงาน แหล่งตรวจสอบว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงาน ผลที่เกิดขึ้นในระยะยาวเมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของแผน 2.1 2.2 2.3 2.4 จุดมุ่งหมายของการทำโครงการ (เพียงประการเดียวที่สำคัญที่สุด) ตัวบ่งชี้ที่แสดงว่าบรรลุจุดมุ่งหมายของโครงการ แหล่งตรวจสอบว่าบรรลุจุดมุ่งหมายของโครงการ ผลที่เกิดขึ้นเมื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของโครงการได้สำเร็จ 3.1 3.2 3.3 3.4 ผลประโยชน์หรือผลดีที่เกิดขึ้น ขนาดของความสำเร็จในการทำโครงการในเชิงปริมาณคุณภาพ แหล่งตรวจสอบความ สำเร็จหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ เงื่อนไขที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จหรือได้รับผลประโยชน์ 4.1 4.2 4.3 4.4 ปัจจัยที่ใช้ งบประมาณ-ทรัพยากรที่ใช้แต่ละกิจกรรม แหล่งที่มาของงบประมาณ-ทรัพยากร เงื่อนไขในการได้มาซึ่งงบประมาณและทรัพยากร

27 ปัญหาในการเขียนโครงการ
การขาดผู้มีความรู้ความสามารถที่แท้จริงในการเขียนโครงการ การเขียนโครงการมีเวลาที่จำกัดหรือ มีเวลาน้อย โครงการมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ชัดเจน เนื่องจากโครงการเป็นเรื่องของอนาคตที่มีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะจากสภาวะแวดล้อมที่ผู้เขียนโครงการไม่สามารถควบคุมได้

28 ข้อดีและข้อบกพร่องของการจัดทำ โครงการด้วยตารางเหตุผลต่อเนื่อง
การจัดทำโครงการแบบ Log-Frame จะต้องจัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดต่างๆให้ครบถ้วนชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากในการปฏิบัติ การเขียนรายละเอียดโครงการลงในแต่ละช่องของ Log-Frame จะต้องระมัดระวังให้มีความรัดกุมชัดเจนและสอดคล้องเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันละกัน จึงใช้เวลาในการเขียนมากทำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

29 ขอขอบคุณที่สนใจฟัง...


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 การเตรียมดำเนินโครงการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google