การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รองศาสตราจารย์ ดร. ปณิธาน วัฒนายากร ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2555
จุดเริ่มต้นของอาเซียน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) วันที่ 8 สิงหาคม 2510 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศของประเทศ อินโดนีเซีย (นายอาดัม มาลิก) มาเลเซีย (ตุน อับดุล ราซัก บิน ฮุสเซน) ฟิลิปปินส์ (นายนาซิโซ รามอส) สิงคโปร์ (นายเอส ราชารัตนัม) และไทย (พันเอก ถนัด คอ มันตร์) ลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration)
วัตถุประสงค์ของอาเซียน ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิก ธำรงสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง เสริมสร้างเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประชาชน พัฒนาสังคมและวัฒนธรรม ส่งเสริมความร่วมมือกับภายนอก และองค์การระหว่าง ประเทศต่างๆ
หลักการพื้นฐานของอาเซียน การตัดสินใจโดยใช้ฉันทามติ (Consensus) การไม่แทรกแซงในกิจการภายในของกันและกัน (Non-interference) การร่วมมือเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชน (Prosperity)
ASEAN ในปัจจุบัน สมาชิกผู้ก่อตั้งปี 1967 สมาชิกเพิ่มเติม ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ สมาชิกเพิ่มเติม + บรูไน ดารุสซาลาม ปี 1984 + เวียดนาม ปี 1995 + ลาว ปี 1997 + พม่า ปี 1997 + กัมพูชา ปี 1999 ประชากร - 600 ล้านคน พื้นที่- 4.5 ล้าน ตาราง กม. ศาสนาหลัก- อิสลาม พุทธ คริสต์ ฮินดู GDP รวม 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การค้ารวม 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ลงนาม Bali Concord II ปี 2546 (2003) ระบุการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme 2004-2010) 3 เสาหลัก - ประชาคมการเมือง-ความมั่นคง (ASEAN Political-Security Community: APSC) - ประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community: AEC) - ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) เร่งรัดการจัดตั้งประชาคมให้เร็วขึ้นจากปี 2563 เป็น 2558 การใช้กฎบัตรอาเซียนตั้งแต่ 15 ธ.ค. 2551
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อ 20 พ.ย. 2550 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร โดยมีเป้าหมาย 3 ประการ คือ - มีกฎกติกาในการทำงาน (Rules-based) - มีประสิทธิภาพ - มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีผลใช้บังคับเมื่อ 15 ธ.ค. 2551
พิธีลงนามกฎบัตรอาเซียนที่สิงคโปร์ ปี 2550
โครงสร้างอาเซียนใหม่ภายใต้กฎบัตรฯ
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC) สร้างบรรทัดฐานร่วมกันในด้านต่างๆ เช่น การสร้างเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ไม่ใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา ป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง โดยมีกลไกดังนี้ - Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งลงนามเมื่อปี 2519 เป็นเอกสารสำคัญในการแสดงเจตนารมณ์ในการสร้างความแข็งแกร่งในประเทศและในภูมิภาค
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC) - The Southeast Asia Nuclear-Weapon-Free Zone (SEANWFZ) สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - ASEAN Regional Forum (ARF) การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก แผนงานการสร้างประชาคมความมั่นคง (APSC Blueprint) ได้รับการรับรอง ในที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ปี 2552 ที่ ชะอำ-หัวหิน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป้าหมายของ AEC Blueprint 1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม 2. สร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่ผ่านมา เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ลงนามปี 2535 เริ่มปี 2536 กรอบความตกลงด้านการค้าบริการ (AFAS) เริ่มปี 2538 เขตการลงทุนอาเซียน (AIA) เริ่มปี 2541 13
AEC 1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint มุ่งดำเนินการให้เกิด……. AEC เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น 14
AEC 2. สร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint ความร่วมมือในด้านต่างๆ AEC e-ASEAN นโยบายภาษี นโยบายการแข่งขัน สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคุ้มครองผู้บริโภค 15
AEC 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่ สนับสนุนการพัฒนา SMEs 16
AEC “+3” “+6” 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก จัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค ปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ AEC “+6” ASEAN - China “+3” ASEAN - Korea ASEAN- Japan ASEAN- India ASEAN- Australia/NewZealand สร้างเครือข่ายการผลิต จำหน่าย ASEAN- EU ASEAN- US (TIFA) 17
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ผลประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าสินค้าและการลงทุน ตลาดขนาดใหญ่ ประชากรกว่า 600 ล้านคน Economy of Scale (ผลิตยิ่งมาก ต้นทุนยิ่งลดลง) ดึงดูดการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกอาเซียน 18
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ผลประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าสินค้าและการลงทุน เพิ่มกำลังการต่อรอง 10 เสียง ดังกว่าเสียงเดียว สร้างแนวร่วมในเวทีระดับโลก เช่น WTO G20 APEC เป็นที่สนใจของประเทศอื่น ที่จะมาทำความตกลง FTA 19
ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ไม่เจ็บป่วย ไม่จน มีการศึกษา ปลอดภัย เอื้ออาทร
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) วัตถุประสงค์ สร้างความพร้อมของอาเซียนเพื่อรับมือกับความท้าทายทางสังคมที่เพิ่มขึ้น อาทิ ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ยาเสพติด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โรคระบาดและโรคติดต่อร้ายแรง การศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ สร้างสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน (One Caring and Sharing Community) ประเด็นข้ามชาติ : การทำให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติดภายในปี 2558 / การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากร /ปัญหามลพิษหมอกควัน / ปัญหาไข้หวัดนก / ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
ประเด็นอาชญากรรมข้ามชาติในกรอบอาเซียน ยาเสพติด ค้ามนุษย์ โจรสลัด การลักลอบขนอาวุธ การฟอกเงิน การก่อการร้าย อาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
สถาปัตยกรรมในภูมิภาค (Regional Architecture) ของอาเซียน ARF/ APEC EAS/ ADMM-Plus ASEAN+3 ASEAN
การรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ASEAN-Russia ASEAN-Canada CEPEA ASEAN-China FTA ASEAN-EU FTA ASEAN-US TIFA EAFTA ASEAN-Korea FTA ASEAN-Japan CEP ASEAN-Pakistan AEC ASEAN-India FTA ASEAN-Australia- New Zealand FTA
ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค U.S.A. Australia Russia Canada ASEAN New Zealand China Republic of Korea E.U. Japan India
ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับองค์การระหว่างประเทศ RIO GROUP U.N. ASEAN SAARC GCC MERCOSUR ECO
กรอบการพัฒนาเป็นประชาคมอาเซียน แผนงานการจัดตั้งประชาคม การเมือง-ความมั่นคง กฎบัตรอาเซียน ASEAN Charter ประชาคมอาเซียน 2558 แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจ แผนงานการจัดตั้งประชาคม สังคมและวัฒนธรรม แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity)
การส่งเสริมความเชื่อมโยงของอาเซียน (ASEAN Connectivity) การสร้างให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนสามารถไปมาหาสู่กันได้ง่ายขึ้น เป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างความเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่น ๆ รวมทั้งเอเชียตะวันออก มีทั้งการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม กฎระเบียบต่าง ๆ และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชน
แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity) การเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียนเป็นผลสืบเนื่องจากความริเริ่มของไทยในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียนเมื่อปี 2552 โดย ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2553 ได้ให้การรับรองแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน แผนแม่บทฯ ได้แนบตารางโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนเป็นอันดับต้นๆ (priority projects) ทั้งหมด 15 โครงการ ความสำคัญของแผนนี้ คือเป็นการบูรณาการแผนเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมที่สำคัญหลายโครงการที่มีอยู่แล้วทั้งในกรอบอาเซียนและกรอบอนุภูมิภาคให้ปรากฏในแผนงานเดียว
ผลกระทบจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน และประเด็นปัญหาท้าทาย
ผลกระทบจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ผลกระทบด้านการเมืองและความมั่นคง การควบคุมตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การลักลอบค้ามนุษย์ การค้าอาวุธยาเสพติดและสารตั้งต้น การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ช่องว่างในการพัฒนาอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งทางสังคม การส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
ผลกระทบจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ลดภาษีเป็น 0 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 53 ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ ลดภาษีเหลืออัตราร้อยละ 0 - 5 สาขาที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว (น้ำมัน เนื้อมะพร้าวแห้ง) กาแฟ ปาล์มน้ำมัน สาขาที่ได้ประโยชน์ ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์ electronics อาหารสำเร็จรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง สินค้าอุปโภคบริโภค การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ 8 สาขา
ผลกระทบจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ผลกระทบทางสังคม ปัญหาด้านสาธารณสุขที่อาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน และนักท่องเที่ยวโดยเสรี การสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันของอาเซียน และการสร้างความรู้สึกร่วมของประชาชนให้ตระหนักถึงหน้าที่ในการเป็นประชากรของอาเซียน การช่วยเหลือเมื่อมีภัยพิบัติ การช่วยเหลือด้านกงสุลแก่ประชาชนอาเซียนในประเทศที่ 3
ผลกระทบจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน การรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างสมาชิก มีท่าทีร่วมกันเป็นเสียงเดียวในเวทีระหว่างประเทศ รักษาบทบาทการเป็นผู้ขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือในภูมิภาค การรักษาความเป็นประธานจัดการประชุมต่าง ๆ ในภูมิภาค มีส่วนร่วมสนับสนุนความพยายามในระดับโลก (global efforts) ในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การรักษาสันติภาพ การปราบปรามโจรสลัด การตอบสนองต่อภัยพิบัติ
ประเด็นท้าทายหลักของอาเซียน การแข่งขันของมหาอำนาจ สหรัฐ รัสเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ความแตกต่าง ด้านเชื้อชาติ ศาสนา ระดับการพัฒนา การพัฒนา โครงสร้างสถาบัน อาเซียน การแข่งขันเพื่อแย่งชิง ทรัพยากร ตลาด การลงทุน ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ ความขัดแย้งใน ประวัติศาสตร์ ผลประโยชน์แห่งชาติ VS ภูมิภาค
ประเด็นปัญหาท้าทายใหม่ของประชาคมอาเซียน โครงสร้างความสัมพันธ์ ในภูมิภาค การแข่งขันของมหาอำนาจ สหรัฐ รัสเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น วิกฤตเศรษฐกิจ และการเงินโลก สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ประชาคมอาเซียน: ผลกระทบทางลบ ของการเชื่อมโยงในภูมิภาค (regional connectivity) ความตระหนักรู้และ การมีส่วนร่วมของประชาชน
ความสำคัญของอาเซียนต่อไทย เป็นกลไกสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ รักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 59,250 ล้าน USD คิดเป็นร้อยละ 20.7 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ คิดเป็นร้อยละ 21.3 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย นักท่องเที่ยว 4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 28.6 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด
บทบาทของไทยในด้านการเมืองและความมั่นคง เร่งให้กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียน (ธันวาคม 2551) จัดตั้งและผลักดันการดำเนินการของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) รับรองและผลักดันการปฏิบัติตามแผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ส่งเสริมให้คณะมนตรีของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนมีผลงานเป็นรูปธรรม เช่น การส่งเสริมความร่วมมือด้านการรักษาสันติภาพในภูมิภาค ยกระดับบทบาทของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนในด้านการจัดการภัยพิบัติ และความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการแก้ไข Non-Traditional Security Threats
บทบาทของไทยในด้านการเมืองและความมั่นคง ผลักดันให้สหรัฐฯ เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ผลักดันให้เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ และสร้างเสถียรภาพในอาเซียน ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง ส่งเสริมให้มีความโปร่งใสด้านนโยบายและข้อมูลทางทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งเสริมมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (CBMs) และการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ในกรอบ ARF ส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการอาเซียน
บทบาทของไทยในด้านเศรษฐกิจ นรม. อานันท์ ปันยารชุน เป็นผู้ผลักดันข้อเสนอการจัดตั้ง AFTA เมื่อปี 2535 ส่งเสริมการลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (IAI) จัดตั้ง Chiang Mai Initiative Multilateralism (CMIM) ส่งเสริมเรื่อง ASEAN Connectivity
บทบาทของไทยในด้านสังคมวัฒนธรรม บทบาทหลักในเรื่องการปราบปรามยาเสพติด ด้านสาธารณสุข การศึกษา การพัฒนาเยาวชน และสนับสนุนการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี เป็นต้น ส่งเสริมการจัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการปกป้องและส่งเสริมสิทธิของสตรีและเด็ก (ACWC) ส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษา เช่นจัดตั้ง ASEAN University Network (AUN) และการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 การเตรียมความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 การเตรียมความพร้อมในด้านนิติบัญญัติ การเตรียมความพร้อมของภาคราชการ การเตรียมความพร้อมของภาคการศึกษา
การเตรียมความพร้อมของภาคราชการ สู่ประชาคมอาเซียน การจัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ การผนวกวิสัยทัศน์และแผนปฏิบัติการของอาเซียนเข้าสู่นโยบายของรัฐบาลและส่วนราชการ เพื่อผลักดันให้ไทยสามารถบรรลุวิสัยทัศน์หรือเป้าประสงค์ที่ผู้นำอาเซียนมีร่วมกัน การจัดตั้งสำนักงานหรือส่วนความร่วมมืออาเซียนในส่วนราชการ เป็นจุดประสาน เป็นเครือข่ายในการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมอาเซียนในส่วนราชการของไทย การสร้างองค์ความรู้ของหน่วยราชการ รับทราบข้อมูลอาเซียนที่ทันต่อเหตุการณ์ บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน และช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
บทบาทของภาคการศึกษา ในการสร้างประชาคมอาเซียน เสาการเมืองและความมั่นคง เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของกฎบัตรอาเซียน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ หลักการประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน
บทบาทของภาคการศึกษา ในการสร้างประชาคมอาเซียน เสาเศรษฐกิจ การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Empowering People) ให้มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน เพื่อที่จะสนับสนุนการค้าและการลงทุนในอาเซียน การศึกษาในฐานะภาคบริการหนึ่งที่จะต้องมีการเปิดเสรี
บทบาทของภาคการศึกษา ในการสร้างประชาคมอาเซียน เสาสังคมและวัฒนธรรม เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของการเป็นประชาชนอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของภาคการศึกษา สู่ประชาคมอาเซียน ภาษาอังกฤษ ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน หลักสูตรอาเซียนศึกษา ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบต่าง ๆ ของอาเซียน พัฒนาทักษะของแรงงานมีฝีมือให้มีมาตรฐาน สร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาของอาเซียน
กิจกรรมการเตรียมความพร้อมของไทย ในการเป็นประชาคมอาเซียน ศูนย์อาเซียนศึกษาในมหาวิทยาลัย หลักสูตรอาเซียน- กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้ง “คณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558” ขึ้นมาเพื่อผลักดันให้เกิดหลักสูตรอาเซียนศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เยาวชนของชาติเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของอาเซียนมากยิ่งขึ้น กิจกรรมส่งเสริมความเชื่อมโยงในอาเซียน (Connectivity) กิจกรรมที่กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการ เช่น อาเซียนสัญจร การจัดเสวนาอาเซียน สนับสนุนภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการจัดประชุมสัมมนาเกี่ยวกับอาเซียน เว็ปไซต์อาเซียน www.mfa.go.th/asean บูรณาการการสร้างความตระหนักรู้ของหน่วยราชการผ่านกิจกรรมและสื่อ
ยุทธศาสตร์การเป็นผู้นำทางการศึกษา สู่ประชาคมอาเซียน
ยุทธศาสตร์ปีพ.ศ. 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการ การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development) ภายใต้หลักการ “รู้ศักยภาพเขา รู้ศักยภาพเรา เท่าทันและแข่งขันได้”
ยุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการ จะปรับระบบบริหารจัดการภายในทั้งระบบเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก ภายใต้กรอบเวลา ๒ ปี ให้ความสำคัญต่อการผนึกความร่วมมือกับอาเซียน เพื่อสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก ได้แก่ 1) สหภาพยุโรป 2) อเมริกา 3) แอฟริกา 4) ออสเตรเลีย 5) เอเชีย + อาเซียน
ยุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้หลักการ “รู้ศักยภาพเขา” ส่งเสริมการเปิดสอนหลักสูตร “นานาชาติศึกษา” เพื่อผู้เรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศต่างๆ ที่เป็นคู่ค้ากับไทย มาใช้เป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจและสร้างตลาดเชิงรุกของประเทศไทยในเวทีการค้าโลก
ยุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้หลักการ “รู้ศักยภาพเรา” ส่งเสริมการผลิตบุคลากรเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ บนพื้นฐานและความคิดสร้างสรรค์ด้วยการวิเคราะห์ศักยภาพของประเทศใน 5 ด้าน (ทรัพยากรธรรมชาติ ลักษณะภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ศิลปะและวัฒนธรรม ทรัพยากรมนุษย์) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
ยุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้หลักการ “เท่าทันและแข่งขันได้” กำหนดการพัฒนาการศึกษา ที่เน้นอาชีพเป็นฐาน ภายใต้หลักสูตร 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ได้แก่ 1. หลักสูตรเกษตรกรรม 2. หลักสูตรอุตสาหกรรม 3. หลักสูตรการบริหารจัดการ พาณิชยกรรม 4. กลุ่มความคิดสร้างสรรค์ (Creative idea) 5. กลุ่มหลักสูตรวิชาการเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ยุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการ ในการพัฒนากลุ่มหลักสูตรใหม่ดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้สถาบันอุดมศึกษาในกำกับ ระดมนักวิชาการเพื่อสร้างงานวิจัยหรือผลิตผลงานเพื่อการบริการทางสังคม ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรรม ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี กลุ่มบริหารจัดการและสังคม ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
ยุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มวิทยาศาตร์เพื่อชีวิต ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มอาหาร ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กลุ่มความเป็นเลิศทางวิจัย นวัตกรรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยสุรนารี
ยุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ ในการเตรียมความพร้อมของบุคลากรเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญในการยกระดับความรู้ ทักษะภาษาอังกฤษ สำหรับการติดต่อสื่อสารเชิงธุรกิจ และภาษาต่างประเทศอื่นๆ ที่เป็นประเทศคู่เจรจากับประเทศไทย เช่น ภาษารัสเซีย ภาษาโปรตุเกส ญี่ปุ่น จีน ฯลฯ
7 มาตรการเพื่อปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน/ประชาคมโลก 1. ส่งเสริมการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัยและพัฒนา และการฝึกอบรมนานาชาติ ในภูมิภาค (Regional Education Hub) ในสาขาที่มีศักยภาพในการแข่งขัน โดยสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษามีบทบาทสำคัญในการดำเนินงาน 2. ส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษากับนานาประเทศ รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ 3. ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรและสถาบันการศึกษาของประเทศ ทำหน้าที่เป็นศูนย์เครือข่ายการศึกษาระหว่างประเทศ ทั้งในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
7 มาตรการเพื่อปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน/ประชาคมโลก 4. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการศึกษา การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้เรียน ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา กับต่างประเทศ เผยแพร่และเชื่อมโยงภูมิปัญญาไทยกับภูมิปัญญาสากล รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ทักษะ และมีบทบาทด้านการศึกษาในองค์กรระหว่างประเทศ 5. กำหนดมาตรการเชิงรับและรุกเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าและบริการด้านการศึกษา ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เตรียมความพร้อมด้านคน เงิน เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ ให้สามารถเข้าสู่สังคมและเศรษฐกิจ ผ่านความรู้ในกระแสโลกาภิวัฒน์อย่างรู้เท่าทันกัน
7 มาตรการเพื่อปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน/ประชาคมโลก 6. ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาสากลเป็นภาษาที่สองตั้งแต่ระดับชั้นพื้นฐานและการเรียนรู้ภาษาที่สาม อาทิ ภาษาเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ภาษาที่สนใจเพื่อให้คนไทยสามารถสื่อสารได้ เปิดโลกทัศน์การเรียนรู้อย่างกว้างขวางไร้พรมแดน 7. ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาจัดหลักสูตรนานาชาติหรือหลักสูตรสมทบร่วมกับสถาบันต่างประเทศเพื่อความเป็นสากลของการศึกษา และรองรับตลาดแรงงานนานาชาติอย่างรู้เท่าทันกัน
การสนับสนุนนักเรียนจากประเทศอาเซียน เพื่อมาศึกษาต่อในประเทศไทย 1. ทุนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนต่างชาติที่เข้ามาเรียนในประเทศไทย จะได้รับเงินอุดหนุนตามเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษากำหนด 2. ทุนระดับอุดมศึกษา 2.1 การศึกษาในระบบ มีนักเรียนต่างชาติที่ได้รับทุนของรัฐบาลไทยเพื่อมาศึกษาต่อในประเทศไทย อาทิ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ เวียดนาม 2.2 การอบรมระยะสั้น สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเข้ามาอบรมหลักสูตรระยะสั้น อาทิ ลาว พม่า
ทิศทางความร่วมมือด้านการศึกษาของอาเซียน APEC East Asia Summit ASEAN+3 SEAMEO ASEAN Membership of SEAMEO comprises ASEAN 10, Timor Leste, France, Australia, New Zealand, Canada, Germany, Netherlands, Spain, Norway (2005-2011) and other organisations such as British Council, University of Tsukuba, Japan
ความร่วมมือด้านการศึกษาในอาเซียน แผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน 5 ปี (พ.ศ.2553 - พ.ศ. 2558) แผนงานด้านการศึกษาในกรอบอาเซียน +3 (พ.ศ. 2553 -พ.ศ. 2560) ความร่วมมือด้านการศึกษาในกรอบของการประชุม สุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ความร่วมมือด้านการศึกษาในกรอบเอเปค ความร่วมมือในกรอบของ SEAMEO
Priority หลักของแผนการศึกษา 5 ปีของอาเซียน ส่งเสริมการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน การเข้าถึงการศึกษา (Education for All) การส่งเสริมการเคลื่อนย้ายและการสร้างระบบการศึกษาแบบสากล (Cross-border mobility and internationalisation of Education) การสนับสนุนองค์กรอื่น ๆ ในการสร้างประชาคมอาเซียน
ทิศทางการศึกษาของไทย 1. เป็นไปตามยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2555 2. สอดคล้องกับแผนการศึกษา 5 ปีของอาเซียน 2. สอดคล้องกับแผนงานความร่วมมือในกรอบอื่น ๆ ที่ไทยเป็นสมาชิก อาทิ อาเซียน + 3 EAS APEC และ SEAMEO 3. มุ่งไปสู่แนวทางความเป็นสากลตามกระแสโลกาภิวัตน์
ประเด็นที่ควรเน้นเพิ่มเติมในเรื่องการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของไทย ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา การสร้างความรู้สึกเป็นเพื่อน พี่ น้อง สมาชิกในครอบครัวอาเซียน สร้างค่านิยมของการเป็นอาเซียน (ภูมิภาคนิยม) สร้างเครือข่ายผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่เพื่อเป็นผู้นำอาเซียนรุ่นต่อไป
ประเด็นที่ควรเน้นเพิ่มเติมในเรื่องการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของไทย ในระดับอาชีวศึกษา/อุดมศึกษา การเสริมสร้างทักษะวิชาชีพ สร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาในอาเซียน (และขยายไปสู่อาเซียน + 3) โครงการโอนหน่วยกิต (และขยายความร่วมมือไปสู่อาเซียน+3) โครงการเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่ากับใหม่ เช่น การส่งเสริมความร่วมมือด้านทุนการศึกษา ด้าน ICT การจัดทำหลักสูตร Inter + ASEAN
ข้อเสนอแนะการเตรียมความพร้อมของสถาบันการศึกษาของไทย 1. เตรียมรับมือกับการเข้ามาลงทุนด้านสถานศึกษาของประเทศอาเซียนอื่น (การเน้นจุดแข็งของหลักสูตรที่ตนเองเชี่ยวชาญ การลงทุนเรื่องครูที่มีความสามารถ การควบรวมกิจการ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรภายในประเทศ) 2. สร้างเครือข่ายกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของอาเซียน 3. การปรับหลักสูตรการศึกษาที่เป็นสากล (เน้นการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) 4. การให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนอาเซียนอื่นเพื่อสร้างการยอมรับ 5. การออกไปร่วมลงทุนหรือตั้งสาขาในประเทศอาเซียนอื่น
สัญลักษณ์อาเซียน สีน้ำเงิน สันติภาพและความมั่นคง สีแดง ความกล้าหาญและก้าวหน้า สีเหลือง ความเจริญรุ่งเรือง สีขาว ความบริสุทธิ์ รวงข้าว 10 ต้น คือ 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว วงกลม แสดงถึงความเป็นเอกภาพ วันอาเซียน 8 สิงหาคม One Vision One Identity One Community