บทที่ 5 ระบบหน่วยความจำ
หน่วยความจำเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูล และ เป็นพื้นที่ที่ใช้สำหรับประมวลผล หน่วยความจำหลัก (RAM) ต้องทำงาน ด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยงตลอดเวลา หากไฟฟ้าดับข้อมูลก็จะสูญหายหมด หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมหรือ ข้อมูลต่าง ๆ เมื่อมีการบันทึกข้อมูลลงใน อุปกรณ์ดังกล่าว ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยง
ความจุของหน่วยความจำภายในมีหน่วยเป็น ไบต์ หรือเวิร์ด (Word) ตามปกติแล้วเวิร์ด หนึ่งจะมีความกว้าง 8, 16 และ 32 บิต ปัจจัยความข้องเกี่ยวกันในหน่วยความจำ ภายใน 3 ส่วนด้วยกัน คือ 1. เวิร์ด (Word) 2. หน่วยแอดเดรส (Addressable units) 3. หน่วยการโอนถ่าย (Units of transfer)
วิธีการแอคเซสข้อมูล ประกอบด้วย 1. การเข้าถึงแบบเรียงลำดับ (Sequential access) 2. การเข้าถึงโดยตรง (Direct access) 3. การเข้าถึงแบบสุ่ม (Random access) 4. แบบแอสโซซิเอทีพ (Associative)
คุณลักษณะสำคัญในการคำนึงถึง ประสิทธิภาพของ หน่วยความจำ 1. เวลาเข้าถึง (Access time) 2. รอบเวลาหน่วยความจำ (Memory cycle time) 3. อัตราการโอนถ่ายข้อมูล (Transfer rate)
ชนิดของหน่วยความจำแรม แบ่ง ออกเป็น 1. หน่วยความจำแบบ Static (SRAM) 2. หน่วยความจำแบบ Dynamic (DRAM) คุณลักษณะสำคัญที่ต้องคำนึงของ หน่วยความจำ ประกอบด้วย 1. ต้นทุน (Cost) 2. ความจุ (Capacity) 3. เวลาที่ใช้ในการแอคเซส (Access time)