ประธานกลุ่ม:พ.อ.กิตติศักดิ์ ดวงกลาง สมาชิก:ผู้แทนจาก สขว.กอ.รมน., ศปป.1 กอ.รมน., ศปป.6 กอ.รมน., กอ.รมน.ภาค 2, กอ.รมน.จังหวัด ก.ส., ข.ก., บ.ก., น.ค., ล.ย., น.ภ., สบอ.8 (ข.ก.), สบอ.10 (อ.ด.) และ สจป.7 (ข.ก.)
1) การเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลาย ทรัพยากรป่าไม้ (ตามกลยุทธ์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ที่ 1) 2) การฝึกอบรมเยาวชนร่วมปกป้องผืนป่าและทรัพยากร ธรรมชาติ (ตามกลยุทธ์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ที่ 1) 3) การประเมินผลการปฏิบัติตามแผนแม่บท (ตามกลยุทธ์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ที่ 1) 4) การจัดทำแนวเขตทรัพยากรปาไม้ทุกประเภทให้เป็นแนวที่ชัดเจน (ตามกลยุทธ์ที่ 10 ยุทธศาสตร์ที่ 3) ในฐานะ กอ.รมน.จังหวัด ได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ดังนี้
หน่วยได้กำหนดแผนงานและลำดับการดำเนินการดังนี้ 1. ประชุมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (อช./ปม./ตร./กอ.รมน./ปกครอง/กกล.รส. ประจำพื้นที่) 2. การจัดชุด ลว.(ชุดละ 10 นาย) ประกอบด้วย กอ.รมน./ปม./อช./กกล.รส.(ทพ.)/ตร./ผู้นำท้องถิ่น) 3. แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ 4. ฝึกทบทวนชุด ลว. ก่อนออกปฏิบัติภารกิจ 5. ออกคำสั่งโดย กอ.รมน.จังหวัด 6. เบิก/จ่าย งบประมาณ 7. ปฏิบัติภารกิจตามแผนที่กำหนด โดยใช้สถิติคดี,พื้นที่ที่ถูกบุกรุก,การแจ้งข่าวสารจากแหล่งข่าว ถ้า ตรวจพบการกระทำผิด ก็ดำเนินคดีตามกฎหมาย 8. รายงานผลการปฏิบัติให้ กอ.รมน.จังหวัด เพื่อรายงานให้ กอ.รมน.ภาค 2 และ ศปป.4 กอ.รมน. ทราบต่อไป 9. จัดประชุมเพื่อหาข้อบกพร่อง และแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 10. จัดตั้งกลุ่มไลน์ (line) เพื่อรางานผลการปฏิบัติประจำวัน 11. หน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ ส่งสรุปการปฏิบัติงานให้ กอ.รมน.จังหวัด (รอบ 6 เดือน) เพื่อรับการ ประเมินจาก กอ.รมน.ภาค 2 และ ศปป.4 กอ.รมน. ต่อไป
เพื่อให้ระบบบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และยั่งยืน ควรดำเนินการดังนี้ 1. วิจัย ให้เป็นระบบในเรื่องการแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายป่า 2. วิเคราะห์ โดยใช้หลัก SWOT Analysis 3. กำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าหมาย โครงการ/แผนงาน และงบประมาณ 4. จัดทำ ROAD MAP ในการดำเนินการตามแผนแม่บท 5. ดำเนินการตาม ROAD MAP โดยบูรณาการร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6. ติดตามและประเมินผลโครงการ
7. ผลผลิต/ผลลัพธ์ 7.1 มั่นคง/การหยุดยั้งการลดลงของพื้นที่ป่า - หยุดยั้งการลดลงของพื้นที่ป่า - ทวงคืนพื้นที่ป่า - นำพื้นที่ป่ามาฟื้นฟู 7.2 มั่งคั่ง/ประโยชน์ - ใช้ประโยชน์โดยตรวจทางทรัพยากร - ใช้ประโยชน์ทางอ้อมจากป่า - ใช้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและรักษาสมดุลธรรมชาติ - ใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้จากป่า 7.3 ยั่งยืน/การดุแลป่าที่ดีและทัศนคติเชิงบวก - จัดการทรัพยากรป่าไม้แบบธรรมาภิบาล - คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างสมดุล - ตระหนักและสนับสนุนการอนุรักษ์และดูแลป่าไม้
เห็นควรดำเนินการดังนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพ - เพิ่มระยะเวลาในการฝึกทบทวนก่อนออกปฏิบัติงานในแต่ละงวด - เพิ่มการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด ร่วมกับ ปม./อช. - ควรจัดมีแบบฟอร์มการรายงานที่ชัดเจน เช่น แบบฟอร์มการประเมินผล และ แบบฟอร์มการรายงานประจำวัน/เดือน/ไตรมาสต์/งวด/ปี การจัดสรรงบประมาณ - เพิ่มการจัดสรร งป. ให้กับหน่วยที่มีพื้นที่รับผิดชอบมากจากงวดละ 60 วัน เป็นงวดละ 90 วัน - เพิ่ม งป.ในการฝึกทบทวน - เพิ่ม งป.กองอำนวยการในการตรวจเยี่ยม - เพิ่ม งป.สนับสนุนการจัดตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด - เพิ่ม งป.เป็นค่ารับรองการประชุมฯ ทั้งการ ลว. และประเมินผล
เห็นควรดำเนินการดังนี้ 1. จัด จนท.เข้ารับการอบรมร่วมกับ ศปป.4 กอ.รมน. ในเรื่องการประเมินผล 2. เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมฯ เพื่อขยายผลการปฏิบัติ โดยเชิญวิทยากรจาก ศปป.4 กอ.รมน. ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 3. ประสานคลัง จว. ในเรื่องงบประมาณที่โอนลงมายังจังหวัด 4. แต่งตั้งคณะทำงานประเมินผลฯ 5. จัดทำแผนการประเมินฯ 6. เชิญหน่วยร่วมรับทราบการดำเนินงานตามแผนงานฯ 7. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานและประเมินผลตามแผนงานที่กำหนด 8. หน่วยส่งรายงานผลการปฏิบัติ พร้อมจัดทำรูปเล่ม ส่งให้ กอ.รมน.จังหวัด เพื่อ รายงานให้ กอ.รมน.ภาค 2 และ ศปป.4 กอ.รมน. ทราบต่อไป 9. เชิญหน่วยประชุมเพื่อรับทราบปัญหาข้อขัดข้องจากการดำเนินการที่ผ่านมา ไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป