วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ กรมชลประทาน กรมชลประทานมุ่งจัดการ ความรู้ สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
สาร CKO ( นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ) อธิบดีกรมชลประทาน
การจัดการความรู้สู่อนาคตการ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็น เครื่องมือสำคัญของพวกเราชาว ชลประทานทุกคน ในการบรรลุ เป้าหมายขององค์กรทั้งในด้าน การ พัฒนาตนเอง การพัฒนางาน และ การพัฒนากรมชลประทานให้ เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป รวมทั้งการ รักษาความเป็นหมู่คณะที่มีความรัก ความสามัคคี เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน อันจะก่อประโยชน์สร้าง ความสามารถในการยกระดับการ บริหารจัดการน้ำในภารกิจของกรม ชลประทาน ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง และรักษาเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรี ชื่อเสียงของกรมชลประทาน ไว้
ผมขอความร่วมมือพวกเราชาว ชลประทานทุกคน ช่วยกันสร้าง วัฒนธรรมการเรียนรู้ ทั้งการพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างกัน เรียนรู้ร่วมกันเป็น ทีม และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นทั่วทั้ง องค์กร ด้วยบรรยากาศการเรียนรู้ที่ ผู้บริหารในทุกระดับ ทุกสำนัก / กอง ให้ความสำคัญและสนับสนุนอย่าง ต่อเนื่อง อันจะเป็นประโยชน์ทั้งใน ปัจจุบันและในอนาคตของกรม ชลประทานที่พวกเราทุกคนมีความ ภาคภูมิใจ
ยุทธศาสตร์การ จัดการความรู้ 1. พัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้ด้านการ จัดการความรู้ สร้างบรรยากาศ และวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 2. บูรณาการกระบวนการจัดการความรู้ให้ สอดคล้องกับการทำงาน 3. พัฒนาองค์ความรู้และการสร้างนวัตกรรม สนับสนุนภารกิจกรมชลประทาน 4. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ ฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ 5. พัฒนาเครือข่ายการจัดการความรู้
วัฒนธรรมการจัดการ ความรู้ 1. พัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง 2. เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4. คิดริเริ่มสร้างสรรค์
การจัดการความรู้ ประกอบด้วย 2 กระบวนการ หลัก (13 ขั้นตอน ) 1. กระบวนการจัดการความรู้ KM Process (KMP) ดังนี้ 1.1 การบ่งชี้ / เลือกความรู้ 1.2 การ สร้างและแสวงหาความรู้ 1.3 การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ 1.4 การ ประมวลและกลั่นกรองความรู้ 1.5 การเข้าถึงความรู้ 1.6 การ แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ 1.7 การเรียนรู้
2. กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง Change Management Process (CMP) ดังนี้ 2.1 การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.4 การฝึกอบรมและการเรียนรู้ 2.2 การสื่อสาร 2.5 การยกย่องชมเชยและให้รางวัล 2.3 กระบวนการและเครื่องมือ 2.6 การวัดผล การจัดการความรู้ ประกอบด้วย 2 กระบวนการหลัก (13 ขั้นตอน ) ( ต่อ )
สำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง เลือกองค์ความรู้ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติราชการตามประเด็น ยุทธศาสตร์ 2 องค์ความรู้ คือ 1. การวางแนวเขตก่อสร้างงานคันคูน้ำและจัดรูป ที่ดิน 2. การขออนุญาตแก้ไขผังแปลงที่ดิน ( ตามแบบฟอร์ม 1) และได้นำ 2 องค์ความรู้นี้มาจัดทำเป็น Action Plan 13 ขั้นตอน ( ตามแบบฟอร์ม 2) แบ่งเป็นดังนี้ KMP 7 ขั้นตอน CMP 6 ขั้นตอน