งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การกำหนดตำแหน่งการพัฒนาของอำเภอ (Positioning)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การกำหนดตำแหน่งการพัฒนาของอำเภอ (Positioning)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การกำหนดตำแหน่งการพัฒนาของอำเภอ (Positioning)
โดย ดร.อภิชัย ศรีเมือง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบงานอำเภอ กลุ่มงานแผนงานยุทธศาสตร์ กองวิชาการและแผนงาน

2 ความหมาย เชิงหน้าที่ เชิงกระบวนการ
- เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการพัฒนาและวิสัยทัศน์ของอำเภอ - เพื่อให้ทิศทางการพัฒนาและวิสัยทัศน์มีความสัมพันธ์กับศักยภาพและสมรรถนะของอำเภอ และสนองต่อความต้องการของประชาชน นโยบาย/แผนพัฒนาจังหวัด และยุทธศาสตร์ระดับชาติ - กระบวนการค้นหาและสร้างสรรค์ภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ (Image and Identity) เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและวิสัยทัศน์ของอำเภอ - เป็นที่ยอมรับของผู้คนที่เกี่ยวข้อง (ทุกภาคส่วนในพื้นที่)

3 วิธีการกำหนด ตำแหน่งการ พัฒนา
1) วิเคราะห์ศักยภาพ : ที่ตั้งภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ-บุคคล พื้นที่ใกล้เคียง 2) ค้นหาความมุ่งมาดปรารถนา : อะไรที่ผู้คนต้องการ/ไม่ต้องการ 3) วิเคราะห์ขีดความสามารถ : ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความมุ่งมาดปรารถนา 4) วิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน : ความแข็งแกร่ง-จุดด้อย เปรียบเทียบกับอำเภออื่นที่มีศักยภาพ ใกล้เคียงกัน

4 ตัวอย่าง การกำหนดตำแหน่งการพัฒนา (Positioning)
อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม “เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตทางน้ำที่มีระบบมาตรฐานสากล” อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา “การเป็นแหล่งเลี้ยงแพะ ครบวงจรในจังหวัดเพื่อแปรรูป และส่งออก”

5 เครื่องมือในการวิเคราะห์
เพื่อการกำหนดตำแหน่งการพัฒนาอำเภอ (Positioning) 1) ภาพรวมของบริบทอำเภอ Context Map 2) ก้าวย่าง ๓ ระยะ 3 Horizons 3) การวิเคราะห์ศักยภาพหน่วยงาน (SWOT Analysis)

6 “ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสถานะในปัจจุบัน และแนวโน้ม โอกาส ความเสี่ยง
ภาพรวมของบริบทอำเภอ Context Map เป็นการสำรวจวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยของภาวะแวดล้อมในแง่มุมต่างๆ เช่น - ด้านเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมให้ครบทุกมิติ -การลงทุนในภาคเอกชน สิ่งที่ดึงดูดที่น่าสนใจ - การศึกษา วัฒนธรรม สังคม การปกครอง - โครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ - ภาพรวมของแผนหลักองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - ฯลฯ “ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสถานะในปัจจุบัน และแนวโน้ม โอกาส ความเสี่ยง รวมถึงแรงกดดันต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการบริหารงานราชการส่วนภูมิภาค และกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ”

7

8

9 ก้าวย่าง ๓ ระยะ (3 Horizons)
- เป็นการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของแผนงาน โครงการ กิจกรรม ของพื้นที่ ว่าอำเภอควรพัฒนาอะไรก่อน – หลัง Action ไหน เกื้อหนุนอะไร ใครเป็นคนทำ ช่วยให้มองเห็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ Action นั้นๆ ไม่เกิดขึ้น รวมทั้ง การบรรเทาความเสี่ยงที่อาจจะ เกิดขึ้นได้

10

11

12 การวิเคราะห์ศักยภาพหน่วยงาน (SWOT Analysis)
เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ถึงโอกาส และภาวะคุกคามหรือข้อจำกัด อันเป็นสภาวะแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาด้านต่างๆ ของอำเภอ รวมทั้งการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของอำเภอ อันเป็นสภาวะแวดล้อมภายในพื้นที่ ซึ่งทั้งหมดเป็นการประเมินสถานภาพของอำเภอในปัจจุบัน โดยเทคนิค SWOT Analysis เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่ประกอบด้วย - การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength = S) - การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness = W) - การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity = O) - การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threat = T)

13


ดาวน์โหลด ppt การกำหนดตำแหน่งการพัฒนาของอำเภอ (Positioning)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google