งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ศาลที่มีอำนาจชำระในคดีอาญา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ศาลที่มีอำนาจชำระในคดีอาญา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ศาลที่มีอำนาจชำระในคดีอาญา

2 1. กรณีความผิดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
1. กรณีความผิดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร 1.1 กรณีความผิดเรื่องเดียว มาตรา 22 (ก) ศาลที่ความผิดได้เกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลนั้น (ศาลหลัก) (ข) ศาลที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 (1) (ศาลยกเว้น) ได้แก่ ข.1. ศาลแห่งท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ หมายถึง ถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่งสำคัญ และโดยมีนัยเช่นเดียวกับคำว่า “ภูมิลำเนา”

3 จำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งสับเปลี่ยนกันไป หรือมีหลักแหล่งที่ทำงานเป็นปกติหลายแห่งให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น ถ้าไม่มีถิ่นที่อยู่เป็นปกติ หรือครองชีพในการเดินทางไปมา พบตัวในถิ่นไหนให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น ภูมิลำเนาของข้าราชการ ได้แก่ ถิ่นอันเป็นที่ทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ ภูมิลำเนาของผู้ถูกจำคุก ได้แก่ เรือนจำ แต่ต้องเป็นการจำคุกตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด

4 ข.2. ศาลแห่งท้องที่ที่จำเลยถูกจับ
ข.2. ศาลแห่งท้องที่ที่จำเลยถูกจับ หมายถึง เจ้าพนักงานจับจำเลยจริง ๆ ในเขตศาลนั้น ตามที่ถูกกล่าวหา ในกรณีที่จำเลยถูกจับในความผิดฐานอื่นและต่อมาเจ้าพนักงานสอบสวนอีกท้องที่หนึ่งได้อายัดตัวจำเลยจากมาจากพนักงานสอบสวน(คดีแรก) เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าท้องที่ที่มีการจับตัวจำเลยได้ (คดีแรก) เป็นท้องที่ที่มีการจับสำหรับคดีที่ 2 ข.3. ศาลแห่งท้องที่ที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนนอกเขตศาล ได้แก่ กรณีที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนนอกเขตศาลแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าเกิดขึ้น หรือพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับ

5 1.2 กรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน (มาตรา 24)
1.2.1 ความผิดเกี่ยวพันกันตามมาตรา 24(1) มี 2 กรณี ก. ความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยผู้กระทำผิดคนเดียวกัน กฎหมายถือเอาผู้กระทำผิดเป็นสำคัญ ดังนั้น หากความผิดหลายฐานเกิดขึ้นในท้องที่ต่าง ๆ กัน โดยผู้กระทำผิดคนเดียว แม้ความผิดแต่ละฐานนั้นจะขาดตอนไปแล้ว หรือมิได้เกี่ยวพันกัน ก็ถือเป็นความผิดเกี่ยวพันกัน ตามมาตรา 24(1) ข. ผู้กระทำผิดหลายคนเกี่ยวพันกันในการกระทำผิดฐานหนึ่ง หรือหลายฐาน จะเป็นตัวการ ผู้สมรู้หรือรับของโจร กฎหมายถือเอาการกระทำความผิดไม่ว่าจะฐานเดียวหรือหลายฐาน

6 1.2.2. ความผิดเกี่ยวกับตามมาตรา 24(2) มี 2 กรณี
ความผิดเกี่ยวกับตามมาตรา 24(2) มี 2 กรณี ก. ความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยมีเจตนาอย่างเดียวกัน จำเลยกระทำผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงในท้องที่หนึ่ง แล้วพาไปหน่วงเหนี่ยวกักขังอีกท้องที่หนึ่ง จากนั้นพาไปข่มขืนกระทำชำเราอีกท้องที่หนึ่ง ข. ความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยผู้กระทำผิดทั้งหลายได้คบคิดกันมาก่อนแล้ว เป็นเรื่องที่ความผิดแต่ละฐานผู้กระทำความผิดต่างกระทำโดยลำพัง มิได้กระทำผิดในฐานะเป็นตัวการ หรือผู้สมรู้ เหมือนกรณีตามมาตรา 24(1) เช่นจำเลยหลายคนได้ร่วมกันปลอมเงินตราในท้องที่หนึ่ง โดยวางแผนกันนำไปใช้ในอีกท้องที่หนึ่ง

7 เช่น ญาติผู้ต้องหาได้ช่วยผู้ต้องหาให้หลบหนีที่คุมขัง หรือแหกที่คุมขัง
ความผิดเกี่ยวพันกันตาม มาตรา 24(3) เป็นกรณีความผิดฐานหนึ่งเกิดขึ้น โดยมีเจตนาช่วยผู้กระทำผิดอื่น ให้พ้นจากการรับโทษในความผิดอย่างอื่นซึ่งเขาได้กระทำไว้ เช่น ญาติผู้ต้องหาได้ช่วยผู้ต้องหาให้หลบหนีที่คุมขัง หรือแหกที่คุมขัง

8 ในคดีเกี่ยวพันกันดังกล่าวโจทก์มีอำนาจฟ้องดังนี้ 1. ฟ้องคดีทุกเรื่องโดย
1. ฟ้องคดีทุกเรื่องโดย 1.1 แยกแต่ละฐานความผิด ยังศาลนั้นๆที่มีเขตอำนาจตาม มาตรา 22 1.2 แยกฟ้องจำเลยแต่ละคนยังศาลที่มีเขตอำนาจตาม มาตรา 22 2. ฟ้องคดีเกี่ยวพันกันยังศาลๆเดียวกัน โดย 2.1 ฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่า หรือ 2.2 ถ้ามีอัตราโทษสูงเสมอกัน ให้ฟ้องต่อศาลหนึ่งศาลใดก็ได้

9 2. ความผิดนอกราชอาณาจักร ม.22 (2) ศาลที่มีอำนาจชำระได้แก่
2. ความผิดนอกราชอาณาจักร ม.22 (2) ศาลที่มีอำนาจชำระได้แก่ ศาลอาญา หรือ ศาลซึ่งการสอบสวนได้กระทำลงในเขตศาล


ดาวน์โหลด ppt ศาลที่มีอำนาจชำระในคดีอาญา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google