งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สื่อการสอน เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สื่อการสอน เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สื่อการสอน เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
(Ebola Virus Disease; EVD) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 15 กันยายน 2557

2 หัวข้อการนำเสนอ ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
สถานการณ์การติดเชื้อไวรัสอีโบลา มาตรการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา การเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา การวินิจฉัย การตรวจวิเคราะห์แยกโรค และการดูแล รักษาผู้ป่วย การควบคุมการติดเชื้อ คําแนะนําสําหรับประชาชนทั่วไป คําแนะนําสําหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คําแนะนําสําหรับผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด

3 โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรง สาเหตุเกิดจาก Ebola virus ซึ่งอยู่ใน Genus Ebolavirus, Family Filoviridae มี 5 สายพันธุ์ Zaire ebolavirus (EBOV) Sudan ebolavirus Bundibugyo ebolavirus Reston ebolavirus (only in nonhuman primates) Ivory Coast ebolavirus Incubation period : 2-21 days ระบาดในแอฟริกา อัตราป่วยตาย 25% - 90% อาการไม่รุนแรง และ ไม่พบผู้เสียชีวิตจาก Reston

4 3. Primary human infection 4. Secondary transmission
การแพร่ติดต่อ 1. Virus reservoir : Fruit bats Fruit bats are considered to be the natural host of the Ebola virus. Figure 2. Hypothèses sur la transmission du virus Ebola à l'interface homme-animal 2. Epizootic in primates 3. Primary human infection 4. Secondary transmission

5 การแพร่ติดต่อ สัตว์สู่คน
สัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของลิงที่ติดเชื้อ จัดการหรือชําแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตาย ยังไม่พบการติดเชื้อผ่านทางละอองฝอยที่ลอยในอากาศ คนสู่คน สัมผัสโดยตรงกับเลือดที่ติดเชื้อ สารคัดหลั่ง อวัยวะ หรือนํ้าอสุจิ โดยเชื้อเข้าทางเยื่อเมือก/เยื่อบุ เวลาแคะ จมูก ขยี้ตา หรือมีบาดแผล การติดเชื้อในโรงพยาบาล ผ่านทางเข็มและหลอดฉีด ยาที่ปนเปื้อนเชื้อ ในพิธีศพ จากญาติผู้เสียชีวิต ที่มีการสัมผัสโดยตรงกับ ผู้เสียชีวิต

6 Pathogenesis Ebola Virus Mucus Membrane Broken Skin Injection
- Lymphocyte Decrease - Cell Necrosis - Dysregulation of Coaggulation Factor Monocyte, Macrophage, Dendritic Cell, Endothelial Cell, Fibroblasts, Hepatocytes, Adrenal Corticol Cells, Epithelial Cells Ebola virus สามารถติดเชื้อและเพิ่มจำนวนในเซลล์เป้าหมายมนุษย์ได้หลายชนิด เช่น เซลล์ตับ (hepatocytes) เซลล์เยื่อบุหลอดเลือด (Endothelial cells) เซลล์ dendritic macrophages และ monocytes ทำให้เกิดอาการตามพยาธิสภาพที่ไวรัสทำลายเซลล์นั้น Apoptosis Lymph nodes, Liver, Spleen

7 Symptoms of Ebola virus disease

8 Signs & Symptoms Typical Fever Headache Joint and muscle aches
Weakness Diarrhea Vomiting Stomach pain Lack of appetite May experiences A rash Red eyes Hiccups Cough Sore throat Chest pain Difficulty breathing Difficulty swallowing Bleeding inside and outside of the body

9 การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ตั้งแต่ พ.ศ. 2519-2557
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ตั้งแต่ พ.ศ Source: adapted from WHO (Ebola virus disease, West Africa – update)

10 แผนที่แสดงการขยายตัวของพื้นที่ระบาด ใน 3 ประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก
วันที่ 20 ก.ค. 57 วันที่ 6 ก.ย. 57 ขณะนี้การระบาดครอบคลุมทุกเมืองของเซียร์ราลีโอน และเข้าสู่เมืองหลวงของทั้ง 3 ประเทศ

11 แผนที่แสดงการขยายตัวของพื้นที่ระบาด ใน 3 ประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก
source: source:

12 WHO’s Assessment (29 Aug 2014)
สถานการณ์ในขณะนี้เป็น “ขาเร่ง” จำนวนผู้ป่วยที่รายงานอย่างเป็นทางการน่าจะต่ำกว่า ความเป็นจริงประมาณ เท่า จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดในการระบาดครั้งนี้อาจถึง 20,000 - 40% ของผู้ป่วยทั้งหมด เป็นผู้ป่วยรายใหม่ในช่วง 21 วันที่ผ่านมาเท่านั้น - Treatment center ที่มีอยู่เกือบทุกแห่งเต็มขีดจำกัดแล้ว - HCWs ไม่ต่ำกว่า 250 คนติดเชื้อ Source: adapted from WHO (Ebola virus disease, West Africa – update)

13 สถานการณ์โรค จำนวนผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา รวมทั้งสิ้น 3,707 ราย เสียชีวิต 1,848 ราย Ebola virus disease, West Africa – update 31 August 2014 Source: adapted from WHO (Ebola virus disease, West Africa – update)

14 สถานการณ์การระบาดในประเทศไนจีเรีย
มีผู้ป่วยยืนยันนอกลากอส (2ocontact) แต่ยังเชื่อมโยงกับ index case ภรรยาของนายแพทย์ Enemuo มีอาการป่วยและพบเชื้อ (3ocontact)

15 WHO องค์การอนามัยโลก ประกาศ 8 สิงหาคม 2557
ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern ; PHEIC) ประเทศที่มีการระบาด : ออกคำแนะนำให้มีการจำกัดการเดินทางออกนอกประเทศของผู้ป่วยอีโบลาหรือผู้สัมผัสยกเว้นกรณีที่มีการส่งไปรับการรักษานอกประเทศ มีการจัดระบบการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในระดับสูงสุดรวมทั้งเพิ่มความพร้อมของอุปกรณ์ในการดูแลรักษา และลดกิจกรรมการรวมตัวของ คนหมู่มาก ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงหรือพบผู้ป่วยโดยที่ผู้ป่วยเดินทางไปจากประเทศที่มีการระบาด รวมทั้งประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศที่มีการระบาด : ให้มีการเตรียมมาตรการต่างๆให้พร้อม โดยเฉพาะการเฝ้าระวัง การจัดระบบตรวจทางห้องปฏิบัติการ การควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล และ การสอบสวนควบคุมโรค ประเทศอื่นๆ : ไม่มีการห้ามเดินทางหรือการค้า แต่ให้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง

16 ผลดีของการประกาศอีโบลาเป็น PHEIC
ช่วยให้ประเทศที่มีการระบาดในแอฟริกา ควบโรคได้ ดีขึ้น การประกาศภาวะฉุกเฉิน ช่วยจำกัดคนเดินทางเข้าออก จากพื้นที่ระบาด รัฐบาลยกระดับการควบคุมโรค ระดมความร่วมมือ ภายในประเทศ ได้มากขึ้น มีโอกาสได้รับความช่วยเหลือจากนานาชาติมากขึ้น ลดความเสี่ยงของการแพร่โรค ไปยังภูมิภาคอื่นของ โลก การตรวจคัดกรองผู้เดินทางขาออก (Exit screening) จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีผู้ป่วย ขึ้นเครื่องบินออก เดินทางไปแพร่เชื้อนอกประเทศ สำหรับประเทศไทย เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรค จะเฝ้า ระวังโรคในผู้เดินทางระหว่างประเทศ ได้สะดวกขึ้น

17 การประเมินความเสี่ยงของไทย
การแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา อาจมี ความเป็นไปได้ในการเข้าสู่ประเทศไทยได้ 2 วิธี ได้แก่ การแพร่เชื้อของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาที่เดินทาง มาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค อาจทำให้มีการแพร่ ติดต่อโดยมีการระบาดผ่านผู้เดินทาง จากการนำเข้าสัตว์ที่อาจเป็นแหล่งรังโรค เช่น สัตว์ป่า ลิงชิมแปนซี

18 กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 15 สิงหาคม 2557
ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็น โรคติดต่ออันตราย โรคที่ 6 ตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2523 เดิมมี 5 โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง SARS

19 ผลดีของการประกาศโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นโรคติดต่ออันตราย
เมื่อมีการประกาศกระทรวงสาธารสุข แล้ว จะทำให้ เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อ ไวรัสอีโบลา ได้มากขึ้น เช่น ผู้ป่วยสงสัยต้อง แสดงตนกับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่สามารถกักกันผู้ สัมผัสโรคได้ ให้เจ้าของสถานที่ที่มีการระบาด ปรับปรุงสถานที่, พบผู้ป่วยต้องมีการรายงาน

20 ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อม ด้านสาธารณสุขต่อโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
เฝ้าระวังโรคในผู้เดินทางระหว่างประเทศ ที่ด่านควบคุมโรคช่อง ทางเข้าออกระหว่างประเทศ ที่สถานบริการสุขภาพ และในชุมชน เสริมความพร้อมของสถานพยาบาล ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้ สามารถดูแลผู้ป่วยสงสัย อีโบลา ได้ถูกต้อง และปลอดภัย การวินิฉัย และชันสูตร การดูแลผู้ป่วย และควบคุมการติดเชื้อ การส่งต่อ เมื่อจำเป็น พัฒนาศักยภาพการชันสูตร และเครือข่ายห้องปฏิบัติการ เผยแพร่ สื่อสาร ข้อมูลและคำแนะนำ แก่ประชาชนจัดหาและสนับสนุน เวชภัณฑ์และ วัสดุการแพทย์ ประสานความร่วมมือในสธ. และกับภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งชุมชน ประสานความร่วมมือ ระหว่างประเทศ

21 ฉากทัศน์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
เป้าหมายการป้องกันและควบคุมโรคในประเทศ ไม่พบผู้ป่วย ในประเทศ เป้าหมาย : เตรียมพร้อม และ ตรวจจับการระบาดได้รวดเร็ว สธ., มท., กต., ก.เกษตรและสหกรณ์, ก.วิทย์ฯ, ก.ทรัพยาฯ, สำนักนายกฯ, ก.พาณิชย์ ก.คมนาคม, ก.แรงงาน, ก.ศึกษาฯ และมหาวิทยาลัย, ส.อุดมศึกษา (รพ.สังกัดคณะแพทยศาสตร์) พบผู้ป่วย ที่เดินทางมาจากประเทศที่ มีการระบาด เป้าหมาย : ควบคุมโรคไม่ให้มี การแพร่กระจาย (Rapid containment) พบการระบาดของโรคในประเทศ เป้าหมาย : ควบคุมโรคไม่ให้กระจายวงกว้าง และบรรเทาความสูญเสีย

22 ฉากทัศน์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
เป้าหมายการป้องกันและควบคุมโรคในประเทศ (1) ไม่พบผู้ป่วย ในประเทศ - ประกาศโรคติดต่ออันตราย ติดตามเฝ้าระวัง วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ เตรียมความพร้อมการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค สื่อสารความเสี่ยง สธ., มท., กต., ก.เกษตรและสหกรณ์, ก.วิทย์ฯ, ก.ทรัพยาฯ, สำนักนายกฯ, ก.พาณิชย์ ก.คมนาคม, ก.แรงงาน, ก.ศึกษาฯ และมหาวิทยาลัย, ส.อุดมศึกษา (รพ.สังกัดคณะแพทยศาสตร์) พบผู้ป่วย ที่เดินทางมาจากประเทศที่ มีการระบาด ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติความรุนแรงระดับ 2 เปิด War room กสธ.และพื้นที่ ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ตามมาตรการที่กำหนด สื่อสารความเสี่ยง ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติความรุนแรงระดับ 2 เปิด War room กสธ.และพื้นที่ ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ตามมาตรการที่กำหนด สื่อสารความเสี่ยง พบการระบาดของโรคในประเทศ

23 ไม่พบผู้ป่วย ในประเทศ
ฉากทัศน์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป้าหมายการป้องกันและควบคุมโรคในประเทศ (2) - ประกาศโรคติดต่ออันตราย ติดตามเฝ้าระวัง วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ เตรียมความพร้อมการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค สื่อสารความเสี่ยง ไม่พบผู้ป่วย ในประเทศ สธ., มท., กต., ก.เกษตรและสหกรณ์, ก.วิทย์ฯ, ก.ทรัพยาฯ, สำนักนายกฯ, ก.พาณิชย์ ก.คมนาคม, ก.แรงงาน, ก.ศึกษาฯ และมหาวิทยาลัย, ส.อุดมศึกษา (รพ.สังกัดคณะแพทยศาสตร์), พบผู้ป่วย ที่เดินทางมาจากประเทศที่ มีการระบาด ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติความรุนแรงระดับ 2 เปิด War room กสธ.และพื้นที่ ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ตามมาตรการที่กำหนด สื่อสารความเสี่ยง - ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ ความรุนแรงระดับ 3 หรือ 4 - เปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ “บก.ปภ.ช.” ดำเนินการตามแนวทางที่พบการ ระบาดโรคติดต่อเชื้อ อีโบลาในประเทศ พบการระบาดของโรคในประเทศ

24 Ebola surveillance & investigation
Case definition การติดตามผู้เดินทางที่มาจากพื้นที่ที่เกิดโรค การตรวจสอบข่าวเมื่อได้รับแจ้งผู้ป่วย การสอบสวนโรค การติดตามผู้สัมผัส การเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (เฉพาะ โรงพยาบาลที่มีความพร้อม)

25 Case definition (1) ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน (Patient under investigation) ผู้ที่มีอาการไข้ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับ มีประวัติสัมผัสโรคในช่วง 21 วันก่อนเริ่มป่วย ข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ - อาศัยอยู่ หรือ เดินทางมาจากประเทศที่เกิดโรค - สัมผัสผู้ป่วยหรือศพของผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้ออีโบลา - สัมผัสโดยตรงกับสัตว์จำพวกค้างคาว หนู ลิง สัตว์ป่าเท้ากีบที่มาจากพื้นที่เกิดโรค

26 Case definition (2) ผู้ป่วยสงสัย (Suspected case)
ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน ที่มีอาการไข้ ร่วมกับอาการอย่าง น้อย 3 จากอาการดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวด กล้ามเนื้อ ปวดแน่นท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว สะอึก กลืนลำบาก ซึม หรือ ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน ที่มีอาการเลือดออกผิดปกติ หรือ มี อาการรุนแรงที่เกิดกับหลายระบบอวัยวะรวมทั้งผู้เสียชีวิตที่มี อาการดังกล่าว โดยไม่ทราบสาเหตุอื่นๆ ที่ชัดเจน ผู้ป่วยน่าจะเป็น (Probable case) ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน / ผู้ป่วยสงสัย ที่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือศพหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ที่ยืนยัน/น่าจะเป็นผู้ติดเชื้ออี โบลา

27 Case definition (3) ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case)
ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน / ผู้ป่วยสงสัย / ผู้ป่วยน่าจะเป็น ที่มีผล การตรวจทางห้องปฏิบัติการพบหลักฐานการติดเชื้อไวรัสอีโบลา อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ทั้ง Ebola Realtime และ Conventional RT-PCR ให้ผลบวก จากตัวอย่างเลือดที่ตรวจโดยห้องปฏิบัติการอย่างน้อย 2 แห่ง (จากตัวอย่างเลือดที่ตรวจโดยห้องปฏิบัติการที่แตกต่างกันและ เก็บตัวอย่างเลือดอย่างน้อยในวันที่ 5 ภายหลังจากเริ่มมีอาการ) รวมทั้งมีผล Nucleotide sequencing จากห้องปฏิบัติการอย่าง น้อย 1 แห่ง สามารถแยกเชื้อไวรัสอีโบลา (viral isolation)

28 Case definition (4) ตัดออกจากการเป็นผู้ป่วย (discarded)
ผู้ป่วยที่ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบหลักฐานการติด เชื้อไวรัสอีโบลาจากการตรวจ คัดกรองด้วยวิธีมาตรฐาน 2 วิธีที่ แตกต่างกัน ดังเกณฑ์ต่อไปนี้ ทั้ง Ebola Realtime และ Conventional RT-PCR ให้ผลลบจาก ตัวอย่างเลือดที่เก็บในช่วงเวลาที่เหมาะสม (อย่างน้อยวันที่ 5 หลังเริ่ม มีอาการ) และตรวจโดยห้องปฏิบัติการอย่างน้อย 2 แห่ง กรณีที่ไม่สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาการติดเชื้อได้ ให้ คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการและยุทธศาสตร์ฯ โรคติดต่อ อุบัติใหม่แห่งชาติ ร่วมกันพิจารณาข้อมูลผู้ป่วย อาการทางคลินิก ระบาดวิทยา และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง เพื่อ ลงความเห็นว่าจะตัดออกจากการเป็นผู้ป่วยหรือไม่

29 การเฝ้าระวังโรคอีโบลาในผู้เดินทางระหว่างประเทศ
ผู้เดินทาง นักท่องเที่ยวผ่าน ประเทศที่มีการระบาด ผู้เดินทางจาก ประเทศที่มีการระบาด คัดกรอง่ที่ท่าอากาศยาน เมื่อผ่าน ด่านตม. / ด่าน ตป. และติดตามรายวัน ค้นหา วินิจฉัย ที่ รพ. เมื่อผู้เดินทางมีอาการป่วย ค้นหา และแจ้งเหตุ ในชุมชนโดยความร่วมมือของ อสม. ผู้ประกอบการ ประชาชน ฯลฯ 14 August 2014

30 แนวทางการสนทนากับผู้เดินทางเข้ามาประเทศไทยจากประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เพื่อติดตามการป่วย (1) การสนทนาภาษาไทย 1. แนะนำตัวเอง: ชื่ออะไร ทำงานที่ไหน โทรมาด้วย วัตถุประสงค์ใด 2. สอบถามผู้รับสาย - ชื่อตรงกับผู้ต้องการติดต่อใช่หรือไม่ - ประวัติการเดินทางว่าเดินทางมาจากประเทศใด เมืองอะไร เพื่อตรวจสอบว่ามาจากพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ 3. สอบถามว่าสบายดีหรือไม่ มีอาการไข้หรืออาการ ผิดปกติอื่นๆ เช่น ท้องเสีย อ่อนเพลียมาก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะมากหรือไม่ ตั้งแต่เมื่อไร จะให้เราชื่อเหลือได้ อย่างไรบ้าง ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

31 การสนทนาภาษาไทย (ต่อ)
แนวทางการสนทนากับผู้เดินทางเข้ามาประเทศไทยจากประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เพื่อติดตามการป่วย (2) การสนทนาภาษาไทย (ต่อ) 4. ช่วงระหว่างที่อยู่เมืองไทยพักอยู่ที่ไหน อยู่นานเท่าไร (จะย้ายไปพักที่อื่นอีกหรือไม่ วันไหน วางแผนจะไป เที่ยวที่ไหนอีกบ้าง) 5. เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก: เบอร์อะไร เป็น เบอร์ของใคร 6. จะเดินทางออกจากเมืองไทยเมื่อไหร่ 7. อวยพร/บอกลา/ขอบคุณ และบอกว่าจะโทรมาใหม่ใน วันถัดไป ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

32 แนวทางการสนทนากับผู้เดินทางเข้ามาประเทศไทยจากประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เพื่อติดตามการป่วย (3) ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

33 Traveler Information Form
ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

34 การดำเนินงานเมื่อพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนที่ ร.พ.
พบผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไข้ เป็นคนแอฟริกา คนไทย/เชื้อชาติอื่นที่มีอาชีพที่ต้องเดินทางไปแอฟริกา จุดคัดกรอง/ ผู้ป่วยนอก/ห้องฉุกเฉิน ซักประวัติพบว่าเดินทางจากประเทศระบาดมาไม่เกิน 21 วัน ใช่ ไม่ใช่ อุณหภูมิ ≥ 38 OC ดำเนินการตามแนวทางการตรวจ ปกติของโรงพยาบาลแต่เพิ่มความ ระวังการติดเชื้อสู่บุคลากรทาง การแพทย์เพิ่มขึ้น ใช่ ไม่ใช่ ผู้ป่วยเกณฑ์ สอบสวนโรค ผู้ป่วยสงสัย อาการรุนแรง / แย่ลงเร็ว มีอาการเลือดออก อาการดีขึ้น ดูแลรักษา ตามปกติ

35 แบบสอบสวนผู้ป่วยสงสัยติดเชื้ออีโบลา

36 แบบสอบสวนผู้ป่วยสงสัยติดเชื้ออีโบลา

37 Case definition นิยามผู้สัมผัสโรค ผู้สัมผัสผู้ป่วยโรค Ebola
ผู้สัมผัสสัตว์ป่วยหรือตาย ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจหาเชื้อก่อโรค

38 Case definition ผู้สัมผัสผู้ป่วยโรค Ebola หมายถึง ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย โรค Ebola ด้วยกรณีต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งกรณี ภายใน 21 วันก่อนมีอาการป่วย อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกับผู้ป่วย ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและสัมผัสกับเลือดหรือสารคัด หลั่งจากร่างกายผู้ป่วยหรือเสื้อผ้าของผู้ป่วย สัมผัสกับร่างผู้เสียชีวิตขณะจัดการศพหรือระหว่างงาน ศพ ทารกที่ดูดนมมารดาที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

39 Case definition ผู้สัมผัสสัตว์ป่วยหรือตาย หมายถึง ผู้ที่สัมผัสกับสัตว์ป่วยหรือตาย ด้วยกรณีต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งกรณี ภายใน 21 วันก่อนมีอาการป่วย สัมผัสกับสัตว์ป่วยหรือตาย (โดยเฉพาะ ลิง แอนติโลปป่า สัตว์กีบคู่ อยู่ในวงศ์วัว และควาย หนู และค้างคาว) สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายของสัตว์ป่วยหรือตาย ชำแหละสัตว์ตาย รับประทานเนื้อสัตว์ป่าดิบ ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจหาเชื้อก่อโรค หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจหาเชื้อก่อโรค และได้สัมผัสตัวอย่าง ส่งตรวจด้วยกรณีต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งกรณี ภายใน 21 วันก่อนมี อาการป่วย สัมผัสตัวอย่างส่งตรวจจากผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา สัมผัสตัวอย่างส่งตรวจจากสัตว์ป่วยที่มาจากแอฟริกาที่สงสัยโรคติด เชื้อไวรัสอีโบลา หรือสัตว์ที่มีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ติดเชื้อไวรัสอีโบลา

40 การจำแนกผู้สัมผัสตามความเสี่ยงของการสัมผัสโรค
จำแนกผู้สัมผัสตามคู่มือปฏิบัติการโรคติดเชื้อไวรัสอี โบลา สำหรับผู้ปฏิบัติงาน

41 การติดตามผู้สัมผัส

42 การดำเนินการกับผู้สัมผัส
เลิกจากการแยกโรค / เลิกจำกัดการเดินทางได้เมื่อ 1. ผู้ป่วย Index case มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ให้ผลลบตามนิยามตัดออกจากการเป็นผู้ป่วย (discard) 2. ติดตามจนครบ 21 วัน กรณีผู้ป่วย Index case เป็นผู้ป่วย ยืนยัน

43 หลักการจัดการผู้สัมผัส

44 การติดตามข้อมูลผู้เดินทางเข้าข่ายเฝ้าระวัง 21 วัน
ด่านระหว่างประเทศ 5 ท่าอากาศยาน + 17 ท่าเรือ และด่านบก คัดกรองผู้เดินทางทุกวัน โดยกลุ่มโรคติดต่อระหว่างประเทศ สนต. สำนักระบาดวิทยาประสานกระจายข้อมูลให้สำนักงานป้องกันควบคุม โรค (สคร.) 12 แห่ง ก่อน 9 โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น สคร. ร่วมกับ สำนักอนามัย กทม. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ติดตามผู้เดินทางและรายงานกลับมายัง สนร. ก่อน 16 น. สำนักระบาดวิทยา สรุปสถานการณ์รายวัน

45 ฉากทัศน์จำลองเหตุการณ์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (EVD)
1. จำลองสถานการณ์และมาตรการเพื่อการตรวจจับ (Detection) ผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาบนอากาศยาน และ ที่ช่องทางเข้าออกประเทศ 2. กรณีพบผู้ป่วยสงสัย ที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ 3. แผนผังเฝ้าระวังผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 4. แนวทางการวินิจฉัยดูแลรัษาและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ ไวรัสอีโบลาสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปข้อมูล ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2557 5. กรณีพบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อไวรัสอีโบลาเดินทางมาจากต่างประเทศ 6. กรณีพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศ แต่ยังไม่พบ การแพร่กระจายเชื้อในประเทศไทย 7. กรณีพบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทย

46 การวินิจฉัย Clinical Manifestation Laboratory Investigation
Routine Laboratory Laboratory diagnosis for Ebola virus

47 ลักษณะทางคลินิก (1) วันที่ 3-6 วันที่ 1-2
ไข้สูง อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตาและเยื่อบุตา แดง หัวใจเต้นช้า (bradycardia) คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาเจียนปนเลือดและอุจจาระ ปนเลือด (diarrhea rouge) วันที่ 3-6 ต่อมน้ำเหลืองบริเวณท้าย ทอย คอ และรักแร้โต เจ็บคอและกลืนลำบากได้ พบจุดบริเวณเพดานอ่อน (soft palate) ภาวะขาดน้ำ (dehydration)

48 ลักษณะทางคลินิก(ต่อ)
ลักษณะทางคลินิก (2) วันที่ 5-7 เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในช่องท้อง ปัสสาวะเป็นเลือด เลือดออกทางช่องคลอด เลือดออกบริเวณเยื่อบุตาขาว ผื่นแดงกระจายจากบริเวณ ใบหน้าและก้นไปที่ลำตัวและ แขน แล้วกลายเป็นจ้ำแดง ภายใน 24 ชั่วโมง ผื่นจะ ขยายมารวมกัน โดยไม่มี อาการคัน วันที่ 8-16 สะอึกในผู้ที่มีอาการรุนแรง ภาวะขาดน้ำรุนแรง (severe dehydration ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตประมาณ วันที่ 12 จากอวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลว โดยเฉพาะ ไตวาย และตับวาย มีการ เปลี่ยนแปลงระดับความ รู้สึกตัวจนถึงโคมา (coma) ภาวะช็อคและเสียชีวิตตามมา

49 ภาวะแทรกซ้อน มักเกิดจากหลังเริ่มเป็นโรคประมาณ 2 สัปดาห์ —Migratory arthralgias —Ocular disease (unilateral vision loss, uveitis) —Suppurative parotitis —Orchitis —Hearing loss —Pericarditis —Illness-induced abortion among pregnancy

50 การวินิจฉัยแยกโรค Shigellosis และโรคติดเชื้อแบคทีเรียระบบทางเดิน อาหารอื่นๆ ทัยฟอยด์ (Typhoid) มาลาเรีย (Malaria) อื่นๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ (Viral hepatitis) โรคฉี่หนู (Leptospirosis), ไข้รูมาติค (Rheumatic fever), ทัยฟัส (Typhus) และอาการ/อาการแสดงที่เกิดจาก mononucleosis Lassa fever ไข้เหลือง (Yellow fever) และการติดเชื้อ Flaviviridae อื่นๆ

51 Routine Laboratory for Suspected EVD Specimens
รพช. รพท. คลินิก รพ. เอกชน - ส่งต่อผู้ป่วยไปยัง รพศ. ที่รับผู้ป่วย Refer - ไม่ควรตรวจ Lab รพศ. ที่รับผู้ป่วย refer จัดให้มี DRA ตรวจ Routine lab DRA : Designated Receiving Area

52 Designated Receiving Area ห้องปฏิบัติการระดับ 2 + practice ระดับ 3
DRA Designated Receiving Area ห้องปฏิบัติการระดับ 2 + practice ระดับ 3 รับตัวอย่าง เตรียมตัวอย่าง + inactivate ตัวอย่าง ตรวจตัวอย่าง non-inactivated sample ทำลายตัวอย่าง เก็บตัวอย่าง

53

54 Designated Receiving Area เครื่องมือ /อุปกรณ์
DRA Designated Receiving Area เครื่องมือ /อุปกรณ์ Personal Protective Equipment (PPE) อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล BSC class II goggle, face shield long sleeve gown glove, N95 mask เครื่องปั่น bucket มีฝาปิด Autoclave (เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ) ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง Automated analyzer

55 ทำรายการทดสอบเท่าที่จำเป็นและน้อยที่สุด
Routine Laboratory Hematology CBC Malaria Rapid test (malaria) Blood Chemistry -Electrolyte -Bun, Creatinine -LFT -Amylase Serology/Immunology Rapid test (Dengue) Blood bank (No cross-matching) ให้เลือด (PRC) group O Rh negative FFP group AB Nucleic acid detection (Non-ebola detection) PCR ต้องสกัดด้วยชุดน้ำยาในพื้นที่เฉพาะ ทำรายการทดสอบเท่าที่จำเป็นและน้อยที่สุด

56 Do not perform urinalysis
Hematology CBC Fully automated analyzer/ DRA Thick/Thin film for malaria BSC II, DRA โดย inactivate ก่อนการนำไปย้อมนอก BSC Malaria PCR BSC II: DRA Do not perform urinalysis

57 Blood chemistry Clinical Chemistry
ปั่นแยกซีรัมในเครื่องหมุนเหวี่ยงที่มี bucket ที่มีฝาปิด inactivate ที่อุณหภูมิ 57°C นาน 60 นาที (Heat Block) ยกเว้น Blood Gas LFT, BUN/Creatinine, Amylase, Electrolyte Fully Automated Analyzer/ DRA Blood chemistry

58 Bacteria Culture ยกเว้น Hemoculture BSC II ; DRA บ่ม Plate
(เพลทใส่ถุงซิปปิด) DRA Hemoculture Automated (no vent) ไม่มีให้ subculture ใน BSC II in DRA

59 Serology/ Immunology ปั่นแยกซีรัมในเครื่องหมุนเหวี่ยงที่มี bucket ที่มีฝาปิด และเปิดฝาใน BSC II ในพื้นที่เฉพาะ ควรทำเฉพาะ Rapid test BSC II/ DRA Test อื่นๆ ควรทำเมื่อทราบผล Ebola PCR Negative

60 Laboratory Finding of EVD
CBC :- Leucopenia :- Lymphopenia :- Thrombocytopenia 50, ,000/mm3  AST & ALT – elevate PT & PTT (activated) – prolong (DIC) BUN creatinine – increase Bleeding time – prolong Proteinuria Amylase - increase

61 Diagnostic Test Available
การตรวจวิเคราะห์ EDV ทางห้องปฏิบัติการ Timeline of Infection Diagnostic Test Available Type of Specimen Quantity 3-10 วัน หลังมีอาการ -Antigen-capture ELISA -PCR -virus isolation Whole blood EDTA blood 3 ml x 3 หลอด, หรือ 5 ml X 2 หลอด IgM ELISA Serum Clotted blood 5 ml x 3 หลอด หลัง 10 วัน /หลังจากหายป่วย -IgM and IgG antibody หลังเสียชีวิต -Immunochem. testing -Virus isolation Tissue Tissue/secretion 1x1 x1 cm3

62 Laboratory diagnosis for Ebola virus
Method BSL Virus isolation BSL-4 Molecular Dx -Nucleic Acid Extraction / BSL-3 -PCR / BSL-2+PPE Source: Pan American Health Organization & World Health Organization 6 Aug 2014

63 ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
EDV Testing Real Time RT-PCR for Ebola Virus 3 ยี่ห้อ Turn Around Time 1 วัน Non-EVD Testing Other Virus/Bacteria Infection เหมือนเดิม ตามคู่มือการเก็บตัวอย่างและความปลอดภัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

64 ผลการวิเคราะห์ Ebola virus
PCR positive พิจารณาหยุดส่งตรวจ Routine Lab PCR negative สงสัย ส่งตรวจ Ebola virus ซ้ำ

65 การดูแลรักษาผู้ป่วย ไม่มีการรักษาเฉพาะ ใน ประเทศไทย เพราะยารักษา เฉพาะทางนั้น ยังอยู่ในขั้นตอน การศึกษาทดลอง ยังไม่ได้รับ การขึ้นทะเบียนยาตาม การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล อย่างถูกต้อง และ ปลอดภัย ได้แก่ การให้สารน้ำ การให้ ออกซิเจน การให้เลือด ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

66 แนวทางการดำเนินการรับผู้ป่วยที่สงสัย โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
กรณีที่ 1 ผู้ป่วยที่สงสัย ส่งมาจากด่านควบคุมโรค กรณีที่ 2 ผู้ป่วยที่ walk in มาที่โรงพยาบาล

67 กรณีที่ 1 ผู้ป่วยที่สงสัยส่งมาจากด่าน
กรณีที่ 1 ผู้ป่วยที่สงสัยส่งมาจากด่าน ศูนย์ส่งต่อ แจ้งผู้เกี่ยวข้อง เพื่อ เตรียมรับผู้สงสัยโรคติดเชื้อ ปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติการโรค ติดเชื้อไวรัสอีโบลา สำหรับ ผู้ปฏิบัติงาน

68 โรงพยาบาลที่พร้อม เขต ภูมิภาค เขต กทม และ ปริมณฑล สถาบันบำราศนราดูร
โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลนพรัตนราช ธานี สถาบันโรคทรวงอก โรงพยาบาลเลิดสิน สถาบันสุขภาพเด็ก แห่งชาติมหาราชินี (เฉพาะผู้สงสัย / ผู้ป่วย ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี) โรงพยาบาลศูนย์ 15 แห่ง ใน 12 เขต ตาม คู่มือปฏิบัติการโรคติด เชื้อไวรัสอีโบลา สำหรับ ผู้ปฏิบัติงาน

69 กรณีที่ 2 ผู้ป่วยที่ walk in มาที่ โรงพยาบาล ปฏิบัติตามแนวทางการคัดกรอง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาล ชุมชน ให้โทรแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ ศูนย์ส่ง ต่อ รพ.ราชวิถี , หรือ กรมควบคุมโรค 1422 เพื่อให้นำรถพยาบาลมารับ ผู้ป่วยไป แยกรักษายังโรงพยาบาลที่พร้อมรับผู้ป่วย หรือโทรปรึกษาแพทย์ที่รับปรึกษา ส่งต่อผู้ป่วยโดยรถพยาบาลของโรงพยาบาลที่พร้อม รับ โรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์

70 แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาและควบคุมป้องกันการติดเชื้อใน รพศ. รพท. (1)
แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาและควบคุมป้องกันการติดเชื้อใน รพศ. รพท. (1) ณ จุดคัดกรอง ห้องฉุกเฉิน/แผนกผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไข้สูง - เป็นคนแอฟริกา - คนไทย/เชื้อชาติอื่นที่ ประกอบอาชีพที่ต้องเดินทาง ไปกลับแอฟริกา หมายเหตุ ให้รับไว้เป็นผู้ป่วยใน ใน ห้องแยกที่เตรียมไว้และแจ้งสำนัก ระบาด - การวัดไข้ให้เป็นระบบ non -touch - กรณีที่ไข้ต่ำกว่า 38 องศาเซลเซียสให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือให้พิจารณาตามความเหมาะสม - มีประวัติเดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคภายใน 21 วัน หรือ - มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยสงสัย หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาภายใน 21 วัน หลังจากสัมผัสผู้ป่วย/ผู้เสียชีวิต และ - มีไข้เฉียบพลัน (มากกว่า หรือ เท่ากับ 38 องศาเซลเซียส ร่วมกับมีลักษณะคลินิก ดังนี้ o อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย o อาจจะอาเจียนปนเลือด และถ่ายปนเลือด มีภาวะเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ พบจ้ำแดง จุดผื่นแดงทั้งภายใน และนอกร่างกาย หรือ o อาการแสดงอวัยวะล้มเหลว เช่น ตับ ไต ปอด ระบบการไหลเวียน

71 แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาและควบคุมป้องกันการติดเชื้อใน รพศ. รพท. (2)
แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาและควบคุมป้องกันการติดเชื้อใน รพศ. รพท. (2) - บุคลากรทางการแพทย์ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลที่เหมาะสม (PPE) - ให้รับไว้ในห้องแยกเดี่ยวที่มีห้องน้ำในตัว หรือ Airborne Infection Isolation Room (AIIR) - พิจารณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำเนินการที่เหมาะสมต่อไป - แจ้งพยาบาล ICN เจ้าหน้าที่ระบาด เพื่อสอบสวนหาผู้สัมผัส - กรณีที่ตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยอีโบลา ให้เจาะเลือด EDTA 3 หลอดหลอดละ 3 มิลลิลิตร - พิจารณาเจาะตรวจ lab อื่นๆ ตามความจ้าเป็น ให้ด้าเนินการ ในห้องปฏิบัติการเฉพาะ (DRA) ที่มีความปลอดภัยระดับ 2 และใช้ตู้ชีวนิรภัย (Biosafety cabinet) และ Practice อย่างน้อยระดับ 3 - โทรแจ้ง ส้านักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ สำนักระบาดวิทยาเพื่อประสานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

72 การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
คัดกรองและคัดแยกผู้ป่วยต้องสงสัยตามนิยามโรค ให้เร็วที่สุด มีห้องตรวจแยกจากผู้ป่วยโรคอื่น ใช้หลักการ Standard precautions contact precautions และ droplet precautions เป็นหลัก นอกจากนี้เนื่องจากเป็นโรคที่มีอัตราป่วยตายสูงมาก จึงแนะนำ การใช้ airborne precautions ร่วมด้วย

73 มาตรการการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
สถานที่รับดูแลผู้ป่วย การจัดการผ้าเปื้อน การใส่อุปกรณ์ป้องกัน ร่างกาย อาหาร การบริหารจัดการศพ การดูแลผู้ป่วย การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย กิจกรรมที่ทำให้เกิด ละอองฝอย การเฝ้าระวังการติดเชื้อ ของบุคลากร Hand Hygiene การควบคุมการติดเชื้อใน สิ่งแวดล้อม

74 สถานที่รับดูแลผู้ป่วย
ห้องเดี่ยว ที่มีห้องน้ำในตัว มีประตูปิด หากผู้ป่วยมีอาการทางระบบทางเดิน หายใจควรให้ผู้ป่วยอยู่ในห้อง Airborne Infection Isolation Room: AIIR มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการ ดูแลรักษาผู้ป่วยในภาวะวิกฤต (Intensive care) มีการบันทึกชื่อและกิจกรรมของ บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย มีพื้นที่เพียงพอต่อการทำหัตถการ ภายในห้อง Airborne Infection Isolation Room

75 การใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย (Personal Protective Equipment : PPE)
หลักการ ป้องกันการติดเชื้อผ่านผิวหนังและ mucosa ปกคลุมร่างกายทุกส่วน ป้องกันการซึมของน้ำ ป้องกันการติดเชื้อทางอากาศในบางกรณีเท่านั้น ระวังการปนเปื้อนในเวลาถอด แนะนำการทำความสะอาดมือในทุกขั้นตอนการถอด

76 Personal Protective Equipments (2)
Gowns กันน้ำ Hood Goggles and face shield Masks: surgical, N-95, N-100, P-100 Gloves 1-2 ชั้น Leg and foot cover Boot

77 ลำดับการใส่และการถอดอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล สำหรับทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว / ปฏิบัติการภาคสนาม

78 ลำดับการใส่ ลำดับการถอด

79 . ลำดับการใส่และการถอดอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลแบบกาวน์กันน้ำ สำหรับ บุคลากรในสถานพยาบาล

80 ลำดับการใส่ ลำดับการถอด

81 การดูแลผู้ป่วย จำกัดการใช้เข็มหรือของมีคมกับผู้ป่วยเท่าที่จำเป็น
จำกัดการเจาะเลือด สิ่งส่งตรวจเท่าที่จำเป็นเพื่อการ รักษาพยาบาลเท่านั้น จัดให้มี Sharp Container ณ จุดให้บริการผู้ป่วย และกำจัด อย่างระมัดระวัง เลือกใช้อุปกรณ์ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง หากต้องนำกลับมาใช้ใหม่ให้ทำความสะอาดอุปกรณ์เหล่านั้น ตามคำแนะนำของผู้ผลิตอุปกรณ์แต่ละชนิด ทำความสะอาด/ทำ ให้ปราศจากเชื้อ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ ใช้กับผู้ป่วยตามหลักการของ infection control แยกเครื่องมือ เครื่องใช้ เฉพาะผู้ป่วย Ebola ไม่ปะปนกับผู้ป่วย อื่น

82 กิจกรรมที่ทำให้เกิดฝอยละออง
Bronchoscope Sputum induction ET intubation and extubation CPR Open suction of lower airways Autopsies ควรทำในห้องแยกโรค หรือ Airborne Infection Isolation Room (AIIR) ใส่ PPE ขณะทำกิจกรรม

83 Hand Hygiene ล้างมือก่อนการใส่อุปกรณ์ ป้องกันร่างกาย
ล้างมือหลังการถอด อุปกรณ์ป้องกันร่างกายแต่ ละชิ้น ล้างมือหลังสัมผัสผู้ป่วย/ สิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย/ อุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วย

84 การควบคุมการติดเชื้อในสิ่งแวดล้อม
Personal Protective Equipment Standard procedures for cleaning and disinfection of environmental surfaces: 1:10 or 1:100 Sodium hypochlorite, phenolic, peracetic acid, 3% acetic acid การกำจัดขยะ : autoclave หรือ onsite decontamination

85 ควรใส่แว่นป้องกันตา และ HOODป้องกันการปนเปื้อนบริเวณใบหน้าและลำคอ

86 การจัดการผ้าเปื้อน แยกผ้าผู้ป่วยใส่ถุงผ้าและใส่ถุงพลาสติกอีกชั้นเมื่อจะส่งงาน ซักฟอก พนักงานใส่เครื่องป้องกันร่างกาย ขั้นตอน เช็ดโดยรอบถุงผ้าด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ ใส่ถุงแดงอีกชั้น เช็ดโดยรอบด้วยน้ำยาทำลายเชื้อก่อนใส่ในถังพลาสติกใส่ผ้า ก่อนนำออกจากห้องผู้ป่วยต้องเช็ดถังผ้าโดยรอบ และสเปรย์ ซ้ำด้วย 70%แอลกอฮอล์โดยรอบ ปิดฝาถังและส่งงานซักฟอกเพื่อซักด้วย Prewash 2 ครั้งและ Washing โดยตั้งโปรแกรมใช้น้ำร้อน 71 องศา เซลเซียส เป็น เวลา 25 นาที

87 อาหาร การบริหารจัดการศพ
อุปกรณ์การรับประทานอาหาร ใช้ชนิดครั้งเดียวทิ้ง หากจำเป็นต้องนำกลับมาใช้ซ้ำต้องให้เจ้าหน้าที่สวม เครื่องป้องกันร่างกาย ล้างโดยใช้เครื่องล้างจานที่ใช้น้ำร้อน การบริหารจัดการศพ หลีกเลี่ยงการสัมผัสศพ หากจะสัมผัสศพหรือสารคัดหลั่ง ต้องสวมถุงมืออย่างน้อย 1-2 ชั้น ล้างมือหลังถอดถุงมือแล้วด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หากสงสัยว่าศพเป็นโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ห้ามส่งศพไปผ่า ชันสูตร (autopsy)

88 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การแจ้งข้อมูลแก่ โรงพยาบาลปลายทาง ล่วงหน้า PPE Standard precautions ควรเตรียม Cleaning set ในรถพยาบาลให้พร้อมใช้ งาน เปิดประตูและ หน้าต่างรถทุกบานขณะทำ ความสะอาด ทิ้งไว้นาน 30 นาที

89 การเฝ้าระวังการติดเชื้อของบุคลากร
จำกัดบุคลากรเท่าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงการให้บุคลากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเช่น ผู้ที่มีโรค เรื้อรัง หรือภูมิต้านทานบกพร่องให้ดูแลผู้ป่วย เฝ้าระวังและติดตามอาการของบุคลากรทุกคนหลังสัมผัส ผู้ป่วยจนพ้นระยะเวลา 21 วัน หลังสัมผัสผู้ป่วยครั้ง สุดท้าย

90 คำแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ดำเนินมาตรการเฝ้าระวังบริเวณด่านชายแดน หรือจุดผ่านแดนระหว่างประเทศที่อาจมีผู้เดินทางมาจากประเทศที่เกิดการระบาด และมีอาการสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ได้แก่ มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคแก่ประชาชน ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า หลีกเลี่ยงการการรับประทานสัตว์ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งเช่น เลือด จากผู้ป่วยหรือศพ

91 คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป
สิ่งที่ควรทำ ติดตามข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้รู้สถานการณ์ และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

92 คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศ (1)
สิ่งที่ควรทำ หลีกเลี่ยงหรือชะลอการ เดินทางไปในประเทศที่มี การระบาด ติดตามข้อมูลข่าวสารจาก กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้รู้สถานการณ์ และมี ความรู้ความเข้าใจที่ ถูกต้อง

93 คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศ (2)
สิ่งที่ควรทำ หากจำเป็นต้องเดินทางไปยัง ประเทศที่เกิดการระบาด ควรปฏิบัติ ดังนี้ หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้ สะอาด หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือสัมผัสผู้ป่วย รวมถึงเสื้อผ้า เครื่องใช้ของผู้ป่วย หากมีอาหารป่วย เช่น ไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวด กล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย มีผื่นนูนแดงตามตัว ให้ รีบพบแพทย์ทันที พร้อมกับแจ้ง ประวัติการเดินทาง

94 คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศ (3)
สิ่งที่ “ไม่” ควรทำ รับประทานเนื้อสัตว์ป่าทุกชนิด สัมผัสสัตว์ป่าทุกชนิด โดยเฉพาะสัตว์ จำพวก ลิง หรือค้างคาว ล้วงแคะแกะเกาจมูก และขยี้ตา ด้วยมือ ที่ยังไม่ได้ล้างให้สะอาด มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนหรือ คู่รัก ซื้อยากินเอง เวลาเจ็บป่วยด้วยอาการไข้

95 สรุป มาตรการป้องกันควบคุมโรคของไทย (1)
ดำเนินการสอดคล้องกับ WHO ตามประกาศ PHEIC ดังนี้ การจัดระบบเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและสัตว์ ดำเนินการติดตามสถานการณ์ร่วมกับ WHO ประเมินความเสี่ยง อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มมีการระบาด ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ดำเนินการคัดกรองผู้ที่ เดินทางมาจากประเทศที่พบโรค โดยการซักประวัติสุขภาพ วัด อุณหภูมิร่างกาย และมีการติดตามผู้ที่เดินทางมาจากประเทศ ที่ พบการระบาดของโรคทุกวันจนกว่าจะครบ 21 วัน

96 สรุป มาตรการป้องกันควบคุมโรคของไทย (2)
ดำเนินการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการไข้ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับมีประวัติเดินทางกลับมาจากประเทศที่พบผู้ป่วยในช่วง 21 วัน ก่อนเริ่มป่วย โดยให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อสอบสวนและเก็บ ตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทันที ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วย โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

97 สรุป มาตรการป้องกันควบคุมโรคของไทย (3)
2. การดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล สถานพยาบาลมีห้องแยก ผู้ป่วยทุกจังหวัด และให้ปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อใน โรงพยาบาลเหมือนผู้ป่วยโรคติดต่ออันตรายสูง เช่น โรคซาร์ส อย่างเคร่งครัด คำแนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสอีโบลา สำหรับ บุคลากรและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การรักษาผู้ป่วย ให้ปฏิบัติตามแนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษา และ ควบคุมป้องกันการติดเชื้อจากกรมการแพทย์ ทั้งนี้มีการคำปรึกษา แก่แพทย์ พยาบาลในการรักษาตลอด 24 ชั่วโมง

98 สรุป มาตรการป้องกันควบคุมโรคของไทย (4)
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับ หน่วยงานเครือข่ายทั่วประเทศ เพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมทาง ห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 4. การบริหารจัดการ กรมควบคุมโรค และกระทรวงสาธารณสุข เปิดศูนย์ ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และบูรณาการการทำงานของทุก หน่วยงานและสั่งการไปยังหน่วยปฏิบัติทั่วประเทศ จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินสถานการณ์และความ เสี่ยง พร้อมทั้งปรับมาตรการในการป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อ ไวรัสอีโบลา

99 สรุป มาตรการป้องกันควบคุมโรคของไทย (5)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เฝ้าระวัง สัตว์ที่มาจากแอฟริกา ไม่พบมีการนำสัตว์เข้ามายัง ประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชะลอการนำเข้าสินค้า ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์จากประเทศที่มี รายงานการระบาดของ EVD และมีการควบคุมการ นำเข้าทั้งทางท่าอากาศยาน ท่าเรือ และชายแดน กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการแจ้งคำเตือนประชาชน ไทยให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่เกิดโรค และให้ ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดลงทะเบียนที่ สถานทูตไทยในประเทศเซเนกัล

100 รายชื่อทีมแพทย์ที่ยินดีให้คำปรึกษา
ลำดับ ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง / สังกัด เบอร์โทรศัพท์ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ นพ.สรศักดิ์ โล่ห์จินดารัตน์ นพ.เจริญ ชูโชติถาวร นพ.ไพรัช เกตุรัตนกุล นพ.พจน์ อินทราภาพร นพ.สมคิด อุ่นเสมาธรรม พ.ญ.จริยา แสงสัจจา พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ พญ.ไพรัตน์ แสงดิษฐ์ พญ.วรวรรณ สัมฤทธิ์มโนพร พญ. ปฐมา สุทธา สถาบันสุขภาพเด็กฯ สถาบันสุขภาพเด็กฯ สถาบันโรคทรวงอก รพ. ราชวิถี ร.พ.ราชวิถี ส.บำราศฯ กรมการแพทย์ ร.พ.สงฆ์ ร.พ.นพรัตน์ฯ ส.บำราศฯ     

101 แหล่งข้อมูล สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

102 ขอขอบพระคุณ นายแพทย์ธรรักษ์ ผลิพัฒน์ (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค)
แพทย์หญิงนฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์) แพทย์หญิงจริยา แสงสัจจา (สถาบันบำราศนราดูร) แพทย์หญิงดารินทร์ อารีย์โชคชัย (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค) แพทย์หญิงพจมาน ศิริอารยาภรณ (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุม โรค)

103 ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ขอบคุณ ครับ/ค่ะ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ หรือ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422


ดาวน์โหลด ppt สื่อการสอน เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google