งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นวัตกรรมพลังงานทดแทนเพื่อที่ดินราชพัสดุและกรมธนารักษ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นวัตกรรมพลังงานทดแทนเพื่อที่ดินราชพัสดุและกรมธนารักษ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นวัตกรรมพลังงานทดแทนเพื่อที่ดินราชพัสดุและกรมธนารักษ์
Biogas Pellets MSW-Energy Electric city Fertilizer

2 ธนารักษ์เตรียมทวงคืนที่ราชพัสดุ
กรมธนารักษ์ เตรียมขอคืนที่ราชพัสดุที่ถูกบุกรุกโดยผิดกฎหมายนำมาสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ พร้อมสั่งล้อมรั้วทีราชพัสดุทั่วประเทศป้องกันการบุกรุกเพิ่ม พร้อมเดินหน้าโครงการ 1 ล้านไร่มิติใหม่ที่ราชพัสดุต่อไป นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมธนารักษ์ ยืนยันว่า เเม้จะเปลี่ยน รัฐบาลใหม่ แต่โครงการ 1 ล้านไร่ที่ราชพัสดุ จะยังเดินหน้าต่อไป ซึ่งล่าสุด ได้ขอคืนที่ราชพัสดุจากหน่วยงานราชการที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ได้เกือบครบ 1 ล้านไร่แล้ว และปัจจุบันได้ดำเนินการจัดสรรพื้นที่ให้เกษตรกรเช่าปลูกพืช พลังงานไปแล้ว 240,000 ไร่ ส่วนที่เหลือกำลังอยู่ระหว่างการสำรวจพื้นที่ เพื่อดูความเหมาะสม พร้อมกันนี้กรมธนารักษ์ ยังเตรียมขอคืนพื้นที่ จากผู้ที่เข้าไปยึด ครองโดยผิดกฏหมาย ซึ่งปัจจุบันมีการบุกรุกที่ราชพัสดุมากถึง 2 ล้านไร่ ส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี มากถึง 1.5 ล้านไร่ โดยกรมธนารักษ์จะนำ พื้นที่เหล่านี้ มาพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ล่าสุดอธิบดีกรมธนา รักษ์ ได้ออกคำสั่งให้ล้อมรั้วที่ราชพัสดุที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ทั่วประเทศ เพื่อป้องกันการบุกรุกเพิ่ม

3 'สวนผึ้งโมเดล' การแก้ไขปัญหาที่ดินราชพัสดุถูกบุกรุก
ด้าน พล.ท.ทวนชัย พันธ์เพิ่มศิริ เจ้ากรมการทหารช่าง จังหวัดราชบุรี กล่าวว่า หลังจากกรมธนารักษ์ จับมือร่วมกับกองทัพบกลงพื้นที่ปักหมุดที่ราชพัสดุ ตามแผนที่ กายภาพที่ได้ทำการสำรวจรังวัด เมื่อปี 2538 แปลงหมายเลขทะเบียนที่ รบ.553 เฉพาะ ในพื้นที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี โดยจะร่วมมือกันทำการสำรวจรังวัดกำหนดตำแหน่ง และ ปักหลักเขตที่ดินราชพัสดุกรอบนอกตามแผนที่กายภาพที่ได้กำหนดสำรวจรังวัด เมื่อปี ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท เพื่อทำเสาหลักเขตแสดงพื้นที่ราชพัสดุ งานก่อสร้าง ป้ายแผนที่และประวัติที่ดินราชพัสดุ การมอบต้นไม้เศรษฐกิจให้กับประชาชน จะ ดำเนินการในส่วนของพื้นที่ในเขตอำเภอ สวนผึ้งก่อน เนื่องจากมีเนื้อที่จำนวนมากถึง 4.1 แสนไร่ ถูกบุกรุกไปแล้วประมาณ 1.08 แสนไร่ หรือเกือบ 30% คาดว่าจะดำเนินการแล้ว เสร็จใน 5 เดือน

4 ภาพที่ดินราชพัสดุสวนผึ้ง จ
ภาพที่ดินราชพัสดุสวนผึ้ง จ.ราชบุรี ที่สมควรสร้างนวัตกรรมพลังงานทดแทนที่มั่นคงและยั่งยืน โดยสมควรปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้พลังงานร้อยละ60ของพื้นที่ทั้งหมด

5 Bio Energy Park สำหรับสวนผึ้งModelที่มั่นคงและยั่งยืน
Biogas power plant 1 MW / 300 Ha / 200 Family Timberland and watershed area CROP 1 Biomass Energy crops (Eucalyptus, King grass, Fuel crops) Food Crops (Maize, Cassava, Bean) CROP 2 Energy crops (Sorghum, grass, tropical sugar beet) smartroad.blogspot.com Biomass power plant 1 MW / 600 Ha / 400 Family Landscape Model for Agriculture and Forestry

6 และพลังงานทดแทนในเขตที่ดินทหาร
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และพลังงานทดแทนในเขตที่ดินทหาร องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นองค์การของรัฐเพื่อการกุศล มีวัตถุประสงค์เพื่อ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียสละ และทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีอาชีพ และรายได้เพียงพอต่อ การดำรงชีพ องค์การฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมในการดำเนินงาน บางส่วน จึงจำเป็นต้องหารายได้จากการประกอบกิจการต่างๆ ของหน่วยงานกิจการพิเศษ สมทบ งบประมาณเพื่อให้การสงเคราะห์แก่บุคคลดังกล่าว   องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ได้ดำเนินการมาหลายสิบปี ปัจจุบันมีทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ ที่ต้องให้การสงเคราะห์ รวมประมาณ 3 ล้านกว่าคน องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก มีสำนักงานกิจการการเกษตรการอุตสาหกรรมและการ บริการ เป็นหน่วยงานกิจการพิเศษ รับดำเนินงานด้านต่างๆ ให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดย มีศักยภาพในการขอใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐและขอใช้ที่ดินราชพัสดุของกรมธนารักษ์ เป็นพื้นที่ปลูก พืชพลังงาน เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตไฟฟ้าชุมชน ตลอดจนเพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมอาชีพให้ ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ ประกอบการงานสามารถนำรายได้ ส่วนนี้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดียิ่งขึ้น

7

8 ตัวอย่าง พลังงานทดแทนในเขตที่ดินของทหาร ประเทศออสเตรียที่สมควรนำมาประยุกต์ใช้

9

10 การปลูกไม้กระถินเพื่ออาหารสัตว์และวัตถุดิบพลังงานทดแทน
ปัจจุบันในประเทศไทยมีการปลูกกระถินเพื่อทำใบกระถินแห้งและผลิตใบกระถินป่น ปีละ ประมาณ 60,000 ตัน โดยมีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ในหลายจังหวัดในเขตภาคตะวันออก ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง บางส่วน ในขณะเดียวกันจังหวัดนครราชสีมาก็เป็นอีก จังหวัดหนึ่งที่ผลิตใบกระถินแห้งและกระถินป่นส่งจำหน่ายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และโรงงานผสมอาหารสัตว์ (นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตBiogasได้เป็นอย่างดี จะใช้เป็นไม้พลังงานทดแทนก็ให้ค่าความร้อนสูงมาก ไม้กระถินเป็นพืชตระกูลถั่ว ปลูกง่ายโตเร็ว ระบบรากลึกช่วยยึดดินและป้องกันดินในเขตภูเขาไม่ให้พังทะลายได้อีกด้วย)

11 ในช่วงต้นปี 2547 นายบุญแม้น สีหะวงษ์ บ้านเลขที่ 19 หมู่ 17 บ้านโคลงยาง ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา หรือลุงนายก็เริ่มปลูกสร้างแปลงกระถินของตัวเองขึ้น โดยเริ่มปลูกจากพื้นที่ 5 ไร่ และปลูกเพิ่ม 8 ไร่ในต้นปีต่อมา แล้วก็ได้ตัดทำกระถินป่นเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน การตัดกระถินมาใช้ผลิตกระถินป่น นายบุญแม้นจะทำการตัดทุก 2-3 เดือนหมุนเวียนแบบนี้ตลอดปี ทำให้สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดหากระถินมาป้อนโรงบดกระถินได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนั้นยังได้มีการรับซื้อกระถินหั่นตากแห้งจากเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อนำมาบดส่งจำหน่ายโรงงานอาหารสัตว์ เป็นการพัฒนาอาชีพและเพิ่มรายได้ไปอีกทางหนึ่ง ปัจจุบันนายบุญแม้นผลิตกระถินป่นได้เฉลี่ย 3 ตัน/วัน ส่งจำหน่ายกิโลกรัมละ บาท ซึ่งจำหน่ายให้กับโรงงานผสมอาหารสัตว์เป็นหลัก และเกษตรกรโคนมในพื้นที่บางส่วนด้วย ในแต่ละเดือนสามารถผลิตกระถินป่นได้เฉลี่ยประมาณ ตัน/เดือน มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วในแต่ละเดือนประมาณ 110, ,000 บาท/เดือน(รัฐบาลมีนโยบายเพิ่มรายได้ประชาชนเป็น 300บาทต่อวัน ถ้าทำงาน2คนต่อครอบครัวทำงาน25วันควรจะมีรายได้15,000บาทต่อเดือน)

12

13 ผลสำเร็จแห่งอาชีพจากความอุตสาหะ
ปัจจุบัน นายบุญแม้น สีหะวงษ์ ผลิตกระถินป่นได้เดือนละประมาณ ตัน มี รายได้จากการขายกระถินป่น ในราคาท้องตลาด 5 บาท/กิโลกรัม ทำให้มีรายได้ตลอดเดือน หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว คงเหลือในแต่ละเดือนประมาณ 120, ,000 บาท/เดือน สำหรับนายบุญแม้นเองมีความพอใจในอาชีพบดกระถินจำหน่ายเป็นอย่างมากและทำให้ ครอบครัวมีรายได้มั่นคง ปัจจัยสู่ความสำเร็จของนายบุญแม้นที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ ความมุ่งมั่น ความขยัน ที่ได้ต่อสู้กับความลำบาก อีกอย่างที่สำคัญก็คือ แหล่งผลิตกระถินหั่นตากแห้ง และ ความแน่นอนของตลาดที่จำหน่ายทั้งในรูปกระถินแห้งและกระถินป่นด้วย ประกอบกับในพื้นที่มี ความต้องการใช้กระถินในการเลี้ยงสัตว์ค่อนข้างสูง ฉะนั้นแล้วเมื่อคิดจะทำอะไร ก็ตัดสินใจลงมือทำด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง ท้อแต่ไม่ถอย จนมีอาชีพใหม่ที่มั่นคง ทำให้คนที่ได้พบได้ฟังเรื่องราวของเขาแล้ว ต้องกลับมาคิดมามองดูตัวเอง “ แล้วตัวคุณล่ะ..คิดที่จะทำอะไร แล้วลงมือทำบ้างหรือยัง ??? ” ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

14 ผลิตก๊าซชีวภาพพัฒนาเป็นพลัง CBG ใช้ ในรถยนต์
  สำหรับในช่วงปี ได้มีการส่งเสริมวิจัยพัฒนานำกากของเสีย โดยเฉพาะการนำพืชพลังงานที่มีศักยภาพมาหมักเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพใช้ทดแทน พลังงาน ซึ่งผลที่ได้นอกจากจะสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าและความร้อนแล้ว จะมีการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การผลิตเป็นก๊าซชีวภาพอัด (CBG) ใช้ทดแทนNGV ในภาคขนส่งอีกด้วย โดยปัจจุบันมีประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น เยอรมนีสามารถพัฒนาเทคโนโลยีในการหมักพืชพลังงาน เพื่อให้ได้ก๊าซมีเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้ว กว่า 5,000 แห่งทั่วประเทศ และจีนมีโรงผลิตไฟฟ้าที่ใช้หญ้าเลี้ยงสัตว์ขนาด 30 เมกะวัตต์แล้ว ส่วนในประเทศไทย สนพ. ได้มีการมอบหมายให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.)  ทำการศึกษาวิจัยนำพืชชนิดต่างๆที่มีอยู่ในประเทศไทยและคาดว่าจะมีศักยภาพ ซึ่งหนี่งในจำนวนพืชที่ทำการศึกษาจะมี หญ้าเลี้ยงช้าง ที่มีการปลูกอยู่แล้วในประเทศ มาทดลองผลิตเป็นพลังงานซึ่งหญ้าดังกล่าว มีลักษณะลำต้นคล้ายอ้อย เติบโตเร็ว และเป็นหญ้าในตระกูลเดียวกับหญ้าที่ประเทศเยอรมนีนำมาผลิตเป็นพลังงาน ปัจจุบันมีผลผลิตอยู่ที่ 40 ตัน/ไร่/ปี โดยหญ้าเลี้ยงช้าง 1 ตัน สามารถผลิตไบโอแก๊สได้ ลบ.ม.  ทั้งนี้ หากต้องการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 1 เมกะวัตต์ต้องใช้พื้นที่ปลูกหญ้าประมาณ 438 ไร่

15           "การส่งเสริมการปลูกหญ้าเลี้ยงช้าง เพื่อนำมาผลิตเป็นพลังงานนั้นนอกจากจะเป็นผลดีต่อเกษตรกร คือ สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรโดยปัจจุบัน ราคารับซื้อของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง อยู่ที่ประมาณ 1.20 บาท เกษตรกรจะมีรายได้จากการจำหน่ายปีละ 48,000 บาทต่อไร่ และหากโครงการวิจัยดังกล่าวประสบผลสำเร็จ เชื่อว่าหญ้าเลี้ยงช้าง จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของพืชพลังงานในอนาคต ที่สามารถนำไปผลิตเป็นพลังงาน ทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากต่างประเทศ และทดแทนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และที่สำคัญ ยังเป็นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศในอนาคตอีกด้วย" ผอ.สนพ. กล่าว

16 การศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกหญ้าบาน่าและการปลูกข้าวโพด ของเกษตรกร อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์     จากการทดสอบการปลูกหญ้าบาน่าพื้นที่ 1 ไร่ เปรียบเทียบกับการปลูกข้าวโพดเก็บฝัก พื้นที่ 1 ไร่ เพื่อจำหน่ายของเกษตรกรตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 1 ราย ระหว่างเดือนสิงหาคม 2549 ถึงเดือนมิถุนายน 2550 เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของพืชทั้ง 2 ชนิด เพื่อ ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาส่งเสริมให้เกษตรกรรายอื่นๆ ใช้เป็นข้อมูลในการประกอบอาชีพต่อไปผลการทดสอบ พบว่า การปลูกหญ้าบาน่ามีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต เท่ากับ 24, บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว จะมีกำไรเท่ากับ 17,172 บาท หรือคิดเป็น 1, บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าการปลูกข้าวโพด โดยข้าวโพดมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต เท่ากับ 26,206 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว  จะมีกำไรเท่ากับ 10,546 บาท หรือคิดเป็น 1, บาทต่อเดือน

17 จะเห็นว่าการปลูกหญ้าบาน่ามีกำไรมากกว่าการปลูกข้าวโพดถึง 662
จะเห็นว่าการปลูกหญ้าบาน่ามีกำไรมากกว่าการปลูกข้าวโพดถึง บาทต่อเดือน และการปลูกหญ้าบาน่าเกษตรกรจะเสียเงินลงทุน ปลูกเพียงครั้งเดียว เมื่อเทียบกับการปลูกข้าวโพดเก็บฝักขาย ซึ่งจะต้องเสียเงินในการปลูกใหม่ทุกครั้งและยังต้องเสี่ยงต่อการใช้ยาฆ่า แมลง และสารเคมี ในการปราบศัตรูพืชจากการสอบถามเกษตรกร พบว่าการปลูกหญ้าบาน่าเพื่อจำหน่าย เกษตรกรมีความพึงพอใจในเรื่องของ ขั้นตอนการผลิต ต้นทุนการผลิต ตลอดจนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเป็นที่น่าพอใจ มีเวลาว่างสามารถไปทำอย่างอื่น และไม่ต้องเสี่ยงกับการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงทำให้เสียสุขภาพอีกด้วย

18

19

20 ผลการทดลอง        จากการทดสอบการปลูกหญ้าบาน่าเพื่อจำหน่ายเปรียบเทียบกับการปลูกข้าวโพดเก็บ ฝักจำหน่ายของเกษตรกร ตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สรุปได้ดังนี้        1. การปลูกหญ้าบาน่าเพื่อจำหน่ายเกษตรกรจะเสียเงินค่าเตรียมดิน และค่าแรงงานในการปลูกเพียงครั้งเดียว เมื่อเทียบกับการปลูกข้าวโพดเก็บฝักขาย ซึ่งจะต้องเสียเงินค่าเตรียมดิน และแรงงานในการปลูกใหม่ทุกครั้ง        2. การปลูกหญ้าบาน่าเกษตรกรไม่ต้องเสี่ยงต่อการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมี ในการปราบศัตรูพืช        3. รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตของหญ้าบาน่าเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว เท่ากับ17,172 บาท หรือคิดเป็น 1, บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าการปลูกข้าวโพด โดยข้าวโพดมีรายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว เท่ากับ 10,546 บาท หรือคิดเป็น 1, บาทต่อเดือน จะเห็นว่าการปลูกหญ้าบาน่าจะมีกำไรมากกว่าการปลูกข้าวโพดถึง 620 บาทต่อเดือน        4. จากการสอบถาม พบว่า การปลูกหญ้าบาน่าเพื่อจำหน่าย เกษตรกรมีความพึงพอใจในเรื่องของต้นทุนและผลผลิตต่อไร่ ตลอดจนผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ มีเวลาว่างไปทำอย่างอื่น และไม่ต้องเสี่ยงกับการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง และในอนาคตจะขยายพื้นที่ปลูกหญ้าเพิ่ม

21 เกษตรผสมผสานกับการมีเงินออม
ในอดีต เกษตรกรไทยสามารถอยู่ได้อย่างพอเพียง อาหารการกินอุดมสมบรูณ์ ถึงกับมีคำกล่าวกันว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว แต่ปัจจุบัน พอลงพื้นที่ กลับพบแต่ ปัญหาหนี้สินและความยากจน จนหลายคนอดถามคำถามไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับภาคเกษตรของไทย สาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งของปัญหา ก็คือ การปลูกพืชเชิงเดียว ตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็น ข้าว มัน อ้อย ปอ ฝ้าย เกษตรกรมีวัฏจักรการทำงานที่คล้ายๆ กัน ที่แต่ละคนจะมาช่วยกันลงแขกตอนปลูก เมื่อเสร็จก็รอที่จะช่วยกันเก็บเกี่ยว และลุ้นว่าราคาปีนั้นจะดีหรือไม่ ถ้าราคาดี ก็จะมีชีวิตที่ดี บริโภคได้มาก แต่ว่าถ้าราคาไม่ดี ก็จะกลายเป็นหนี้เป็นสิน ต้องกู้ยืมทั้งจาก ธกส. หรือจากนายทุนหน้าเลือดในพื้นที่ ถ้าไม่ดีหลายปีต่อเนื่อง ที่ดินที่เอาไปจำนอง ก็จะหลุดจำนอง หมดที่ทำกิน มีความลำบากในชีวิต( ) หากทำการเกษตรแบบผสมผสานจะเกิดผลดีดังนี้

22 ชีวิตของเกษตรกรไม่ต้องขึ้นกับราคาสินค้าตัวใดตัวหนึ่ง ถ้า ราคาข้าวตกลงในปีนั้น ก็ยังมีสินค้า ตัวอื่นที่คอยช่วยจุนเจือช่วยชีวิตได้ ความจริง มีคนเคยบอกว่า ถ้าทำเกษตรผสมผสานแล้ว มีทุกอย่าง ในสวนของตนแล้ว อยากกินอะไรก็สามารถไปหามากินได้ ไก่ ปลา กล้วย มะม่วง ผลไม้ต่างๆ ต่างมีอยู่ พร้อมบริบูรณ์ มีรายได้สม่ำเสมอทั้งปี ไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้มีการเก็บเกี่ยวปีละครั้ง เหมือนแต่ก่อน การเก็บออมก็ เกิดขึ้นได้ เปลี่ยนวิถีชีวิต เนื่องจากแต่ก่อนพอช่วยกันลงแขกเสร็จ ชีวิตก็จะว่าง หลายคนไม่รู้จะทำอะไร ก็เล่น หวย เล่นการพนัน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้จ่าย รายจ่ายก็พอกพูน แต่พอหันมาปลูกพืชแบบผสมผสาน แทน ก็กลับมีงานทำทั้งวัน มีอยู่คนหนึ่งที่ไปคุยด้วยบอกว่า ตื่นเช้ามาก็ไปเก็บผักชะอมส่งตลาด สาย มาก็ไปดูนา เสร็จก็ไปดูผักและสวนผลไม้ หลังจากนั้นก็ไปดูแลเล้าไก่ ปลา พอเสร็จก็ไปทำงานฝีมือที่ โรงเรือน เรียกว่าวุ่นทั้งวัน จนไม่มีเวลาเข้าไปกรายใกล้อบายมุข ที่ทำให้เกิดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เหล่านั้น ความพอเพียงของรายได้ก็เกิดขึ้น เมื่อเริ่มมีรายได้สม่ำเสมอมากขึ้น ก็สามารถที่จะลงทุนระยะยาวได้ โดยจากการเริ่มเลี้ยงโคนม วัว กระบือที่นอกจากจะได้ของเสียมาทำปุ๋ยแล้ว ยังเป็นการลงทุนที่จะสามารถให้ผลในช่วงหลังเมื่อนำไป ขาย 5. บางคนแบ่งที่ทำมาหากินส่วนหนึ่ง ไปทำป่า ปลูกไม้เนื้อแข็งเก็บออมเอาไว้เป็นธนาคารต้นไม้ เอาไว้เพื่อขายในอนาคต เท่าที่ได้ยินมา พอมีลูก ก็ให้เริ่มปลูกต้นไม้ยืนต้นเหล่านี้ พอลูกโต ก็ตัดไป ขาย เพื่อส่งลูกเรียน ระหว่างทางต้นไม้ก็ช่วยให้พื้นดินชุ่มชื้น และเป็นหนทางที่จะทำเกษตรไม่เพียงแต่ แนวราบ แต่ทำในแนวดิ่งด้วย


ดาวน์โหลด ppt นวัตกรรมพลังงานทดแทนเพื่อที่ดินราชพัสดุและกรมธนารักษ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google