งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สังคมวิทยาอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2 : ระบบอุตสาหกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สังคมวิทยาอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2 : ระบบอุตสาหกรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 01460325 สังคมวิทยาอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2 : ระบบอุตสาหกรรม
Industrial Sociology ครั้งที่ 2 : ระบบอุตสาหกรรม ( Industry) วรสิทธิ์ ปาละวงศ์ ณ อยุธยา 2 : 24 ม.ค. 58

2 ความนํา อุตสาหกรรมเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีการดําเนินการ ในรูปแบบนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายในการผลิตที่แตกต่างกันตามวัตถุดิบในแต่ละพื้นที่การเลือกทําเลที่ตั้ง เพื่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมนั้นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและทรัพยากรในแต่ละพื้นที่ 2

3 การพัฒนาอุตสาหกรรมในปัจจุบัน จําเป็นที่ต้องมีแผนแม่บทเพื่อที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมให้สอดคล้องไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและสภาพเศรษฐกิจของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปและ จําเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมที่มีในปัจจุบันให้ลดลง

4 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศไทย
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (อังกฤษ: industrial revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในบริเตนใหญ่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก) ทำงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือ เรือกำปั่น รถยนต์ และทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ ความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ และส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุด

5 เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์จุดเริ่มต้น

6 การปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นวลีที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วมากในยุโรป สืบเนื่องมาจากการค้นพบแหล่งพลังงานจากถ่านหินราคาถูกที่มีเหลือเฟือกับนวัตกรรมทางเครื่องกล คือเครื่องจักรไอน้ำที่เริ่มด้วยการปั่นด้าย การทอผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์ ฯลฯ ที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวของแรงงานอย่างมหาศาล ประสิทธิภาพการผลิตและผลผลิตที่มากมายมหาศาลและการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีอย่างมหาศาล รวมทั้งระบบโรงงานและขั้นตอนการผลิตและการจัดการแบบใหม่ ปรากฏการณ์ต่างๆ ดังกล่าวทำให้เมืองต่างๆ ในอังกฤษกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เริ่มแออัด

7 ช่วงเวลาที่ถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวตกอยู่ระหว่าง พ. ศ
ช่วงเวลาที่ถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวตกอยู่ระหว่าง พ.ศ โดยเริ่มขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่มีเมืองขึ้นรองรับผลิตภัณฑ์อยู่ทั่วโลกแล้วจึงได้ขยายไปทั่วยุโรป การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นมาใช้ในการปั่นและทอผ้าฝ้ายและทอผ้าขนสัตว์ในแลงแคชเชียร์ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของสก็อตแลนด์และที่บริเวณภาคตะวันตกของยอร์กเชอร์ (Yorkshire) โรงงานที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำเหล่านี้ เกือบทั้งหมดมักตั้งอยู่ในเมือง ทำให้ชุมชนเมืองเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจากการอพยพของแรงานจากชนบทและจากการแต่งงานเร็วขึ้นของคนทำงานที่มีรายได้ประจำเพิ่ม 

8 นอกจากอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าก็เกิดขึ้น ซึ่งแม้จะขยายตัวช้ากว่า แต่ก็ได้กลายเป็นตัวสำคัญในการขับเศรษฐกิจแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคที่ 2 ประมาณ พ.ศ เป็นต้นมา แต่นักประวัติศาสตร์กลับเห็นว่าบทบาทของการตลาด ความมั่นคงทางการเมืองและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการจัดการที่เริ่มขึ้นในสมัยนั้นเป็นหัวใจของการขยายตัวอย่างรุนแรงที่แท้จริงของอุตสาหกรรม และในกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวยังทำให้เกิดนักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายคน เช่น อาร์คไรท์ โบลตัน โคร์ต ครอมพ์ตัน ฮาร์กรีฟส์ เคย์ และวัตต์ 

9 นอกจากนี้ กฎหมายเกี่ยวกับการผังเมือง รวมทั้งการจัดสร้างสวนสาธารณะก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้เช่นกัน ผู้ใช้วลี “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” เป็นคนแรกคือทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเบอร์ลินชื่อหลุยส์ Guillaume เมื่อปี พ.ศ แต่ผู้ที่นำมาใช้จนเริ่มแพร่หลายเป็นนักเขียนคอลัมน์หนังสือพิมพ์ชื่อ Auguste Blanqui เมื่อปี พ.ศ รวมทั้ง ฟรีดริช เองเงิลส์ ในหนังสือเรื่อง “สภาพของชนชั้นกรรมกรในประเทศอังกฤษ” (พ.ศ. 2388) จากนั้นมาก็ได้มีผู้นำวลีนี้มาใช้แพร่หลายเป็นการถาวร

10 ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปต่อสังคมไทย
            การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นการเปลี่ยนสถานที่ประกอบการในครอบครัวมาเป็นโรงงานที่สร้างขึ้นสำหรับการผลิตโดยเฉพาะ และเปลี่ยนจุดประสงค์ของการผลิตจากการผลิตเพื่อนำมาเลี้ยงชีพเป็นการผลิตเพื่อส่งสินค้าออกจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

11 ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ส่งผลกระทบต่อหลายด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สติปัญญาและวัฒนธรรม 

12 ผลเสียของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 
ผลดีของการปฏิวัติอุตสาหกรรม  ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนา เป็นบ่อเกิดของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก เนื่องจากต้องการแหล่งวัตถุดิบและขยายการค้า และมีการแบ่งชนชั้นคือนายทุนที่มั่งคั่งกับลูกจ้างผู้ยากไร้ภายในประเทศ        เกิดระบบโรงงานเพื่อผลิตสินค้าเพิ่มจำนวนขึ้น เกิดแรงงานเพิ่มขึ้นและมาอยู่รวมกันในเมืองใหญ่ มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น คุณภาพสินค้าและบริการมีคุณภาพขึ้น และมีการนำวิทยาการเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาพัฒนาใช้เพื่อความก้าวหน้าของประเทศเพิ่มขึ้น        

13 แนวคิดทางการเมืองและความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แนวคิดทางการเมืองและความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี           การปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้ส่งผลให้เกิดแนวความคิดใหม่ ๆ ซึ่งนำไปสู่ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและการเมือง ดังนี้ 

14 แนวคิดเสรีนิยม (Liberalism)  
แนวคิดสังคมนิยม (Socialism)           ชนชั้นกลางที่เป็นนายทุนอุตสาหกรรมที่มีฐานะอันมั่งคั่ง ได้ค้นคว้าทฤษฎีทางเศรษฐกิจระบบเสรีนิยมที่เป็นหลักการให้การผลิตและการค้าดำเนินไปอย่างเสรีภาพ รัฐบาลไม่ต้องแทรกแซงการดำเนินธุรกิจ เพียงแต่รัฐมีหน้าที่ควบคุมให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีระเบียบ สนับสนุนให้มีการค้า การแข่งขันและการลงทุน            แนวความคิดแบบสังคมนิยมมุ่งสร้างความเสมอภาคทางสังคมให้เท่าเทียมกัน มีการแบ่งปันกันในสังคมให้เท่ากัน ชนชั้นกรรมาชีพเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทฤษฎีความคิดสังคมนิยม โดยคาร์ล มาร์กซ์ และฟรีดริช เองเกล ได้เขียน คอมมิวนิสต์แมนนิเฟสโต 

15 ความก้าวหน้าของชาติตะวันตกกับผลกระทบต่อ ประเทศไทย
ความก้าวหน้าของชาติตะวันตกกับผลกระทบต่อ ประเทศไทย           อิทธิพลของชาติตะวันตกมีผลกระทบต่อประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4 คือ ทรงยินยอมทำสนธิสัญญาบาว์ริง พ.ศ กับประเทศอังกฤษ เพื่อแลกเอกราชของประเทศ มีการรับเอาวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเข้ามา มีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้น          หลังการทำสนธิสัญญาบาวริงประเทศไทยต้องยกเลิกพระคลังสินค้าเปลี่ยนเป็นการค้าแบบเสรีดำเนินการโดยเอกชน 

16 ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากแบบเลี้ยงตัวเองมาเป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า เกิดการเกษตรกรรมเพื่อส่งออกแทนการปลูกเพียงเพื่อบริโภคเท่านั้น 

17   การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือการที่มีพ่อค้าต่างชาติเข้ามาเปิดร้านค้า การตั้งโรงสีข้าว การทำป่าไม้ โรงไฟฟ้า การเงิน การธนาคาร มี ธนาคารที่เกิดขึ้นในประเทศไทย คือ ธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์แบงก์ และธนาคารอินโดจีน 

18 ประเทศไทยได้ตั้งธนาคารเรียกว่า บุคคลัภย์ พ. ศ
ประเทศไทยได้ตั้งธนาคารเรียกว่า บุคคลัภย์ พ.ศ ต่อมาเป็น "แบงก์สยามกัมมาจล" และปัจจุบันเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ **และได้จัดตั้งหน่วยงานเกี่ยวกับการจัดการเรื่องเงินรายได้ขึ้น เพื่อความเป็นระเบียบ คือ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ได้จัดตั้งพระราชบัญญัติตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น ใน พ.ศ เพื่อเก็บผลประโยชน์ซึ่งเป็นรายได้ของแผ่นดินมารวมไว้เป็นที่เดียวกัน **กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติกรมพระคลังสินค้ามหาสมบัติ ใน พ.ศ ทำให้รายรับ ราย จ่ายงบประมาณแผ่นดินเป็นไปอย่างเรียบร้อย 

19 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงตั้งโรงกษาปณ์ขึ้น ใน พ. ศ
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงตั้งโรงกษาปณ์ขึ้น ใน พ.ศ และมีการออกพระราชบัญญัติธนบัตร ใน พ.ศ. ใน พ.ศ ประเทศไทยประกาศเทียบค่าเงินไทยเป็นมาตรฐานทองคำ และสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงตั้ง "คลังออมสิน" และเปลี่ยนมาเป็น "ธนาคารออมสิน" ใน พ.ศ. 2490 

20 การปรับปรุงการเกษตรกรรมและการชลประทาน
               ออกประกาศงดเก็บค่าหางข้าวสำหรับเกษตรกรผู้ที่หักร้างถางพงและทำนาในปีแรก และจะจัดเก็บในปีที่ 2-4 ไร่ละ หนึ่งเฟื้อง (12 สตางค์) ต่อปี และปีที่ 5 เก็บไร่ละหนึ่งสลึง และสร้างประตูกั้นน้ำ ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการขุดคลองเพื่อเชื่อมต่อกัน และทำให้มีพื้นที่สำหรับการเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น และสามารถส่งเสริมการปลูกข้าวได้มากขึ้น เพื่อเป็นสินค้าส่งออกของประเทศ 

21 ปัญหาเศรษฐกิจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว
          ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลต้องแก้ไขด้วยการลดและปลดข้าราชการ ยุบหน่วยงาน ลดรายจ่ายในราชสำนัก และเพิ่มภาษีอากรบางประเภท จนเป็นผลทำให้เกิดความเคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน นโยบายเศรษฐกิจของคณะราษฎร์ ได้มอบหมายให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) เป็นผู้ร่างโครงการเศรษฐกิจ ถูกวิจารณ์ว่ามีแนวทางนิยมคอมมิวนิสต์ จึงไม่นำมาใช้ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ ) ประเทศไทยได้รับความกระทบกระเทือนทางเศรษฐกิจอย่างมาก เกิดภาวะขาดแคลนเครื่องอุปโภคและบริโภค เกิดภาวะเงินเฟ้อเป็นอย่างมาก 

22 การปรับปรุงด้านการสื่อสารและคมนาคมการสื่อสาร
          ช่วง พ.ศ การสื่อสารได้มีการใช้โทรเลขระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ และกรุงเทพฯกับบางปะอิน พ.ศ ได้ตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลขและมีการขนส่งทางอากาศครั้งแรกใน พ.ศ ช่วง พ.ศ ได้เปิดใช้กิจการโทรศัพท์ระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ และ พ.ศ ได้มีการใช้วิทยุโทรเลข

23 การคมนาคม          ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการขุดคลองเพื่อเชื่อมต่อหลายคลอง เช่น คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ คลองเจดีย์บูชา และมีการสร้างถนน มีการสร้างสะพาน การรถไฟเปิดใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทางรถไฟสร้างเสร็จสายแรกจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา เป็นระยะทาง 932 กิโลเมตร 

24 การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจภายใต้แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
          เศรษฐกิจระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังโดยส่วนรวมเป็นอย่างมาก สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายการแก้ไข คือ การให้คนไทยมีงานทำทุกคน และขจัดการครอบงำจากต่างชาติ ส่งเสริมให้คนไทยจับจองที่ดินเป็นของตนเอง และรัฐบาลควบคุมกิจการขนาดใหญ่ เช่น การป่าไม้ เหมืองแร่ . โรงงานฟอกหนัง โรงงานยาสูบ เป็นต้น  ต่อมาในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจครั้งแรก เรียกว่า  "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" มีดังนี้ 

25 "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" มีดังนี้
"แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" มีดังนี้  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ ) มุ่งขยายปัจจัยขั้นพื้นฐาน เช่น การไฟฟ้า ประปา คมนาคม ชลประทาน การพัฒนาการอุตสาหกรรม และการลงทุน ขจัดปัญหาการว่างงาน ผลสรุปเป็นที่น่าพอใจ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ ) มุ่งขยายการศึกษาและสาธารณสุข รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กระจายการพัฒนาออกไปสู่ภูมิภาคที่ห่างไกลในชนบท

26 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ. ศ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ ) มุ่งการกระจายรายได้ไปสู่คนในชนบทและมีมาตรการในการพัฒนาสังคมมากขึ้น มุ่งให้บริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน มีการกำหนดนโยบายประชากรขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้มีการวางแผนครอบครัว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ ) มุ่งขยายผลผลิตการเกษตร ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อเป็นการส่งออก ปรับปรุงคุณภาพประชากรตลอดจนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

27 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ. ศ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ ) มุ่งกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาค และมีการร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชนเพื่อพัฒนาชนบทและพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ ) มุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การตลาด เพื่อให้สินค้าไทยแข่งขันกับต่างประเทศได้ กระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท เพิ่มประสิทธิภาพในด้านทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ และมีการวางแผนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 อย่างต่อเนื่อง

28 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ. ศ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ ) มุ่งการรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ กระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคและชนบท และเร่งรัดพัฒนาคุณภาพชีวิตรวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจำกัดการปล่อยสารพิษจากการใช้พลังงาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ ) มุ่งรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ลดสัดส่วนความยากจน อนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนเมืองและชนบท ขยายปัจจัยพื้นฐานสู่ภูมิภาค

29 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ. ศ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ ) เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ ) เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนา ประเทศที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และมุ่งให้“คนเป็นศูนย์กลาง การพัฒนา”

30 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ. ศ. 2555 - 2559)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ )  ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับ กระแสการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญทั้งภายนอกและภายในประเทศที่ปรับเปลี่ยนเร็วและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นทั้ง โอกาสและความเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะข้อผูกพันที่จะเป็นประชาคมอาเซียนในปี๒๕๕๘ จึงจําเป็นต้องนําภูมิคุ้มกันที่มีอยู่พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้นมาใช้ในการเตรียมความ พร้อมให้แก่คน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม สามารถพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทย ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

31 ความหมายของอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในขั้นที่ 2 ที่มีความสําคัญ ต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะอุตสาหกรรมเป็นการแปรรูปให้วัตถุดิบมี มูลค่าสูงขึ้น (Value Added) เพื่อเป็นสินค้าสู่ตลาดกฎหมายแรงงาน 31

32 กระทรวงมหาดไทยได้ให้ความหมายของอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้
3.1 การทําเหมืองแร่เหมืองหิน หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวกับการขุดแร่ 3.2 การผลิต เปลี่ยนแปลง ประกอบ ทําความสะอาด ซ่อมแซม ตกแต่ง ทําให้สําเร็จรูป สงวนรักษาดัดแปลงเพื่อจําหน่าย ทําให้แตกหัก รื้อถอนหรือแปรรูป ซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สินและรวมถึงการต่อเรือ

33 3.3 การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง บํารุงรักษา ซ่อมแซม ดัดแปลงหรือรื้อถอน อาคาร ทางรถไฟ ทางรถราง ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบท่าเรือ ทางน้ําในประเทศ ถนน อุโมงค์ สะพานท่อระบายน้ํา บ่อน้ํา โทรเลข โทรศัพท์ไฟฟ้า ก๊าซ หรือประปา งานก่อสร้างอื่น ๆ รวมถึงการวางรากฐานงานก่อสร้างโครงสร้างนั้น ๆ

34 3.4 การขนส่งผู้โดยสารหรือสินค้าทางถนน รถไฟ ทางน้ําในประเทศหรือทะเล รวมทั้ง การขนถ่ายสินค้าที่อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ท่าเรือ หรือโรงพักสินค้า กล่าวโดยสรุป การอุตสาหกรรมคือการแปรสภาพวัตถุดิบที่ดําเนินการโดยใช้เงินลงทุนและแรงงานเป็นจํานวนมาก เพื่อดําเนินการให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์สําเร็จรูปเพื่อการค้า เช่น การทําเหมืองแร่ การขุดบ่อน้ํามัน การทําป่าไม้ การประมง การเกษตรกรรมและการบริการในเชิงการค้า

35 ประเภทของอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสามารถจําแนกได้เป็นหลายขนาดและหลายประเภท ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

36 การจําแนกประเภทอุตสาหกรรมตามขนาด
การจําแนกประเภทอุตสาหกรรมตามขนาดสามารถจําแนกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1 อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (Large Scale Industry) 2 อุตสาหกรรมขนาดกลาง (Medium Scale Industry) 3 อุตสาหกรรมขนาดย่อม (Small Scale Industry)

37 1 อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (Large Scale Industry)
หมายถึงอุตสาหกรรมที่มีการใช้เงินลงทุน เป็นจํานวนมาก มีทรัพย์สินถาวรตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไปและมีแรงงานที่มีความรู้ความสามารถเป็นจํานวนมาก อุตสาหกรรมประเภทนี่จะมีเครื่องจักรที่ทันสมัย และมีเทคโนโลยีในระดับสูง มีขั้นตอนในการดําเนินงานหลายขั้นตอน เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็กกล้า อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ โดยในประเทศไทยนั้น ได้รับการคาดหมายว่าจะให้เป็นเมืองที่มีการผลิตรถยนต์ ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย (Detroit of Asia) อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกล เป็นต้น

38 2 อุตสาหกรรมขนาดกลาง (Medium Scale Industry)
หมายถึงอุตสาหกรรมที่มีแรงงานตั้งแต่ 20 คนถึง 50 คนและมีทรัพย์สินถาวรตั้งแต่ ล้านบาท มีเครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่ทันสมัย เช่น โรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมทอผ้า และปั่นด้าย เป็นต้น

39 3 อุตสาหกรรมขนาดย่อม (Small Scale Industry)
หมายถึงอุตสาหกรรมที่มีแรงงานและจ้างงานไม่เกิน 50 คน และมีทรัพย์สินถาวรต่ำกว่า 10 ล้านบาท เช่น อุตสาหกรรม น้ําตาลทราย โรงงานโลหะ โรงกลึง โรงเชื่อม เป็นต้น

40 การจําแนกประเภทของอุตสาหกรรมตามวิธีการดําเนินงาน
การจําแนกประเภทของอุตสาหกรรมตามวิธีการดําเนินงาน สามารถจําแนกได้เป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้ 1 อุตสาหกรรมสกัดจากธรรมชาติหรือ อุตสาหกรรมเชิงสกัด (Extractive Industry) 2 อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing Industry) 3 อุตสาหกรรมการขนส่ง (Transporting Industry) 4 อุตสาหกรรมการบริการ (Service Industry)

41 1 อุตสาหกรรมสกัดจากธรรมชาติหรือ อุตสาหกรรมเชิงสกัด (Extractive Industry)
หมายถึง การสกัดเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์และให้มูลค่าของทรัพยากรชนิดนั้นเพิ่มสูงขึ้น เช่น การสกัดน้ำมันจากปาล์มน้ำมัน การหมักอ้อย และมันสําปะหลัง เพื่อนํามาผลิตเป็นเอธานอล ใช้ในการผลิตก๊าซโซฮอล์การประมง การป่าไม้ เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมประเภทนี้จัดเป็นอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ

42 2 อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing Industry)
หมายถึง การนําเอาวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมเชิงสกัดมาผลิตเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ เช่น การนําสินแร่เหล็กมาใช้ในการก่อสร้าง การผลิตกระดาษ การทอผ้า เป็นต้น

43 3 อุตสาหกรรมการขนส่ง (Transporting Industry)
หมายถึง การดําเนินการเพื่อเป็นการนําผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผลิตส่งไปยังผู้บริโภค เช่น การรถไฟ การเดินเรือ การเดินอากาศ เป็นต้น

44 4 อุตสาหกรรมการบริการ (Service Industry)
หมายถึง การประกอบธุรกิจ ด้านการให้บริการ หรืออํานวยความสะดวก เช่น อุตสาหกรรมการโรงแรม การท่องเที่ยวและระบบสาธารณูปโภค (Infrastructure) ต่าง ๆ เป็นต้น

45 การจําแนกประเภทของอุตสาหกรรมตามลักษณะวัสดุที่นํามาใช้ผลิต
ประเภทของอุตสาหกรรมตามลักษณะวัสดุที่นํามาใช้ผลิต สามารถจําแนก ได้แก่ 1 อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ (Primary Industry) 2 อุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ (Secondary Industry) 3 อุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิ (Tertiary Industry)

46 1 อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ (Primary Industry)
หมายถึง อุตสาหกรรมที่นําเอาทรัพยากรธรรมชาติหรือผลผลิตทางการเกษตร การประมง ป่าไม้เลี้ยงสัตว์ที่ได้มาโดยตรงมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น การทําเหมืองแร่ การย่อยหิน การแปรรูปไม้ เป็นต้น

47 2 อุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ (Secondary Industry)
หมายถึง อุตสาหกรรมที่นําเอาผลผลิตจากอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิมาเป็นวัตถุดิบเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ต่อไป เช่น การนําสินแร่เหล็กมาทําเครื่องจักรกล การนําเอธานอลจากการหมักอ้อยไปผสมกับน้ำมันเบนซินเพื่อทําก๊าซโซฮอล์การกลั่นน้ำมันตามจุดเดือดไฮโดรคาร์บอน เพื่อให้ได้น้ำมันประเภท ต่าง ๆ เป็นต้น

48 3 อุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิ (Tertiary Industry)
หมายถึง อุตสาหกรรมที่นําเอาผลผลิตของอุตสาหกรรมในขั้นทุติยภูมิมาให้บริการ เช่น อุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรมเหล็กกล้า เป็นต้น

49 การจําแนกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป จําแนกเป็น
การจําแนกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป จําแนกเป็น 1 อุตสาหกรรมหนัก (Heavy Industry) 2 อุตสาหกรรมเบา (Light Industry)

50 1 อุตสาหกรรมหนัก (Heavy Industry)
หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทําการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมากและใช้ทุน แรงงานและวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก

51 2 อุตสาหกรรมเบา (Light Industry)
หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทําการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา ใช้ทุน แรงงาน และวัตถุดิบน้อยกว่าอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

52 ลักษณะอุตสาหกรรมที่สําคัญของประเทศ
ในภาคอุตสาหกรรม จากการรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index: MPI) ที่จัดทําโดยสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุม อุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในดัชนีอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 7.8 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์อุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์และการถนอมสัตว์น้ํา และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ํา อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงที่มาเพิ่มขึ้นจึงสามารถสรุปอุตสาหกรรมที่สําคัญของประเทศได้ ดังต่อไปนี้

53 1 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ 3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 4 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 5 อุตสาหกรรมยานยนต์ 6 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก 7 ผลิตภัณฑ์รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง

54 8 อุตสาหกรรมอาหาร 9 อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน 10 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง 11 อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ 12 อุตสาหกรรมยา 13 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 14 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 15 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

55 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบอุตสาหกรรม
การประกอบอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเบาต่างก็มีปัจจัยในการประกอบอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันออกไป แต่สามารถสรุปได้ ดังต่อไปนี้ 1 วัตถุดิบ (Material) คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในขั้นปฐมภูมิเช่น แร่ธาตุป่าไม้ พืชผลทางการเกษตร ซึ่งจะถูกนํามาใช้แปรรูปต่อไป

56 2 ทุน (Capital) คือ ตัวเงินหรือเครดิตที่จะใช้ในการประกอบอุตสาหกรรมนั้น ๆ ในบางอุตสาหกรรมจําเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก เช่น อุตสาหกรรมขนส่งหรือในบางอุตสาหกรรมจําเป็นต้องใช้เงินจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงาน 3 แรงงาน (Labor) คือ กําลังคนในวัยทํางานที่ใช้ในการดําเนินการอุตสาหกรรม แม้ว่าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในประเทศจะเน้นการใช้เครื่องจักรเข้ามาแทน แต่ก็จําเป็นต้องมีแรงงานที่มีทักษะสูง คอยควบคุมการดําเนินงาน หรืออุตสาหกรรมเบา เช่น อุตสาหกรรมทอผ้า ก็จําเป็นต้องใช้แรงงานเป็นจํานวนมากเช่นเดียวกัน

57 4 การขนส่ง (Transportation)
คือ การนําเอาวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบหรือจากโรงงานสู่ตลาดเพื่อส่งไปยังผู้บริโภค ดังนั้น การขนส่งจึงเป็นปัจจัยที่สําคัญในการกําหนดราคาของผลผลิตได้การ

58 ขนส่งในปัจจุบันจะมี 5 รูปแบบหลัก ได้แก่
4.1 การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางรถยนต์ ทางรถบรรทุกและทางรถไฟ 4.2 การขนส่งทางน้ำ ได้แก่ ทางเรือ 4.3 การขนส่งทางอากาศ ได้แก่ ทางเครื่องบิน 4.4 การขนส่งทางท่อ ได้แก่ การขนส่งก๊าซธรรมชาติการขนถ่ายน้ํามัน 4.5 การขนส่งทางเคเบิ้ล ได้แก่ การขนสินค้าที่อยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันมาก

59 5 ตลาด (Market) คือ แหล่งจําหน่ายผลิตภัณฑ์ ให้แก่ผู้บริโภค ตลาดจะมีการจําแนกในหลายลักษณะ

60 6 ปัจจัยที่ส่งเสริมการเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่
6.1 ที่ดิน โรงงานอุตสาหกรรมควรจะมีที่ดินในปริมาณมากและตั้งห่างไกลจากชุมชนพอสมควร หากอุตสาหกรรมนั้นเป็นอุตสาหกรรมหนัก หากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นประเภทอุตสาหกรรมเกี่ยวกับพืชผล โรงงานต้องมีที่ดินใกล้แหล่งตลาดเพราะผลผลิตทางการเกษตรหากทิ้งไว้นานอาจเสื่อมสภาพได้

61 6.2 แหล่งน้ำและการระบายน้ำทิ้ง โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จะต้องใช้น้ำ และมีการระบายน้ำเสีย เช่น อุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีบางครั้งสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมอาจซึมลงดินและปนเปื้อนในแหล่งน้ำทางป้องกันคือโรงงานต้องมีระบบการบําบัดน้ำเสีย ในทุกโรงงานและตั้งห่างไกลจากแหล่งน้ำใกล้ชุมชนเพื่อป้องกันสภาพแวดล้อมเป็นพิษ

62 6.3 ภาษีและกฎหมายอุตสาหกรรม การแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมภายในกับบางประเทศที่มีสินค้าชนิดเดียวกัน หรือการส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เริ่มต้น รัฐบาลควรจะมีนโยบายทางด้านภาษีที่ชัดเจน เช่น การเก็บภาษีอุตสาหกรรมที่เริ่มต้นในปริมาณน้อยหรือ การควบคุมสินค้าประเภทเดียวกันเข้าประเทศเป็นต้น

63 6.4 เครื่องจักรและเทคโนโลยี ปัจจุบันอุตสาหกรรมหนักของประเทศต้องใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพราะปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงขึ้นประกอบกับความต้องการใช้สินค้าและบริการของผู้บริโภคก็เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น

64 ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดแหล่งอุตสาหกรรมประกอบด้วย ทําเลที่ตั้งของโรงงานควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ ผลิตแล้วตลาดมีจําหน่ายและขนส่งได้สะดวก นอกจากนี้ต้องมีทุนและเทคนิคในการประกอบการ มีพลังงานพอใช้และมีมาตรการของรัฐบาล เช่น ภาษีและกฎหมายอุตสาหกรรมที่ให้การสนับสนุนสําหรับการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย

65 สามารถคํานึงถึงองค์ประกอบข้างต้นสรุปได้ คือ
1) โรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันจะตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบ ได้แก่ การตั้งโรงงานติดชายทะเล 2) โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มหรือจากพืชธรรมชาติจะอยู่ในภาคใต้และอยู่ใกล้สวนปาล์ม 3) โรงงานอุตสาหกรรมยางตั้งอยู่ในภาคใต้ 4) โรงงานอุตสาหกรรมการทําเฟอร์นิเจอร์จากไม้โรงเลื่อย จะอยู่ทางภาคเหนือใกล้แหล่งวัตถุดิบ 5) โรงงานอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์จะอยู่ในภาคกลาง ใกล้แหล่งหินปูนปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและระบบขนส่ง ทําให้โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ไกลแหล่งวัตถุดิบและตลาดได้

66 นิคมอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโดยจัดพื้นที่สําหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้เข้าไปอยู่รวมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบและเป็นกลไลของรัฐบาลในการกระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมออกสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมี“นิคมอุตสาหกรรม” เป็นเครื่องมือดําเนินการ

67 ความหมายของนิคมอุตสาหกรรม
นิคมอุตสาหกรรม หมายถึง เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน อันประกอบไปด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบครัน เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลางระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ นอกจากนั้น ยังประกอบไปด้วย บริการอื่น ๆที่จำเป็นอีก เช่น ที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลข ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับคนงานสถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น

68 พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) พื้นที่เขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Industrial Zone: GIZ) เป็นเขตพื้นที่ผลิตสินค้าเพื่อบริโภคและอุปโภคในประเทศ 2) พื้นที่เขตอุตสาหกรรมส่งออก (Export Processing Zone: EPZ) เป็นพื้นที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก เท่านั้น

69 ภาระหน้าที่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
1 จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมส่งเสริมและสนับสนุนเอกชนหรือองค์กรของรัฐจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม 2 จัดให้มีและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม 3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนลงทุนและให้บริการในระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม

70 4 จัดให้มีระบบและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยจากอุตสาหกรรม 5 อนุญาต อนุมัติการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมและจัดให้ได้เพิ่มเติมซึ่งสิทธิประโยชน์สิ่งจูงใจ และการอำนวยความสะดวกแก่การประกอบอุตสาหกรรม

71 บทบาทของนิคมอุตสาหกรรม
1 พร้อมด้วยปัจจัยการผลิตซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก 2 เป็นกลไกของรัฐในการกระจายอุตสาหกรรมและความเจริญไปสู่ภูมิภาค 3 เป็นกลไกของรัฐในการรักษาและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการอุตสาหกรรม

72 4 เป็นกลไกของรัฐในการป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยอันเกิดจากอุตสาหกรรม 5 เป็นกลไกของรัฐในการจัดระบบและระเบียบการใช้ที่ดินในพื้นที่เฉพาะและเป็นส่วนหนึ่งของการวางผังเมืองตลอดจนการใช้ที่ดิน 6 เป็นกลไกของรัฐใน การส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมทั่วไป อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและรวมถึงอุตสาหกรรมพื้นฐาน

73 แหล่งนิคมอุตสาหกรรม ปัจจุบันการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีนิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 34 นิคม และกระจายอยู่ใน 14 จังหวัด ประกอบไปด้วยนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. ดำเนินงาน จำนวน 12 นิคม และนิคมอุตสาหกรรมที่ร่วมดำเนินงานจำนวน 22 นิคม ได้แก่

74 1 นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ 2 นิคมอุตสาหกรรมหริภุญชัย 3 นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร 4 นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า 5 นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน 6 นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร

75 7 นิคมอุตสาหกรรมบางชัน 8 นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง 9 นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี 10 นิคมอุตสาหกรรมครัวโลก 11 นิคมอุตสาหกรรมบางปู 12 นิคมอุตสาหกรรมบางพลี 13 นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย 14 นิคมอุตสาหกรรมหนองแค

76 15 นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร 16 นิคมอุตสาหกรรมพิมพ์สินสาคร 17 นิคมอุตสาหกรรมราชบุรี 18 นิคมอุตสาหกรรมขอนแก่น 19 นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 20 นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 21 นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง(แหลมฉบัง) 22 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 23 นิคมอุตสาหกรรมตะวันออก 24 นิคมอุตสาหกรรมผาแดง

77 25 นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด 26 นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ 27 นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย 28 นิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด 29 นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ 30 นิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล 31 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกร์ว 32 นิคมอุตสาหกรรมเกตย์เวย์ซิตี้ 33 นิคมอุตสาหกรรมชลบุรี(บ่อวิน) 34 นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

78 จากเห็นได้ว่านับแต่โลกมีการเปลี่ยนแปลง ที่เราเรียกกันว่า “ ปฏิวัติอุตสาหกรรม “ ( Industrial Revolution ) ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษในปี ค.ศ จากนั้นก็ขยายตัวออกไปสู่ ยุโรป สหรัฐ และเอเชีย การ ปฏิวัติอุตสาหกรรม สมัยนั้นคือ การเปลี่ยนแปลงทางการผลิต จากแรงงานคน สัตว์ สู่การใช้เครื่องจักร จากภาคครัวเรือนสู่โรงงาน เพื่อเพิ่มผลผลิตและการส่งผลผลิตออกไปสู่ตลาดภายในและภายนอกประเทศ มาจนถึงปัจจุบันที่เราเรียกว่ายุคเทคโนโลยี่

79 การปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรมจะเห็นได้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากโลกอยู่ในสถานการณ์ภาวะไม่สมดุล ทั้งด้านธุรกิจและสิ่งแวดล้อมอีกทั้งยังทำลายจิตวิญญาณมวลมนุษยชาติจนแทบจะอยู่รอดไม่ได้ ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติขึ้นมามากมายรวมทั้งปัญหาด้านภาวะเศรษฐกิจโลกซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อมวมนุษยชาติ

80    นักเศรษฐศาสตร์และนักคิดทั้งหลายจึงพยายามสรรหาแนวคิดทฤษฎีต่างๆ มาใช้ อาทิ การนำแนวคิดเรื่อง Green Domestic Product เพื่อปลุกจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม แทนที่จะมุ่งแต่ตัวเลขด้านเศรษฐกิจอย่างเดียว 

81   มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าการปฏิวัติโลกข้างหน้า คือ การปฏิวัติสิ่งแวดล้อมและพวกเขาก็ได้ลงมือไปแล้ว อาทิ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หรือแนวคิด Gross Domestic Happiness : GDH หรือ "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" หรือ Gross National Happiness : DNH ของประเทศภูฏาน ที่ประกาศมาตั้งแต่ปี 1972 โดย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกเม ซิงเย วังชุก พระบิดาของมกุฎราชกุมาร จิกเม เกซาร์ นัมเกล วังชุก ที่มาร่วมงานเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวง ที่ว่า "Gross National Happiness (GNH) is more important than Gross National Product (GNP หรือ GDP)" หรือ ความสุขรวมของผู้คนภายในประเทศมีความสำคัญกว่าผลผลิตรวม (หรือรายได้รวม) ของประเทศ 

82 จนนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกต้องหันมาจับตาและศึกษาเรื่องอย่างจริงๆ จังๆ หรือ ISO 26000 ว่าด้วยเรื่อง Corporate Social Responsibility : CSR ที่ภาคเอกชนต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยแนวคิดที่ว่าเมื่อองค์กรมีกำไรต้องคืนกลับให้กับผู้ที่มีส่วนได้เสียในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม หรือ Green Funds กองทุนสีเขียว หรือที่เรียกว่า Social Responsibity Investmaent : CSI เป็นกองทุนเพื่อสังคมที่เน้นการนำเงินไปลงทุนในกิจการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และการดูแลแรงงานที่ดี เป็นต้น

83 กรอบ Good Corporate / Good Governnance กฎบรรษัทภิบาล / ธรรมาภิบาล เป็นกระบวนการสร้างความโปร่งใสทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เป็นต้น เหล่านี้เป็นแนวทางที่หวังจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามความเชื่อที่ว่า "หากเราทุกคนลงมือทำแม้แต่ในสิ่งที่เล็กน้อย เราย่อมสามารถทำให้เกิดสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้" โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างสังคมอยู่ดีมีสุข... well-being ซึ่งเครื่องชี้วัดเหล่านี้ เป็นเพียงแค่ดัชนีทางเลือกเท่านั้น

84   สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 43 คน ยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กับพวกรวม 8 คน บริษัท เหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด และผู้มีส่วนได้เสียในการลงทุนโครงการมาบตาพุด จ.ระยอง 36 คน

85   โดยคดีนี้ฟ้องว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและพวกรวม 8 คน ได้ร่วมกันให้ความเห็นชอบอนุมัติโครงการ จำนวน 76 โครงการ ที่ดำเนินการในพื้นที่มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียง โดยไม่ดำเนินการให้ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 กรณีเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย

86 คำสังศาลปกครองสูงสุด ให้ชะลอ 65 โครงการ และให้ดำเนินการต่อไปได้ 11 โครงการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า 65 โครงการนั้นจะต้องระงับไป ก็สามารถที่จะดำเนินทางไปได้โดยที่รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่เกี่ยวขอ้งที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ในการเจรจาเพื่อที่หาทางร่วมกันเพื่อจะเดินหน้าต่อไป


ดาวน์โหลด ppt สังคมวิทยาอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2 : ระบบอุตสาหกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google