งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โดย ผู้วิจัย นางพรศิริ อูปคำ สังกัด โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โดย ผู้วิจัย นางพรศิริ อูปคำ สังกัด โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสอนแบบบูรณาการภาษาอังกฤษและเนื้อหาวิชาศิลปกรรมไทย สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
โดย ผู้วิจัย นางพรศิริ อูปคำ สังกัด โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

2 ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี จังหวัดลำปาง เป็นสถาบันการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เปิดสอนในหลักสูตรภาษาธุรกิจ คอมพิวเตอร์และการท่องเที่ยว สาขาวิชาการท่องเที่ยว ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของมัคคุเทศก์ผู้ที่จะนำนักท่องเที่ยวเรียนรู้เพลิดเพลินและมีความสุขระหว่างการท่องเที่ยว ภาษานับเป็นอีกปัจจัยสำคัญต่อวิชาชีพการท่องเที่ยว จึงจัดให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้วิชาชีพด้านการท่องเที่ยวควบคู่กับการเรียนรู้ด้านภาษา หรือการเรียนแบบบูรณาการ โดยมุ่งผลิตแรงงานทางด้านการท่องเที่ยวที่มีความสามารถด้านภาษาและความรู้ด้านวิชาชีพ เพื่อรองรับธุรกิจการท่องเที่ยวที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

3 ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาที่สองของ Krashen 2 สมมติฐาน คือ
กิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการภาษาอังกฤษกับเนื้อหาวิชา (Sheltered English Instruction) สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษค่อนข้างจำกัด (Limited-English-Proficient-LEP) ให้ได้รับความรู้ในเนื้อหาวิชาการพร้อมกับพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษ ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาที่สองของ Krashen 2 สมมติฐาน คือ สมมติฐานตัวป้อน (Input Hypothesis) และสมมติฐานทางด้านจิตใจ(The Affective Filter Hypothesis) ทฤษฎีอภิปัญญา Metacognition Theory

4 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความรู้ด้านเนื้อหาวิชาศิลปกรรมไทยของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยการบูรณาการภาษาอังกฤษและเนื้อหาวิชา 2. เพื่อศึกษาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลังได้รับการสอนโดยการบูรณาการภาษาอังกฤษและเนื้อหาวิชา

5 กรอบแนวคิดในการวิจัย
1. กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการท่องเที่ยว ศูนย์การศึกษานานาชาติ โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี ภาคเรียนที 1 ปีการศึกษา 2555 2. ตัวแปรที่ศึกษา คือ 2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การสอนแบบบูรณาการของภาษาอังกฤษและเนื้อหาวิชาศิลปกรรมไทย 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ 2.2.1 ความรู้ด้านเนื้อหาวิชาศิลปกรรมไทย 2.2.2 ความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา 3. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับศิลปกรรมไทย เช่น สถาปัตยกรรมภายในวัด พระพุทธรูปปางต่างๆ กีฬาของไทย และ การฟ้อนรำของไทย

6 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจนานาชาติ ศูนย์การศึกษานานาชาติ โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการท่องเที่ยว ศูนย์การศึกษานานาชาติ โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี ที่เรียนวิชาศิลปกรรมไทย ภาคเรียนที 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 21 คน

7 ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้
1. แผนการสอนแบบบูรณาการภาษาอังกฤษกับรายวิชาศิลปกรรมไทย จำนวน 3 แผน รวมทั้งหมด 36 คาบ 2. แบบทดสอบวัดความรู้ด้านเนื้อหาวิชาศิลปกรรมไทยที่ผ่านการตรวจสอบโดยอาจารย์ 2 ท่านคือ ฝ่ายวิชาการศูนย์การศึกษานานาชาติและหัวหน้าศูนย์การศึกษานานาชาติ โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี 3. แบบทดสอบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 3 ครั้ง

8 สรุปผลการวิจัย 1. ผลการศึกษาความรู้ด้านเนื้อหาวิชาศิลปกรรมไทย ที่ได้รับการสอนแบบบูรณาการภาษาอังกฤษและเนื้อหาวิชา พบว่า นักศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่สอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ โดยแยกเป็นระดับที่มีความรู้ด้านเนื้อหาวิชาในระดับต่างๆ ได้ดังนี้ ระดับดีมาก จำนวน 1 คน ระดับดี จำนวน 1 คน ระดับปานกลาง จำนวน 4 คน ระดับพอใช้ จำนวน 15 คน

9 2. ผลการศึกษาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบูรณาการภาษาอังกฤษและเนื้อหาวิชา พบว่า ระดับความสามารถในการพูดของนักศึกษาอยู่ในระดับดังนี้ ระดับดีมาก จำนวน 3 คน ระดับดี จำนวน 4 คน ระดับปานกลาง จำนวน 11 คน ระดับพอใช้ จำนวน 3 คน

10 ผลกระทบที่เกิดขึ้น -ไม่มี-


ดาวน์โหลด ppt โดย ผู้วิจัย นางพรศิริ อูปคำ สังกัด โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google