งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนากระบวนการอ่านในรายวิชาภาษาไทย ของนักศึกษาสาขา ช่างยนต์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนากระบวนการอ่านในรายวิชาภาษาไทย ของนักศึกษาสาขา ช่างยนต์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนากระบวนการอ่านในรายวิชาภาษาไทย ของนักศึกษาสาขา ช่างยนต์
โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของโรเบิร์ต กาเย่ ผู้วิจัย นายวิจักร์ พจนพิจิตต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่

2 1.2 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญและสนใจในรายวิชา ภาษาไทยตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปใช้ในการวิเคราะห์แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้

3 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ในรายวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขางานช่างยนต์ ชย.1101 วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่

4 1.3 แนวคิดในการทำวิจัย ตัวแปรตาม ตัวแปรต้น
1.3 แนวคิดในการทำวิจัย ตัวแปรตาม ตัวแปรต้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนของรายวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ 2 โดยการสอนวิธีการสอนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของ โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne’) วิธีการสอนโดยใช้ทฤษฎี การเรียนรู้ของ โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne’)

5 1.4ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาช่างยนต์ ชย.1101 วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นปฐมภูมิ (Stratified Random Sampling) ในชั่วโมงกิจกรรม ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน

6 1.5 ลักษณะเครื่องมือที่ใช้
1.5 ลักษณะเครื่องมือที่ใช้ 1. แผนการสอนรายวิชา ภาษาไทยเพื่ออาชีพ2 เรื่องการอ่าน โดยการสอนแบบทฤษฎี การเรียนรู้ของ โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne’) 2. ใบงาน, แบบทดสอบ 3. แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน

7 1.6 สรุปผลการวิจัย 1. พฤติกรรมการเรียนรายวิชา ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 2 เรื่อง การอ่านวิธีการสอนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของ โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne’) ของนักศึกษา ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ นักศึกษาปฏิบัติพฤติกรรมการเรียนในทุกพฤติกรรมของเรื่อง การอ่านอยู่ในระดับดี ขั้นดำเนินการ นักศึกษาปฏิบัติพฤติกรรมการเรียนในทุกพฤติกรรมในระดับดี ขั้นสรุปผล และประเมินผลนักศึกษาปฏิบัติพฤติกรรมเรียนในทุกพฤติกรรมของเรื่อง นักศึกษาปฏิบัติในระดับดี 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของ โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne’) ก่อนเรียน และหลังเรียนแตกต่างกัน โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

8 1.8 ข้อเสนอแนะการวิจัย 1. ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของ โรเบิร์ต กาเย่ ครูผู้สอนควรแนะนำขั้นตอนของวิธีการเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของ โรเบิร์ต กาเย่ ให้แก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนคุ้นเคยกับการเรียนการสอนแบบนี้แล้ว จะทำให้การเรียนดำเนินไปได้ดียิ่งขึ้น 2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของ โรเบิร์ต กาเย่ ควรคำนึงถึงวัยความสนใจและความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนลักษณะของเนื้อหาที่สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างประสิทธิภาพ 3. ขณะสอนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของ โรเบิร์ต กาเย่ ครูควรมีการซักถามผู้เรียนฝึกความกล้าในการแสดงออกของผู้เรียนด้วย 4. การจัดกิจกรรมการเรียนสอน ควรฝึกให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาจากกรณีตัวอย่าง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

9 2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป
การนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ แนวคิดของกาเย่สามารถนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอนได้โดยตรง โดยการสร้างสถานการณ์หรือเหตุการณ์เพื่อสร้างความตั้งใจแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนเกิดความสนใจและตั้งใจที่จะเรียนแล้ว ผู้สอนก็แจ้งวัตถุประสงค์ในการเรียนให้แก่ผู้เรียน โดยพยายามเชื่อมโยงความรู้เดิมที่ได้เรียนมาก่อนหน้ากับความรู้ใหม่ให้เข้ากันได้ จากนั้นก็เสนอบทเรียนใหม่ มีการแนะนำชี้แนวทางในการเรียนเพื่อจะให้เกิดการเรียนรู้ สร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจริงและแจ้งผล การปฏิบัติงานให้นักเรียนทราบเป็นระยะเพื่อเป็นการประเมิน และมีการสรุปเสริมบทเรียนเพื่อสร้างความแม่นยำและการถ่ายโยงความรู้ไปใช้กับสิ่งอื่น ๆ ในโอกาสต่อไป การนำแนวคิดของกาเย่ไปใช้ในสร้างสื่อการสอน เช่น การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และบทเรียนออนไลน์ (E-learning)

10 ขอบพระคุณผู้ให้การสนับสนุนทุกท่าน


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนากระบวนการอ่านในรายวิชาภาษาไทย ของนักศึกษาสาขา ช่างยนต์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google