งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พิธียกเสาเอก.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พิธียกเสาเอก."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พิธียกเสาเอก

2 พิธียกเสาเอก คือพิธียกเสาต้นใดต้นหนึ่งที่กำหนดให้เป็นเสาเอกลงหลุมตามเวลาฤกษ์อันเป็นมงคลแห่งการสร้างอาคารบ้านพักอาศัย โดยส่วนมากใช้ประกอบพิธีในการสร้างอาคารบ้านพักอาศัยของเอกชน ไม่ใช้ประกอบพิธีในการสร้างอาคารขนาดใหญ่ (จะใช้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์) ของทางศาสนาหรือทางราชการ เช่น ศาลาการเปรียญ ศาลากลางจังหวัด เป็นต้น (บางแห่งนิยมประกอบพิธียกเสาเอกด้วยก็มี) จุดประสงค์ของการทำพิธีก็เพื่อให้อาคารเหล่านั้นเกิดความถาวรมั่นคงและผู้อยู่อาศัยอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป โดยมีการเตรียมการและปฏิบัติการ ดังนี้

3 ขั้นที่ ๑ เตรียมการ ๑. เครื่องสังเวยเทพยดา ๑ ชุด (ชุดย่อ) ประกอบด้วย - หมูนอนตอง ๑ ชิ้น - ไก่และเป็ดต้ม อย่างละ ๑ ตัว พร้อมน้ำจิ้ม - ปลา กุ้ง ปู อย่างละ ๑ จาน - ขนมหวาน (ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน ถ้วยฟู ฯลฯ) อย่างละ ๑ จาน - ฟักทองแกงบวด ๑ ถ้วย - ผลไม้ตามฤดูกาล ๑ ถาด - ถั่วเขียว งาดำ อย่างละ ๑ ถุง - กล้วยน้ำว้า ๒ หวี มะพร้าวอ่อน ๒ ผล - บายศรีปากชาม ๑ คู่ - สุรา ๑ ขวด น้ำเย็น ๑ แก้ว พวงมาลัย ๑ พวง - กระถางธูป เชิงเทียน ๑ ชุด

4 ๒. เครื่องบูชาเสาเอก - พวงทอง พวงเงิน (ห่อทอง – เงิน หรือพวงมาลัยประดิษฐ์สีทอง – เงิน) - ผ้าสามสี [สีประจำเดือน ๑๒ เดือน (ในเดือนประกอบพิธี) คือ เดือน ๑ (อ้าย) เดือน ๒ (ยี่) เดือน ๓ ฯลฯ เดือนใดเดือนหนึ่ง สีประจำวัน ๗ วัน (ในวันประกอบพิธี) คือวันอาทิตย์ - วันเสาร์ วันใดวันหนึ่ง และสีประจำวันเกิดของผู้เป็นเจ้าของบ้าน รวมเป็น ๓ สี] - หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ ๑ ต้น - ผ้าขาวม้า ๑ ผืน (บางรายนิยมยกเสาโทด้วย ให้จัดเครื่องบูชาเสาโทเหมือนเครื่องบูชาเสาเอก แต่ไม่ต้องจัดเครื่องมงคลใส่ก้นหลุม) ๓. ขุดหลุมลึกประมาณ ๑ เมตร กว้าง x ยาว ๑ เมตร

5 ๔. เครื่องมงคลใส่ก้นหลุม
- ไม้มงคล ๙ ชนิด คือ ไม้ขนุน ไม้ชัยพฤกษ์ ไม้ราชพฤกษ์ ไม้สัก ไม้ไผ่สีสุก ไม้พะยูง ไม้ทองหลาง ไม้กันเกรา ไม้ทรงบาดาล - ใบทอง – นาก – เงิน อย่างละ ๙ ใบ - เหรียญทอง – เงิน อย่างละ ๙ เหรียญ - ข้าวตอก ดอกไม้ ๑ พาน ขั้นที่ ๒ การทำน้ำมนต์ธรณีสาร พิธีกรเป็นผู้ปฏิบัติ ๑. จุดธูปเทียนบูชาคุณพระรัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ครูพักลักจำ เชิญมาบริหารพิธีการให้ประสบความสำเร็จ ๒. ทำน้ำมนต์ธรณีสาร (ตามบททำน้ำมนต์ในตอนท้าย) ๓. ประพรมผู้ทำน้ำมนต์เอง ๓ หยด และดื่มเล็กน้อย ๔. ประพรมเครื่องสังเวย เสาเอก และบริเวณสถานที่ทั้งหมด ขั้นที่ ๓ เจ้าภาพ-พิธีกรปฏิบัติ ๑. เจ้าภาพจุดธูปเทียน (ธูป ๑๖ ดอก เทียน ๑ คู่) และธูปหางเท่าจำนวนเครื่องสังเวย ๒. พิธีกรกล่าวโองการบวงสรวงเทพยดา จบแล้ว ๓. เจ้าภาพคล้องพวงทอง – พวงเงิน ปลายเสาเอก ผูกผ้าสามสี ผูกหน่อกล้วย อ้อย ผูกผ้าขาวม้า ตอกไม้มงคล ๙ ชนิด วางใบทอง – นาก – เงิน และเหรียญทอง – เงิน ก้นหลุม เมื่อถึงกำหนดเวลาฤกษ์ ให้ยกเสาเอกลงหลุม พร้อมกับเปล่งเสียงโห่ ๓ ครั้ง ต่อด้วยโปรยข้าวตอกดอกไม้ เป็นอันเสร็จพิธี ฯ

6 หมายเหตุ ๑. นำหน่อกล้วย อ้อย ไปปลูกในเวลาเย็น ๒. การกำหนดจุดเสาเอก เสาเอกควรอยู่ด้านทิศตะวันออกหรือทิศตะวันออก เฉียงเหนือ ห้ามเป็นจุดที่ใกล้กับบันไดหรือใกล้ห้องน้ำ ถ้าอยู่บริเวณเดียวกับห้องนอนของเจ้าของบ้านหรือห้องรับแขกเป็นดีที่สุด ๓. การประกอบพิธีผูกผ้าสามสี กำหนดให้ใช้ ๓.๑ สีประจำวันของการประกอบพิธี ๓.๒ สีประจำเดือนของการประกอบพิธี ๓.๓ สีประจำวันเกิดของประธานในพิธี หากสีตามข้อ ๑, ๒, ๓ ซ้ำกัน ให้พิจารณาเลือกใช้สีธงไตรรงค์ คือสีแดง สีขาว สีน้ำเงิน แทนก็ได้


ดาวน์โหลด ppt พิธียกเสาเอก.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google