งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ และ ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผล.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ และ ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผล."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ และ ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผล การปฏิบัติราชการ กลุ่มพัฒนาระบบสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ พฤษภาคม 2550

2 การมีส่วนร่วมของประชาชน ( Public Participation )
หมายความถึง กระบวนการที่ประชาชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา

3 การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม และการพัฒนาระบบราชการ
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ มาตรา 3/1 ...ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้อง ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึง ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน..... - พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ พ.ศ. 2550) ยุทธศาสตร์ที่ 7 : ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

4 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน การจัดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ ต้องคำนึงถึงหลักการตามวรรคหนึ่ง

5 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 (ต่อ) ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรานี้ จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติก็ได้

6 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
2. เกิดผลสัมฤทธิ์ 7. ประเมินผลการปฏิบัติราชการ 3. มีประสิทธิภาพ/คุ้มค่า 1. เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน 6. อำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของประชาชน 4. ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น 5. ปรับปรุงภารกิจ/โครงสร้างให้เหมาะสม

7 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
[พ.ศ พ.ศ. 2550] วิสัยทัศน์ “ พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับกับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และประโยชน์สุขของประชาชน”

8 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
[พ.ศ พ.ศ. 2550] เป้าประสงค์หลัก พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น [ Better Service Quality ] ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม [ Rightsizing ] ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูง และเทียบเท่าเกณฑ์สากล [ High Performance ] ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย [ Democratic Governance ]

9 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย [พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550]
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย [พ.ศ พ.ศ. 2550] ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย ยุทธศาสตร์ที่ 7 : การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

10 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2546- พ.ศ. 2550)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ พ.ศ. 2550) ยุทธศาสตร์ที่ 7 : การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช มุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกิจการบ้านเมืองโดยตรงมากขึ้น แต่ระบบราชการไทยยังไม่ได้มีการปรับตัวอย่างจริงจัง และยังติดยึดกับลักษณะความเป็นเจ้าขุนมูลนาย และการทำงานแบบดั้งเดิม ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดระบบราชการเข้าสู่กระบวนการความประชาธิปไตย (democratization) มากขึ้น โดยการยอมรับ และให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะความคิดเห็น ร่วมปฏิบัติ งาน และการตรวจสอบผลการดำเนินงาน

11 ยุทธศาสตร์การสร้างการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
การบริหาร ราชการ เพื่อสังคม ประชาธิปไตย การบริหาร ราชการ ที่โปร่งใส การบริหาร ราชการ เพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน การบริหาร ราชการ ที่ประชาชน เป็นหุ้นส่วน การพัฒนาจากภายนอกระบบราชการ (Outside-in Approach) การพัฒนาจากภายในภาคราชการ (Inside-out Approach) การบริหาร ราชการ ที่มีประสิทธิภาพ ราชการที่ ตอบสนอง ความต้องการ ของประชาชน การบริหาร ราชการที่ ทรงพลัง โครงการพัฒนา ศักยภาพฯ

12 ทำไมต้องบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
ภาคสังคมและประชาชนมีการพัฒนาและเรียกร้องสิทธิ ในการรับรู้ ตัดสินใจ และมีส่วนร่วม หลักการบริหารราชการแนวใหม่ที่ระบบราชการทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญ เริ่มได้บทเรียนและเรียนรู้จากการสูญเสีย แสวงหารูปแบบและนำไปประยุกต์ใช้ สังคมไทยและคนไทยพัฒนาสู่สังคมประชาธิปไตยยุคใหม่

13 ลักษณะของระบบราชการแบบมีส่วนร่วม
เป็นองค์กรที่เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ (Accessibility) เป็นองค์กรที่มีการติดต่อสื่อสารสองทางกับประชาชน (Dialogue) เป็นองค์กรที่มีการติดต่อสื่อสารทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ นำข้อคิดเห็นของประชาชนมาประกอบการตัดสินใจขององค์กรพร้อมทั้งอธิบายเหตุผล มีการจัดกระบวนการการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทันท่วงที ถูกต้อง โปร่งใสและจริงใจ

14 การปรับเปลี่ยนบทบาทใหม่ของรัฐ
เสริมสร้างพลัง สนับสนุน หยิบยื่น ประชาชน ร่วมตัดสินใจ ประชาชน เกี่ยวข้องตามที่ ได้รับอนุญาต ประชาชน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง บทบาทของประชาชน

15 การปรับเปลี่ยนบทบาทใหม่ของรัฐ
เสริมสร้างพลัง สนับสนุน หยิบยื่น กระจายอำนาจ รวมประชาชนเข้าไว้ในกลุ่ม ผู้ตัดสินใจ มีทางเลือกที่เปิดกว้างไม่มี การจำกัด ประชาชนเป็นผู้นำ ประชาชนมีส่วนร่วมอย่าง จริงจัง รัฐมีพันธะความรับผิดชอบ ต่อสังคม โปร่งใส/เปิดกว้าง ประชาชนมีความเป็นพลเมือง รวมศูนย์อำนาจ รัฐทำหน้าที่ตัดสินใจ ประชาชนไม่มี ทางเลือก ความสัมพันธ์แนวดิ่ง จากบนลงล่าง ปิดกั้นการมีส่วนร่วม ของประชาชน ผู้ตัดสินใจคือกลุ่มที่ได้รับ การคัดเลือก ประชาชนมีส่วนร่วมได้ เฉพาะเรื่อง ประชาชนมีทางเลือกแต่ จำกัด ประชาชนร่วมตัดสินใจ ประชาชนมีส่วนร่วม บทบาทภาครัฐ

16 การมีส่วนร่วมของประชาชน
สามารถแบ่งได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้ - ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (to inform) - ระดับการรับฟังความคิดเห็น (to consult) - ระดับการเข้าไปเกี่ยวข้อง (to involve) - ระดับการร่วมมือ (to collaborate) - ระดับการมอบอำนาจการตัดสินใจ (to empower)

17 Public Participation Spectrum
เสริมอำนาจประชาชน Empower ร่วมมือ Collaboration เกี่ยวข้อง Involve รับฟังความคิดเห็นของประชาชน Consult ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน Inform

18 ให้ข้อมูลข่าวสาร Inform
ระดับการมีส่วนร่วมสูงขึ้น เสริมอำนาจประชาชน Empower ร่วมมือ Collaboration ตัด สิน ใจ เอง เกี่ยวข้อง Involve เข้าร่วมทำงานด้วย รับฟังความคิดเห็น Consult สมัครใจเข้าร่วม ให้ความเห็น ให้ข้อมูลข่าวสาร Inform การมีส่วนร่วมของประชาชน รับฟัง

19 ระดับการมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้น
ให้ข้อมูลข่าวสาร Inform รับฟังความคิดเห็น Consult เกี่ยวข้อง Involve ร่วมมือ Collaboration เสริมอำนาจประชาชน Empower เป้าหมาย : เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและเสริมสร้างความเข้าใจของประชาชน เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ทางเลือกและทางแก้ไข เป้าหมาย : เพื่อได้รับข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยว กับสภาพปัญหา ความคิด เห็นและแนวทางแก้ไข เป้าหมาย : เพื่อร่วมทำงานกับประชาชน เพื่อสร้างความมั่นใจกับประชาชนว่ามีความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนจะได้รับการพิจารณา เป้าหมาย : เพื่อเป็นหุ้นส่วนกับประชาชนในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ ตั้งแต่การระบุปัญหา พัฒนาทางเลือกและแนวทางแก้ไข เป้าหมาย : เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ สัญญาต่อประชาชน : เราจะทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร สัญญาต่อประชาชน : เราจะให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งตระหนักถึงข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ สัญญาต่อประชาชน : เราจะทำงานเพื่อให้เห็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ส่งผลให้ความคิดเห็นและข้อมูลจากประชาชนสะท้อนในทางเลือก สัญญาต่อประชาชน : เราจะร่วมงานกับประชาชน เพื่อได้ข้อเสนอแนะและความคิดใหม่ รวมทั้งนำข้อเสนอแนะของประชาชนมาเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สัญญาต่อประชาชน : เราจะปฏิบัติสิ่งที่ประชาชนตัดสินใจ เทคนิคการมีส่วนร่วม : เอกสารข้อมูล Websites Open House เทคนิคการมีส่วนร่วม : รับฟังความคิดเห็น เสวนากลุ่มสนใจ เวทีประชาชน เทคนิคการมีส่วนร่วม : ประชุมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการมีส่วนร่วม : คณะกรรมการที่ปรึกษา ภาคประชาชน กระบวนการฉันทามติ และ ตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม เทคนิคการมีส่วนร่วม : การลงประชามติ

20 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ประเด็นการประเมินผล : การมีส่วนร่วมของประชาชน

21 การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง การปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และ ร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ

22 ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วน
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วน ร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการ ปฏิบัติราชการ น้ำหนัก : ร้อยละ 2 (สถาบันอุดมศึกษา) คำอธิบาย : พิจารณาจากกระบวนการบริหารราชการและการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เพื่อกระตุ้นการปรับระบบราชการสู่การบริหารราชการที่เปิดเผย โปร่งใส เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และ พัฒนาระบบราชการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

23 รายละเอียดการดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 1 : ระดับคะแนน 1 สถาบันอุดมศึกษาวิเคราะห์ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาหรือประเด็นสำคัญที่สำคัญและเหมาะสม ในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และนำผลการวิเคราะห์ไปกำหนดกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างเหมาะสม สถาบันอุดมศึกษามีกระบวนการในการสร้างความรู้ความเข้าใจ สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นรูปธรรมชัดเจน สถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน โดยเป็นคณะทำงานร่วมระหว่างภาครัฐ (ผู้แทนองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง) และภาคประชาสังคม (เอกชน ผู้แทนประชาชน NGOs สื่อมวลชน เป็นต้น) เพื่อจะได้ร่วมกันผลักดันกระบวนการพัฒนาระบบราชการ หรือผลักดันให้เกิดผลการปฏิบัติราชการ หรือการพัฒนาบริการสาธารณะ

24 รายละเอียดการดำเนินการ
ขั้นที่ 2 : ระดับคะแนน 2 สถาบันอุดมศึกษาและคณะทำงานภาคประชาชนมีการปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดและเลือกประเด็นการพัฒนาระบบราชการ/ผลการปฏิบัติราชการ/การพัฒนาบริการสาธารณะ ที่เห็นว่าเหมาะสม ที่จะนำมา ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ โดยประเด็นการพัฒนาระบบ ราชการ/ผลการปฏิบัติราชการ/การพัฒนาบริการสาธารณะ ที่เลือก ดำเนินการ ควรเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจหลัก (Core Function) ของหน่วยงาน หรือเรื่องที่มีผลกระทบกับประชาชนโดยตรง และจะต้องได้รับการยอมรับหรือมีฉันทามติ

25 รายละเอียดการดำเนินการ
ขั้นที่ 3 : ระดับคะแนน 3 สถาบันอุดมศึกษาและคณะทำงานภาคประชาชนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด วิธีการวัดผล และระบบการจัดเก็บข้อมูล ตามประเด็น การพัฒนาระบบราชการ/ผลการปฏิบัติราชการ/การพัฒนาบริการ สาธารณะที่เลือกมาดำเนินการในขั้นตอนที่ 2

26 รายละเอียดการดำเนินการ
ขั้นที่ 4 : ระดับคะแนน 4 สถาบันอุดมศึกษาและคณะทำงานภาคประชาชนร่วมกันวางระบบการติดตาม ความก้าวหน้าหรือระบบในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน สถาบันอุดมศึกษาและคณะทำงานภาคประชาชนร่วมกันติดตามตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานตามประเด็นการพัฒนาระบบราชการ/ ผลการปฏิบัติราชการ/การพัฒนาบริการสาธารณะที่เลือก ให้เป็นไปตามระบบที่ที่วางไว้ และเสนอต่อผู้บริหารของส่วนราชการอย่าง สม่ำเสมอ (รายเดือน/รายไตรมาส)

27 รายละเอียดการดำเนินการ
ขั้นที่ 5 : ระดับคะแนน 5 สถาบันอุดมศึกษาจัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตามประเด็นการพัฒนาระบบ ราชการ/ผลการปฏิบัติราชการ/การพัฒนาบริการสาธารณะที่เลือก และเผยแพร่ให้ประชาชน ผู้ที่เกี่ยวข้อง และ ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบ ผ่านกระบวนการ หรือกลไกที่สถาบันอุดมสึกษา จัดให้มีขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

28 ระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone)
เกณฑ์การให้คะแนน : กำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับ ดังนี้ ระดับคะแนน ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 1 2 3 4 5

29 แนวทางการประเมินผล : ระดับขั้นของความสำเร็จ
ขั้นตอนที่ 1 : ระดับคะแนน 1 เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผล สถาบันอุดมศีกษาวิเคราะห์ประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาหรือประเด็นสำคัญที่ เหมาะสมในการเปิดโอกาสให้ ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วม และนำผลการ วิเคราะห์ไปกำหนดกลุ่ม ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างเหมาะสม เอกสาร/หลักฐานที่แสดงว่าสถาบันอุดมศึกษามีกิจกรรมการวิเคราะห์ และนำผล การวิเคราะห์ไปกำหนดกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสีย ได้อย่าง เหมาะสม ดังนี้ - รายงานสรุปหรือแผนภาพที่แสดงให้เห็นว่า สถาบันอุดมศึกษามีกิจกรรม การวิเคราะห์ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปกำหนดกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มี ส่วนได้เสีย - สรุปผลการวิเคราะห์จากกิจกรรม - รายชื่อกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสีย ที่ถูกกำหนดโดยกิจกรรม การวิเคราะห์ สถาบันอุดมศึกษามีกระบวนการสร้างความรู้ ความเข้าใจสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ เสียที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เอกสาร/หลักฐานที่แสดงว่าสถาบันอุดมศึกษามีกระบวนการในการสร้าง ความรู้ความเข้าใจ สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน อาทิ - มีการจัดประชุม/อบรม/สัมมนา - เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจทางสื่อต่างๆ เช่น แผ่นพับ บอร์ด สื่อวิทยุ โทรทัศน์ เว็ปไซต์ ฯลฯ

30 ขั้นตอนที่ 1 : ระดับคะแนน 1 (ต่อ)
เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผล สถาบันอุดมศึกษาต่งตั้งคณะทำงานภาค ประชาชน โดยเป็นคณะทำงานร่วมระหว่าง ภาครัฐ (ผู้แทนองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง) และ ภาคประชาสังคม (เอกชน ผู้แทนประชาชน NGOs สื่อมวลชน เป็นต้น) เพื่อจะได้ร่วมกัน ผลักดันกระบวนการ พัฒนาระบบราชการ หรือ ผลักดันให้เกิดผลการปฏิบัติราชการ หรือการ พัฒนาบริการสาธารณะ คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน ซึ่งควรระบุ - วันที่ที่มีการแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน - รายชื่อคณะทำงานภาคประชาชน - หน่วยงานที่บุคคลในคณะทำงานภาคประชาชนสังกัด อาทิเช่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน NGOs สื่อมวลชน องค์กรชุมชน ฯลฯ

31 ขั้นตอนที่ 2 : ระดับคะแนน 2
เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผล สถาบันอุดมศึกษาและคณะทำงานภาคประชาชนมีการ ปรึกษาหารือ เพื่อกำหนดและเลือกประเด็นการ พัฒนาระบบราชการ/ผลการปฏิบัติราชการ/การ พัฒนาบริการสาธารณะ ที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะ นำมาดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ โดย ประเด็นการพัฒนาระบบราชการ/ผลการปฏิบัติ ราชการ /การพัฒนาบริการสาธารณะที่เลือก ดำเนินการ ควรเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ หลัก (Core Function) ของ หน่วยงาน หรือเรื่องที่ มีผลกระทบกับประชาชนโดยตรง และต้องได้รับ การยอมรับหรือมีฉันทามติ เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงกิจกรรมการปรึกษาหารือระหว่างสถาบันอุดมสึกษาและ คณะทำงานภาคประชาชน เพื่อกำหนดและเลือกประเด็นการพัฒนาระบบ ราชการ/ผลการปฏิบัติราชการ/การพัฒนาบริการสาธารณะที่เห็นว่าเหมาะสม ที่จะนำมาดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ ซึ่งควรระบุ - รายละเอียดกิจกรรม/รายงานการประชุม - ประเด็นการพัฒนาระบบราชการ/ผลการปฏิบัติราชการ/การพัฒนาบริการ สาธารณะที่ส่วนราชการกับคณะทำงานภาคประชาชนเลือกเพื่อ ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 - รายละเอียดที่แสดงถึงความสอดคล้องกับภารกิจหลัก (Core Function) ของหน่วยงาน หรือเรื่องที่มีผลกระทบกับประชาชนโดยตรง เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการยอมรับ หรือการมีฉันทามติ ในประเด็นการ พัฒนาระบบราชการ/ผลการปฏิบัติงาน/การพัฒนาบริการสาธารณะที่เลือก ดำเนินการ ซึ่งควรระบุ - วิธีการดำเนินงานในการได้รับการยอมรับหรือฉันทามติ - ผลการแสดงการยอมรับหรือผลการลงฉันทามติ - สรุปผลการแสดงการยอมรับหรือผลการลงฉันทามติ * ประเด็นการพัฒนาระบบราชการ * ประเด็นผลการปฏิบัติราชการ * ประเด็นการพัฒนาบริการสาธารณะ

32 ขั้นตอนที่ 3 : ระดับคะแนน 3
เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผล สถาบันอุดมศึกษาและคณะทำงานภาคประชาชนร่วมกัน กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด วิธีการวัดผล และระบบ การจัดเก็บข้อมูล ตามประเด็นการพัฒนาระบบ ราชการ/ผลการปฏิบัติราชการ /การพัฒนาบริการ สาธารณะทีเลือกมาดำเนินการในขั้นตอนที่ 2 เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงสถาบันอุดมศึกษาและคณะทำงานภาคประชาชน ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด วิธีการวัดผล และระบบการจัดเก็บข้อมูล ตามประเด็นการพัฒนาระบบราชการ/ผลการปฏิบัติราชการ/การพัฒนาบริการ สาธารณะที่เลือกมาดำเนินการในขั้นตอนที่ 2 ซึ่งควรระบุ - รายละเอียดเป้าหมาย ตัวชี้วัด วิธีการวัดผล และระบบการจัดเก็บข้อมูล โดยแยกเป็นประเด็นตาม *ประเด็นการพัฒนาระบบราชการ * ประเด็นผลการปฏิบัติราชการ * ประเด็นการพัฒนาบริการสาธารณะ

33 ขั้นตอนที่ 4 : ระดับคะแนน 4
เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผล สถาบันอุดมศึกษาและคณะทำงานภาคประชาชนร่วมกัน วางระบบการติดตามความก้าวหน้า หรือระบบใน การตรวจสอบผลการดำเนินงาน เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงสถาบันอุดมศึกษาและคณะทำงานภาคประชาชน ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด วิธีการวัดผล และระบบการจัดเก็บข้อมูล ตามประเด็นการพัฒนาระบบราชการ/ผลการปฏิบัติราชการ/การพัฒนาบริการ สาธารณะที่เลือกมาดำเนินการในขั้นตอนที่ 2 ซึ่งควรระบุ - รายละเอียดเป้าหมาย ตัวชี้วัด วิธีการวัดผล และระบบการจัดเก็บข้อมูล โดยแยกเป็นประเด็นตาม *ประเด็นการพัฒนาระบบราชการ * ประเด็นผลการปฏิบัติราชการ * ประเด็นการพัฒนาบริการสาธารณะ สถาบันอุดมศึกษาและคณะทำงานภาคประชาชนร่วมกัน ติดตามตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงาน ตามประเด็นการพัฒนาระบบราชการ/ผลการปฏิบัติ ราชการ/การพัฒนาบริการสาธารณะ ที่เลือกให้ เป็นไปตามระบบที่วางไว้ และเสนอต่อผู้บริหารของ ส่วนราชการอย่างสม่ำเสมอ (รายเดือน/ราย ไตรมาส) เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงสถาบันอุดมศึกษาและคณะทำงานภาคประชาชน ร่วมกันติดตามตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงาน ซึ่งควรระบุ - รายละเอียดของระบบการติดตามความก้าวหน้าหรือตรวจสอบผลการ ดำเนินงาน - หลักฐานการรายงานต่อผู้บริหารของส่วนราชการอย่างสม่ำเสมอ (เป็น รายเดือน/รายไตรมาส)

34 ขั้นตอนที่ 5 : ระดับคะแนน 5
เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผล สถาบันอุดมศึกษาจัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติงาน ตามประเด็นการพัฒนาระบบราชการ/ผลการปฏิบัติ ราชการ/การพัฒนาบริการสาธารณะ ที่เลือก และ เผยแพร่ให้ประชาชน ผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ เสียรับทราบ ผ่านกระบวนการ หรือกลไกที่สถาบันอุดมศึกษาจัดให้มีขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงระบบในการรายงานผลการดำเนินงานตาม ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ ตามประเด็นการพัฒนาระบบราชการ/ผลการปฏิบัติ ราชการ/การพัฒนาบริการสาธารณะที่เลือก ซึ่งควรระบุ - รายละเอียดระบบการรายงานผลการดำเนินงาน/กระบวนการหรือกลไกที่ ส่วนราชการจัดให้มีขึ้น เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการรายงานผลการปฏิบัติงานให้ประชาชน ผู้ที่ เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียรับทราบ ซึ่งควรระบุ - รูปแบบการรายงานให้ประชาชน ผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียแต่ละ กลุ่ม - รายงานผลการปฏิบัติงานที่รายงานให้ประชาชน ผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มี ส่วนได้เสียรับทราบ


ดาวน์โหลด ppt การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ และ ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผล.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google