งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎหมาย คอมพิวเตอร์ รายชื่อสมาชิก นายธีรศาสตร์ ธาราไทย นางรวิชา ยืนยง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎหมาย คอมพิวเตอร์ รายชื่อสมาชิก นายธีรศาสตร์ ธาราไทย นางรวิชา ยืนยง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎหมาย คอมพิวเตอร์ รายชื่อสมาชิก นายธีรศาสตร์ ธาราไทย นางรวิชา ยืนยง
กฎหมาย คอมพิวเตอร์ รายชื่อสมาชิก นายธีรศาสตร์ ธาราไทย นางรวิชา ยืนยง นางสาวนฤนาท ยืนยง นางสิรีรัศมิ์ พลสมัคร

2 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำโดยมิชอบ มาตรา ๕ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ มาตรา ๖ การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง มาตรา ๗ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาตรา ๘ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา ๙ การแก้ไข เปลี่ยนแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๐ การรบกวน ขัดขวาง ระบบคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๑ สแปมเมล์ (Spam Mail) มาตรา ๑๒ การกระทำความผิดต่อ ประชาชนโดยทั่วไป / ความมั่นคง มาตรา ๑๓ การจำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด มาตรา ๑๔ นำเข้า ปลอม/ เท็จ /ภัยมั่นคง /ลามก/ ส่งต่อ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๕ ความรับผิดของผู้ให้บริการ มาตรา ๑๖ การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ/ดัดแปลง รวม ๑๒ มาตรา DSI

3 เข้าถึง ระบบคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4 การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึง
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการ เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็น การเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไป เปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความ เสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ เช่น การใช้โปรแกรม keylogger ซึ่งเป็นโปรแกรมดักข้อมูลผ่าน ปุ่มกดคีย์บอร์ด เพื่อแอบบันทึกการกดรหัสผ่านของผู้อื่น แล้วนำไปโพสต์ไว้ในกระทู้ต่างๆ เพื่อให้บุคคลที่สามใช้เป็น รหัสผ่านเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ที่เป็นเหยื่อ ส่งผลทำให้แฮกเกอร์นั้นได้ข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ของเจ้าของเครื่องได้ เช่นชื่อ รหัสผ่านต่างๆ หมายเลขบัญชีธนาคารต่างๆ รวมทั้งหมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น

5 การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การพิจารณาฐานความผิด - การกระทำซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา 7 อาจต้องมีการกระทำความผิดตามมาตรา 5 เสียก่อน มีการผ่านการกระทำตามมาตรา 5 คือการเข้าถึงระบบ คอมพิวเตอร์ก่อน โดยมีหลักการเดียวกันกับมาตรา 5 คือเป็นความผิดในตัวมันเอง แต่ไม่จำเป็นว่าความผิดตามมาตรา 7 จะต้องผิดมาตรา 5 ก่อนเสมอไป เช่น การเอาแผ่นดิสก์ของผู้อื่นที่มีการตั้ง รหัสไว้ถึงจะเปิดไฟล์ข้อมูลได้ไปเปิดในระบบคอมของตนเอง

6 การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การลักลอบดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลนั้นผู้ส่งประสงค์ จะส่งข้อมูลให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น โดย อาจทำได้โดยการ ติดตั้งซอฟต์แวร์เฉพาะหรือไวรัสคอมพิวเตอร์บางประเภท เพื่อให้ทำหน้าที่ในการดักข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการติดต่อสื่อสาร หรือการส่งผ่านข้อมูลจากบุคคลหนึ่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์อีก ระบบหนึ่ง เช่น การใช้สนิฟเฟอร์ (sniffer) แอบดักข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างเครือข่าย ทำให้ทราบรหัสผ่านของบุคคลซึ่งส่งหรือโอนข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย หรือแอบดัก packet ซึ่งเป็นชุดของข้อมูลที่เล็กที่สุดที่อยู่ระหว่าง การส่งไปให้ผู้รับ data/coding ก้อนข้อมูล แอบบันทึก username & password ผู้โจมตีระบบ

7 การแก้ไข ข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตัวอย่างของการกระทำความผิดในฐานนี้ เช่น การป้อนโปรแกรม ที่มีไวรัสเข้าไปทำลายข้อมูล หรือเปลี่ยนแปลง หรือการป้อน trojan horse เข้าไปในระบบเพื่อขโมยรหัสผ่านของผู้ใช้ สำหรับใช้เข้าไปเพื่อลบ เปลี่ยนแปลงข้อมูล

8 การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์
“มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถ ทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เหตุผล การกำหนดฐานความผิดคำนึงถึงการก่อให้เกิดการ ปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service) เป็นสำคัญ เช่น การใช้โปรแกรมไวรัสส่ง จำนวนมหาศาล ส่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น เพื่อรบกวนทำให้ระบบ คอมพิวเตอร์นั้น ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

9 สแปมเมล์ (Spam Mail) มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรานี้ตั้งใจเอาผิดกับผู้ที่ส่งอีเมล์ขยะ หรือที่เรารู้จักกันว่า spam mail อย่างที่ได้กล่าวถึงเมื่อข้างต้น เนื่องจากการส่งแสปมเมล์นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นต้นเหตุที่อาจก่อให้เกิดอาชญากรรมอย่างอื่นได้ เช่นการหลอกลวง หรือฉ้อโกง อย่างพวกอีเมล์ที่ชวนให้ทำงานที่บ้าน และยังสามารถสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้เกิดแก่ผู้ใช้ทั่วไป รวมถึงการสร้างภาระให้กับผู้ให้บริการที่จะต้องมีโปรแกรมเพื่อกลั่นกรองอีเมล์ขยะเหล่านี้ โดยสาระสำคัญก็คือเป็นสแปมเมล์ที่ตั้งใจปกปิดแหล่งกำเนิดของอีเมล์คือ เราไม่สามารถสืบทราบได้ว่าใครเป้นผู้ส่งมา คือมีเจตนาไม่สุจริตนั่นเอง

10 การกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท เหตุผล กำหนดโทษหนักขึ้น ตามความเสียหายที่เกิดขึ้น การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือกระทบต่อความมั่นคง ของประเทศ, ความปลอดภัยสาธารณะ, ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจและการบริการสาธารณะ ซึ่งในปัจจุบันนั้น การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่ประเทศส่วนใหญ่วิตกกังวล คือ การเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์และแอบเติมหรือทำลายข้อมูล คอมพิวเตอร์ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันอาจส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณูปโภคหรือระบบการเงินของประเทศ เช่น อาจมีการผู้ไม่หวังดีเข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลของหอบังคับการบินสุวรรณภูมิ ซึ่งอาจทำให้เครื่องบินชนกัน หรือเครื่องบินตก มีเหตุให้คนตายซึ่งก็ต้องรับโทษ ตามมาตรานี้

11 การกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง มาตรา ๑๒ (ต่อ)
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี เหตุผล กำหนดโทษหนักขึ้นตามความเสียหายที่เกิดขึ้น การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือกระทบต่อความมั่นคง ของประเทศ, ความปลอดภัยสาธารณะ, ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจและการบริการสาธารณะ ซึ่งในปัจจุบันนั้น การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่ประเทศส่วนใหญ่วิตกกังวล คือ การเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์และแอบเติมหรือทำลายข้อมูล คอมพิวเตอร์ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันอาจส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณูปโภคหรือระบบการเงินของประเทศ เช่น อาจมีการผู้ไม่หวังดีเข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลของหอบังคับการบินสุวรรณภูมิ ซึ่งอาจทำให้เครื่องบินชนกัน หรือเครื่องบินตก มีเหตุให้คนตายซึ่งก็ต้องรับโทษ ตามมาตรานี้

12 การนำเข้า/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จหรือมีเนื้อหาไม่เหมาะสมในรูป แบบต่างๆโดยในมาตรา ๑๔ นั้น กำหนดไว้ครอบคลุมการปลอมแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือทำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน เช่นอาจมีผู้ไม่หวังดี ไปโพสต์ไว้ในเว็บบอร์ดว่าจะเกิดระเบิดขึ้น หรือเนื้อความที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์หรือการก่อการร้าย รวมทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามกทั้งหลาย และการ forward หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้างต้น

13 การนำเข้า/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จหรือมีเนื้อหาไม่เหมาะสมในรูป แบบต่างๆโดยในมาตรา ๑๔ นั้น กำหนดไว้ครอบคลุมการปลอมแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือทำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน เช่นอาจมีผู้ไม่หวังดี ไปโพสต์ไว้ในเว็บบอร์ดว่าจะเกิดระเบิดขึ้น หรือเนื้อความที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์หรือการก่อการร้าย รวมทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามกทั้งหลาย และการ forward หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้างต้น

14 การนำเข้า/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม
มาตรา ๑๔ (ต่อ) (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จหรือมีเนื้อหาไม่เหมาะสมในรูป แบบต่างๆโดยในมาตรา ๑๔ นั้น กำหนดไว้ครอบคลุมการปลอมแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือทำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน เช่นอาจมีผู้ไม่หวังดี ไปโพสต์ไว้ในเว็บบอร์ดว่าจะเกิดระเบิดขึ้น หรือเนื้อความที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์หรือการก่อการร้าย รวมทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามกทั้งหลาย และการ forward หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้างต้น

15 การนำเข้า/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จหรือมีเนื้อหาไม่เหมาะสมในรูป แบบต่างๆโดยในมาตรา ๑๔ นั้น กำหนดไว้ครอบคลุมการปลอมแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือทำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน เช่นอาจมีผู้ไม่หวังดี ไปโพสต์ไว้ในเว็บบอร์ดว่าจะเกิดระเบิดขึ้น หรือเนื้อความที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์หรือการก่อการร้าย รวมทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามกทั้งหลาย และการ forward หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้างต้น

16 การนำเข้า/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม
มาตรา ๑๔ (ต่อ) (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จหรือมีเนื้อหาไม่เหมาะสมในรูป แบบต่างๆโดยในมาตรา ๑๔ นั้น กำหนดไว้ครอบคลุมการปลอมแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือทำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน เช่นอาจมีผู้ไม่หวังดี ไปโพสต์ไว้ในเว็บบอร์ดว่าจะเกิดระเบิดขึ้น หรือเนื้อความที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์หรือการก่อการร้าย รวมทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามกทั้งหลาย และการ forward หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้างต้น

17 การนำเข้า/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จหรือมีเนื้อหาไม่เหมาะสมในรูป แบบต่างๆโดยในมาตรา ๑๔ นั้น กำหนดไว้ครอบคลุมการปลอมแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือทำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน เช่นอาจมีผู้ไม่หวังดี ไปโพสต์ไว้ในเว็บบอร์ดว่าจะเกิดระเบิดขึ้น หรือเนื้อความที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์หรือการก่อการร้าย รวมทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามกทั้งหลาย และการ forward หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้างต้น

18 ความแตกต่างของ “ความมั่นคง” ระหว่างมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๔ มีองค์ประกอบความผิดต่างกัน
มาตรา ๑๒ (๒) หากเป็นการกระทำโดยการรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ และระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยการทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยมิชอบ ที่เกี่ยวกับ ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ (ในความหมายทั่วๆ ไป) ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การบริการสาธารณะ หรือ กรณีข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ ระบบคอมพิวเตอร์มีไว้เพื่อประโยชน์ สาธารณะ มาตรา ๑๔ (๒) ความมั่นคงของประเทศ หากนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ มาตรา ๑๔ (๓) - หากเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ได้แก่ ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์, พระราชินี, รัชทายาท, ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เช่น การล้มล้างรัฐธรรมนูญ/การแบ่งแยกราชอาณาจักร/การทำให้ราชอาณาจักรอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐอื่น - ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

19 ลามก สิ่งอันลามก คือ น่าอับอายในทางเพศต่อตา น่าอุจาดบัดสี ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นศิลปะอันแสดงถึงความงามและฝีมือของศิลปิน ศิลปะหรือลามกพิจารณาตามความรู้สึกของวิญญูชนผู้มิใช่เคร่งต่อจารีตประเพณีโดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยของโลก รูปหญิงเปลือยกาย เห็นเด่นชัดเฉพาะถัน ส่วนโยนีถูกระบายให้ลบเลือนเห็นเพียงฐาน แสดงสุขภาพอนามัยของการอาบแดด สอนวิธีเขียนส่วนสัดความงามของร่างกาย ไม่น่าเกลียดอุจาดบัดสีที่นิยมนำไปสู่ความใคร่ทางกามารมณ์ ไม่เป็นลามกอนาจาร (ฎีกาที่ ๙๗๘/๒๔๙๒ ฎ.๖๗๕) ภาพสตรีแสดงส่วนสัดความสมบูรณ์ของร่างกายที่ไม่มีสิ่งปกปิด ส่วนล่างพยายามปกปิดหรือทำเป็นเพียงเงาๆ ลบเลือนให้เป็นอวัยวะที่ราบเรียบแล้วไม่มีลักษณะน่าเกลียด น่าอุจาดบัดสี ไม่เป็นภาพลามกตามมาตรานี้ (ฎีกาที่ ๑๒๒๓/๒๕๐๘ ฎ.๑๙๓๖) Source : กฎหมายอาญา ภาค ๒ ตอน ๑ ศ.จิตติ ติงศภัทิย์ สำนักอบรมศีกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

20 “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

21 การกำหนดบทลงโทษผู้ให้บริการ
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือ ยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ใน ระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้อง ระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ เหตุผล ผู้ให้บริการในที่นี้มุ่งประสงค์ถึง เจ้าของ เว็บไซต์ ซึ่งมีการพิจารณาว่า ควรต้องมีหน้าที่ลบ เนื้อหาอันไม่เหมาะสมด้วย ในมาตรา ๑๕ ได้มีการกำหนดโทษของผู้ให้บริการที่ สนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๓ ต้องรับโทษด้วย หากมิได้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ นั้น เพราะต้องการให้ผู้ให้บริการควรจะมีหน้าที่คอยควบคุมสิ่ง ที่อยู่ในความดูแลของตนด้วย

22 การเผยแพร่ภาพซึ่งตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย เช่น กรณีดาราที่โดนตัดต่อภาพทำให้ดูเหมือนว่าเป้นภาพ ของคนนั้นจริงๆ แต่ถ้าเป็นภาพของดาราของคนนั้นจริงๆ อย่างของคุณตั๊ก บงกช ก็จะต้องไปดูตามมาตรา 14

23 กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักร
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ (๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

24 Thank You


ดาวน์โหลด ppt กฎหมาย คอมพิวเตอร์ รายชื่อสมาชิก นายธีรศาสตร์ ธาราไทย นางรวิชา ยืนยง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google