งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เรื่อง คำอุทาน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เรื่อง คำอุทาน."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เรื่อง คำอุทาน

2 คำนำ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย (ท202)ซึ่งรายงานเล่มนี้จะเขียนอธิบายเรื่องคำอุทาน โดยรายงานเล่มนี้จะบอกถึงหน้าที่ของคำอุทาน หวังว่ารายงานเล่มนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและใช้ในการประกอบการเรียนได้อย่างดี

3 สารบัญ เรื่อง หน้า ความหมายคำอุทาน ชนิดของคำอุทาน หน้าที่ของคำอุทาน สมาชิก

4 อาการดีใจ เช่น ไชโย ฮูเล ฮ่า ฯลฯ
คำอุทาน คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาด้วยอารมณ์ต่างๆ เช่นอารมณ์ดีใจเสียใจ ตกใจ เศร้าใจ ฯลฯ เสียงอุทานออกมานั้นเป็นคำ บางทีเป็นวลี และบางทีก็เป็นประโยค บางครั้งคำอุทานก็มีความหมายแปลได้ บางครั้งก็ไม่มีความหมาย เช่น อนิจจา เอ๊ะ พุทโธ่ เป็นต้น คำอุทานแบ่งเป็น 2 พวกได้แก่ 1.คำอุทานบอกอาการ ได้แก่คำอุทานที่เปล่งออกมาเพื่อให้รู้อาการของผู้พูด ดังตัวอย่าง อาการร้องเรียก เช่น เฮ้ เฮ้ย โว้ยแน่ะ นี้แน่ะฯลฯ อาการดีใจ เช่น ไชโย ฮูเล ฮ่า ฯลฯ อาการโกรธ เช่น เหม่ ชิ ชะ ฮึ่ม ฮึ ดูดู๋ ฯลฯ อาการประหลาดใจ เช่น เอ๊ะ เอ เอ๋ โอ้ แหม คุณพระ อาการส่งสาร เช่น โธ่ น้องเอ๋ย อนิจจา พุทโธ่ ฯลฯ อาการรับรู้ เช่น เออ อ้อ อ๋อ หื้อ อาการเจ็บปวด เช่น โอ้ย โอย อ๋อย อู๋ย อุ้ยฯลฯ

5 2.คำอุทานเสริมบท ได้แก่ คำอุทานที่ใช้เป็นคำสร้อยหรือใช้เสริมบทต่างๆ เป็นคำอุทานที่ช่วยให้ใจความสมบูรณ์ ไพเราะสละสลวยยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถจำแนกได้ 3 อย่างดังนี้ 2.1คำสร้อย คือคำอุทานที่ใช้เป็นคำสร้อยในคำประพันธ์ประเภทโครงและร่าย มักมีคำว่า แลนา นาแม่ พี่เอย เทอญพ่อ จริงแฮ สิเอย ฯลฯ ดังตัวอย่าง ดูรากุลบุตรเชื้อ ชาติชาย ไทยเอย อันชาติรุ่งเรืองฉาย เฉิดแท้ แม้ไร้กวีอาย ทั้งชาติ เชียวพ่อ เขาจะติเล่นแม้ หมดผู้รู้ดี 2.2 คำแทรก คือคำอุทานที่ใช้แทรกระหว่างคำให้ยาวออกไปเพื่อให้มีความสละสลวย ฟังไพเราะ อ่อนหวาน มีคำว่า นะ สิ เอย 2.3 คำเสริม คือคำอุทานที่ใช้ต่อคำให้ยาวออกไป เพื่อให้ออกเสียงสะดวกยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น แขนแมน เลขผานาที ลูกเต้า ชมเชย สิงห์สาราสัตว์ หนังสือหนังหา ตำหรับตำรา

6 หนอยแน่ อ้าว เอ้อเฮ้อ อ้อ อาบน้ำอาบท่า ผู้หลักผู้ใหญ่
หน้าที่ของคำอุทาน คำอุทาน เป็นคำที่ไม่มีหน้าที่สำคัญในประโยค แต่ใช้เสริมบทหรือประโยคในการพูดจากัน เพื่อแสดงความรู้สึกและอารมต่างๆ ไม่มีความหมายเด่นชัด อาจเป็นคำสร้อย คำแทรก เช่น หนอยแน่ อ้าว เอ้อเฮ้อ อ้อ อาบน้ำอาบท่า ผู้หลักผู้ใหญ่

7 แหล่งอ้างอิง ศึกษาค้นหาจากแหล่งเรียนรู้ในที่ต่างๆ เช่น จากห้องสมุด

8 รายชื่อสมาชิก 1.ด.ญ. นัทชา ม่วงอ่อน เลขที่ 27 2.ด.ญ.ปวีณา เดชฟุ้ง เลขที่ 29 3.ด.ญ.พิญชา ประสาทศิลป์ เลขที่ 31 4.ด.ญ.รุ้งเพชร พันธุ์โต เลขที่ 33 5.ด.ญ.ศรวจี บุญปลูก เลขที่ 35 6.ด.ญ.สุนิษา เกิดดวง เลขที่ 38


ดาวน์โหลด ppt เรื่อง คำอุทาน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google