งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อ้อย (Sugarcane) พงษ์ศักดิ์ อยู่หุ่น ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อ้อย (Sugarcane) พงษ์ศักดิ์ อยู่หุ่น ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อ้อย (Sugarcane) พงษ์ศักดิ์ อยู่หุ่น ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร 01/02/48

2 ถิ่นกำเนิด อ้อยเป็นพืชเขตร้อนชื้น (tropical) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้/ตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อกันว่าชาวอินเดียเป็นชาติแรกที่ปลูกเพื่อเก็บเกี่ยว ชาวโพลีนีเชียนนำไปปลูกที่ฮาวาย ต่อมาชาวยุโรปได้นำเข้าไปปลูกในทวีปอเมริกาและทวีปอื่นๆ 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

3 พฤกษศาสตร์ของอ้อย 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

4 ลักษณะ อ้อย เป็นพืชจำพวกหญ้า ลำต้นแข็งแรง มีข้อปล้องเห็นได้ชัดเจน สูง 2-4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-5 ซม. ไม่แตกกิ่งก้าน ผิวนอกสีเขียวออกเหลือง หรือสีแดงเข้มออกม่วง มีขี้ผึ้งเป็นฝ้าขาว ๆ เคลือบอยู่ ใบแคบ ผิวใบมีขนสั้น ๆ ทั้ง 2 ด้าน เมื่อลูบรู้สึกสากมือ เส้นกลางใบใหญ่สีขาวมีขน ดอกออกที่ยอดเป็นช่อ ดอกออกสีขาว ก้านช่อดอกไม่มีขน แตกแขนงเป็นช่อดอกย่อยมากมาย ออกดอกในฤดูหนาว เป็นพืชชอบอากาศอบอุ่นและร้อนชื้น พบปลูกเป็นไร่เพื่อตัดส่งโรงงานผลิตน้ำตาล และปลูกตามบ้านเรือนไว้ใช้เป็นยาหรือในพิธีกรรมต่าง ๆ 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

5 อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
Family: Poaceae (Gramineae) Genus: Saccharum Species: S. spontaneum -wild S. robustum -wild S. officinarum -cultivated S. barberi -cultivated S. sinense -cultivated S. edule -cultivated 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

6 Genetics อ้อยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์แบบ vegetative ถึงแม้จะมีดอก แต่ดอกที่เห็นเป็นดอกตัวเมีย ไม่มีตัวผู้ Saccharum เป็นพืชที่ Genome ซับซ้อน มีระดับ ploidy สูง มีโครโมโซมตั้งแต่ 40 ขึ้นไปจนมากกว่า 140 อ้อยที่ปลูกในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น hybrid ระหว่าง officinarum และ spontaneum โดยมีโครโมโซมส่วนใหญ่มาจาก officinarum 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

7 ความสำคัญต่อโลก อ้อยเป็นพืชประเภทหญ้าชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มากในแง่ของการใช้เป็นอาหาร โดยเป็นพืชที่มีความสำคัญอันดับ 4 ของโลก รองจากข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าว เนื่องจากอ้อยเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลทราย เชื่อกันว่ามีการค้นพบในประเทศอินเดียเมื่อ 300 ปีก่อนคริสตกาล ปัจจุบันอ้อยมักจะนิยมปลูกในประเทศแถบเขตร้อนและชุ่มชื้นระหว่างเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ และ 35 องศาใต้ ประเทศที่มีการปลูกอ้อยเป็นจำนวนมาก ได้แก่ บราซิล อินเดีย จีน เม็กซิโก ไทย และคิวบา 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

8 พื้นที่ปลูกของโลก 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

9 ปริมาณการผลิต ผลผลิตอ้อยรวมของโลกปี มีจำนวน 1, ล้านตัน โดยประเทศบราซิลเป็นประเทศที่มีผลผลิตมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลกผลิตได้ ล้านตัน หรือมีสัดส่วนร้อยละ ของผลผลิตทั้งหมด รองลงมาคือ อินเดีย จีน และ ไทย มีผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 21.48, และ ของผลผลิตทั้งหมดตามลำดับ ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยต่อไร่ของโลกปี เท่ากับ 10,591 กก./ไร่ โดยออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่มากที่สุด คือ 16,621 กก./ไร่ รองลงมาคือ โคลัมเบีย สหรัฐฯ และไทยมีผลผลิตเฉลี่ย 13,462, , และ 12,218 กก./ไร่ ตามลำดับ 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

10 กร้าฟการผลิต 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

11 ความสำคัญต่อไทย อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยทั่วไปหมายถึงอ้อยโรงงาน ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ประเทศไทยบริโภคน้ำตาลปีละ ล้านตัน เป็นมูลค่า 17,000-19,000 ล้านบาท และมีการส่งออกมากกว่าปีละ 3 ล้านตัน เป็นมูลค่า 20,000-30,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 4 ของโลก ปริมาณผลผลิตอ้อยในแต่ละปีไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูก และผลผลิตต่อไร่ พื้นที่ปลูกผันแปรระหว่าง ล้านไร่ อยู่ในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออก พื้นที่ปลูกอ้อยอยู่ในเขตชลประทานประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออาศัยน้ำฝน ผลผลิตอ้อยรวมในแต่ละปีอยู่ระหว่าง ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่อยู่ระหว่าง 8-9 ตัน สามารถเพิ่มผลผลิตได้ถ้ามีการจัดการที่เหมาะสม 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

12 การใช้ประโยชน์ ผลิตน้ำตาลทราย ผลิตน้ำส้มสายชู ผลิตแอลกอฮอล์ - Ethanol
ชานอ้อย bargasse เผาเป็นเชื้อเพลิงในโรงงาน พลังงานชีวมวล ใช้ผลิตวัสดุก่อสร้างและอื่นๆ ทำปุ๋ยหรือ mulch Molass ใช้ทำปุ๋ยหมัก สารหมักชีวภาพ ยอดอ้อยใช้เลี้ยงสัตว์ ประโยชน์ใหม่ๆ จากเทคโนโลยีใหม่ๆ 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

13 ยอดอ้อย ยอดอ้อย เป็นผลพลอยได้จากการปลูกอ้อยเพื่อทำน้ำตาล ในแต่ละปีระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ยอดอ้อยจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ตัน ที่ถูกเผาหรือฟันทิ้งหลังฤดูกาลตัด อ้อยมีคุณค่าทางโภชนะใกล้เคียงกับฟางข้าวมีโปรตีนประมาณ 4-6% แต่มีเยื่อใยส่วนที่ใช้ประโยชน์ดีกว่ามีความหวานและน่ากินมากกว่าฟางข้าว ช่วงแล้งขาดแคลนหญ้าสด เป็นระยะที่มียอดอ้อยจำนวนมาก สามารถนำยอดอ้อยสดมาสับให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเสริมหญ้าหรือใช้เป็นอาหารหยาบหลักแทนหญ้า และเสริมด้วยอาหารข้นหรือใบพืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่นเดียวกับการใช้หญ้าเป็นอาหารหลัก ถ้ามียอดอ้อยปริมาณมากๆ สามารถนำมาหมัก ซึ่งอาจจะใส่หรือไม่ใส่กากน้ำตาลลงไปด้วยก็ได้ โดยมีวิธีหมักเช่นเดียวกับหมักหญ้า และสามารถนำออกมาใช้ในช่วงที่ขาดแคลนอาหารหยาบจะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์และเป็นการนำผลพลอยได้การเกษตรมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี ยอดอ้อยสามารถใช้เป็นอาหารโค-กระบือได้ทั้งในลักษณะสด แห้ง และหมัก แต่ต้องใช้ร่วมกับอาหารข้นหรือวัตถุดิบอาหารอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาให้สูงขึ้น ดังนั้นจึงควรต้องปรับปรุงคุณค่าโภชนะให้ใกล้เคียงหรือเท่ากับหญ้าโดยวิธี วิธีทางกายภาพ เป็นการทำให้ลักษณะรูปร่างเปลี่ยนแปลงให้มีขนาดเล็กลง สัตว์จะได้กินได้มากอัตราการไหลผ่านของอาหารจากกระเพาะเร็วขึ้น วิธีใช้สารเคมี ซึ่งอาจมีผลทำให้ลักษณะรูปร่างและส่วนประกอบทางเคมีเปลี่ยนแปลงอาจทำให้สัตว์กินได้มากขึ้น การใช้ร่วมกันระหว่างวิธีกายภาพ และสารเคมี เช่นการสับ และบดร่วมกับสารเคมี ใช้ยอดอ้อยร่วมกับอาหารเสริมโปรตีน เช่นอาหารข้นและพืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่น ใบกระถิน ใบมันสำปะหลัง เป็นต้น 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

14 Plastic sugarcane - the crop of the future?
Bureau of Sugar Experiment Stations, Kalkie, Queensland, Australia (BSES) กำลังพยายามผลิตอ้อยจีเอ็มโอ ที่มีพลาสติกย่อยสลายได้ (bio-degradeable plastic). Toyota to Build Pilot Bio-plastic Plant Tokyo-TOYOTA MOTOR CORPORATION (TMC) today announced its plan to construct a pilot plant for producing bio-plastics (polylactic acid) made from annually renewable resources like sugarcane. The new pilot plant, to be built within an existing production facility in Japan, is envisioned to be able to produce 1,000 tons of bio-plastics a year. 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

15 พลังงานชีวมวล พลังงานมวลชีวภาพ เป็นพลังงานที่ได้จากสิ่งมีชีวิตหรือองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์สารต่าง ๆ โดยขบวนการเปลี่ยนแปลงความร้อนทางเคมี หรือทางชีวเคมีโดยอาศัยจุลินทรีย์ เช่น ไม้ชนิดต่าง ๆ วัชพืชบกและน้ำ วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและมูลสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น ข้อมูลจากกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานชี้ว่า ในปี 2537 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 43.8 ตันน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปี % การใช้พลังงานชีวมวลมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 26.2 ของการใช้พลังงานทั้งหมด แม้ว่าพลังงานชีวมวลจะมีความสำคัญไม่น้อยต่อการควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาพลังงาน แต่สัดส่วนการใช้พลังงานชีวมวลเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานทั้งหมดกลับมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2528 มีการใช้พลังงานชีวมวลร้อยละ 36.4 ในปี 2533 ใช้ร้อยละ การใช้พลังงานชีวมวลที่สำคัญ ได้แก่ ฟืน ถ่านไม้ กากอ้อย แกลบ และวัสดุทางการเกษตรอื่น ๆ ในปี 2537 ประเทศไทยใช้ไม้ฟืน 10.3 ล้านตัน ถ่านไม้ 6.5 ล้านตัน รวมคิดเป็นไม้ฟืน 71.5 ล้านลบ.ม. ฟืนจะถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มในครัวเรือนชนบทเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงใช้ในอุตสาหกรรมในครัวเรือน ส่วนถ่านไม้จะถูกใช้ในทั้งครัวเรือนชนบทและในเมือง กากอ้อยจะใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานน้ำตาลประมาณ 15 ล้านตัน สำหรับแกลบและวัสดุการเกษตรอื่น ๆ นั้นมีปริมาณการใช้ประมาณ 46.6 ล้านตัน ซึ่งจะใช้ในโรงสีข้าวเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ก็มีการใช้เพื่อเผาอิฐและอุตสาหกรรมในครัวเรือนอื่น ๆ สำหรับพลังงานชีวมวลอื่น ๆ เช่น ก๊าซชีวภาพก็จะมีใช้บ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานรายงานว่าในปัจจุบันพลังงานที่ได้จากชีวมวลทั้งหลาย ปัจจุบันมีการนำไปใช้ผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าอยู่บ้าง แต่ยังไม่มากนัก โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) มีโครงการพลังงานชีวมวลมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานทดแทนอยู่ถึง 5 โครงการ ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ไม้โตเร็ว โครงการผลิตไฟฟ้าจากแกลบ โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะ โครงการผลิตไฟฟ้าจากมันสำปะหลัง และโครงการผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อย ซึ่งเป็นโครงการที่มีศักยภาพที่จะสามารถพัฒนาให้เป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ รวมถึงโครงการพลังงานจากชีวมวลต่าง ๆ ของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เช่น เตาประสิทธิภาพสูง แต่ปัญหาคือโครงการเหล่านี้ไม่สามารถผลักดันให้มีการนำไปปฏิบัติได้โดยง่าย ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้ผลิตพลังงานจากชีวมวลในรูปแบบต่าง ๆ เพราะเห็นว่าโครงการเหล่านี้เป็นเพียงแหล่งพลังงานทดแทนเท่านั้น ไม่ใช่แหล่งพลังงานหลัก ที่มา : รวบรวมจากวารสารมูลนิธิ สิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2539 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

16 แหล่งผลิต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย อุดรธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู และอำนาจเจริญ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และแพร่ ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง ภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง และ สระแก้ว *** ภาคที่ปลูกอ้อยมากที่สุด คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

17 แผนที่ 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

18 Zoning กรมวิชาการจัดโซนนิ่งอ้อย
กรมวิชาการจัดโซนนิ่งอ้อย  นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำโซนนิ่งพื้นที่ปลูกอ้อยว่า ปัจจุบันการผลิตอ้อยและน้ำตาลของไทยยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยเกษตรกรมีความต้องการผลตอบแทนต่อไร่สูง แต่ในสภาพจริงประสิทธิภาพการผลิตที่ได้ค่อนข้างต่ำ ส่วนโรงงานก็มีความต้องการวัตถุดิบที่เพียงพอและกระจายสม่ำเสมอตลอดฤดูหีบ แต่ระบบบริหารจัดการยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การผลิตและภาวะตลาดโลก ดังนั้น กรมวิชาการเกษตรจึงได้จัดทำโครงการโซนนิ่ง (Zoning)เขตปลูกอ้อยขึ้น โดยนำร่องในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด ทั้งนี้ เพื่อจัดทำแผนที่ศักยภาพการผลิตอ้อย รวมทั้งพัฒนาข้อมูลพื้นฐานในจังหวัดที่มีการปลูกอ้อย โดยมุ่งพัฒนาโปรแกรมเชื่อมโยงกับแบบจำลองอ้อย เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการคัดเลือกพันธุ์และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอ้อยให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยประมาณการผลผลิตอ้อยที่จะได้รับในแต่ละเขตโรงงานได้ คาดว่าภายในปี 2549 จะสามารถดำเนินการจัดโซนนิ่งพื้นที่ปลูกอ้อยได้ครอบคลุมทั้ง 19 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการศึกษาข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ซ้อนทับระหว่างฐานข้อมูลพื้นที่ปลูกอ้อย ซึ่งมีทั้งชุดข้อมูลดิน ภูมิอากาศ การใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกร ทั้งยังออกสำรวจสภาพพื้นที่จริงในแหล่งที่มีการปลูกอ้อย ทำการวัดพิกัดโดยใช้จีพีเอส และนำมาจัดทำแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกอ้อยใน 4 จังหวัด มีถึง 8.04 ล้านไร่ แต่ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกจริงเพียง 1.03 ล้านไร่ ซึ่งกระจายอยู่ในเขตที่มีโรงงานผลิตน้ำตาลตั้งอยู่ ถ้าประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตของแต่ละพื้นที่ พบว่า ส่วนใหญ่จะให้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 9-12 ตันต่อไร่ โดยมีพื้นที่เพียง 5.94 แสนไร่ ที่ให้ผลผลิตมากกว่า 12 ตันต่อไร่ ทั้งนี้ ขึ้นกับสภาพแวดล้อม ระบบการจัดการ และพันธุ์อ้อยที่ปลูก ซึ่งผลการสำรวจพบว่า พันธุ์อ้อยที่เกษตรกรนิยมปลูกมีความหลากหลาย มีทั้งพันธุ์อู่ทอง 1 พันธุ์อู่ทอง 3 พันธุ์เค 200 และพันธุ์มากอส ซึ่งขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเกษตรกรเป็นหลัก. จาก 31 กรกฎาคม 2547 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

19 พันธุ์อ้อย อ้อย    เป็นพืชไร่อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ พืชหนึ่งของประเทศ  ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูก  มากกว่า  6 ล้านไร่ / ปี  ให้ผลผลิตประมาณ 60 ล้านตัน / ปี    ผลผลิตที่ได้นี้มาจากการใช้อ้อยหลายพันธุ์   ทั้งพันธุ์ที่นำเข้ามาในอดีต และพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ แต่พันธุ์เหล่านี้ มีโอกาสเสื่อมความนิยม  เนื่องจากการเสื่อมของพันธุ์  หรือโรคและแมลงสามารถปรับตัวเข้าทำลายได้ และความต้องการอ้อยพันธุ์ใหม่ของเกษตรกร  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาหาอ้อยพันธุ์ใหม่ๆ  เพื่อทดแทนหรือส่งเสริมควบคู่กับพันธุ์เดิมที่มีอยู่  และเป็นทางเลือกของเกษตรกร พันธุ์อ้อยที่ผ่านการรับรองพันธุ์แล้ว   เมื่อเกษตรกรนำไปปลูกระยะหนึ่งประมาณ ปี  โรคและแมลงจะปรับตัวให้สามารถเข้าทำลายอ้อยพันธุ์เหล่านั้นได้ จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงพันธุ์อ้อยพันธุ์ใหม่ๆ ให้เป็นทางเลือกของเกษตรกร  โดยเฉพาะแหล่งปลูกซึ่งเป็นเขตดินร่วนให้น้ำได้  และมีความพร้อมด้านปัจจัยการผลิต 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

20 พันธุ์ส่งเสริม ประกาศตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ แบ่งตามภาคต่าง ๆ ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เอฟ 140, เอฟ 154, เอฟ 156, เอฟ 176, คิว 83,อาร์โอซี 6, อาร์โอซี 10, พินดาร์, ไตรตัน, อีรอส, ฟิล , ฟิล 6607, ฟิล 6723, ซีโอ 1148, ฮาวาย , อู่ทอง1, อีเหี่ยว, เค 82-83, เค , เค 82-65, เค , และ เค 84-69 ภาคเหนือเอฟ 140, เอฟ 154, เอฟ 156, คิว 83, คิว 130, ฟิล 6317, ฟิล 6723,อาร์โอซี 6, กวางตุ้ง 3, อู่ทอง 1, อีเหี่ยว, เค 76-4, เค และ เค 84-69 ภาคกลางและภาคตะวันตก เอฟ 140, เอฟ 156, คิว 83, อาร์โอซี 1, อาร์โอซี 10, พินดาร์, อู่ทอง 1, อีเหี่ยว, เค , เค 76-4, เค 84-69, เค และ เค 88-92 ภาคตะวันออก เอฟ 137, เอฟ 140, เอฟ 156, คิว 83, คิว 130, ฟิล 6317,ฮาวาย , เค และ เค 84-69 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

21 พันธุ์อู่ทอง 4 ต้านทานโรคแส้ดำและเหี่ยวเน่าแดง เหมาะสำหรับเขคชลประทาน ภาคตะวันตก 1. ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ย 15.7 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 ร้อยละ 13 2. ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.96 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 ร้อยละ 15 (CCS 12.6) 3. ต้านทานโรคแส้ดำและโรคเหี่ยวเน่าแดง ในสภาพที่มีการปลูกเชื้อหรือทำให้เกิดการระบาดของโรค 4. มีการเข้าทำลายของหนอนกอในสภาพธรรมชาติร้อยละ 3.6 ซึ่งต่ำกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

22 อ้อยพันธุ์ใหม่ สวทช.โชว์ "อ้อย" พันธุ์ใหม่ใหญ่กว่าเดิม 3 เท่า
สวทช. พร้อม “กร” นำสื่อมวลชนติดตามความก้าวหน้าโครงการทดสอบอ้อยพันธุ์ใหม่เมืองย่าโม โดยอ้อยพันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตมากกว่าเดิมเกือบเท่าตัว รวมทั้งช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วันนี้ (2 ต.ค.) นายกร ทัพพะรังสี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ออกเดินทางติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนาพันธุ์อ้อยขนาดใหญ่กว่าปกติที่แปลงสาธิต ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นโครงการร่วมพัฒนาพันธุ์ระหว่าง รศ.ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และคณะร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทั้งนี้ อ้อยสายพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาครั้งนี้มี 4 สายพันธุ์ คือ เกษตรศาสตร์ 60-1,เกษตรศาสตร์ 60-2 ,เกษตรศาสตร์ 60-3 และพันธุ์ Tby เฉลี่ยมีความสูงและขนาดลำต้นใหญ่กว่าเดิม 3-4 เท่า ซึ่งจะให้ผลผลผลิตสูงสุด 12 ตันต่อไร่ จากเดิมพันธุ์เก่าให้ 9 ตันต่อไร่ และยังมีความหวานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อ้อยสายพันธุ์ใหม่ยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการทิ้งกาบใบเมื่อระยะเก็บเกี่ยว ทำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเผาไร่ อ้อยสายพันธุ์ที่เพิ่มผลผลิตมากขึ้นนี้ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาในระดับห้องปฎิบัติการแล้ว ก็นำมาลองปลูกในแปลงสาธิตของนายฉัตร พันธุ์ดี อดีตกำนันตำบลรังกาใหญ่ โดยให้ทดลองปลูกอ้อย 4 พันธุ์ ในพื้นที่ 3 ไร่เป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้ว สภาพโดยทั่วไปพบว่า งอกดี โตเร็ว ขึ้นลำต้นดีและแตกกอดี และจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อไปทำน้ำตาลเมื่ออ้อยมีอายุได้ 8 เดือน ร.ศ.ประเสริฐกล่าวว่าทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับมอบหมายให้พัฒนาสายพันธุ์ภายในเวลา 5 ปี ซึ่งถือเป็นความท้าทายเนื่องจากโดยปกติการพัฒนาพันธุ์อ้อยต้องใช้เวลา ปี โดยในการพัฒนาครั้งนี้ได้รวบรวมสายพันธุ์อ้อยถึง 2,000 สายพันธุ์ และใช้งบประมาณทั้งสิ้น 8 ล้านบาท และที่สำคัญการพัฒนาสายพันธุ์อ้อยครั้งนี้ไม่ได้ใช้จีเอ็มโอเข้ามาเกี่ยวข้อง ทางด้าน ดร.มรกต ตันติเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์ไบโอเทคเปิดเผยว่าการพัฒนาสายพันธุ์อ้อยครั้งนี้ทางไบโอเทคได้ให้ความช่วยเหลือข้อมูลพันธุกรรมโดยที่ไม่ได้ใช้จีเอ็มโอเนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพอยู่เยอะ ทั้งนี้การจะทำจีเอ็มโอขึ้นอยู่กับลักษณะของอ้อยที่ต้องการ เช่นต้องการอ้อยที่ทนต่อหนอนเจาะกอก็ต้องหาสายพันธุ์ที่มีความทนทาน แต่หากหาไม่ได้ก็มีความจำเป็นต้องทำจีเอ็มโอ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ของโครงการพัฒนาอ้อยพันธุ์ยักษ์นี้ ผู้จัดการออนไลน์จะนำเสนอให้ทราบโดยละเอียดต่อไป ที่มา ผู้จัดการออนไลน์ 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

23 การเขตกรรม ฤดูปลูก การปลูก การใส่ปุ๋ย การบำรุงรักษา
การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

24 ฤดูปลูก ช่วงปลูกอ้อยที่เหมาะสมจะแบ่งตามเขตพื้นที่ที่ใช้ปลูกอ้อย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 เขตคือ เขตชลประทาน จะปลูกในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม เขตน้ำฝน สามารถปลูกได้ 2 ช่วง คือ ต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน นิยมปลูกในพื้นที่ทั่วไป ปลายฤดูฝน ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม นิยมปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคเหนือบางพื้นที่ 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

25 การเลือกพื้นที่ปลูก ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH แสงแดดจัด ปริมาณน้ำฝนควรมากกว่าปีละ 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ ถ้าฝนน้อยกว่านี้ควรจะมีการชลประทานช่วย การคมนาคมสะดวก และอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 50 กิโลเมตร ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

26 การเลือกท่อนพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์อ้อยมีหลายพันธุ์ ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงและมีความหวานสูงด้วย โดยพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ พันธุ์อ้อยมีความสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ อายุประมาณ 8-10 เดือน ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ มีการเจริญเติบโตดีปราศจากโรคและแมลง ตาอ้อยต้องสมบูรณ์ ควรมีกาบใบหุ้มเพื่อป้องกันการชำรุดของตาและเมื่อจะปลูกจึงค่อยลอกออก ขนาดท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีตา 2-3 ตา หรือจะวางทั้งลำก็ได้ 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

27 การเตรียมดิน การใช้เครื่องยกร่องเพื่อปลูกอ้อยใน Louisiana 01/02/48
P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

28 วิธีการปลูก ปลูกด้วยแรงคน การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก 01/02/48
P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

29 ปลูกด้วยแรงคน ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

30 ปลูกด้วยเครื่องจักร การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เพราะจะใช้แรงงานเพียง 3 คนเท่านั้น คือคนขับ คนป้อนพันธุ์อ้อย และคนเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นถ้าเป็นเครื่องปลูกแถวเดียว แต่ถ้าเป็นเครื่องปลูกแบบ 2 แถว ก็ต้องเพิ่มคนขึ้นอีก 1 คน โดยจะรวมแรงงานตั้งแต่ยกร่อง สับท่อนพันธุ์ ใส่ปุ๋ย และกลบร่อง มารวมในครั้งเดียว ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

31 เครื่องปลูกอ้อย เครื่องปลูกกำลังตัดและหยอดท่อนพันธุ์ ในหลุยเซียน่า
01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

32 เครื่องกลบ การกลบท่อนพันธุ์ด้วยเครื่องพ่วงแทรกเตอร์ 01/02/48
P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

33 การเติบโต อ้อยสองสามสัปดาห์หลังจากปลูกแบบยกร่องที่หลุยเซียน่า 01/02/48
P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

34 การบำรุงรักษา การไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืชและปรับสภาพดิน 01/02/48
P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

35 ดินและปุ๋ย เอกสารเผยแพร่ อันดับที่ 57 โดย สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของ ปรีชา พราหมณีย์ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุร 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

36 การให้ปุ๋ย การให้ปุ๋ยไนโตรเจน ในสภาพการปลูกที่หลุยเซียน่า 01/02/48
P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

37 ศัตรูอ้อย หนอนกออ้อย ปลวก ด้วงหนวดยาว โรคกอตะไคร้ โรคเหี่ยวเน่าแดง
โรคใบขาว หนู 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

38 หนอนกออ้อย หนอนกออ้อย จัดเป็นศัตรูอ้อยที่สำคัญที่สุดเพราะทำความเสียหายมากและยากแก่การป้องกันกำจัด การเข้าทำลายในระยะแรกเห็นได้ยากจะทราบก็ต่อเมื่ออ้อยถูกทำลายไปแล้ว มักพบในแหล่งปลูกอ้อยทั่วประเทศ 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

39 ปฏิทินการระบาดศัตรูอ้อย
01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

40 กำจัดศัตรูอ้อยโดยศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติ คือ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชและสัตว์อื่น ๆ เป็นตัวสาเหตุทำให้เกิดการตายของพืชหรือสัตว์นั้น ได้แก่ ตัวห้ำ (PREDATORS) ตัวเบียน (PARASITES) และเชื้อโรค (PATHOGENS) 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

41 อ้อยที่โตพร้อมเก็บเกี่ยว
01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

42 การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวด้วยแรงคน เก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักร 01/02/48
P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

43 เครื่องตัดอ้อย 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

44 การขนย้ายจากแปลง การถ่ายอ้อยที่ตัดขึ้นรถบันทุกไปโรงงาน ที่หลุยเซียน่า
01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

45 การขนส่งสู่โรงงาน ถ่ายอ้อยจากรถบันทุกเข้าโรงงาน 01/02/48
P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

46 โรงงานน้ำตาล ประเทศไทยมีโรงงานน้ำตาลทรายแห่งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2480  ที่  อ.เกาะคา  จ. ลำปาง  (ปัจจุบันชื่อโรงงานน้ำตาลลำปาง) โรงงานเป็นผู้ส่งเสริมการปลูกอ้อยเพื่อป้อนวัตถุดิบให้กับโรงงานน้ำตาล โรงงานน้ำตาลในประเทศไทยปัจจุบันมี 46 โรง กระจายอยู่ทั่วประเทศ 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

47 คุณภาพอ้อย การซื้อขายอ้อยนอกจากจะซื้อขายกันตามน้ำหนักแล้ว ยังซื้อขายกันที่คุณภาพ ความหวานโดยวัดเป็น ซีซีเอส (CCS = Commercial Cane Sugar) ดังนั้นราคาอ้อยจะผันแปรไปตาม ความหวาน อ้อยที่มีความหวานมาก หรือค่าซีซีเอสสูง ก็จะได้ราคาดี (ปัจจุบันค่าความหวานโดยเฉลี่ย ของประเทศอยู่ที่ 11 – 12 CCS) 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

48 การวัดคุณภาพอ้อย 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

49 กระบวนการผลิตน้ำตาล การปรับปรุงคุณภาพอ้อย ผลกระทบจากการเผาอ้อย และอ้อยที่มีสิ่งเจือปน  01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

50 น้ำตาลทรายดิบ กระบวนการในการผลิตน้ำตาลทรายดิบ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) : ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย 2. การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification) : น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว 3. การต้ม (Evaporation) : น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup) 4. การเคี่ยว (Crystallization) : น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite) 5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) : แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

51 น้ำตาลทรายขาว กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์
น้ำตาลทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้ 1. การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) : นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก 2. การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) : น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor) 3. การเคี่ยว (Crystallization) : น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว 4. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) : แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว 5. การอบ (Drying) : ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

52 ปัญหาอ้อย อ้อย พืชไร่ที่หวานแต่เจ็บ ปัญหาของอ้อย ข้อจำกัดและโอกาส ต้นทุนการผลิตสูง ควรมีการปรับปรุงมาตราฐานเทคโนโลยีการผลิตให้ถูกต้องเหมาะสม สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ การขาดแคลนอ้อยพันธุ์ดีที่มีผลผลิต และค่าความหวานสูง และต้านทานโรคแมลง และขาดการกระจายพันธุ์สู่เกษตรกร ขาดการจัดการดินอย่างถูกต้อง มีการระบาดของศัตรูอ้อย ความสัมพันธ์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

53 ผู้เกี่ยวข้อง ชาวไร่อ้อย โรงงาน รัฐบาล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน สำนักนายกรัฐมนตรี 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

54 พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาล 2527
ปัญหาอ้อยทำให้เกิด พรบ. นี้ ซึ่งพยายาม จัดระเบียบและบทบาทของ ชาวไร่อ้อย ผู้แทนชาวไร่อ้อย สถาบันชาวไร่อ้อย - สมาคม สหกรณ์ ฯลฯ โรงงาน ผู้แทนโรงงาน กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ราคาอ้อย และผลตอบแทนการผลิต การนำเข้าและส่งออกน้ำตาลทราย 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

55 วัตถุประสงค์ของพรบ. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อยในด้านการผลิต และจำหน่ายอ้อยและน้ำตาลทราย 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

56 หลักการของ พรบ. หลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฯ มุ่งจัดระเบียบและโครงสร้างอุตสาหกรรมด้วยการนำระบบแบ่งปันผลประโยชน์ ระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานเข้ามาใช้และรับรู้ในการบริหาร/ร่วมมือกับราชการในรูปแบบของคณะกรรมการต่างๆ ที่รับผิดชอบดูแลกิจการทั้งระบบมีระบบควบคุมตั้งแต่การผลิตอ้อย การผลิตน้ำตาลทราย การจำหน่ายน้ำตาลทราย การจำหน่ายน้ำตาลทรายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เป็นคณะกรรมการสูงสุดในระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

57 หน่วยงาน/สถาบัน กรมวิชาการเกษตร http://www.doa.go.th
กรมส่งเสริมการเกษตร สถาบันวิจัยพืชไร่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตอ้อย ศูนย์วิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาล ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU

58 อ่านเพิ่มเติม การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยในไร่อ้อย ยอดอ้อย อาหารหยาบทดแทนในฤดูแล้ง พืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญ แมลงศัตรูธรรมชาติในไร่อ้อย นโยบายการแก้ไขปัญหาราคาอ้อยและน้ำตาลทรายของรัฐบาล  พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย 01/02/48 P Yuhun, Ag Sci Dept, NU


ดาวน์โหลด ppt อ้อย (Sugarcane) พงษ์ศักดิ์ อยู่หุ่น ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google