งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ กับ สถานการณ์การเงินที่อยู่อาศัยของไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ กับ สถานการณ์การเงินที่อยู่อาศัยของไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ กับ สถานการณ์การเงินที่อยู่อาศัยของไทย
วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ กับ สถานการณ์การเงินที่อยู่อาศัยของไทย วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2551 คุณชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายบริการ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย

2 หัวข้อการนำเสนอ แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ VS ธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัย ปี 2552 เปรียบเทียบวิกฤตการเงินโลกปี 2551 กับวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่จะเกิดกับภาคธุรกิจโดยรวมในปี 2552 ทิศทางความเสี่ยงไทยจากเศรษฐกิจโลก (Q4/2551 – Q1/2552) แนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือกับอนาคต กลยุทธ์ของ KBank สำหรับปี 2552

3 แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ VS ธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 2552

4 แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี 2551
มรสุมช่วงครึ่งหลังปี 2551: ปัจจัยลบหลากหลาย...ปัจจัยบวกน้อยนิด ปัจจัยบวก: อัตราเงินเฟ้อพุ่งปรับตัวลดลง ส่งผลกระทบต่ออำนาจการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ ราคาอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันยังไม่สูงขึ้นจนเกินไป ราคาอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต (กระตุ้นให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อเร็วขึ้น) การแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยระหว่างสถาบันการเงิน ในการนำเสนอแคมเปญอัตราดอกเบี้ยถูกพิเศษ และมีรูปแบบหลากหลายให้ลูกค้าเลือกตามความสามารถในการผ่อนชำระ ปัจจัยลบ: ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก (อาจกระทบธุรกิจส่งออกและท่องเที่ยวบางประเภท ทำให้กำลังรายได้ของผู้บริโภคลดลง) ผู้ประกอบการอสังหาฯ เผชิญกับต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น โดยเฉพาะรายที่ระดมทุนในรูปแบบหุ้นกู้ / ผ่านตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น การชะลอตัวของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการอสังหาฯ ใหม่ๆ อาทิ เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ / นิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาอสังหาฯ สำหรับกลุ่มลูกค้าต่างชาติ อาทิ คอนโดมิเนียมระดับบน / วิลล่าตามสถานที่ท่องเที่ยวของไทย อาจมีกำลังซื้อลดลง สถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อทั้งแก่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และผู้บริโภค สถานการณ์และความไม่แน่นอนทางการเมือง จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปี 2551 คาดว่า จะมีประมาณ 67,600 หน่วย หดตัวลง 7.2% จากจำนวน 72,808 หน่วย ในปี 2550 ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

5 แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี 2552
แนวโน้มที่อยู่อาศัยประเภทโครงการที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จ ในเขต กทม. และปริมณฑล ปี 2551 สาเหตุของการชะลอตัวของจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมาจาก การหดตัวลงของที่อยู่อาศัยประเภทโครงการบ้านจัดสรรและที่อยู่อาศัยปลูกสร้างเอง ในขณะที่จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จประเภทคอนโดมิเนียมยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากการเร่งเปิดโครงการในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจบ้านจัดสรร ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 4 เนื่องจาก ปัจจัยลบทางเศรษฐกิจต่างๆ, อุปทานในตลาดยังมีอยู่มาก และการแข่งขันจากธุรกิจคอนโดมิเนียม ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ อาทิ การพัฒนาโครงการในรูปแบบ Pre-sales มากขึ้นและ การเปิดโครงการที่มีขนาดเล็กลงเพื่อดูการตอบรับของตลาด หากประสบความสำเร็จก็จะเปิดเฟสต่อไป ธุรกิจคอนโดมิเนียม ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่อยู่ตามแนวระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและย่านใจกลางเมือง ธุรกิจรับสร้างบ้าน ยังคงชะลอตัว จากปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่ออำนาจซื้อของผู้บริโภค, ปัญหาผู้รับเหมาที่ละทิ้งงาน, อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น, และการไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ความต้องการบางส่วนหันเหไปสู่ตลาดจัดสรรได้ หรือ ชะลอการตัดสินใจออกไป ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่น่าจะไปได้ดีในปีนี้ น่าจะเป็นคอนโดมิเนียม เนื่องจากความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง หรือการซื้อเพื่อการลงทุนระยะยาว เพื่อรับอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ 2549 2550 2551 ประมาณการ* จำนวน (หน่วย) จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 69,656 72,808 67,600 โครงการจัดสรร 29,947 32,741 29,700 โครงการคอนโดมิเนียม 12,776 14,816 16,900 บ้านปลูกสร้างเอง 26,933 25,251 21,000 อัตราการขยายตัว (%) -2.1% 4.5% -7.2% -20% 9.3% -9.3% 28.5% 16% 14.1% 6.7% -6.2% -16.8% ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

6 แนวโน้มธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 2551
คาดว่ายอดคงค้าง ณ สิ้นปี 2551: ตลาดรวม = 11,588,000 MB อัตราการเติบโต = 8.2% YoY ธนาคารภาครัฐ (GHB and GSB) สัดส่วนทางตลาด 45.8% Growth = 4.5% จากปี 2550 ธนาคารพาณิชย์ สัดส่วนทางตลาด 54.1% Growth = 11.5% จากปี 2550 ที่มา: ;ธนาคารแห่งประเทศไทย

7 แนวโน้มธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 2552
ปัจจัยบวก มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 28 มีนาคม 2552 มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนจากเดิมที่อยู่ 2.0% ของราคาประเมินของทางราชการ ลงเหลือ 0.01% ของราคาประเมินของทางราชการ มาตรการลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิมอยู่ที่ 1.0% ลงเหลือ 0.01% การแข่งขันเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินที่ขับเคี่ยวกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคาที่มีความเข้มข้น และมีรูปแบบหลากหลายให้ลูกค้าเลือกตามความสามารถในการผ่อนชำระ การนำแนวโน้มราคาที่อยู่อาศัยที่จะมีการปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น มาเป็นจุดขายให้เร่งตัดสินใจ ทำให้ผู้ประกอบการอาจพลิกวิกฤติต้นทุนเป็นโอกาสในการเสนอจุดขายแก่ลูกค้าในการซื้อบ้านต้นทุนเดิม (ราคาเดิม) ปัจจัยลบ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย สถานการณ์และความไม่แน่นอนทางการเมือง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง ทำให้ชะลอการซื้อสินค้าคงทน ราคาแพงออกไป สถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น

8 สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย...มุ่งหาตลาดที่เหมาะสมกับอำนาจซื้อของผู้บริโภค
Key Points สำหรับในปี อสังหาฯ ประเภทคอนโดฯ ทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยวราคาปานกลางลงมา จะมีความเหมาะสมกับอำนาจซื้อของผู้บริโภค ส่วนปี ความต้องการบ้านเดี่ยวน่าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้น ตามอำนาจซื้อที่เพิ่มขึ้น และความก้าวหน้าของโครงการภาครัฐ อาทิ รถไฟฟ้า รัฐบาลอาจยืดระยะเวลามาตรการอสังหาริมทรัพย์ (จากสิ้นสุด 28 มี.ค.52) และดำเนินนโยบายเพื่อฟื้นความเชื่อมั่น เพื่อหนุนการใช้จ่ายของผู้บริโภค นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอาจได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในปี 53-54 การแข่งขันระหว่าง ธพ.จะยังคงรุนแรง ราคาบ้านยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ตามการปรับราคาของผู้ประกอบการ อันเป็นผลจากต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ปัญหาในตลาดแรงงาน และความคุ้นเคยกับการก่อหนี้ขนาดเล็กที่เพิ่มขึ้น อาจบั่นทอนความสามารถในการเป็นเจ้าของบ้านหลังแรก ซึ่งจะจำกัดการเติบโตของตลาดลูกค้าศักยภาพ การขยายฐานลูกค้า และขนาดสินเชื่อต่อราย เผชิญข้อจำกัดจากปัญหาราคาบ้านที่เพิ่มขึ้น และปัญหาในตลาดแรงงาน กลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา ยังมีแนวโน้มจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือไปจากการทำตลาดร่วมกับผู้ประกอบการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

9 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 51 VS วิกฤตต้มยำกุ้งปี 40

10 วิกฤตแฮมเบอรเกอรป 2551
เปรียบเทียบวิกฤตการเงินโลกปี 2551 กับวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 (1/4) วิกฤตแฮมเบอรเกอรป 2551 วิกฤตตมยำกุงป 2540 สาเหตุของปัญหา ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพรม) ซึ่งขยายขอบเขตไปยังสินเชื่อประเภทอื่นๆ และส่งผลกระทบตอฐานะของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ จนนำมาสูปญหาความเชื่อมั่นตอระบบการเงินทั่วโลก การแตกตัวของภาวะฟองสบู่ในตลาดหุน และอสังหาริมทรัพยของไทย ซึ่งนำไปสูวิกฤตศรัทธาต่อระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่และคาเงินบาทของไทย ซึ่งขณะนั้นทางการใชระบบตะกราเงิน (Basket of Currencies) สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของไทย แม ดุลบัญชีเดินสะพัดอาจมีแนวโนมเกินดุลลดลงในป 2551 และป 2552 มาที่ประมาณ 1.7 และ พันลานดอลลารฯ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับที่เกินดุล 15.8 พันลานดอลลารฯ ในป 2550 แตก็ยังคงมีฐานะที่เกินดุลสุทธิอยู ในขณะที่ หนี้ตางประเทศลาสุด ณ ก.ค มี ยอดคงคาง 66.0 พันล้านดอลลารฯ เทียบกับทุนสำรองระหวางประเทศ ณ ส.ค ที่สูง ถึง พันล้านดอลลารฯ ในชวงเศรษฐกิจฟองสบูระหวางป ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยมีฐานะขาดดุลเฉลี่ยร้อยละ 5.1 ของจีดีพี ในขณะที่หนี้ตางประเทศพุง ทะลุหลักแสนล้านดอลลารฯ ตอมาหลังการลอยตัวคาเงินบาทในป 2540 ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยกลับมาเกินดุลไดตั้งแตป 2541 ในขณะที่หนี้ต่างประเทศทยอยลดระดับลง โดยลงมาอยูต่ำกวาระดับทุนสำรองระหวาง ประเทศตั้งแตป 2548

11 วิกฤตแฮมเบอรเกอรป 2551
เปรียบเทียบวิกฤตการเงินโลกปี 2551 กับวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 (2/4) วิกฤตแฮมเบอรเกอรป 2551 วิกฤตตมยำกุงป 2540 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ความเปนไปไดที่เศรษฐกิจไทยจะเขาสูภาวะถดถอยมีนอยมาก โดยคาดวาเศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวใกลเคียงรอยละ 5.0 ไดในป 2551 และอาจขยายตัวในกรอบรอยละ ในป 2552 โดยมีแรงหนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังของทางการที่มีแนวโนม ผอนคลายมากขึ้นภายใตภาวะเงินเฟอที่ปรับตัว ลง ถึงแมการสงออกอาจเติบโตในอัตราที่ชะลอลงก็ตาม หลังวิกฤตเศรษฐกิจไทยเขาสูภาวะถดถอย โดยเศรษฐกิจไทยหดตัวลงร้อยละ 1.4 และรอยละ 10.5 ในป ตามลำดับกอนที่จะทยอยฟื้นตัวขึ้นจากแรงหนุนการเติบโตของภาคการสงออกซึ่งเปนผลมาจากเงินบาทที่ออนคาลง โดยอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของจีดีพีในชวงป อยูที่ประมาณรอยละ 4.9 ผลกระทบต่อดัชนีหุ้นไทย มีการไหลออกของเงินทุนสุทธิจากตางประเทศ แตเปนเพราะความตองการเงินดอลลารสหรัฐฯ เพื่อนำกลับไปเสริมสภาพคลองของสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาในสหรัฐฯและยุโรป (ไมไดเกิดจากการขาดความเชื่อมั่นตอคาเงินบาทของไทย) โดยดัชนีหุนไทยปรับตัวลงแลว ประมาณรอยละ 50 จากที่เคยขึ้นไปที่ระดับ จุด ณ 29 ต.ค มาที่ จุด ณ 1 3 ต.ค ซึ่งเปนไปในทิศทางที่ สอดคลองกับตลาดหุนอื่น ๆ ในภูมิภาค การขาดความเชื่อมั่นตอระบบอัตราแลกเปลี่ยนและคาเงินบาทไดสงผลใหเกิดการไหลออกของเงินทุนสุทธิจากตางประเทศ และทำใหดัชนีหุนไทย ร่วงลงจากระดับ 1, จุด ณ 3 ม.ค มาที่ระดับต่ำสุดที่ จุด ณ 4 ม.ค หรือรวงลงกว่ารอยละ 80 (ดัชนีหุนไทย เคยขึ้นไปทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 1, จุด ณ 4 ม.ค. 2537)

12 วิกฤตแฮมเบอรเกอรป 2551
เปรียบเทียบวิกฤตการเงินโลกปี 2551 กับวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 (3/4) วิกฤตแฮมเบอรเกอรป 2551 วิกฤตตมยำกุงป 2540 ผลกระทบต่อสถาบันการเงิน สถาบันความเสี่ยงใน ดานตาง ๆ มีการเงินไทยมีความพรอมในการรับมือกับวิกฤตรอบใหมที่ดีขึ้นกวาอดีต เนื่องจากมีสถานะทางการเงินที่เข้มแข็งขึ้นมาก ความเสี่ยงดานการลงทุน โดยเฉพาะสินทรัพยต่างประเทศคอนขางจำกัด อีกทั้งการบริหารประสิทธิภาพที่สูงขึ้น - ณ ส.ค ธนาคารพาณิชยที่จดทะเบียนในไทยมีสัดสวนเงินกองทุนรวม เทากับรอยละ 15.2 ตอสินทรัพยเสี่ยง ซึ่งเกินกวาเกณฑขั้นต่ำของ ธปท.ที่รอยละ 8.5 มาก ปญหาในภาคสถาบันการเงินปรากฏชัดเจนใน รูปตางๆ - สถาบันการเงินลมละลายและถูกปดกิจการจำนวนมาก โดยจำนวนบริษัทเงินทุนลดลงจาก 91 แหงในชวงกอนวิกฤตมาที่ 18 แหง ในป 2546 และจำนวนธนาคารพาณิชยลดลงจาก 15 แหงในชวงกอนวิกฤตมาอยูที่ 12 แหง - ธนาคารพาณิชยไทยตองเพิ่มทุนเป็นจำนวนกว่า 8 แสนลานบาทในชวงป 2541­2543 ซึ่งสวนหนึ่งเป็นผลมาจากโครงการเพิ่มทุน 14 ส.ค ของทางการ ขณะที่ภาระของภาครัฐในการเขาไปดูแลผูฝากเงินและเจาหนี้ รวมถึงจัดการกับสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาทางการเงินส่งผลให้กองทุนฟื้นฟูฯ ตองแบกรับประมาณการความเสียหายที่สูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท

13 วิกฤตแฮมเบอรเกอรป 2551
เปรียบเทียบวิกฤตการเงินโลกปี 2551 กับวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 (4/4) วิกฤตแฮมเบอรเกอรป 2551 วิกฤตตมยำกุงป 2540 ผลกระทบต่อสถาบันการเงิน (ต่อ) เอ็นพีแอลกอนหักสำรอง (Gross NPLs) ของธนาคารพาณิชยไทยอยู่ที่รอยละ 6.97 ตอสินเชื่อรวม ณ มิ.ย และเอ็นพีแอลหลังสำรอง (Net NPLs) มีสัดสวนเพียงรอยละ 3.77 เทานั้น ในชวงครึ่งแรกของป 2551 กำไรสุทธิมีจำนวนสูงถึง 4.8 หมื่นลานบาท เพิ่มขึ้นรอยละ จากชวงเดียวกันปกอน ความเสี่ยงดานการลงทุน โดยเฉพาะสินทรัพยตางประเทศคอนขางจำกัด อาทิ เงินลงทุนในตราสารตางประเทศของระบบธนาคารพาณิชยไทย ณ สิ้น มิ.ย คิดเปนสัดสวนเพียงประมาณรอยละ 1.7 ของ สินทรัพยรวมเทานั้น - เอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชยไทยพุงขึ้นมาที่จำนวน 2.47 ลานลานบาท (รอยละ 52.3 ของสินเชื่อรวม) ในเดือน พ.ค. 2542 - ความสามารถในการทำกำไรถดถอยลงจากที่เคยมีกำไรสุทธิเฉลี่ยตอปสูงกวา 5 หมื่นล้านบาทในช่วง 5 ปกอนวิกฤตมาเปนการขาดทุนสุทธิถึง แสนลานบาทในป

14 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่จะเกิดกับภาคธุรกิจโดยรวมในปี 2552

15 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่จะเกิดกับภาคธุรกิจโดยรวมในปี 2552
ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2552 มีแนวโน้มชะลอตัวในระยะยาว อย่างน้อยครึ่งปีแรกจะชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลกและวิกฤติสภาวะการเมืองในประเทศที่จะยังคงยืดเยื้อ ซึ่งส่งผลให้การท่องเที่ยว, ตลาดหุ้น และสินค้าเกษตร จะได้รับผลกระทบอย่างแรง สศช. คาดหมายว่าอัตราเศรษฐกิจเติบโต ปี เฉลี่ย 3-4% และปี 2554 จะกลับมาเติบโตปกติที่อัตรา 5-6% การส่งออก มีแนวโน้มชะลอตัวทั้งเชิงปริมาณและราคา การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น และยุโรปสำหรับปี 2552 คาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2-3% อาจได้รับอานิสงค์จากปัญหาคุณภาพสินค้าจีน และค่าเงินบาทที่มีทิศทางทรงตัวในอัตราที่อ่อนค่า ในภาพรวม คาดว่าการส่งออกในปี 2552 น่าจะขยายตัวประมาณ 10-12% หรือมีมูลค่าประมาณ 197,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การบริโภค ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การขายในประเทศ มีการแข่งขันกันรุนแรง ทั้งลด-แลก-แจก-แถม การทำกำไรจะทำได้ลำบาก ยกเว้น บางธุรกิจที่เป็น “Niche Market” ระยะเวลาการปล่อยหนี้จะยาวขึ้น และตามหนี้ยาก ตลาดในภูมิภาค เงินจะตึงตัว จากผลกระทบทั้งจากราคาเกษตรที่ตกต่ำและการท่องเที่ยวที่จะยังซบเซาไปจนถึง Q3/2009 โดยเฉพาะจังหวัดที่ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบมากกว่า แต่โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าของรัฐบาล อาจมีส่วนช่วยอยู่บ้าง การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินจะเพิ่มกฎเกณฑ์และเลือกลูกค้า ทิศทางดอกเบี้ยจะสูงแต่ดอกเบี้ยจะคงที่ในอัตรา ทำให้ SME และธุรกิจที่มีปัญหา P/E จะเข้าถึงแหล่งทุนได้ลำบาก แรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ระบบในช่วงปี 2552 จะหางานได้ยากขึ้น

16 คาดการณ์การขยายตัวการส่งออกปี 2552
เป้าหมายการส่งออก เติบโตเฉลี่ยร้อยละ (197,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ประเทศ ขยายตัว สหรัฐฯ (11.29%) 2.3% ยุโรปตะวันตก (11.79%) % ญี่ปุ่น (11.20%) แคนาดา 6-7.5% ยุโรปตะวันออก 20-25% ประเทศ ขยายตัว จีน (9.5%) 20% อินเดีย 25% รัสเซีย 30% อาเซียน (23.30%) 14.1% อัฟริกา หมายเหตุ: (..) สัดส่วนตลาด ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก

17 ตัวอย่างราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ
ราคาเดิม ราคาปัจจุบัน ข้าว 1,080 USD USD หัวมัน 2.50 บาท / กก. 1.45 บาท / กก. ยางแผ่นรมควัน 90 บาท/กก. 55-58 บาท/กก. ปาล์ม 6.0 บาท / กก. 2.80 บาท / กก. น้ำมันปาล์ม 36 บาท / ลิตร 17 บาท / ลิตร ข้าวโพด 10-12 บาท / กก. 4.80 – 5.0 บาท / กก.

18 ทิศทางความเสี่ยงไทยจากเศรษฐกิจโลก (Q4/2551 – Q1/2552)

19 ทิศทางความเสี่ยงไทยจากเศรษฐกิจโลก (Q4/2551 – Q1/2552)
หุ้นไทยอิงกับหุ้นในตลาดหลักของโลก ซึ่งดัชนีร่วง 50-54% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี หุ้นยังมีแนวโน้ม ตกอย่างรุนแรง เศรษฐกิจโลกมีผลต่อการท่องเที่ยว 4.7% (AFP) แต่ปัญหาภายในประเทศเป็นปัจจัยหลัก กระทบเศรษฐกิจฐานรากและอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวลด 20% มูลค่า 80,000 ลบ. ส่งออกอยู่ใน GDP 67% เป็นรายได้หลักของประเทศ กำลังซื้อประเทศเป้าหมายหดตัว ส่งออกตก 18% มูลค่า 1.1 ล้าน ลบ. ราคาสินค้าเกษตรปรับลดตัวลงตามราคาน้ำมัน และการชะลอตัวของการเก็งกำไรในโภคภัณฑ์ล่วงหน้า ส่งผลต่อรายได้เกษตรและปัญหาราคาพืชตกต่ำ ราคาสินค้าเกษตรตก ประมาณ 21% ไปจนถึง Q1 /2009

20 ทิศทางความเสี่ยงไทยจากเศรษฐกิจโลก (Q4/2551 – Q1/2552)
การบริโภคลดลง การแข่งขันตลาดภายในจะรุนแรง เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่การชะลอตัว ปี 2552 ขยายได้ 4.0% ดอกเบี้ย ธปท. จะทรงตัวที่ 3.50 – 3.75 แต่ดอกเบี้ยธนาคารพาณิชจะมีแนวโน้มสูงขึ้น SME การเข้าถึงแหล่งเงินจะยากขึ้น , ธนาคารกับธนาคารก็ไม่เชื่อกัน สภาพคล่องที่ลดลงและเงินตึง เงินเฟ้อ ปี 2551 = 6.6% เงินเฟ้อ ปี 2552 = 3-4% ราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตรจะลดลง เงินเฟ้อจะลดลงตามทิศทางของราคาน้ำมันขาลงไปจนถึงปลาย Q1 ปี 2552 ปัญหาแรงงานและปัญหาการเรียกร้องจากภาคเกษตร และปัญหาสังคมแตกแยกจะรุนแรง เสถียรภาพของรัฐบาล จะไม่มั่นคง Q1-Q2/2009 เงินบาทไทยอิงกับค่าเงินสหรัฐฯจะแข็งค่าในระยะสั้นๆ จากเงินที่ Inflow หลังจากนั้นทั้ง USD / Baht จะอ่อนค่า ไปตามสภาวะเศรษฐกิจจริง ประมาณ บาท อัตราแลกเปลี่ยนจะผันผวน ไปตามสกุลเงินหลัก

21 6 มาตรการแก้ปัญหาวิกฤติการเงินของรัฐบาลสมชาย วงษ์สวัสดิ์
มาตรการที่ 1 การอัดฉีดตลาดทุนซื้อหุ้นที่มีปัญหา 142,000 ลบ. มาตรการที่ 2 การขยายสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง 400,000 ลบ. ให้ ธกส / ธอส / SME Bank ขยายสินเชื่อ 150,000 ลบ. มาตรการที่ 3 มาตรการเร่งรัดส่งออกโดยใช้งบ 300,000 ลบ. และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวใช้งบ 60,000 ลบ. มาตรการที่ 4 มาตรการเร่งรัดใช้จ่ายงบประมาณเพิ่ม 180,000 ลบ. ผ่านกองทุนหมู่บ้านและ SML มาตรการที่ 5 เร่งรัดโครงการเมกะโปรเจกต์และเพิ่มงบลงทุน 100,000 ลบ. มาตรการที่ 6 เข้าร่วมโครงการ ASEM 7 ณ ประเทศจีน ตั้งกองทุน 80,000 ล้าน USD ช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาสภาพคล่อง โดยรัฐบาลไทยประกันเงินฝากต่อไปอีก 3 ปี

22 แนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือกับอนาคต
Government Consumer แนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือกับอนาคต

23 แนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือกับอนาคต
ภาครัฐ รัฐบาลจะต้องมีแผนป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เป็นวาระแห่งชาติ มีงบประมาณ / ยุทธศาสตร์ / กฎหมาย / การบูรณาการ / เจ้าภาพที่ชัดเจน คณะกรรมการกำกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งด้านส่งออกและตลาดภายในและติดตามแผนป้องกันความเสี่ยงฯ โดยให้มี กกร. เข้าร่วม การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนและมาตรการในการดูแลให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบธนาคารและประกันชีวิต ต้องสร้างความเชื่อมั่น โดยให้มีเม็ดเงินที่จะเสริมสภาพคล่องในระบบอย่างพอเพียงรวมทั้ง สร้างความเชื่อมั่นระหว่างธนาคารด้วยกัน มาตรการที่จะช่วยเหลือ SME และผู้ประกอบการรายย่อยในต่างจังหวัด เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินได้จริง

24 แนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือกับอนาคต
ผู้บริโภค รักษาสภาพคล่องส่วนบุคคล โดยการพยายามถือเงินสดไว้ให้มากที่สุด หากต้องการลงทุนทำธุรกิจเล็กๆ อาทิ ร้านขายกาแฟ / ร้านเบเกอรี่ ควรใช้เงินทุนของตนเองเป็นหลัก พยายามหลีกเลี่ยงการก่อหนี้จากการกู้ยืมเงินจากทั้งใน – นอกระบบ เนื่องจากปัจจุบันสถาบันการเงินต่างเพิ่มความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ จึงทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งเงินทุนยากยิ่งขึ้น เพิ่มวินัยทางการเงิน พยายามไม่ก่อหนี้ก้อนใหม่เพิ่ม กรณีหนี้ระยะสั้น กรณีหนี้ระยะยาว ควรพยายามปิด / เคลียร์ยอดหนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีวินัยในการผ่อนชำระยอดหนี้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้เกิดยอดค้างชำระ

25 กลยุทธ์ของ KBank สำหรับปี 2552 เพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก

26 กลยุทธ์ของ KBank สำหรับปี 2552 เพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก
ด้านการตลาด: ยังคงมุ่งเน้นการริเริ่มนวัตกรรมการตลาดใหม่ๆ (New Innovative Marketing Campaign) ที่สามารถดึงดูดความสนใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ตัดสินใจเลือกใช้บริการกับธนาคาร การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่าน Selective Media เพื่อให้สามารถสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยตรง ด้านการคัดกรองคุณภาพลูกค้า: มีการใช้ระบบ Credit Bureau Score ในการวิเคราะห์คุณภาพหนี้ เป็นเครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิต ที่จะช่วยให้ผู้อนุมัติเครดิตสามารถอนุมัติเครดิตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้ข้อมูลในเครดิตบูโรในการระบุลักษณะ และประเมินพฤติกรรมการชำระเงินของลูกค้า เป็นเครื่องมือช่วยให้ธนาคารเข้าใจประวัติด้านเครดิตของลูกค้าได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อใช้ร่วมกับ Application Score จะทำให้มีมุมมองเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีขึ้น

27 ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Credit Bureau Score
ประวัติการชำระหนี้. หากมีประวัติการชำระหนี้ล่าช้าทั้งบัญชีเครดิตในอดีตและปัจจุบัน ก็สามารถส่งผลให้คะแนนต่ำได้ ยอดหนี้ค้างชำระ ยอดหนี้ค้างชำระที่สูงเกินไป จะส่งผลให้คะแนนเครดิตต่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกหนี้เต็มวงเงินมากๆ อายุของประวัติเครดิต โดยปกติแล้ว ประวัติเครดิตที่มีอายุยาวกว่าจะได้เปรียบ การเปิดบัญชีเครดิตใหม่ การเปิดบัญชีเครดิตใหม่มากเกินไป โดยเฉพาะในช่วงเวลาไล่เลียกัน จะส่งผลกระทบให้คะแนนเครดิตต่ำลง จำนวนและประเภทบัญชีเครดิตที่มี การมีบัญชีเครดิตมากเกินไปนั้นไม่ส่งผลดี ไม่ว่าจะมีการใช้บัญชีเครดิตเหล่านั้นหรือไม่ก็ตาม

28

29 ยอดคงค้างสินเชื่อที่อยู่อาศัย ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2551
หน่วย: ล้านบาท ที่มา: งบการเงินของแต่ละธนาคาร

30 % ส่วนแบ่งการตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2551
ที่มา: งบการเงินของแต่ละธนาคาร

31 % หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้: NPL
ที่มา: งบการเงินของแต่ละธนาคาร

32 การบริหารความเสี่ยงสำหรับสินเชื่อ Pre - Finance
Management Risk Track Record ประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจ Success selling rate ของ Project ที่ผ่านมา ลักษณะโครงการที่ทำในอดีตกับที่ขอในครั้งนี้ Product Type Management (ความเป็นมืออาชีพ) Completion Risk แหล่งที่มา / ความเพียงพอของแหล่งเงินทุน แหล่งที่ใช้ไปของเงินทุน ความเสี่ยงจากผู้รับก่อสร้างที่ไม่มีประสบการณ์ Cost Overrun Legal Risk เช่น EIA, ใบอนุญาตก่อสร้าง, ใบอนุญาตตามมาตรา 39 ทวิ Liquidity / Leverage / Cash Flow สภาพคล่องโดยรวมของบริษัท Turnover Inventory และ Sale Speed หลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ Leverage Company Cash Flow สอดคล้องกับนโยบายการลงทุน, การขาย, มีเงินทุนเพียงพอ Industry Risk Project on hand / New project / กลุ่มลูกค้าเป้าหมายสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและความต้องการของตลาด Product portfolio diversification ซึ่งจะชดเชยความเสี่ยงของความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ Market Risk ศักยภาพของการแข่งขัน ทำเลที่ตั้งของโครงการ ระดับราคา คู่แข่งในละแวกเดียวกัน (supply) บน product & Price ระดับเดียวกัน Demand Repayment Risk สัดส่วนการให้กู้ยืม กับสัดส่วนการชำระหนี้ ระยะเวลาการปล่อยกู้ (หากเป็นโครงการขนาดใหญ่ควรจัด Financing structure แบบแบ่ง phase) ความเสี่ยงคุณภาพของผู้ซื้อบ้านรายย่อย Demand เทียม ควรมีการจัดทำ Sensitivity เช่น ลดราคาขายลง / เพิ่มต้นทุนขึ้น Break-even loan ของโครงการไม่ควรสูงเกินไป ควรมี cushion


ดาวน์โหลด ppt วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ กับ สถานการณ์การเงินที่อยู่อาศัยของไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google