งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์
จังหวัดปทุมธานี  ชุมชนเมืองเก่าทุ่งพญาเมือง  ชุมชนเมืองเก่าบ้าน บางกระบือ  อนุสรณ์สถานแห่งชาติ  หลุมหลบภัย จอมพล ป พิบูล สงคราม  ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า  ศาลหลักเมืองปทุมธานี  โบราณสถานเต่าโอ่งอ่างสามโคก  ศาลจังหวัดหลังเก่า  วัดสำคัญในอำเภอสามโคก  โกศพญากรายวัดสิงห์  อาคารเรือนแพขาว  คลองพระยาโบราณราชธานินทร์  คลองรังสิตประยูรศักดิ์

2 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในจังหวัดปทุมธานี
 หนังสือเอกสารของทางราชการ  หนังสือวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  โคลงกำสรวลศรีปราชญ์  นิราศพระบาท ของสุนทรภู่  นิราศภูเขาทอง ของสุนทรภู่  นิราศวัดเจ้าฟ้า ของสุนทรภู่  บทนิราศของนายโมรา

3 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ในจังหวัดปทุมธานี
 ตำนานท้าวอู่ทอง  ตำนานตุ่มสามโคก  นิทานพื้นบ้าน

4 นิราศภูเขาทอง ของสุนทรภู่
 ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อประทุมธานีเพราะมีบัว โอ้พระคุณสูญลับไม่กลับหลัง แต่ชื่อตั้งก็ยังอยู่เขารู้ทั่ว โอ้เรานี้ที่สุนทรประทานตัว ไม่รอดชั่วเช่นสามโคกยิ่งโศกใจ

5 นิราศเจ้าฟ้า ของสุนทรภู่
1  พอเลยนาคบากข้ามถึงสามโคก เป็นคำโลกสมมุติสุดสงสัย ถามบิดาว่าท่านผู้เฒ่าท่านกล่าวไว้ ว่าท้าวไทพระอู่ทองเธอกองทรัพย์ หวังจะไว้ให้ประชาเป็นค่าจ้าง ด้วยจะสร้างบ้านเมืองเครื่องประดับ พอห่ากินสิ้นบุญไปสูญลับ ทองก็กลับกลายสิ้นเป็นดินแดง

6 นิราศเจ้าฟ้า ของสุนทรภู่
2  จึงที่นี้มีนามชื่อสามโคก เป็นคำโลกสมมุติสุดแถลง ครั้งพระโกศโปรดปรานประทานแปลง เป็นตำแหน่งมอญสวามิภักดิ์ ชื่อปทุมธานีที่เสด็จ เดือนสิบเอ็ดบัวออกทั้งดอกฝัก มารับส่งตรงนี้ที่สำนัก พระยาพิทักษ์ทวยหาญผ่านพารา

7 นิราศเจ้าฟ้า ของสุนทรภู่
 ชาวบ้านนั้นปั้นอีเลิ้งใส่เพิงพะ กระโถนกระทะอ่างโอ่งกระโถงกระถาง เขาวานน้องร้องถามไปตามทาง ว่าบางขวางหรือไม่ขวางพี่นางมอญ เขาเบือนหน้าว่าไม่รู้ดูเถิดเจ้า จงถามเขาคนข้างหลังที่นั่งสอน ไม่ตอบปากบากหน้านาวาจร คารมมอญมิใช่เบาเหมือนชาวเมือง

8 นิราศพระบาท ของสุนทรภู่
 ถึงบางหลวงทรวงร้อนดั่งศรปัก ที่ร้างรักมาด้วยราชการหลวง เมื่อคิดไปใจหายเสียดายดวง จนเรือล่วงมาถึงย่านบ้านกระแชง ที่เร่งเตือนเพื่อนชายพายกระโชก ถึงสามโคกต้องแดดยิ่งแผดแสง ให้รุ่มร้อนอ่อนจิตระอิดแรง เห็นมอญแต่งตัวเดินมาตามทาง

9 โบราณสถานเตาโอ่งอ่าง
โบราณสถานเตาโอ่งอ่าง สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่แห่งแรกในสมัยที่ชาวมอญอพยพมาตั้งหลักแหล่งในชุมชนวัดสิงห์ เป็นเตาเผาเครื่องถ้วยชามสมัยโบราณที่พบหลักฐานซากเตาเผาและร่องรอยกิจการอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา อยู่บริเวณวัดสิงห์ หมู่ที่ ๒ ต.สามโคก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

10 ตุ่มสามโคก ตุ่มสามโคก มีแหล่งผลิตอยู่ที่วัดสิงห์ อ.สามโคก ปัจจุบันโคกที่หนึ่งมีสภาพเป็นโคกเนินดินขนาดใหญ่ มีเศษเครื่องปั้นดินเผากระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีพื้นที่ประมาณ ๑๕๐ ตารางวา โคกที่สอง ตั้งอยู่ห่างจากโคกที่หนึ่งประมาณ ๓๐ เมตร มีลักษณะโครงสร้างผนังเตาก่อด้วยอิฐเรียงซ้อนกัน มีพื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ตารางวา เนินดินโคกที่สามไม่มีร่องรอยสภาพเดิมเหลืออยู่

11 แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
ช่างปั้นดินเผา ปราชญ์ชาวบ้าน ขึ้นลายดอกโอ่ง ศึกษาดูงาน

12 ศาลากลางจังหวัดหลังเดิม
ศาลากลางจังหวัด (หลังเดิม)  เป็นอาคารขนาดใหญ่ชั้นเดียวก่ออิฐ ถือปูนเสริมเหล็ก หลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องว่าว (สามเหลี่ยม) เชิงชายทำเป็นลายฉลุโปร่งมีมุขหน้า อันเป็นสถาปัตยกรรมในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าจั่วมีรูปครุฑ พื้นไม้สัก ยกพื้นสูงประมาณ ๑.๗๕ เมตร

13 หลุมหลบภัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม
หลุมหลบภัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม  อยู่ในซอยสามัคคีแปดพัน ต.บ้านใหม่ อ.เมือง เป็นหลุมหลบภัยในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ ทางการทหารได้มาตั้งค่ายทหารสื่อสารที่วัดเทียนถวาย ซึ่งในสมัยนั้นพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นป่าอยู่ กองทัพบกได้สร้างบ้านพัก และหลุมหลบภัยในบริเวณป่าใกล้วัด หลุมหลบภัยสร้างด้วยคอนกรีต ตัวอุโมงค์เป็นรูปหลังเต่า จุคนได้ประมาณ ๑๕ คน  

14 วัดสิงห์ อ.สามโคก วัดสิงห์ ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อกันว่าสร้างเมื่อครั้งที่ชาวมอญอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองนี้ ในบริเวณวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ควรค่าแก่การศึกษาในด้านประวัติศาสตร์และศิลปะ มีหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางสะดุ้งมาร สมัยกรุงศรีอยุธยา

15 อาคารเรือนแพขาว อาคารเรือนแพขาว มีประวัติในการใช้เป็นที่รับรองบุคคลสำคัญในอดีตเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒  โดยได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ  เมื่อปี  พ.ศ.๒๕๔๘  และจังหวัดปทุมธานี  ได้บูรณะอาคารเรือนแพขาวขึ้นใหม่เพื่อเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดปทุมธานีต่อไป

16 อนุสรณ์สถานแห่งชาติ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ตั้งอยู่บริเวณสามแยกจุดตัดถนนวิภาวดีรังสิต กับถนนพหลโยธิน ต.คูคต อ.ลำลูกกา เป็นสถานที่ที่อัญเชิญดินสมรภูมิอันเป็นสนามรบสำคัญของชาติ พร้อมด้วยอัฐิ และสรีรธาตุของวีรชนไทยมาบรรจุไว้ สร้างขึ้นในวาระแห่งการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๒๕


ดาวน์โหลด ppt หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google