ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กลุ่มวิชาชีพ/ วิชาการ/ กฎหมาย/ระเบียบ
กลุ่ม 3 กลุ่มวิชาชีพ/ วิชาการ/ กฎหมาย/ระเบียบ
2
ประเด็น 1. ผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2. กฎหมาย 3. สาธารณูปโภค
4. โครงสร้างภาษี 5. การเงิน 6. รูปแบบองค์กร 7. ระบบข้อมูล 8. ผู้มีรายได้น้อย + ผู้มีโอกาสน้อย 9. อื่น ๆ
3
ผังเมือง ยุทธศาสตร์เมือง (ระบุความชัดเจน)
- มี character ของเมืองที่ชัดเจน - มีบริการสาธารณูปโภคที่ทั่วถึง - คำนึงถึงลักษณะทางธรณีวิทยา การใช้ประโยชน์ที่ดิน - ควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์เป็นเมืองน่าอยู่ - ควรมียุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติในการวางผังเมือง
4
การถ่ายโอนอำนาจไปยังท้องถิ่นยังขาดองค์ความรู้ทางด้าน City Plan และที่อยู่อาศัยพยายามถ่ายทอดความรู้ให้ท้องถิ่น ใช้อย่างถูกต้อง ยังมีช่องว่างระหว่างการวางผังเมืองกับแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย การวางผังเมืองต้องวางแผนที่อยู่อาศัยควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะต้องคำนึงถึงการจัดให้มีที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ควรใช้กลไกผังเมืองที่มีอยู่ให้ครบถ้วน ส่งเสริมให้ท้องถิ่นสามารถใช้อำนาจที่มีอยู่ หรือกฎหมายที่จำเป็น
5
ควรมีคณะกรรมการผังเมืองชุมชน เพื่อประเมินสถานการณ์ให้ความคิดเห็นในการจัดทำผังเมืองรวม
ควรทำผังเมืองให้เป็นเรื่องเข้าใจง่าย ขาดมาตรการจูงใจและบทลงโทษที่ทำให้การดำเนินการเป็นไปตามที่ผังเมืองกำหนด
6
สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ผังเมืองต้องเป็นตัวกำหนดการพัฒนาสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ไม่ใช่สาธารณูปโภคเป็นตัวนำ ระบบการจัดการขนส่งและถนนหนทางควรนึกถึงอายุการใช้งาน โดยต้องวางแผนล่วงหน้าและมองไกล ให้ใช้คุ้มค่าการลงทุน (มองให้ยาวกว่าปัจจุบันที่ทำแล้วไม่เป็นไปตามแผน)
7
ต้องมีหน่วยงานประสานงานสาธารณูปโภค ไม่ใช่ต่างคนต่างทำอย่างเช่นในปัจจุบัน
การวางแผนระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการควรเป็นการวางแผนระยะยาวและควรคำนึงถึงอายุการใช้งานระยะยาว
8
ควรมีหน่วยประสานงานระดับนโยบาย เช่น กทม
ควรมีหน่วยประสานงานระดับนโยบาย เช่น กทม. เป็นตัวกลางเชิญหน่วยงานต่าง ๆ มาร่วมวางแผน (เดิมเคยมีหน่วยงานนี้ที่กระทรวงมหาดไทย) การวางเป้าหมายของเมืองต้องมองในระดับภูมิภาค เนื่องจากเมืองต้องรองรับบทบาทที่สัมพันธ์กับต่างประเทศ และรองรับชาวต่างชาติด้วย
9
ยุทธศาสตร์ชาติด้านที่อยู่อาศัยควรคำนึงถึง
- การอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งควรมีการออกกฎเกณฑ์ที่มองผลระยะยาวทางการอนุรักษ์พลังงาน - ลดการใช้น้ำมันโดยใช้ระบบการขนส่งระบบราง เพื่อการเป็น Green City อย่างจริงจัง รวมทั้งควรปรับปรุงกฎหมายควบคุมอาคาร ลดพื้นที่จอดรถ ในพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานของระบบรางโดยสามารถเพิ่มสีเขียวแทน
10
องค์กร ควรมีองค์กรทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นเป็นศูนย์รวมในการกำหนดนโยบายแผนการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัย มี Committee ทำหน้าที่ดูแล MASTER PLAN ของชุมชน เมือง หน่วยงานข้อมูลรวมศูนย์ข้อมูลทุกด้านของเมืองและที่อยู่อาศัย รวมทั้งด้านกายภาพ
11
องค์กร ควรมีองค์กรทำหน้าที่สื่อสารกับประชากรในชุมชน ให้เห็นเป้าหมายร่วมกันของเมืองในอนาคต ควรรวบรวมองค์กรอันเกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัยอยู่ภายใต้กระทรวงเดียวกัน เพื่อให้เกิด One Stop Service อย่างจริงจัง สามารถทำให้เกิด Master Plan ทางด้านสาธารณูปโภค ภายใต้กระทรวงเดียวกัน อยากให้เมืองมีทางจักรยาน เพื่อให้เป็น Green City
12
ผลักดันให้เกิดการรวมศูนย์การพัฒนาประเทศ โดยรวมหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือหากแยกส่วนต้องมีกลไกที่โปร่งใสเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการที่อยู่อาศัยและพัฒนาเมืองในระดับชาติ เพื่อมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหา ควรเพิ่มหน่วยงานระดับท้องถิ่นรองรับนโยบายและแผนระดับชาติ ระดับภาค องค์กรที่อยู่อาศัยและองค์กรพัฒนาเมืองจึงต้องมีในทุกระดับ
13
กระทรวงที่ตั้งใหม่ควรชื่อกระทรวงพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัย
14
สรุป พิจารณา 3 ประเด็น 1. ผังเมือง 2. สาธารณูปโภค 3. รูปแบบองค์กร
15
รัฐควรมีหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่เหมือนโยธาธิการประเทศ เพื่อจัดทำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.