งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การกระทำทางสังคม (Social action)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การกระทำทางสังคม (Social action)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การกระทำทางสังคม (Social action)
บทที่ 5 การกระทำทางสังคม (Social action)

2 ความหมายของการกระทำทางสังคม
การกระทำทางสังคม (social action) หมายถึง การกระทำที่มีผู้อื่นเป็นเป้าหมายแห่งการกระทำของเรา และผู้อื่นซึ่งเป็นเป้าหมายนั้นสามารถเข้าใจเจตนาแห่งการกระทำของเราที่มีต่อเขาได้

3 ลักษณะของการกระทำทางสังคม
1. มีผู้อื่นเป็นเป้าหมายของการกระทำ และการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่เจตนา 2. การสื่อสารเป็นการกระทำทางสังคมชนิดหนึ่ง 3. การกระทำของเราเปลี่ยนเมื่อบุคคลเป้าหมายเปลี่ยน

4 การปฏิสัมพันธ์ หมายถึง การกระทำทางสังคมซึ่งกันและกัน ผู้ที่ปฏิสัมพันธ์กันต่างมีแต่ละฝ่ายเป็นเป้าหมายในใจ คือ เรากระทำการทางสังคมต่อผู้อื่น และผู้อื่นกระทำการทางสังคมต่อเรา ลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ คือ ผู้กระทำ ผู้ถูกระทำ/ตีความ ผู้ถูกกระทำ/ตีความ ผู้กระทำ

5 1. การปฏิสัมพันธ์ เป็นการกระทำทางสังคมสองด้าน
1. การปฏิสัมพันธ์ เป็นการกระทำทางสังคมสองด้าน การปฏิสัมพันธ์ เป็นการกระทำที่มีผู้อื่นเป็นเป้าหมายของการกระทำ เป็นการกระทำที่มีเจตนาจะกระทำ ผู้อื่นที่เป็นเป้าหมายของเราเมื่อได้รับการกระทำทางสังคมจากเรา จะมีการ กระทำโต้ตอบกลับมาและมีเราเป็นเป้าหมายในใจของเขา

6 2. การปฏิสัมพันธ์ เป็นส่วนหนึ่งของการขัดเกลาทางสังคม
การปฏิสัมพันธ์เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล, ตอบสนองความต้องการ, แลกเปลี่ยนความเข้าใจความคาดหวังของกันและกัน ข้อมูลที่เราได้รับมาจะช่วยให้มีการปรับตัวเข้าหากัน จะช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความเชื่อ ความคิด ของเราอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้ตัวเราสามารถเข้ากันได้กับผู้อื่น

7 3. เราไม่สามารถกำหนดทิศทางการปฏิสัมพันธ์ได้อย่างแน่นอนตายตัว
3. เราไม่สามารถกำหนดทิศทางการปฏิสัมพันธ์ได้อย่างแน่นอนตายตัว การปฏิสัมพันธ์กันเราไม่สามารถรู้ได้ว่าผู้ที่เราปฏิสัมพันธ์ด้วย จะแสดงพฤติกรรมโต้ตอบเราเช่นไร เมื่อเขาแสดงพฤติกรรมออกมาแล้ว เราจึงสามารถตีความหมายแล้วจึงมีพฤติกรรมโต้ตอบกลับไป เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถบอกได้ล่วงหน้าว่าสถานการณ์ที่เราเข้าร่วมในการปฏิสัมพันธ์นั้นจะลงเอยในรูปใด ซึ่งเราจะต้องแก้ไขเหตุการณ์นั้น ๆ แบบเฉพาะหน้า

8 4. การแปลความหมายผิดอาจนำไปสู่การปฏิสัมพันธ์ที่เป็นปัญหาได้
4. การแปลความหมายผิดอาจนำไปสู่การปฏิสัมพันธ์ที่เป็นปัญหาได้ ในบางกรณีอาจมีการแปลความหมายของพฤติกรรมที่โต้ตอบกันผิดไปจากเจตนาของผู้แสดงพฤติกรรม ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการโต้ตอบกันได้ เพราะฉะนั้นการปฏิสัมพันธ์อาจเกิดปัญหาขึ้น ถ้าคู่ปฏิสัมพันธ์ไม่สามารถเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อต่อกันได้ บางครั้งถ้าเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญมากก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตทรัพย์สินหรือความปลอดภัย อาจก่อความเสียหายร้ายแรงได้

9 แบบแผนทางสังคม หมายถึง การปฏิสัมพันธ์ที่เป็นระบบ แบบแผน ผู้ปฏิบัติสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่าเมื่อพบสถานการณ์เช่นนี้ต้องปฏิบัติตนเช่นใด เมื่อมีแบบแผนทางสังคมทำให้เราสะดวกมากขึ้นในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น ทำให้เราไม่ต้องตัดสินใจว่าควรจะมีพฤติกรรมโต้ตอบเช่นใดจึงจะเหมาะสม แบบแผนทางสังคมเป็นการกระทำที่ทำซ้ำบ่อย ๆ จนเราคาดการณ์ได้ว่า เมื่ออยู่ในสถานการณ์เช่นนี้เขาและเราจะมีพฤติกรรมอย่างไร

10 ประโยชน์ของแบบแผนทางสังคม
ช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้ง่ายขึ้น เป็นการปฏิสัมพันธ์ที่มีรูปแบบตายตัวแน่นอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวของสมาชิกในสังคม และบางส่วนก็ใช้ในการควบคุมคนในสังคมให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบ

11 การกระทำทางสังคมสู่การจัดระเบียบสังคม
ใน กลุ่มขนาด 2 คน (dyad) แบบแผนทางสังคมจะมีลักษณะเป็นแบบที่รู้กัน เพราะเคยปฏิบัติต่อกันอย่างไรเป็นประจำ เมื่อครั้งใดไม่ปฏิบัติตามนั้น คนใดคนหนึ่งก็จะเริ่มรู้สึกว่ามีอะไรผิดปกติหรืออีกฝ่ายกำลังละเมิดแบบแผนที่เคยปฏิบัติกันมา ใน กลุ่มขนาด 3 คน (triad) เราก็จะพบแบบแผนทางสังคม แบบแผนในกลุ่มที่มีคนมากขึ้น ต้องมีการบอกกล่าวให้สมาชิกได้รับรู้โดยทั่วกัน จึงจะปฏิบัติได้สอดคล้องกัน

12 กลุ่มขนาด 3 คนขึ้นไป แบ่งได้เป็นแบบ ทางการ ได้แก่ องค์กรธุรกิจหรือหน่วยราชการต่าง ๆ และไม่เป็นทางการ ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อนหรือคนคุ้นเคยในองค์กรแบบทางการ กลุ่มแบบทางการ 3 แบบ 1.Coercive Organizations 2.Utilitarian Organizations 3.Normative Organizations

13 สังคม แบ่งได้เป็นหลายระดับ คือ ชุมชน (แบบสังคมชนบท และเมือง (Gemeinschaft and Gesellschaft)) รัฐชาติ (Nation-States) สังคมโลก (World -System)


ดาวน์โหลด ppt การกระทำทางสังคม (Social action)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google