ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความรู้เกี่ยวกับการบริหารค่าตอบแทน
บทที่ 1. ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
2
ความหมายของค่าตอบแทน
ค่าตอบแทน หมายถึง รูปแบบของการจ่ายค่าตอบแทนหรือรางวัลทั้งหมดที่พนักงานได้รับจากการปฏิบัติงานในองค์การ ซึ่งจะประกอบด้วยค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินโดยตรง ในรูปของค่าจ้าง เงินเดือน ค่านายหน้า โบนัสและค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินทางอ้อม ในรูปของผลประโยชน์ ได้แก่ การประกันสุขภาพ การประกันชีวิต วันลาและวันหยุดพักผ่อน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์ในการจ้างงาน เพื่อเป็นการตอบแทนในการปฏิบัติงาน ช่วยกระตุ้นให้บุคลากรได้ใช้ความรู้ ความสามารถในการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์การ
3
องค์ประกอบของค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน (Financial Compensation) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินทางตรง ได้แก่ ค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส ค่านายหน้า ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินทางอ้อม การประกันสุขภาพชีวิตและอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาล เงินประกันสังคม เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ค่าจ้างที่จ่ายให้ในวันลา
4
องค์ประกอบของค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน (Nonfinancial Compensation) งาน (The job) หมายถึง ลักษณะของงานที่ทำให้ลูกจ้าง พึงพอใจ สภาพแวดล้อมของงาน (Job Environment) หมายถึง บรรยากาศในการทำงาน
5
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าตอบแทน
ปัจจัยภายในองค์การ คุณค่าของงานและพนักงานโดยเปรียบเทียบ นโยบายขององค์การ (Organization Policy) การกำหนดระดับค่าตอบแทน
6
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าตอบแทน
ความสามารถในการจ่ายขององค์การ (Ability to Pay) ประสิทธิภาพในการผลิต (Productivity) กระบวนการเจรจาต่อรองภายในองค์การ (Collective Bargaining)
7
ปัจจัยภายนอกองค์การ สภาพตลาดแรงงาน (Condition of Labor Market) การกำหนดค่าตอบแทน ระดับค่าจ้างและเงินเดือนโดยทั่วไป สภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ ข้อกำหนดของกฎหมาย
8
ความหมายของการบริหารค่าตอบแทน
การบริหารค่าตอบแทน หมายถึง การพัฒนากลยุทธ์ในการกำหนดนโยบาย การวางแผน การจัดรูปแบบ โดยทำการออกแบบโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าตอบแทนทั้งที่เป็นรูปแบบทางตรงและทางอ้อมให้กับพนักงานอย่างเหมาะสมเป็นธรรม ทำให้เกิดความเสมอภาคและสอดคล้องกับความเป็นจริงทั้งภายในและภายนอกองค์การ
9
วัตถุประสงค์และความสำคัญของการบริหารค่าตอบแทน
เพื่อดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน หน่วยงานหรือองค์การ เพื่อเป็นเครื่องจูงใจบุคลากรให้มีผลการปฏิบัติงานดีขึ้น เพื่อรักษาพนักงานที่มีคุณภาพไว้ปฏิบัติงานในองค์การ เพื่อบริหารต้นทุนค่าใช้จ่าย การกำหนดรูปแบบและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน
10
วัตถุประสงค์และความสำคัญของการบริหารค่าตอบแทน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เพื่อให้องค์การมีแนวทางการปฏิบัติงานการจ่ายค่าตอบแทนเป็นไปตามกฏหมาย เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่เป็นธรรมทั้งด้านงานที่ปฏิบัติ การประเมินผลงาน
11
ความสำคัญของการบริหารค่าตอบแทน
ความสำคัญต่อพนักงาน (Employees) ค่าตอบแทนเป็นแรงจูงใจเบื้องต้นให้พนักงาน ความสำคัญต่อองค์การ (Organization) ค่าตอบแทนที่มีความสำคัญต่อองค์การ ความสำเร็จของผู้ถือหุ้น (Stockholders) ค่าตอบแทนถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงิน
12
ความสำเร็จต่อผู้จัดการ (Managers)
ค่าตอบแทน ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักขององค์การ ผู้จัดการต้องพิจารณาการจ่ายค่าตอบแทนที่จะมีอิทธิพลหรือจูงใจพฤติกรรมของพนักงาน
13
ความสำเร็จต่อสังคมโดยส่วนรวม (Society)
ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางการเมือง
14
เป้าหมายของการบริหารค่าตอบแทน
การดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ความสามารถให้เข้ามาทำงานกับองค์การ การจูงใจให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ การเก็บรักษาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถไว้กับองค์การ การควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายขององค์การ
15
ความเป็นมาของการบริหารค่าตอบแทน
ยุคแรกเริ่มก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงครั้งแรกในฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ใช้แรงงานเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงระบบทาส (Slavery ) มาเป็นระบบเจ้าแผ่นดิน (Serfdom) ซึ่งทำให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิมากขึ้นกว่าเดิม กล่าวคือ ผู้ใช้แรงงานที่เป็นข้าแผ่นดิน ตลอดจนครอบครัวของเขาจะสามารถจัดหาอาหารที่อยู่อาศัยและเครื่องนุ่งห่มได้อย่างน้อยก็เพียงพอกับการยังชีพ
16
ยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง
ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจมีการนำเครื่องจักรต่างๆมาใช้ในการผลิตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากระบบอุตสาหกรรมในครัวเรือน มาเป็นระบบอุตสาหกรรมที่มีการทำงานในโรงงาน
17
ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปัจจุบัน
หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารค่าตอบแทนมากที่สุดเพราะในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีเหตุการณ์ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาวิธีปฏิบัติในการบริหารอย่างเป็นระบบมากขึ้นและในช่วงนี้เองเป็นช่วงที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงและกำหนดอัตราค่าจ้างและเงินเดือนของธุรกิจเอกชน ซึ่งในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง มีการนัดหยุดงานของลูกจ้างบ่อยครั้ง เนื่องมาจากเหตุผลเดียวกับความไม่พึงพอใจในค่าจ้างและเงินเดือน
18
กิจกรรมในการบริหารค่าตอบแทน
การกำหนดนโยบายและแผนค่าตอบแทน วิเคราะห์งานทั้งหมดขององค์การ วิเคราะห์งานขององค์การจะทำให้ได้ข้อเท็จจริง การประเมินค่าของงาน เป็นวิธีการค้นหาลำดับความสำคัญของงาน กำหนดค่าตอบแทนให้กับงาน การเริ่มต้นในการตัดสินใจค่าตอบแทน
19
กิจกรรมในการบริหารค่าตอบแทน
จัดทำโครงสร้างค่าตอบแทน กำหนดมาตรฐานผลงานและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน ประเมินผลงานของบุคลากร การประเมินผลงานจะช่วยให้เกิดความยุติธรรม การให้ค่าตอบแทนแบบจูงใจ บริหารและพัฒนาแผนค่าตอบแทน
20
แนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าตอบแทน
การจ่ายค่าตอบแทนตามระดับทักษะความชำนาญ การทดสอบความสามารถ การจ่ายค่าตอบแทนตามงาน ผลของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ความอาวุโสในงานและปัจจัยอื่น โอกาสก้าวหน้าในงาน
21
การกำหนดกลุ่มเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่กว้าง
การจ่ายค่าตอบแทนตามสมรรถนะ (Competency-Based Pay) เช่น งานธุรการ งานบัญชี งานขาย การกำหนดกลุ่มเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่กว้าง การประเมินค่างานโดยใช้คอมพิวเตอร์ การสร้างความผูกพันของพนักงานโดยใช้การบริหารค่าตอบแทนเป็นเครื่องมือ
22
ผลประโยชน์เกื้อกูล ผลประโยชน์เกื้อกูล (Employee Benefits) หมายถึง ผลตอบแทนทางอ้อมที่องค์การให้เป็นรางวัลแก่พนักงานนอกเหนือไปจากการจ่ายค่าตอบแทนพื้นฐานและค่าตอบแทนแบบจูงใจ เพื่อให้พนักงานมีความมั่นคงและพึงพอใจในการทำงาน ผลตอบแทนประเภทนี้มีทั้งรูปแบบที่เป็นเงิน เช่น ค่าล่วงเวลา เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เงินทดแทน บำเหน็จบำนาญและรูปแบบที่ไม่เป็นเงิน เช่น รถรับส่งพนักงาน สหกรณ์ร้านค้า วันหยุดวันลา
23
ทำให้องค์การสามารถเก็บรักษาทรัพยากรบุคคลไว้ให้ทำงานกับองค์การ
ช่วยเสริมหรือยกระดับขวัญและกำลังใจของพนักงานให้สูงขึ้น ช่วยให้องค์การสามารถดึงดูดหรือจูงใจคนดีมีความสามารถเข้ามาทำงานกับองค์การ สามารถลดปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ลงได้ ช่วยลดการแทรกแซงของรัฐบาลต่อการบริหารงานขององค์การลงได้
24
หลักการเกี่ยวกับการจัดผลประโยชน์เกื้อกูล
ผลประโยชน์เกื้อกูลที่องค์การจัดให้กับพนักงาน ฝ่ายบริหารหรือนายจ้างควรให้พนักงานได้มีส่วนร่วม ผลประโยชน์เกื้อกูลที่จัดให้กับพนักงานควรจะมีขอบเขตครอบคลุม ฝ่ายบริหารควรสื่อสารเกี่ยวกับการจัดผลประโยชน์เกื้อกูลให้พนักงาน การจัดผลประโยชน์เกื้อกูลควรพิจารณาต้นทุนค่าใช้จ่ายขององค์การอย่างละเอียด
25
ประเภทของผลประโยชน์เกื้อกูล
การจ่ายค่าตอบแทนเมื่อพนักงานไม่ได้ทำงาน (Payment for Time Off) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เวลาพักระหว่างการทำงาน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักครั้งหนึ่งน้อยกว่า 1 ชั่วโมงได้ แต่เมื่อรวมกันแล้ววันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 20 นาทีก่อนที่ลูกจ้างจะเริ่มทำงานล่วงเวลา
26
วันหยุดประจำสัปดาห์ (Holidays) กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่า 1 วัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน วันหยุดตามประเพณี กฎหมายกำหนดว่าให้นายจ้างพิจารณากำหนดวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น ปีหนึ่งร่วมกันไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป
27
วันหยุดพักผ่อนประจำปี (Vacations)กฎหมายกำหนดว่า นายจ้างจะต้องให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิ์หยุดพักผ่อนประจำปีครั้งหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน วันลา (Leaves) ตามที่กฎหมายกำหนด
28
การจ่ายค่าตอบแทนตามกฎหมาย ค่าล่วงเวลา
ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 1 เท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนที่ทำ หรือไม่น้อยกว่า 1 เท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงาน
29
ค่าทำงานในวันหยุด ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าตอบแทนตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ค่าชดเชย หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายครั้งเดียวให้แก่พนักงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือปลดออกจากงาน (Layoff) กฎหมายกำหนดให้พนักงานซึ่งถูกเลิกจ้างได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างตามระยะเวลาการทำงานของพนักงาน
30
การให้บริการด้านเศรษฐกิจ
บำเหน็จบำนาญ (Pension) เงินตอบแทนความชอบที่พนักงานได้ทำงานให้กับองค์การมาก่อนซึ่งจะได้รับเมื่อครบวาระเกษียณอายุไปจากองค์การ การประกันชีวิต สุขภาพ และอุบัติเหตุ โดยปกติองค์การมักจะจัดทำแผนประกันชีวิตแบบกลุ่ม (Group Life Insurance) ให้กับพนักงานทุกคน การให้บริหารทางการเงิน การให้บริการทางการเงินแก่พนักงานนิยมจัดทำในรูปของ “สหกรณ์ออมทรัพย์”
31
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) คือ กองทุนที่นายจ้างและพนักงานร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยความสมัครใจ ประกอบด้วยเงินที่พนักงานจ่ายสะสมและเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันแก่พนักงานเมื่อยามเกษียณอายุหรือออกจากงาน การประกันสังคม (Social Security) คือ ระบบการบริการของรัฐที่มุ่งให้หลักประกันแก่พนักงานในการดำรงชีวิต เพื่อมิให้ได้รับความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในกรณีที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งในกรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน (รวมทั้งสิ้น 7 กรณี) โดยมี “กองทุนประกันสังคม” ที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
32
บทสรุป ค่าตอบแทนถือว่าเป็นรูปแบบของการจ่ายค่าตอบแทนหรือรางวัลที่พนักงานได้รับจากการปฏิบัติงานในองค์การตามตำแหน่งงานแต่ละคน ซึ่งองค์ประกอบของค่าตอบแทนประกอบด้วย ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินโดยตรงในรูปของค่าจ้าง เงินเดือน ค่านายหน้า โบนัสและค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินทางอ้อม ในรูปของผลประโยชน์ ได้แก่ การประกันสุขภาพ การประกันชีวิต วันลาและวันหยุดพักผ่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์ในการจ้างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าตอบแทน ขององค์การนั้นจะเกิดจากอิทธิพลของปัจจัยใน 2 ด้าน ดังนี้คือ อิทธิพลของปัจจัยจากภายในองค์การและปัจจัยจากภายนอกองค์การ
33
Thank you
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.