งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาภาคพิสดาร เศรษฐศาสตร์การเมืองของโลกทัศน์ตะวันออก Political Economy of Eastern Weltanschauung (Worldviews) ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาภาคพิสดาร เศรษฐศาสตร์การเมืองของโลกทัศน์ตะวันออก Political Economy of Eastern Weltanschauung (Worldviews) ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2

3

4

5

6

7

8 การพัฒนาภาคพิสดาร เศรษฐศาสตร์การเมืองของโลกทัศน์ตะวันออก Political Economy of Eastern Weltanschauung (Worldviews) ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

9

10 ปรัชญาตะวันออก การพัฒนา คือ การทำให้รกรุงรัง พุทธทาสภิกขุ
การพัฒนา คือ การทำให้รกรุงรัง พุทธทาสภิกขุ “ความสุขของประชาชาติ สำคัญกว่าผลผลิตของประชาชาติ” Jigme Singye Wangchuck กษัตริย์แห่งภูฐาน Gross National Happiness = GNH Gross National Product = GNP

11 เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข
ไม่มีความสุขในเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตก การพัฒนาแบบตะวันตก / หรือใช้ทฤษฎีตะวันตก ที่มีโลกทัศน์แบบตะวันตก เกิดท่ามกลางบรรยากาศของ : - โลภ - โกรธ - หลง - กลัว การพัฒนาแบบตะวันตกจึงไม่สามารถก่อให้เกิดความสุขได้

12 เศรษฐศาสตร์ตะวันออก จุดมุ่งหมายหลัก :
- ไม่ใช่แสวงหาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ - แสวงหาความสุข “maximization of happiness”

13

14 ไม่มีความสุขในทุนนิยม
ทุนนิยมแบบอเมริกัน เน้นเรื่องตลาดเสรี การแข่งขันทางธุรกิจ การแสวงหาประสิทธิภาพ และกำไรสูงสุด การแสวงหาความก้าวหน้า ความร่ำรวย ความเจริญ ลัทธิบริโภคนิยม ชีวิตแบบนี้ “ไม่มีความสุข” ทุนนิยม รัฐ สวัสดิการ แบบยุโรปตะวันตก มีแนวทางคล้ายกัน แต่มีพื้นที่มากกว่าในการใฝ่ฝันถึง “ความสุข”

15 อุดมการณ์ทุนนิยม อุดมการณ์ทุนนิยม สร้างความเพ้อฝัน ว่า
มีเงินทองมาก ๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น สะสมวัตถุสิ่งของให้มาก ๆ นั่นคือ ความสุข นักเศรษฐศาสตร์แนวจิตวิทยา D. KAHNEMAN (รางวัลโนเบล ปี 2002) บอกว่า การมีวัตถุสิ่งของรายได้มากขึ้น ไม่ได้ทำให้คนเรามีความสุข แต่ลัทธิวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ก็ยังคงเป็นความใฝ่ฝันของโลกตะวันตกต่อไป

16 ข้อสงสัย บางคนตั้งข้อสังเกตว่า ในประเทศไทยเราเป็นสังคมของชาวพุทธ
แต่ทำไมคนไทยจึงถูกครอบงำอย่างง่ายดายจากอุดมการณ์ทุนนิยม ซึ่งเน้นเรื่องความเจริญ และการสะสมวัตถุสิ่งของ ? พุทธศาสนาตอบได้ไหม – จากการท้าทายของค่านิยมที่มาจากตะวันตกในยุคโลกาภิวัตน์ ?

17 อุดมการณ์ทุนนิยมกับการพัฒนา
ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คน คือ แรงงาน / ผู้ใช้แรงงาน / คนทำงาน คนต้องสร้างความเจริญให้แก่ระบบ คนเป็นปัจจัยการผลิต มีหน้าที่รับใช้ระบบ คนแบบทุนนิยม จึงเป็นคนที่รับใช้ระบบทุนนิยม ชีวิตแบบนี้เต็มไปด้วยการทำงาน การแข่งขันและความตึงเครียด ในจิตใจ เป็นชีวิตที่ไร้ความสุข เป็นเศรษฐกิจแบบ joyless economy

18 การพัฒนา – เพื่อใคร ? แบบตะวันตก : คนต้องรับใช้การพัฒนา
แบบตะวันออก : การพัฒนาต้องรับใช้คน - จุดมุ่งหมายของการพัฒนา คือ คน ประชาชน ต้องเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

19

20

21

22 พุทธปรัชญา เพื่อนำความสุขกลับคืนมา การพัฒนาแบบตะวันออก ต้องมี “เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ” เป็นพื้นฐาน (Buddhist Economics) จริยศาสตร์แนวพุทธ และจักรวาลวิทยาแนวพุทธ ชี้ทางไว้ว่า ความสุขของคนเรา เกิดจากดุลภาพ ระหว่าง วัตถุ กับ จิตวิญญาณ : สุขกาย สบายใจ จิตผ่องใส

23 ความหลากหลายของความเชื่อ
สำหรับชุมชนที่ไม่ใช่ชาวพุทธ ความเชื่อในศาสนาอื่น ๆ เช่น อิสลาม คริสต์ ฮินดู ก็เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนา เพื่อความสุขเช่นกัน เต๋าแห่งความสุข : อยู่อย่างเต๋า อยู่กับธรรมชาติ

24 นิพพานบนภูเขาหิมาลัย
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธในภาคปฏิบัติ ส่วนใหญ่มีการนำมาประยุกต์ใช้ ในระดับจุลภาค / ระดับชุมชน/ ระดับโครงการ ตัวอย่างที่สำคัญ : สันติอโศกในไทย สรรโวธัยในศรีลังกา ในระดับชาติ มีแห่งเดียวเท่านั้นในโลก : ประเทศภูฐาน ใช้เศรษฐศาสตร์ แนวพุทธ (มหายาน) เป็นพื้นฐาน ในการพัฒนาประเทศระดับมหภาค จุดมุ่งหมายเบื้องต้น : เพื่อสร้างสังคมที่มีความเจริญ ทั้งวัตถุ และจิตวิญญาณ จุดมุ่งหมายสุดท้าย : เพื่อพระนิพพานบนภูฐาน ?

25 หลักการพื้นฐานของการพัฒนา
ประตู สัจจธรรม แนวทาง ใจ – ความว่าง สัจธรรมสมบูรณ์ : พัฒนาจิต ปัญญา (หญิง) วจี – พลัง สัจธรรมสัมพัทธ์ : สร้างความยุติธรรม ความโปร่งใส เมตตา / กรุณา , และการมีส่วนร่วม กาย – กรรม ปฏิบัติ (ชาย) ดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน หลักการพัฒนาเหล่านี้ ได้มาจาก คำสอนของปรัชญามหายาน

26 หลักการบริหารจัดการ 8 ข้อ
กลุ่มนักปรัชญาชาวภูฐาน เชื่อว่า ประชาชนจะมีความสุขได้ จะต้องมี การบริหารจัดการ โดยใช้หลักการ 8 ข้อ (พัฒนามาจาก “มรรคมีองค์แปด”) - การพัฒนาจิต - การพิทักษ์ปกป้องธรรมชาติ - การส่งเสริมความคิด - การสร้างความยุติธรรม และ ที่เป็นอิสระ ธรรมาภิบาล - การอนุรักษ์วัฒนธรรม - การพัฒนาการศึกษา - การพัฒนาเศรษฐกิจ - การพัฒนาปัจจัย พื้นฐาน ที่มีความสมดุล สำหรับการดำรงชีวิต หลักการทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องทำพร้อมกัน ปัญหาคือ จะทำอะไร ? เมื่อไร ? ภาพรวมคือ ต้องทำให้ครบ 8 หลักการ

27

28 คัมภีร์เล่มใหม่ ดูเอกสารเกี่ยวกับเรื่อง GNH
(Gross National Happiness) รวบรวมแนวคิด การพัฒนาบนพื้นฐานของพุทธปรัชญาแนวมหายาน Centre for Bhutan Studies (Thimphu) เอกสารสัมมนาระดับนานาชาติ 2 ครั้ง 2004 – 5 เกี่ยวกับแนวคิด GNH

29 ความขัดแย้งทางความคิด
หลายทศวรรษที่ผ่านมา ทางการภูฐานได้ริเริ่มสร้างแนวคิดใหม่เกี่ยวกับ “ความสุข” ช่วงนั้น มีการเน้นหลักการ “พึ่งตนเอง” อย่างมาก ในปัจจุบัน หลักการนี้ได้หายไป หลักการการพัฒนา (ทางการ) มีอยู่ 4 ข้อเท่านั้น - ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ที่ยั่งยืนและเป็นธรรม - อนุรักษ์วัฒนธรรมภูฐาน - พิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม - สร้างระบบธรรมาภิบาล นี่คือ เสาหลัก 4 ต้นของ GNH

30

31

32 บางอย่างที่หายไป นอกจากหลักการ “พึ่งตนเอง” แล้ว เสาหลัก 4 ต้น ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องจิตวิญญาณ และการส่งเสริมทางด้านจิตใจ มีแนวโน้มว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ ภูฐานอาจหลงเข้าไปในกระแส “การพัฒนา” แบบสมัยใหม่ที่เน้นความเจริญทางวัตถุ ในแนวคิดของภูฐานไม่มีมิติทางการเมือง

33 มิติทางการเมือง การเมือง ทำให้คนไม่มีความสุข เพราะศักยภาพการดำรงชีวิตถูกบั่นทอนอย่างรุนแรง ภายใต้โครงสร้างอำนาจที่ครอบงำ โลกทัศน์ตะวันออก ต้องให้ความสนใจแก่มิติทางการเมือง เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยความสุข ต้องไม่ละเลยมิติการเมือง

34 การเมือง กับ ความสุข * โครงสร้างอำนาจ *วัฒนธรรมการเมือง *ผลประโยชน์
*วัฒนธรรมการเมือง *ผลประโยชน์ * ในแนวคิดของเศรษฐกิจการเมือง การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจอภิสิทธิ์ อิทธิพล ความขัดแย้ง การต่อสู้ การเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงสังคม การเมืองเป็นเรื่องของประชาชนคนเดินดิน ความสุข

35 เส้นทางของการวิเคราะห์แนวใหม่
เศรษฐศาสตร์การเมืองของโลกทัศน์ตะวันออก ควรหันไปศึกษา แนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการต่อต้านทฤษฎีการพัฒนาที่มาจาก ทุนนิยมของโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดที่เรียกว่า POST – DEVELOPMENT = ก้าวข้ามพ้นการพัฒนา แนวนี้ให้ความสำคัญแก่วิธีการวิเคราะห์ “วาทกรรมการพัฒนา” (development discourses)

36 บทสรุป “เราไม่อาจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยการใช้วิถีคิดแบบเก่า ๆ ที่เป็นต้นตอในการสร้างปัญหาเหล่านี้” วาทะของ ALBERT EINSTEIN ระลึกถึง 2005 : ฉลอง 100 ปี EINSTEIN

37

38 THE END


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาภาคพิสดาร เศรษฐศาสตร์การเมืองของโลกทัศน์ตะวันออก Political Economy of Eastern Weltanschauung (Worldviews) ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google