สำนักงานเกษตรอำเภอละอุ่น KM ประเด็น ผักเหลียง โดย สำนักงานเกษตรอำเภอละอุ่น
Knowledge Vision (KV) (ผักเหลียง ผักพื้นบ้าน) (ผักเหลียง ผักพื้นบ้าน) สร้างอาชีพ สร้างรายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง Knowledge Assets Knowledge Vision Knowledge Sharing
ผักเหลียง เป็นไม้พุ่มมีชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetum gnemon Linn. Ver Tenerum Markgr. มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น ได้แก่ ผักเหมียง ผักเมี่ยง ผักเขรียง ผักแกงเลียง เป็นต้น เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีร่มเงา ลำต้นสูง 2 – 10 เมตร ใบคล้ายใบยางพารา สีเขียวเข้ม ใบและยอดอ่อนสีม่วงแดง ออกดอกตามข้อเป็นช่อ ต้นอายุ 5 – 6 ปี จะออกดอกเริ่มออกดอก เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ผลคล้ายไข่ไก่ผลอ่อนสีเขียวรับประทานได้ รสชาติหวานมัน ผลแก่มีสีเหลือง เหลียงสามารถปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่นได้เป็นอย่างดี เช่น แซมในสวนมะพร้าว ยางพารา สะตอ และไม้ผล ผักเหลียงมีรสชาติดี หวานมันชวนรับประทานมีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น วิตามิน เกลือแร่ ป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน เป็นต้น และปลอดภัยจากสารพิษ รับประทานได้ ทั้งสดและประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด
เนื้อหา ผักเหลียงเป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นอยู่ในป่าและปลูกบริเวณบ้าน ซึ่งลุงนัง ผู้ที่เพาะพันธุ์ ผักเหลียงจำหน่ายเล่าให้ฟังว่า เดิมทีแล้วอำเภอละอุ่น มีผักเหลียงขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากในป่า ชาวบ้านก็ไปเก็บมากินบ้าง ขายบ้าง ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากการเก็บผักเหลียงเป็นอาชีพเสริมรายได้ ซึ่งจากการที่ได้ขายยอด ผักเหลียงออกสู่ในเมืองและต่างจังหวัด ก็ได้รับความนิยมว่าผักเหลียงอำเภอละอุ่น รสชาดอร่อยไม่ขม จึงมีคนสนใจมาขอซื้อผักเหลียงในอำเภอละอุ่น มากขึ้น และจากการที่ออกไปหาในป่าก็เริ่มเปลี่ยนแปลงใหม่โดยชาวบ้านก็ไปเก็บยอดและ ขุดไหลของผักเหลียง มาปลูกบริเวณบ้าน และเมื่อชาวบ้านไปหาผักเหลียงในป่ามากขึ้น ผักเหลียงก็เริ่มหายาก และความต้องการของผักเหลียงมีมากขึ้น
ลุงนังก็เลยหันมา ปลูกผักเหลียงในสวนของตนเอง 3,000 ต้น และได้ทำการเพาะพันธุ์ต้นผักเหลียงเพื่อจำหน่าย ซึ่งก็เป็นที่ต้องการของผู้ที่ต้องการปลูกผักเหลียง แต่การเพาะพันธุ์ ผักเหลียงโดยวิธีใช้ไหลต้องใช้เวลา ประมาณ 7-8 เดือน จึงจะสามารถจำหน่ายหรือนำไปปลูกได้ จึงได้มีการคิดหาวิธีการขยายพันธุ์ผักเหลียง ที่เร็วกว่าและก็ได้วิธีการขยายพันธุ์แบบตอนกิ่งที่ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกได้ ลุงโสภณ เพชรรักษ์ เล่าว่า อำเภอละอุ่นมีผักเหลียงที่รสชาดอร่อย และเป็นที่ต้องการของแม่ค้ามาก แต่ผักเหลียงไม่ออกยอดตลอดปี แต่จะออกเป็นช่วง ๆ ข้อดีของผักเหลียงคือ รับประทานได้ทั้งยอด ใบอ่อน ดอก และลูก ผักเหลียงได้ชื่อว่าเป็นผักพื้นบ้านอันดับ 1 ของอำเภอละอุ่น
สรุปผลการจัดการความรู้ KM องค์ความรู้ด้านพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านระนอง ที่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์ในงานส่งเสริมการเกษตร 1. ชื่อถิ่น ผักเหลียง ชื่อสามัญ - ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnertum qnemon Linn 2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และการขยายพันธุ์ แหล่งที่พบในจังหวัดระนอง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางใบเดียวคล้ายใบยางพารา กว้าง 4-10 ซม. ปลายใบเรียวแหลม สีเขียวเป็นมันดอกขนาดเล็กเป็นช่อสีขาวลูกกลมเป็นช่อออกดอกช่วงเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง การใช้ไหล หรือต้นจากรากแขนง อาศัยอยู่บนเขาที่มีต้นไม้ปกคลุมหนาทึบ แหล่งที่พบในจังหวัดระนองมีทุกอำเภอ แต่มีมากที่อำเภอละอุ่น
3. คุณค่าทางโภชนาการของผักเหลียงมี - โปรตีน 6.56 (กรัม) -ไขมัน 1.17 (กรัม) - คาร์โบไฮเดรต 14.91 (กรัม) - แคลเซี่ยม 150.56 (มก.) - เหล็ก 2.51 (มก.) - ฟอสฟอรัส 224.37 (มก.) - ไวตามินเอ 10,889 (หน่วยสากล) - โบฟลาวิน 1.25 (มก.) - ไนอะซีน 1.73 (มก.)
4. วิธีใช้ประโยชน์ทั้งทางยาและทางอาหาร ใช้ต้มกะทิ แกงเลียง เจียวไข่ ยำ ลวกทำผักจิ้ม ผัดไข่ 5. อื่น ๆ เช่น การประยุกต์ใช้ นำมาชุบแป้งทอดเป็นของว่าง นำมาทำชาผักเหลียงทำข้าวเกรียบผักเหลียง 6. ข้อจำกัด เช่น โทษ สารพิษ คนที่เป็นโรคเก้าไม่ควรรับประทานเพราะผักเหลียงมีกรดยูริกแอซิกสูง ทำให้ปวดเข่าได้ คนที่ปวดเมื่อยตามร่างกายไม่ควรรับประทานมาก
ผู้เล่าเรื่อง ลุงนัง ลุงโสภณ คุณอำนวย คุณชูเกียรติ คุณเอื้อ คุณสุทิน คุณกิจ คุณพัฒนา คุณลิขิต คุณศิริทิพย์