แบบ Star จะเป็นลักษณะของการต่อ เครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทาง ของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่ง ข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับ ตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการ ติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานี หนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการ ค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตาม ไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูง ในการติดตั้งครั้งแรก แบบ Star ( แบบดาว )
ข้อดี ติดตั้งและดูแลง่าย แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลด ที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อม ระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้ เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด ข้อเสีย เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้ เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสาย เคเบิลในสถานีงาน การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการ ขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหลดอื่นๆ ทั้ง ระบบ เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง แบบ วง แหวน (Ring Network)
รูปแบบ Star( แบบดาว )
แบบ Ring ( วงแหวน ) แบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการ เชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จน ครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่ สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่าน จากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึง เครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถ ส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่อง ตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือ เมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ
ข้อดี ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่ง ข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน ข้อเสีย หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก
รูปแบบ Ring ( วงแหวน )
ระบบ Bus ( บัส ) ระบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมี สายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง เซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้อง เชื่อม ต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่อง คอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูล ให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่ง ข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อ เครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูล แล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที
ข้อดี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมาก นักสามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่าย น้อย ข้อเสีย อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่อง คอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้น เดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่ง หนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมด ในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะ ใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว เท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบน สายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ต เวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
รูประบบ Bus ( บัส )
ต้นไม้ (Bus and Tree) ต้นไม้ (Bus and Tree) เป็นรูปแบบที่มีผู้ นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ ยุ่งยากและไม่ต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณหรือ อุปกรณ์สลับสาย เหมือนแบบวงแหวนหรือแบบ ดาว สถานีต่างๆ จะเชื่อมต่อเข้าหาบัสโดยผ่าน ทางอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เป็นฮาร์ดแวร์ การจัดส่ง ข้อมูลบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึง ทุกสถานีได้ การจัดส่งวิธีนี้จึงต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะ ทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการ แบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน
รูปต้นไม้ (Bus and Tree)