การสื่อสาร ข้อมูล (Data Communication)
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) กระบวนการถ่ายโอนหรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่ง และผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ คอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่ง ข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัส เสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึง ปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลง สัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่ง อาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วน เสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มี ส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการ ส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้ มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลด สิ่งรบกวน เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลาง ในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อย ที่สุด
องค์ประกอบ ขั้นพื้นฐานของ ระบบ
1. ผู้ส่งข่าวสาร ผู้ส่งข่าวสารหรือ แหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็น สัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาภาพ ข้อมูล และ เสียงเป็นต้น ในการ ติดต่อสื่อสารสมัยก่อน อาจจะใช้แสงไฟ ควัน ไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็ นับว่าเป็นแหล่งกำเนิด ข่าวสาร จัดอยู่ใน หมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร ผู้รับข่าวสารหรือ จุดหมายปลายทางของ ข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้ จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือ แหล่งกำเนิดข่าวสาร ส่งผ่านมาให้ตราบใด ที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุ วัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางของ ข่าวสารก็จะได้รับข่าวสาร นั้น ๆ ถ้าผู้รับสาร หรือ จุดหมายปลายทาง ไม่ได้รับ ข่าวสาร ก็แสดง ว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบ ความสำเร็จ กล่าวคือไม่มี การสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึง สื่อกลางหรือตัวกลางที่ ข่าวสารเดิน ทางผ่าน อาจจะเป็น อากาศ สายนำสัญญาณ ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง ของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็น สะพานที่จะให้ข่าวสาร ข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีก ฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส การ เข้ารหัส (encoding) เป็น การช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและ ผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจ ตรงกันในการสื่อ ความหมาย จึงมีความ จำเป็นต้องแปลง การเข้ารหัสจึง หมายถึง การแปลงข่าวสารให้อยู่ใน รูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไป ในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมี ความเข้าใจต้องตรงกัน ระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือ มีรหัสเดียวกัน การสื่อสาร จึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส การ ถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับ ข่าวสารแปลงพลังงาน จากสื่อกลางให้กลับไป อยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมา จากผู้ส่งข่าวสาร โดยมี ความเข้าในหรือรหัส ตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ใน ธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่ง ข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และ ช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้น พื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่ง ข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความ ผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะ เป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่ รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและ ด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะ ใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การ สื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อย ดำเนินการ เช่น การเข้ารหัส แหล่งข้อมูล เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือ สารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีก ที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่ง ข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือ แสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็น ระบบการสื่อสารข้อมูล โดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit) ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel) หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
ประโยชน์ของการสื่อสาร ข้อมูล 1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและ สื่อสารได้รวดเร็ว 2) ความถูกต้องของข้อมูล 3) ความเร็วของการทำงาน 4) ต้นทุนประหยัด
การสื่อสารข้อมูล จัดทำโดย นางสาวนันทิชา เข็มดี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 เลขที่ 12 โรงเรียนกระสังพิทยาคม ครูผู้สอน นางสาววราภรณ์ ยอด ชะลูด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557