โลกและสัณฐานของโลก
รูปร่างของโลก โลกมีรูปร่างเป็นทรงกลมแป้น ส่วนบนและส่วนล่างค่อนข้างจะแบนเล็กน้อย เส้นผ่านศูนย์กลางในแนวดิ่งจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้สั้นกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวนอนเล็กน้อย ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวนอนที่ อิเควเตอร์ ประมาณ 12,755 กิโลเมตร ระหว่างขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ประมาณ 12,711 กิโลเมตร
รูปร่างของโลก ความยาวของเส้นรอบวงประมาณ 40,250 กิโลเมตร แกนของโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา โลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 24 ชั่วโมงหรือหนึ่งวัน หมุนรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.24 วันหรือหนึ่งปี
รูปร่างของโลก
การหมุนรอบตัวเองของโลก โลกหมุนรอบแกนของโลกจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก นั่นคือ หมุนทวนเข็มนาฬิกา การหมุนรอบตัวเองของโลกก่อให้เกิดกลางวันและกลางคืน แล้วยังก่อให้เกิดสิ่งต่างๆ อีก
การหมุนรอบตัวเองของโลก จากการหมุนของโลกในทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก ทำให้ดวงอาทิตย์และดวงดาวอื่นๆ บนท้องฟ้าปรากฏขึ้นทางทิศตะวันออกเสมอ ทำให้เกิดการไหลของกระแสน้ำในทะเลและมหาสมุทร ตลอดจนเกิดลมพัดขึ้น ทำให้ระดับน้ำทะเลและมหาสมุทรมีการเปลี่ยน แปลง
การหมุนรอบตัวเองของโลก บริเวณเส้นศูนย์สูตร ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลกเท่ากับ 1,700 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนบริเวณละติจูดที่ 60 องศา ความเร็วของการหมุนรอบตัวเองของโลกจะมีค่าประมาณ 850 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือประมาณครึ่งหนึ่งของความเร็วที่ศูนย์สูตร บริเวณขั้วโลกความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลกมีค่าเป็นศูนย์
การหมุนรอบตัวเองของโลก ผลจากการที่อัตราความเร็วของการหมุนรอบตัวเองของโลกต่างกัน จะมีผลตามมาที่สำคัญ คือ แรงเหวี่ยงของโลกมีผลต่อน้ำหนักของวัตถุ เพราะเป็นแรงหนีศูนย์กลาง และมีผลต่อทิศทางของลมและกระแสน้ำ โดยทิศทางของลมและกระแสน้ำบริเวณขั้วโลกเหนือจะเบนไปทางขวามือ ส่วนซีกโลกใต้จะเบนไปทางซ้ายมือ เพราะโลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก
การหมุนรอบตัวเองของโลก ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมแวนการ์ดซึ่งส่งออกสู่ อวกาศเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2501 ทำให้ทราบสัณฐานที่แท้จริงของโลกแตกต่างจากทรงกลมแป้นเล็กน้อย โดยที่ระดับน้ำทะเลบริเวณขั้วโลกเหนือจะสูงกว่าธรรมดา 15 เมตร และ ที่บริเวณขั้วโลกใต้ระดับน้ำต่ำกว่าธรรมดา 15 เมตร
การหมุนรอบตัวเองของโลก ส่วนบริเวณนอกขั้วโลกระดับน้ำทะเลทางซีกโลกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรจะต่ำกว่าธรรมดา 7.5 เมตร และทางซีกโลกที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรจะสูงกว่าธรรมดา 7.5 เมตร ผลรวมทั้งหมดนี้ทำให้โลกมีสัณฐานคล้ายผลไม้
เอกสารอ้างอิง แสงอรุณ ธาตุเสถียร. โลกศาสตร์ (Earth Science). สำนักพิมพ์ภูมิบัณฑิต.