รูปแบบของการเล่าเรื่อง Narrative Mode รูปแบบของการเล่าเรื่อง
หัวข้อที่จะศึกษา Narrative Point of View Narrative Voice Narrative Time
Narrative Point of View มุมมองของการเล่าเรื่อง หมายถึงมุมมองที่เรื่องถูกสื่อสารกับผู้อ่านหรือผู้ชม จำแนกเป็น First Person Narrative Second Person Narrative Third Person Narrative
1st Person Narrative เรื่องจะถูกเล่าโดยผู้เล่าเรื่องซึ่ง มักจะเป็นตัวละครในเรื่อง ด้วย สรรพนามบุรุษที่ 1 เช่น “ผม” “ฉัน” “เรา” ฯลฯ การเล่าเรื่องแบบนี้มักจะใช้ใน การบอกเล่าความคิด ความใน ใจของตัวละคร กับผู้อ่านหรือ ผู้ชมโดยตรง (personal) บางครั้งก็จะเล่าออกมาด้วย มุมมองแบบพระเจ้า (omniscient) โดยตัวละคร ไม่ได้ปรากฏ แต่ประหนึ่งว่า กำลังเป็นผู้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ นั้นๆ ผู้เล่าเรื่องไม่ได้เป็นคนๆ เดียวกับกับผู้ประพันธ์
2nd Person Narrative ไม่ค่อยจะได้พบเห็นมากนักใน เรื่องสั้นหรือภาพยนตร์ แต่ มักจะพบในบทเพลงและบทกวี ผู้เล่าเรื่องใช้สรรพนามเรียก ผู้อ่านว่า “คุณ” “เธอ” หรือ “นาย” ซึ่งก็เท่ากับเป็นการทำ ให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังกลายเป็นตัว ละครตัวหนึ่งในเรื่อง เป็นความพยายามในการทำ ให้เกิดการเทียบเคียงทาง ความคิด ความรู้สึกของผู้อ่าน กับตัวเรื่อง
3rd Person Narrative พบเห็นได้บ่อยที่สุด เล่าเรื่องของตัวละครตัวอื่นใน เรื่องด้วยสรรพนาม “เขา” “เธอ” “หล่อน” หรือด้วยชื่อของตัว ละครนั้นๆ ผู้เล่าเรื่องไม่ได้เป็นตัวละครตัว ใดตัวหนึ่งในเรื่อง หรือมีส่วน เกี่ยวข้องกับเรื่อง อาจจำแนกมุมมองได้เป็น subjective/objective omniscient/limited
Alternating Person เรื่องเล่าที่มีการเปลี่ยมุมมอง ของผู้เล่าเรื่องสลับไปสลับมา ระหว่าง ตัวละครในเรื่อง Rashomon The Home and The World 1st, 2nd & 3rd Person Personal & Omniscient Harry Potter
Narrative Voice เสียงของผู้เล่าเรื่อง หมายถึงวิธีการที่เรื่องถูกเล่าสู่ผู้อ่านหรือผู้ชม อาทิ ความคิดของตัวละคร, การสนทนา, การเขียนจดหมาย, การเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟัง จำแนกได้เป็น Stream of Consciousness คือ การเล่าเรื่องด้วยกระแสสำนึก เป็น การถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกของผู้เล่าสู่ผู้อ่านโดยที่ตัวละคร อื่นไม่รู้ เรื่องราวอาจไม่สมบูรณ์หรือกระท่อนกระแท่นตามลักษณะ ความคิดของมนุษย์ Character Voice คือการเล่าเรื่องผ่านเสียงของตัวละครที่เป็นตัว ละครหนึ่งในเรื่องด้วยมุมมองแบบบุรุษที่ 1 หรือ บุรุษที่ 3 Epistolary Voice คือการเล่าเรื่องผ่านการโต้ตอบด้วยจดหมายที่ เมื่อนำมาปะติดปะต่อกันก็จะทำให้เราเข้าในในโครงเรื่องได้ Third Person Voice คือการเล่าเรื่องผ่านเสียงของผู้บรรยายที่ ไม่ได้เป็นตัวละครในเรื่อง
Narrative Time เวลาในการเล่าเรื่อง Past Tense คือการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต ด้วย ไวยากรณ์ที่ระบุเวลาว่าเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว Present Tense คือการเล่าเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน Future Tense คือการเล่าเรื่องของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ด้วยไวยากรณ์อย่าง “จะ” และ “will” ไม่ค่อยได้ พบเห็นมากนักเพราะแม้กระทั่งนวนิยายวิทยาศาสตร์ก็มักจะ สร้างเรื่องว่าเป็นเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน