แนวคิดเกี่ยวกับวินัยและการลงโทษ ความหมาย “ วินัย ” หลักการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ หลักในการพิจารณาลงโทษ
ความหมาย “ วินัย ” แบ่งได้เป็น 2 แนวทาง 1. ความหมายในทางรูปธรรม - กฎ ระเบียบ แบบแผน - คำสั่ง ที่พึงยึดถือและปฏิบัติตาม 2. ความหมายในเชิงนามธรรม - ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นการควบคุมตนเอง มีระเบียบ วินัย เคารพการบังคับบัญชา ยอมรับ หรือปฏิบัติตาม - “ ความมี ” หรือ “ ความไม่มี ” เป็นความรู้สึกอันดีงาม อันอยู่ภายใต้พื้นฐานของจิตใจเป็นสำคัญ
วินัย กรอบ เป็นข้อปฏิบัติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด วินัย กรอบ เป็นข้อปฏิบัติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด พิจารณาได้ 2 ประการ 1. ในทางบวก เป็นการเสริมสร้าง ทัศนคติ ท่าทีและบรรยากาศที่ดีในการปฏิบัติงาน 2. ในทางลบ มีไว้เพื่อเป็นกรอบให้ทุกคน สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสงบเรียบร้อย เปรียบเสมือน กติกา ที่กำหนดไว้ หากมีการฝ่าฝืน ต้องมีมาตรการลงโทษ
หลักการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ 1. มีหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติที่แน่นอนและชัดเจน 2. การให้ทุกคนรับรู้ในกฎเกณฑ์ 3. มีข้อพิสูจน์ได้ ต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นว่ามีการทำผิดจริง 4. มีความสม่ำเสมอในการปฏิบัติ 5. การพิจารณาปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินการทางวินัย
6. การลงโทษ โดยปกติมักกำหนดในลักษณะเริ่มจากการลงโทษ ที่เบาที่สุด และเริมหนักขึ้น จนถึงหนักที่สุด ระดับการลงโทษมักจะเริ่มจาก - ว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจา - ว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจาแต่มีการทำทัณฑ์บนไว้ - ตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษรโดยบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติ - งดความดีความชอบ - ลดขั้น คือ ทั้งตัดเงินเดือนและลดตำแหน่งหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง - พักงานมากน้อยตามความผิด - ไล่ออกจากงาน
การลงโทษทางวินัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีลักษณะเดียวกัน คือ มีการแบ่งระดับของ การกำหนดโทษไว้ 5 ระดับ 1. ภาคทัณฑ์ 2. ตัดเงินเดือน 3. ลดขั้นเงินเดือน 4. ปลดออก 5. ไล่ออก
หลักในการพิจารณาลงโทษ ยึดหลัก 3 ประการ 1. ยุติธรรม = การลงโทษทางวินัยต้องให้ความยุติธรรมแก่ ผู้กระทำผิด และการดำเนินการต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ กำหนด 2. เป็นธรรม = การลงโทษต้องเป็นไปโดยเท่าเทียมกัน 3. ฉับพลัน = เมื่อมีผู้กระทำผิดขึ้นต้องมีการดำเนินการ พิจารณาลงโทษโดยมิชักช้า เพื่อวัตถุประสงค์ - ให้สำนึกผิด - ให้ตระหนักถึงโทษทัณฑ์จะได้ไม่เอาเยี่ยงอย่าง