การจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ โดยนักเคมียุคต่างๆ
ตารางธาตุของเดอเบอไรเนอร์ ปี พ.ศ. 2360 โยฮันน์ เดอเบอไรเนอร์ นักเคมีชาวเยอรมัน ได้ตั้งกฏชุดสาม (Law of triads) “ นำธาตุต่างๆ ที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันมาจัดไว้ในหมู่เดียวกัน หมู่ละ 3 ธาตุ เรียงตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากในแต่ละหมู่ มวลอะตอมของธาตุที่อยู่ตรงกลางจะเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของธาตุที่เหลืออีก 2 ธาตุ “
มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุบางกลุ่ม ตามกฏชุดสาม
ตารางธาตุของนิวแลนด์ ในปี พ.ศ. 2407 จอห์น นิวแลนด์ นักเคมีชาวอังกฤษได้พบว่าเมื่อนำธาตุต่างๆ มาเรียงลำดับตามมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก ให้เป็นแถวตามแนวนอน สมบัติของธาตุจะคล้ายกันเป็นช่วงๆ ซึ่งลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นทุกๆ ของธาตุที่ 8 เรียกการจัดตารางธาตุของนิวแลนด์ว่า law of octaves
ตัวอย่างการจัดตารางธาตุของนิวแลนด์
ตารางธาตุของเมนเดเลเอฟ ในระหว่างปี พ.ศ. 2412 - 2413 ยูลิอุส ไมเออร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน และ ดิมิทรี เมนเดเลเอฟ นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้พบในเวลาเดียวกันว่า “ สมบัติต่างๆ ของธาตมีส่วนสัมพันธ์กับมวลอะตอม กล่าวคือถ้าเรียงลำดับธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก จะพบว่าธาตุต่างๆ จะมีสมบัติคล้ายคลึงกันเป็นช่วงๆ“
กฏพิริออดิก หรือกฏตารางธาตุ (Periodic law) จัดธาตุที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันไว้ให้อยู่ในหมู่หรือในแนวตั้งเดียวกัน เรียงลำดับมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก ถ้าสมบัติของธาตุไม่สอดคล้องกันให้ปล่อยช่องว่างเว้นไว้ เมนเดเลเอฟได้ทำนายสมบัติของธาตุที่อยู่ในตำแหน่งที่ว่างไว้
ธาตุที่เมเดเลเอฟทำนายสมบัติไว้ล่วงหน้า ธาตุอยุ่ใต้ Si เมนเดเลเอฟเรียกชื่อว่า เอคาซิลิคอน อีก 15 ปีต่อมาจึงพบว่าเป็น ธาตุเจอร์เมเนียม(Ge) ธาตุที่อยู่ใต้โบรอน( B ) เรียกว่า เอคาโบรอน และ อยู่ใต้อะลูมิเนียมว่า เอคาอะลูมิเนียม ปัจจุบันพบว่าเป็นธาตุ Se และ Ga ตามลำดับ
ตารางธาตุของเฮนรี โมสลีย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พบว่า “ เลขอะตอมหรือจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุ มีความสัมพันธ์กับสมบัติของธาตุมากกว่ามวลอะตอม “ สามารถสร้างตารางได้โดยไม่ต้องสลับที่ธาตุบางธาตุ