คำขวัญจังหวัดอุดรธานี น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอม อุดรซันไฌน์
ผลการดำเนินงานควบคุมโรคหนอนพยาธิในพื้นที่เสี่ยงสูง จังหวัดอุดรธานี ปี 2545
ผลการดำเนินงานควบคุมโรคหนอนพยาธิในพื้นที่เสี่ยงสูง จังหวัดอุดรธานี ปี 2545 พื้นที่ดำเนินการ เลือกพื้นที่ดำเนินการ 4 อำเภอ ได้แก่ - อำเภอหนองวัวซอ , บ้านผือ, เพ็ญ , บ้านดุง โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจหาความชุกของพยาธิใบไม้ตับ ในปีงบประมาณ 2544
คัดเลือกหมู่บ้านดำเนินการ จำนวน 30 หมู่บ้าน อำเภอหนองวัวซอ 8 หมู่บ้าน อำเภอบ้านผือ 8 หมู่บ้าน อำเภอบ้านดุง 7 หมู่บ้าน อำเภอเพ็ญ 7 หมู่บ้าน
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในการป้องกันและควบคุม โรคหนอนพยาธิ เป้าหมาย 1. เพื่อลดอัตราความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับ ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10 2. ประชาชนได้รับการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ ร้อยละ 30 ของประชากร และได้รับการบำบัด ด้วยยาทุกรายที่ตรวจพบไข่พยาธิ
แนวทางในการดำเนินงานควบคุมโรคหนอนพยาธิ 1. การกำจัดแหล่งแพร่โรคในคน 1.1 การตรวจอุจจาระเพื่อการวินิจฉัยโรค - ฝึกอบรมพนักงานจุลทัศนกร - จัดหาวัสดุวิทยาศาสตร์ - ซ่อมบำรุงกล้องจุลทรรศน์ - ตรวจอุจจาระในประชาชนเชิงรุก-รับ - ควบคุมมาตรฐานด้าน LAB
1.2 การรักษาโรคหนอนพยาธิ - จัดหาและสนับสนุนยา 2. การป้องกันการติดโรคเฉพาะบุคคล 3. การป้องกันการแพร่โรคในชุมชน 4. การพึ่งตนเองและมีส่วนร่วมของชุมชน
รูปแบบขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงาน 1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 2. คัดเลือกพื้นที่ดำเนินการ 3.จัดอบรมพนักงานจุลทัศนกร หลักสูตร 5 วัน ( วันที่ 10 - 14 มิถุนายน 2545 ) 4. เตรียมชุมชน , เก็บอุจจาระส่งตรวจ , แจ้งสถานการณ์โรคพยาธิใบไม้ตับให้ประชาชนทราบ 4.1 รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับพยาธิใบไม้ตับในชุมชน และ โรงเรียน
รูปแบบขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงาน(ต่อ) 5. จัดประชุมปฏิบัติการงานควบคุมโรคหนอนพยาธิใน พื้นที่เสี่ยงสูง (วันที่ 6 สิงหาคม 2545) 6. จัดเวทีประชาคมแก่แกนนำชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ตลอดจนกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม กำหนดรูปแบบดำเนินการโดยเน้นการสร้างชุมชนให้ เข้มแข็ง ด้วยกระบวนการ AIC (วันที่ 8-9 ส.ค. 2545)
รูปแบบขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงาน(ต่อ) 6.1 จัดเวทีชาวบ้าน ให้ประชาชนรู้จักวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง 6.2 จัดบอร์ดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เรื่องโรค พยาธิใบไม้ตับในโรงเรียน 6.3 จัดบรรยายพิเศษให้ความรู้แก่นักเรียนเรื่อง บริโภคสุก สะอาด ปราศจากโรคพยาธิ
รูปแบบขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงาน(ต่อ) 6.4 อบรมอาสาสมัครนักเรียน จำนวน 30 โรงเรียน 7. ประเมินอัตราความชุกของพยาธิใบไม้ตับว่าลดลงหรือไม่ 8. ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ
ผชช.ว.กล่าวเปิดการอบรมพนักงานจุลทัศนกร กำลังฝึกภาคปฏิบัติอย่างตั้งใจ
การอภิปรายหมู่การดำเนินงานควบคุมหนอนพยาธิให้สำเร็จ แกนนำชุมชน
นพ.สสจ.อุดรธานีกล่าวเปิดการประชุมปฏิบัติการ
พญ. ประภาศรี กล่าวความเป็นมาของโครงการควบคุมหนอนพยาธิ
อ. จันทร์เพ็ญ จากกองสุขศึกษา อ.อมรรัตน์ วิทยากรจาก สคต. 6 ขอนแก่น
ระยะเวลาดำเนินการ ผลการดำเนินการ พฤษภาคม 2545 - กันยายน 2545 ผลการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ 30 หมู่บ้าน พบว่ามีอัตราความชุกเฉลี่ยร้อยละ จัดอบรมพนักงานจุลทัศนกรใหม่จำนวน 29 ราย ป้องกันโรคหนอนพยาธิด้วยพลังชุมชน (เน้นการมีส่วนร่วม)
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ 1. ประชาชนมีวัฒนธรรมการบริโภคสืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยเชื่อว่ารับประทานอาหารปลาดิบแล้วจะแข็งแรง 2. พฤติกรรมการขับถ่าย ยังถ่ายนอกส้วมเป็นบางครั้ง เนื่องจากพื้นที่เป็นป่า , ภูเขา และมีลำน้ำไหลผ่าน
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ(ต่อ) 3. จัดทำโครงการโรงเรียนปลอดพยาธิ โดยให้คณะครูในโรงเรียน มีส่วนรับผิดชอบและมีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน เพื่อให้นักเรียน ครอบครัว ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการเป็น โรคพยาธิใบไม้ตับ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ(ต่อ) 4. พัฒนากลวิธีทางสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์และสนับสนุน การดำเนินงานให้อย่างพียงพอและต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ปลอดภัยจากการติดโรค และการแพร่ โรคพยาธิใบไม้ตับ โดยอาศัยการมีส่วนร่วม ของ องค์กร ในท้องถิ่น สื่อมวลชน ศิลปินพื้นบ้าน และผู้นำชุมชน ทุกระดับ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี สวัสดี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี