หัวข้อการเรียน สัปดาห์ที่ ๓ ENL 3701 รศ. ดร. อุทัย ภิรมย์รื่น
หน่วยที่ ๒ การอ่านคืออะไร หัวข้อการเรียน ๑. คำจำกัดความของการอ่าน ๑.๑ การถอดรหัสภาษา (Decoding process) ๑.๒ การค้นหาความหมาย (Meaning seeking) ๒. ธรรมชาติและกระบวนการการอ่านในระยะเริ่มเรียน ๒.๑ การใช้สายตาและประสาทสัมผัส (Eye movement and sensory process) ๒.๒ กระบวนการทางสมอง (Cognitive)
คำจำกัดความของการอ่าน ๑. กระบวนการถอดรหัสภาษา (Decoding process) ๑.๑ การสัมพันธ์สัญลักษณ์เข้ากับเสียงในคำพูด เป็นการผสมอักษร หรือword callingหรือการแจกลูก เช่น ก + า = กา h + e = he, b+oy=boy , etc. ๑.๒ การออกเสียงคำพูด (Phonics) เช่น boy /bo:y/ toy /to:y/ me /me:y/, we /we:y/ ,etc. ๑.๓ การสะกดคำ (Spelling) b+oo+k = book, h+o+m+e= home, d+o+n+e=done, etc.
ปัญหาที่ควรพิจารณา ๑. การอ่านออกเสียงคำพูด เช่นการผสมอักษร การสะกดคำ ช่วยให้สร้างคำขึ้นมาได้ แต่ไม่ทราบความหมายของคำ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร ๒. ภาษาอังกฤษมีการออกเสียงไม่ตรงตามตัวอักษร หรือเขียนได้หลายแบบจะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร เช่น h+e=he:, d+o=dow, d+o=du:, womb=wu:m, women=we:men, etc. ๓. Word calling หรือ Phonic method มีข้อจำกัดในการอ่านหรือไม่ อย่างไร
การอ่านเป็นการค้นหาความหมาย ๑. การอ่านมีกระบวนการ ๒ ขั้น คือ การรับรู้และเข้าใจความหมายของสาร (message)ที่ถ่ายทอดทางภาษาเขียน คู่ขนานกับสารที่ถ่ายทอดทางภาษาพูด เช่น ภาษาเขียน Good morning อ่านว่า /gu:d mo:r niŋ/ มีความหมายว่า สวัสดี (ตอนเช้า) เป็นคำทักทาย เป็นการแปลความหมายจากเสียงที่ได้ยิน หรือจากตัวหนังสือที่เขียน ๒. การอ่านเป็นปฎิสัมพันธ์ (interaction)ระหว่างประสบการณ์ทางจิตของผู้อ่านและคำศัพท์ และข้อมูลทางไวยากรณ์ที่ถ่ายทอดทางสัญลักษณ์ภาษาเขียน
การอ่านเป็นปฏิสัมพันธ์ (Interaction) การอ่านเป็นปฏิสัมพันธ์ในสามส่วนคือ ๑. วัสดุที่อ่าน ๒. ความรู้เดิมของผู้อาน ๓. การใช้สติปัญญาและกิจกรรมทางกายภาพและเหตุผล
การอ่านเป็นการใช้ความคิดหรือทักษะในการหาเหตุผล ๑. การอ่านคือการใช้ความคิดหาเหตุผล ๒. การอ่านเป็นกระบวนการที่มีความคิดเป็นศูนย์กลาง โดยความหมายจะแทรกอยู่ในสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนหน้ากระดาษ ๓. การอ่านเป็นการสุ่มตัวอย่าง การคัดเลือก การทำนาย การเปรียบเทียบและการยืนยัน โดยผู้อ่านเลือกตัวชี้แนะที่เป็นตัวเขียน
การอ่านเป็นกระบวนการทางสังคม (Social Process) ๑. การเชื่อมโยงผู้อ่านไปยังสิ่งแวดล้อมและมีเงื่อนไข ๒. เป็นประสบการณ์รองที่ผู้อ่านได้รับ เนื้อหาสาระ<-> ประสบการณ์ <->สิ่งแวดล้อม->เงื่อนไข
การอ่านเป็นกระบวนการพหุมิติ (multi-dimension) ๑. เป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน ๒. มีปฏิสัมพันธ์หลายระดับของพฤติกรรมที่มีความมุ่งหมาย ๓. ผู้อ่านค้นหาความหมายจากข้อเขียนของผู้เขียน ๔. ความหมายมีทั้งตามตัวอักษร แฝงอยู่อารมณ์ของผู้เขียน น้ำเสียง ความจงใจ เจตคติต่อผู้อ่านและผู้เขียนเอง
ส่วนประกอบสำคัญของการอ่าน ๑. การรับรู้และจดจำตัวอักษร(letter and word perception/recognition) ๒. การทำความเข้าใจแนวความคิด (comprehension of the concepts) จากคำภาษาเขียน ๓. การแสดงปฏิกิริยา(reaction) และการซึมซับ (assimilation)เอาความรู้ใหม่โดยอาศัยพื้นฐานจากประสบการณ์เดิมของผู้อ่าน (Lapp & Flood)
ประเด็นที่ควรอภิปรายและตอบคำถาม ๑. คำกล่าวที่ว่า”การอ่านเป็นกิจกรรมทางปัญญา ” หมายความว่าอย่างไร และมีผลสะท้อนต่อผู้อ่านในลักษณะใดบ้าง ๒. การค้นหาความหมายจากการอ่านจะบรรลุผลได้ต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนในด้านใดบ้าง ๓. การอ่านกับการคิดเหมือนกันหรือแตกต่างกัน การอ่านที่ไม่ใช้ความคิดจะเกิดผลเสียอย่างไรบ้าง ๔. คำกล่าวที่ว่า “การอ่านเป็นกระบวนการทางสังคม” มีความหมายอย่างไร เราจะใช้การอ่านในSocial networksให้เป็นประโยชน์ได้หรือไม่ และอย่างไร