งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ENL 3701 Unit 2 การอ่านคืออะไร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ENL 3701 Unit 2 การอ่านคืออะไร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ENL 3701 Unit 2 การอ่านคืออะไร
หัวข้อการเรียน

2 การอ่านคืออะไร ๑. คำจำกัดความของการอ่าน
๑. คำจำกัดความของการอ่าน ๒. ธรรมชาติและกระบวนการของการอ่านในระยะเริ่มเรียน ๓. การอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ ๔. ปัญหาการอ่านในระยะเริ่มเรียน

3 ๑. คำจำกัดความของการอ่าน
๑. คำจำกัดความของการอ่าน กลุ่มที่ ๑ มองการอ่านโดยอาศัยพื้นฐานของกระบวนการถอดรหัสภาษา (A Decoding Process) กลุ่มที่ ๒ มองการอ่านเป็นการค้นหาความหมาย (Reading for Meaning)

4 กลุ่มที่ ๑ Reading as a Decoding Process
คำนิยามของการอ่านตามแนวพจนานุกรมของสมาคมการอ่านนานาชาติ (International Reading Association) ๑. เน้นลักษณะเฉพาะในกระบวนการของการอ่านเกี่ยวกับ Psychomotor การใช้อวัยวะเคลื่อนไหว Cognitive กระบวนการทางสมอง Affective ภาวะทางจิต

5 ลำดับขั้นของกระบวนการอ่านการอ่านตามแนว Decoding Process
๑. การรับรู้สัญลักษณ์ตัวเขียนของภาษา + เสียงภาษา ๒. การรับรู้และเข้าใจภาษาพูด (Oral Message) และ ภาษาเขียน (Written Message) ๓. กระบวนการปฏิสัมพันธ์ ระหว่าง ประสบการณ์ คำศัพท์ และไวยากรณ์ (Experience+Vocabulary+Grammar)

6 กระบวนการปฏิสัมพันธ์ Interaction
ผู้อ่าน กับ Materials Experience Intellectual, Physical, Reasoning

7 กลุ่มที่ ๒ Reading for Meaning
การอ่านคือการหาเหตุผล (Reasoning) การอ่านคือการเรียนรู้ การคิดเป็นศูนย์กลาง(Learning, Thinking) การอ่านเป็นการสุ่มตัวอย่าง การคัดเลือก การทำนาย การเปรียบเทียบและการยืนยันซึ่งอาศัย ตัวชี้แนะ (Clues)

8 Reading as a Social Process
ประสบการณ์รอง (Vicarious Experiences ) ช่วยให้เข้าใจสิ่งแวดล้อม มีเงื่อนไขต่อการเชื่อมโยงทางสังคม

9 การอ่านเป็นกระบวนการพหุมิติ (Multi-dimension)
เป็นการทำความเข้าใจความหมายตามตัวอักษร ความรู้สึก ความหมายแฝงจากผู้เขียน ในน้ำเสียง ในความจงใจ และในเจตคติ ต่อผู้อ่าน และตัวผู้เขียน

10 คำนิยามจากที่อื่น เช่น Walcutt, Lamport, McCraken
การอ่านเป็นกิจกรรมทางปัญญา เพื่อพัฒนาชีวิต ความเจริญงอกงาม ทางกาย สติปัญญา การรับรู้ และจิตวิญญาณ

11 การเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์
คำนิยามของ Dechant หมายถึง การรับรู้ การเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์

12 ความหมายของการอ่าน ตาม Lapp & Flood
๑. การรับรู้และจดจำตัวอักษรและคำ (Letter & word perception/recognition) ๒. การทำความเข้าใจแนวความคิด จากคำภาษาเขียน (Comprehension of the concepts) ๓. การแสดงปฏิกิริยา (Reaction) และการซึมซับ (Assimilation) ความรู้ใหม่จากพื้นฐานประสบการณ์เดิมของผู้อ่าน

13 ๒. ธรรมชาติและกระบวนการอ่าน ในระยะเริ่มเรียน
จุดเน้น การใช้สายตา (Eye Movement) Fixations - real reading activity Regression การอ่านย้อนกลับ Mental Process: – Eye-Brain connections

14 ตัวแบบการอ่านในระยะเริ่มเรียน
๑. The Gray-Robinson Reading Model ๑. การรับรู้คำ (Word perception) ๒. ความเข้าใจการอ่าน (Comprehension) ๓. การแสดงปฏิกิริยาต่อเรื่องที่อ่าน (Reaction) ๔. การซึมซับในการอ่าน (Assimilation) ๕. อัตราความเร็วในการอ่าน (Rate of Reading)

15 The Psycholinguistic Model
Professor K. Goodman เป็นต้นคิดรูปแบบ การอ่านเป็นเกมการเดาทางจิตภาษาศาสตร์ การอ่านต้องอาศัยตัวชี้แนะ (Clues) ภายในคำ ภายในภาษาหรือเนื้อเรื่อง จากผู้อ่านเอง จากภายนอก

16 แนวคิดเกี่ยวกับการอ่าน ตามแนวตัวแบบทางจิตภาษาศาสตร์
๑. การอ่านมิใช่กระบวนการที่ตายตัวหรือแน่นอน ๒. การอ่านเป็นกระบวนการที่มีความหมายเป็นศูนย์กลาง ๓. บริบทเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดสำหรับการอ่าน ๔. ความชำนาญทางภาษาจะเพิ่มทักษะการอ่าน

17 The Information Processing Model
ลำดับขั้นของการอ่าน ๑. การรับภาพ (Visual Impact) ๒. การรับรู้ภาพที่มองเห็น (Recognition of Input) ๓. ภาพลักษณ์ไอโคนิต (Iconic Image) ๔. ความจำชั่วคราวในสมอง (Temporary Memory) ๔. ความจำถาวร (Permanent Memory)

18 การอ่านออกสียงและการอ่านในใจ
การอ่านออกเสียง (Oral Reading) พฤติกรรม –การใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างในขณะอ่านออกเสียง จุดมุ่งหมายสำคัญ---ความสามารถในการสื่อความหมายในทางความคิดของผู้เขียนไปยังผู้ฟังได้อย่างชัดเจน

19 ประโยชน์ของการอ่านออกเสียง
๑. ด้านการศึกษา บทประพันธ์ บทละคร เครื่องมือตรวจสอบข้อบกพร่องของผู้อ่าน ๒. ด้านสังคม กิจกรรมการสื่อสารสำหรับมวลชน

20 การปรับปรุงการอ่านออกเสียง
๑. การเรียนรู้การออกเสียงแต่ลำอย่างถูกต้อง ๒. รู้วิธีการบังคับเสียงในระดับที่เหมาะสม ๓. ความสามารถในการสื่อความหมายที่แท้จริง ๔. การควบคุมการทรงตัวและการสัมผัสสายตากับผู้ฟัง ๕. การควบคุมการใช้เสียง---ความไพเราะ ความดังชัดเจน ให้พอเหมาะกับขนาดผู้ฟัง

21 การอ่านในใจ (Silent Reading)
พฤติกรรมการอ่าน เป็นกระบวนการที่เกิดก่อนการอ่านออกเสียง ด้านการรับรู้คำและการเข้าใจความหมาย ไม่มีการเปล่งเสียงใดๆทั้งสิ้น จุดประสงค์ของการอ่าน การรับรู้และแปลความหมายจากภาษาเขียนให้แก่ตัวเอง ความแตกต่างระหว่างการอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ

22 ปัญหาการอ่านในระยะเริ่มเรียน
๑. การใช้ความคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจเป็นหน่วย (Conceptualization) ๒. การเรียนรู้ภาษา (Language Acquisition) ๓. การใช้กลไกทางร่างกายด้านประสามสัมผัสและการรับรู้ต่างๆ (Eye-hand Coordination) การควบคุมอารมณ์และความสนใจ


ดาวน์โหลด ppt ENL 3701 Unit 2 การอ่านคืออะไร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google