หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 น แรง
แรง ความหมายของแรง แรงลัพธ์
ความหมายของแรง แ
แรง แรง คือ ปริมาณที่กระทำกับวัตถุแล้วเป็นผลให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 4 ลักษณะ ดังนี้ 1. วัตถุที่หยุดนิ่งอาจเริ่มเคลื่อนที่ได้ 2. ความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ 3. ทิศทางของการเคลื่อนที่ของวัตถุอาจเปลี่ยนแปลงได้ 4. วัตถุอาจมีรูปร่างหรือขนาดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ ซึ่งสามารถบอกขนาดและทิศทางได้ ค่าของแรงมีหน่วยวัดเป็น นิวตัน (N) โดยคำนวณได้จากผลคูณของน้ำหนักกับความเร่งของวัตถุ หรือวัดได้โดยตรงจากเครื่องมือวัด เช่น เครื่องชั่งสปริง
แรงลัพธ์ แ
แรงลัพธ์จะมีขนาดเท่ากับผลบวกของขนาดของแรงย่อย ดังสมการ ในกรณีมีแรงมากระทำกับวัตถุ 2 แรงขึ้นไป (ทิศทางเดียวกัน ทิศทางตรงข้ามกัน หรือหลายทิศทางพร้อมๆ กัน) ต้องหาผลรวมของขนาดและทิศทางของแรงทั้งหมด หรือแรงลัพธ์ เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงนั้น การหาแรงลัพธ์ของแรงที่กระทำกับวัตถุในทิศทางเดียวกัน แรงลัพธ์จะมีขนาดเท่ากับผลบวกของขนาดของแรงย่อย ดังสมการ
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง
การหาแรงลัพธ์ของแรงที่กระทำกับวัตถุในทิศทางตรงข้าม กำหนดให้ทิศทางของแรงที่ไปทางหนึ่งเป็นบวก และแรงที่มีทิศทางตรงข้ามเป็นลบ แรงลัพธ์จะมีขนาดเท่ากับผลต่างของขนาดของแรงย่อย ส่วนทิศทางของแรงลัพธ์จะขึ้นกับขนาดของแรงย่อย โดยวัตถุจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางของแรงย่อยที่มีขนาดมากกว่า แต่ถ้าแรงย่อยมีขนาดเท่ากัน วัตถุจะไม่เคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง โดยแรงลัพธ์สามารถหาได้ ดังสมการ
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง
ในกรณีที่แรงลัพธ์เป็นศูนย์ วัตถุจะรักษาสภาพการเคลื่อนที่เดิมไว้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี ดังนี้ 1. แรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์กระทำกับวัตถุหยุดนิ่ง วัตถุจะรักษาสภาพหยุดนิ่งไว้ หรือไม่เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ 2. แรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์กระทำกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วค่าหนึ่ง วัตถุจะรักษาสภาพการเคลื่อนที่เดิมเอาไว้และจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิมด้วยความเร็วคงตัวนั้นตลอดไป ทั้ง 2 กรณีเป็นกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ของนิวตัน เรียกว่า “กฎแห่งความเฉื่อย” ซึ่งกล่าวไว้ว่า “ถ้าไม่มีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุ หรือแรงลัพธ์ที่มากระทำมีค่าเป็นศูนย์ วัตถุจะไม่เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่”
สรุปทบทวนประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ ที่สามารถบอกขนาดและทิศทางที่แน่นอนได้ แรงลัพธ์เป็นผลรวมของแรงทั้งหมดที่กระทำกับวัตถุ การคำนวณหาแรงลัพธ์ ถ้าแรงย่อยที่กระทำต่อวัตถุมีทิศทางเดียวกัน แรงลัพธ์จะมีขนาดเท่ากับผลบวกของแรงย่อย ถ้าแรงย่อยที่กระทำต่อวัตถุมีทิศทางตรงข้ามกัน แรงลัพธ์จะมีขนาดเท่ากับผลต่างของแรงย่อย โดยวัตถุจะเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของแรงที่มีขนาดมากกว่าเสมอ ถ้าแรงย่อยที่มีขนาดเท่ากันกระทำต่อวัตถุในทิศทางตรงกันข้าม แรงลัพธ์จะมีค่าเป็นศูนย์ ถ้าแรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์กระทำต่อวัตถุหยุดนิ่ง วัตถุจะรักษาสภาพหยุดนิ่งเอาไว้ ถ้าแรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์กระทำต่อวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ วัตถุจะเคลื่อนที่โดยรักษาสภาพการเคลื่อนที่เดิมไว้ และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว