๑.นางสาววิมุตตรีศักดิ์สกุลไกร เลขที่ ๘ ๒.นางสาวกชรัตน์นันทเสน เลขที่ ๑๕ ๓.นางสาวสุวภัทรธูปหอม เลขที่ ๑๗ ๔.นางสาวชญานิศวิจารณ์ เลขที่ ๒๐ ๕.นายภูมิภัทรกลิ่นหอม เลขที่ ๒๑ ๖.นางสาวพัณณิตาประโมจนีย์ เลขที่ ๒๒ ๗.นางสาวเกณิกายุ้งเกี้ยว เลขที่ ๓๓ ๘.นายมนตรีศรีธรรมยศ เลขที่ ๓๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ / ๔ ผู้จัดทำ
อิทธิพลและผลกระทบของ วรรณกรรม วรรณกรรมเป็นผลงานของมนุษย์ ดังนั้น จึงเป็นที่เก็บรวบรวมความคิด ความเป็นอยู่ และลักษณะสภาพต่างๆของมนุษย์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไว้ด้วยกัน วรรณกรรม จึงกลายเป็นหนังสือที่สามารถสะท้อนสภาพ สังคมได้ สังคมของผู้แต่งหนังสือมีธรรมชาติ เช่นไร วรรณกรรมก็มีธรรมชาติเช่นนั้น สังคม นั้นเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไปตาม เหตุการณ์อย่างไร วรรณกรรมก็กล่าวถึง เหตุการณ์อย่างนั้น
อิทธิพลและผลกระทบของ วรรณกรรม เช่น เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ มีผลทำให้มนุษย์ในแต่ ละสังคมประพฤติ ปฏิบัติตนต่างๆกัน หรือบางครั้งก็ ออกมาในรูปเดียวกัน บางครั้งก็ขัดแย้งกัน บางครั้งก็ กลมกลืนกัน ผู้แต่งหนังสือที่ ช่างสังเกตก็จะเลือกหาเหตุการณ์ เรื่องราว ความเป็นไปใน สังคมมาผูกเป็นเรื่องขึ้น โดยตั้ง จุดประสงค์ไว้ต่างๆกัน
อิทธิพลและผลกระทบของ วรรณกรรม บางคนผูกเรื่องขึ้นเพื่อรายงานเหตุการณ์ เพียงอย่างเดียว บางคน ก็ชี้ให้เห็นลักษณะที่ขัดแย้งต่างๆเพื่อเตือนสติ คนในสังคม ความเป็นจริงในวรรณกรรม โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นของต่างชาติหรือของ ไทยเองก็ตามปรากฏการณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่ เราไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ วรรณกรรมเป็นกระจก เงาที่สะท้อนภาพทางสังคมและเป็นดัชนีชี้แนว ของกระบวนการทางวัฒนธรรม ตลอดจนเสนอ ให้เห็นการยึดถือคุณค่าต่างๆของคนในสังคมแต่ ละยุคสมัย ความเป็นไปทางการเมือง ความ เป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา เป็นต้น
อิทธิพลและผลกระทบของ วรรณกรรม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อน ออกมาให้เราได้จากคนอ่านและคน เขียน และถ้าหากจะมีความจริงที่ นอกเหนือไปจากนี้อีกประการหนึ่งก็ คือ วรรณกรรมเป็นสัญลักษณ์ที่บอก ให้เราเห็นความจริงจังของคนในชาติ หรือความฟุ้งเฟ้อของกลุ่มคนในสังคม ซึ่งทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ว่ากลุ่มสังคมใดจะ ใช้กระจกเงาบานไหนออกมาฉาย
อิทธิพลและผลกระทบของ วรรณกรรม ดังนั้นท่าทีและแนวโน้มของวรรณกรรม ต่างๆไม่ว่าจะเป็นของไทยหรือต่างชาติ ไม่ ว่าจะอยู่ในสถานะไหนย่อมมีอิทธิพล เกี่ยวข้องกัน และย่อมขึ้นอยู่ว่าบรรดาผู้มี ส่วนสร้างสรรค์ผลงานทางวรรณกรรม ทั้งหลายจะพยายามเพียงใดที่จะยก วรรณกรรมขึ้นไว้เป็นสื่อของการรับใช้สังคม หรือเหยียบย่ำสังคมให้ต่ำทรามลง นอกจากนี้วรรณกรรมยังเป็นสิ่งที่ผูกพันกับ สังคม และเป็นสมบัติร่วมของทุกยุคทุกสมัย ทุกถิ่น การศึกษาวรรณกรรมจึงต้องควบคู่กับ สังคม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของวรรณกรรม
อิทธิพลและผลกระทบของ วรรณกรรม ผู้ประพันธ์จึงได้แสดงความคิด ปรัชญา ตลอดจนความจริงในสังคมด้วย ความสนใจและ ความรับผิดชอบ วรรณกรรมจึงมี อิทธิพลต่อสังคม รวมทั้งพลังในสังคมมนุษย์ด้วย
ขอบคุณ ค่ะ / ครับ