international conventions อนุสัญญาระหว่างประเทศ
นิยาม Convention - อนุสัญญา an agreement between states covering particular matters, especially one less formal than a treaty โดยมากแล้ว อนุสัญญามักเป็นหนังสือสัญญาทำกันระหว่างหลายประเทศที่มาประชุมกัน และจัดวางบทบัญญัติเป็นกฎเกณฑ์ของกฎหมายขึ้น
นิยาม Protocol - พิธีสาร the original draft of a diplomatic document, especially of the terms of a treaty agreed to in conference and signed by the parties an amendment or addition to a treaty or convention: a protocol to the treaty allowed for this Danish referendum ความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา หรือพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาหรืออนุสัญญานั้น
นิยาม Resolution – ข้อมติ a firm decision to do or not to do something : she kept her resolution not to see Anne any more a New Year's resolution a formal expression of opinion or intention agreed on by a legislative body or other formal meeting, typically after taking a vote: the conference passed two resolutions
นิยาม Ratification - สัตยาบัน sign or give formal consent to (a treaty, contract, or agreement), making it officially valid การให้สัตยาบันของรัฐซึ่งเป็นการให้ความยินยอมของรัฐ เพื่อผูกพันตามสนธิสัญญา
นิยาม Accession - ภาคยานุวัติ sign or give formal consent to (a treaty, contract, or agreement), making it officially valid การให้ความยินยอมที่จะผูกพันตามสนธิสัญญาภายหลังจากที่มีการลงนามในสนธิสัญญาไปแล้ว
ศัพท์อื่นๆ Treaty – สนธิสัญญา Diplomatic Conference – การประชุมทางการทูต Signature - การลงนาม Implement – อนุวัติการ Instrument – ตราสาร Instrument of ratification – สัตยาบัน Instrument of accession – สารตราสารรับรอง
ศัพท์อื่นๆ Member State – รัฐภาคี Amendment - การแก้ไขเพิ่มเติม Article - มาตรา Annex - ภาคผนวก Regulation- กฎข้อบังคับ Code - ประมวล
ขั้นตอนการจัดทำอนุสัญญา คณะกรรมการชุดใดชุดหนึ่ง เป็นผู้เสนอให้ยกร่างอนุสัญญา สมัชชาหรือคณะมนตรี ให้ความเห็นชอบ และมอบอำนาจให้คณะกรรมการพิจารณายกร่าง
ขั้นตอนการจัดทำอนุสัญญา คณะกรรมการประชุมในรายละเอียดและยกร่างตราสาร คณะกรรมการอาจส่งให้คณะอนุกรรมการเฉพาะทางเป็น ผู้พิจารณาร่างข้อกำหนด
ขั้นตอนการจัดทำอนุสัญญา สมัชชา คณะมนตรี คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ สมัชชาหรือคณะมนตรี ให้ความเห็นชอบจัดการประชุม (Conference) เชิญประเทศสมาชิก IMO ทั้งหมด
ขั้นตอนการจัดทำอนุสัญญา ที่ประชุมพิจารณา และให้การรับรอง (adopt) เปิดให้มีการลงนาม ซึ่งประเทศที่ลงนามอาจจะให้สัตยาบันได้ ส่วนประเทศที่ไม่ได้ลงนามสามารถที่จะเข้าเป็นรัฐภาคีด้วยการภาคยานุวัติ
การมีผลใช้บังคับ Enter into force ต้องผ่านกระบวนการยอมรับโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ เงื่อนไขเชิงจำนวนที่จะทำให้แต่ละอนุสัญญามีผลใช้บังคับนั้น แตกต่างกัน SOLAS กำหนดว่า ต้องมีรัฐยอมรับอย่างน้อย 25 ประเทศ และจำนวนตันกรอสรวมกันมากกว่า 50% Tonnage 69 กำหนดว่า ต้องมีรัฐยอมรับอย่างน้อย 25 ประเทศ และจำนวนตันกรอสรวมกันมากกว่า 65% มีผลใช้บังคับภายหลังครบจำนวนตามเงื่อนไข เป็นระยะเวลาตามที่อนุสัญญากำหนด
การแก้ไขเพิ่มเติม Amendments Acceptance Tacit Acceptance
Tonnage อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการวัดขนาดตันเรือ ค.ศ. 1969 (International Convention on Tonnage Measurement of Ships 1969, TONNAGE 1969) สาระสำคัญ อนุสัญญานี้มีประเด็นที่สำคัญ ได้แก่กำหนดวิธีการคำนวณตันกรอสส์และตันเนท โดยกำหนดให้ตันกรอสส์เป็นสมการกับปริมาตรของที่ว่างในตัวเรือ (Enclosed Spaces) ทั้งหมดและตันเนทเป็นสมการกับปริมาตรของระวางสินค้า (Enclosed cargo spaces) รวมทั้งสัดส่วนความสูงของลำเรือกับกินน้ำลึก และจำนวนผู้โดยสารที่อาจบรรทุกได้
Tonnage สถานะ อนุสัญญานี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 18 กรกฎาคม 2535 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2539 บังคับใช้โดยการออกกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ ฉบับที่ 22 พ.ศ. 2539
SOLAS
SOLAS อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (International Convention on Safety of Life at Sea 1974, SOLAS 1974) สาระสำคัญ อนุสัญญานี้มีประเด็นที่สำคัญได้แก่ มอบหมายให้รัฐที่เข้าเป็นภาคีต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับเรือที่จดทะเบียนภายในประเทศโดยการควบคุมและออกใบสำคัญรับรองให้แก่เรือดังกล่าวและมีอำนาจตรวจตราเรืออื่นซึ่งสงสัยว่าไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา ซึ่งรวมถึงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ
SOLAS การตรวจสอบเรือประจำปี การจัดแบ่งชั้นระวางเรือ และความสามารถทรงตัวของเรือ การติดตั้งอุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆ การป้องกันและดับเพลิง อุปกรณ์ช่วยชีวิตต่างๆ เครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม สินค้าอันตรายฯลฯ สถานะ อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 พฤษภาคม 2523 พิธีสารมีผลบังคับตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2524 กรมเจ้าท่าได้ จัดทำพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525 เพื่อรองรับอนุสัญญาดังกล่าว และประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2528
SOLAS Chapter II-1 - Construction - Subdivision and stability, machinery and electrical installations Chapter II-2 - Fire protection, fire detection and fire extinction Chapter III - Life-saving appliances and arrangements Chapter IV - Radiocommunications Chapter V - Safety of navigation Chapter VI - Carriage of Cargoes Chapter VII - Carriage of dangerous goods Chapter VIII - Nuclear ships Chapter IX - Management for the Safe Operation of Ships Chapter X - Safety measures for high-speed craft Chapter XI-1 - Special measures to enhance maritime safety Chapter XI-2 - Special measures to enhance maritime security Chapter XII - Additional safety measures for bulk carriers
SOLAS
Codes related to SOLAS International Management Code for the Safe Operation of Ships and for Pollution Prevention (the ISM Code) Herald of Free Enterprise 6 March 1987 from Zeebrugge to Dover 1805 - 1827 International Ship and Port Facility Security Code (ISPS Code) IBC, IGC, IMDG, GC, IS, LSA, FSS, etc.
Recent issues LRIT – Long Range Identification and Tracking System Lifeboat Accidents
COLREG อนุสัญญาว่าด้วยกฎข้อบังคับ ระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันเรือโดนกันในทะเล ค.ศ. 1972 (Convention on International Regulations for Preventing Collisions at Sea 1972, COLREG 1972) สาระสำคัญ อนุสัญญานี้มีประเด็นสำคัญได้แก่ กำหนดให้การเดินเรือเมื่อเวลาเข้าใกล้กันหรือเมื่อมีทัศนวิสัยเลว การแซงขึ้นหน้า การสวนทางกัน และการจอดทอดเรือ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในกฎข้อบังคับแนบท้ายอนุสัญญา
COLREG นอกจากนั้นภาคผนวกของข้อบังคับยังระบุข้อกำหนดทางเทคนิคเกี่ยวกับเครื่องหมายสัญญาณแสงเสียง สถานที่ติดตั้งเครื่องหมายสัญญาณสำหรับเรือประมงเมื่อจับปลาอยู่ใกล้ชิดกันและสัญญาณบอกเหตุร้ายต่างๆ สถานะ อนุสัญญานี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 กรกฎาคม 2520 กรมเจ้าท่าได้จัดทำเป็นพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเมื่อ 6 สิงหาคม 2522
Load Lines อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยแนวน้ำบรรทุก ค.ศ. 1966 (International Convention on Load Line 1966, LL 1966) สาระสำคัญ อนุสัญญานี้มีประเด็นที่สำคัญได้แก่กำหนดวิธีการคำนวณระยะกราบพ้นน้ำ (Freeboard) โดยคำนึงถึงการแบ่งช่องระวางเรือ ความสามารถในการทรงตัวเมื่อเรือเกิดเสียหาย เรือแต่ละลำจะมีเส้นแนวน้ำบรรทุกหลายเส้นสำหรับการเดินเรือในภูมิภาคต่างๆ และฤดูกาลต่างๆกัน
Load Lines สถานะ อนุสัญญานี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 21 กรกฎาคม 2511 กรมเจ้าท่าได้จัดทำข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือฉบับที่ 20 พ.ศ. 2535 เพื่อรองรับอนุสัญญา และประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2536 สำหรับพิธีสาร 1988 ซึ่งเป็นการปรับปรุงข้อกำหนดในการตรวจเรือและการออกใบรับรองให้สอดคล้องกับอนุสัญญา SOLAS 1974 และ MARPOL 73/78 นั้นขณะนี้ยังไม่มีผลบังคับใช้
Load Lines
Load Lines
Torrey Canyon Disaster MARPOL Torrey Canyon Disaster Exxon Valdez Disaster
MARPOL อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ. 1973 และพิธีสาร 1978(International Convention for Prevention of Pollution from Ships 1973 as modified by the Protocol of 1978, MARPOL 73/78) สาระสำคัญ กำหนดข้อจำกัดทางเทคนิคในการทิ้งสารที่เป็นมลพิษลงสู่ทะเล อาทิเช่น น้ำมัน สารเหลวมีพิษ สารอันตรายที่บรรจุหีบห่อ (Packaged) สิ่งปฏิกูลจากเรือทุกประเภทที่ไม่ได้กำหนดไว้ในอนุสัญญา London Dumping Convention (LC 1972) และไม่รวมมลพิษที่เกิดจากการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรบนพื้นผิวใต้ทะเล
MARPOL ผนวกของอนุสัญญา Annex I น้ำมัน Annex II สารเหลวมีพิษ Annex III สินค้าอันตราย Annex IV สิ่งปฏิกูล Annex V ขยะ Annex VI มลพิษทางอากาศ
MARPOL สถานะ อนุสัญญานี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 2 ตุลาคม 2526 แต่ละ Annex มีผลบังคับใช้ไม่พร้อมกัน Annex I มีผลบังคับใช้ 2 ตุลาคม 2526 Annex II มีผลบังคับใช้ 6 เมษายน 2530 Annex III มีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2535 Annex IV มีผลบังคับใช้ 27 กันยายน 2546 Annex V มีผลบังคับใช้ 31 ตุลาคม 2531 Annex VI มีผลบังคับใช้ 19 พฤษภาคม 2548
MARPOL ข้อกำหนด การกั้นตัวเรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการรั่วไหล เกณฑ์ในการทิ้งของสู่ทะเล อุปกรณ์ในการควบคุมการทิ้งน้ำปนเปื้อน อุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย การจัดเก็บขยะ คุณลักษณะเฉพาะของน้ำมันเชื้อเพลิง และเครื่องจักรใหญ่
STCW อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และการฝีกอบรม ค.ศ. 1978 (International Convention on Standards of Training, Certification and Watchkeeping 1978, STCW 78) สาระสำคัญ อนุสัญญานี้กำหนดให้รัฐภาคีอนุสัญญาดำเนินการสอบ ตรวจสอบคุณสมบัติ และประสบการณ์ ตลอดจนออกประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถให้แก่คนประจำเรือ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในภาคผนวกของอนุสัญญา ภาคผนวกของอนุสัญญา ประกาศนียจะจำแนกเป็นประเภทต่างๆเหมือนกันทุกประเทศ
STCW สถานะ อนุสัญญานี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 28 เมษายน 2527 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเมื่อ 19 กันยายน 2540 1995 Amendment มีผลบังคับใช้ 1 กุมภาพันธ์ 2540 1 สิงหาคม 2542 : การฝึกอบรมทั้งหมดต้องเป็นไปตาม STCW 95 1 กุมภาพันธ์ 2545 : ประกาศนียบัตรต้องออกตาม STCW 95
STCW 2010 The Manila amendments to the STCW Convention and Code การประชุมทางการทูตจัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้ส่งออกคนประจำเรือรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2553 เป็นการแก้ไขครั้งใหญ่ของอนุสัญญา หลังจาก STCW 95 การแก้ไขจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2555 โดยกระบวนการ tacit acceptance
STCW 2010 ข้อกำหนดสำคัญที่มีการแก้ไข เช่น ชั่วโมงการทำงานและการพักผ่อน และข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับ การป้องกันการใช้ยาเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้อกำหนดใหม่สำหรับการออกประกาศนียบัตร Able Seafarer และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบระบบไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์ การปรับปรุงข้อกำหนดมาตรฐานผู้ปฏิบัติในเรือบรรทุกของเหลวในระวาง และข้อกำหนดใหม่สำหรับผู้ปฏิบัติงานในเรือบรรทุกก๊าซ ข้อกำหนดใหม่สำหรับการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยบนเรือ และการฝึกอบรมการรับมือกับสถานการณ์ถูกจู่โจมโดยโจรสลัด ข้อแนะนำการฝึกอบรมที่ทันสมัย รวมทั้งการศึกษาทางไกล การปรับปรุงมาตรฐานสุขภาพคนประจำเรือ
MLC Maritime Labour Convention 2006, MLC 2006 อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล คศ. 2006 บังคับใช้ประมาณ 2555 เป็นขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization, ILO) รัฐคู่สัญญาสามารถบังคับเรือของรัฐที่ไม่ได้เป็นภาคี
MLC ข้อกำหนดหลักของ MLC 2006 มาตรา IV คนประจำเรือทุกคนมีสิทธิในสถานที่ทำงานที่มั่นคงและปลอดภัย ซึ่งเป็นไป ตามมาตรฐานความปลอดภัย คนประจำเรือทุกคนมีสิทธิในเงื่อนไขการจ้างงานที่เป็นธรรม คนประจำเรือทุกคนมีสิทธิในสภาพความเป็นอยู่และการทำงานที่มีคุณค่าบนเรือที่ออกเดินทะเล คนประจำเรือทุกคนมีสิทธิได้รับการคุ้มครองสุขภาพ การรักษาพยาบาล มาตรการสวัสดิการ และรูปแบบอื่นๆ ของการคุ้มครองทางสังคม
MLC Standards 1. อายุขั้นต่ำ 2. ใบรับรองแพทย์ ห้ามให้บุคคลอายุต่ำกว่า 16 ปี ทำงานบนเรือ ห้ามคนประจำเรืออายุต่ำกว่า 18 ปีทำงานในเวลากลางคืน ยกเว้นงานบางหน้าที่ และการฝึกอบรมตามที่รัฐนั้นกำหนด ห้ามให้คนประจำเรืออายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือความปลอดภัย 2. ใบรับรองแพทย์ คนประจำเรือต้องมีใบรับรองแพทย์ก่อนเริ่มทำงานบนเรือ ยอมรับใบรับรองแพทย์ตาม อนุสัญญา STCW กรณีเร่งด่วนสามารถอนุญาตให้ทำงานบนเรือได้ โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องมีใบรับรองที่เพิ่งหมดอายุ และการทำงานนั้นไม่เกินระยะเวลา 3 เดือน
MLC Standards 3. คุณสมบัติของคนประจำเรือ 4. ข้อตกลงการจ้างแรงงาน ห้ามมิให้ผู้ที่มิได้รับการอบรม หรือได้รับการรับรองว่ามีความสามารถหรือมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่ และด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลบนเรือที่ออกทะเล ทำงานบนเรือ 4. ข้อตกลงการจ้างแรงงาน ให้จัดเตรียมข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้โดยง่าย จัดทำข้อตกลงเป็นภาษาอังกฤษ อนุสัญญากำหนดรายละเอียดของข้อตกลง 12 รายการ ให้กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำในการบอกกล่าวล่วงหน้าในการบอกเลิกสัญญา ไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยต้องคำนึงถึงความจำเป็นของคนประจำเรือ
MLC Standards 5. การใช้หน่วยบริการคัดเลือกบรรจุคน 6. ชั่วโมงการทำงานหรือการพัก เพื่อให้มั่นใจได้ว่า คนประจำเรือมีชั่วโมงการทำงานและชั่วโมงการพักผ่อนตามข้อบังคับ มาตรฐานชั่วโมงการทำงานปกติของคนประจำเรือ คือทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน มีวันหยุด 1 วันต่อสัปดาห์ ได้หยุดพักในวันหยุดราชการ 7. ระดับการจัดอัตรากำลังสำหรับเรือ STCW and SOLAS
MLC Standards 8. ที่พักอาศัย 9. สิ่งสันทนาการบนเรือ ใช้กับเรือที่ต่อขึ้น (วางกระดูกงู) ภายหลังวันที่อนุสัญญานี้มีผลใช้บังคับกับประเทศสมาชิกเกี่ยวข้อง กำหนดด้านที่พักอาศัย การระบายอากาศ ความร้อน แสงสว่าง ห้องรับประทานอาหาร สุขภัณฑ์ ห้องรักษาพยาบาล การซักรีดเสื้อผ้า และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ 10. อาหารและการจัดหาอาหาร มีการบริการอาหารและน้ำดื่มที่มีคุณภาพ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ระหว่างช่วงที่มีการจ้างงาน) คนครัวบนเรือซึ่งรับผิดชอบในการจัดเตรียมอาหารต้องผ่านการฝึกอบรม และมีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่ง
MLC Standards 11. ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย และการป้องกันอุบัติเหตุ 12. การรักษาพยาบาลบนเรือ คนประจำเรือบนเรือต้องได้รับการรักษาพยาบาลบนเรือโดยทันที อย่างเพียงพอ โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย มีสิทธิพบแพทย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยเร็ว ณ ท่าเรือที่เรือจอดแวะ การมีแบบฟอร์มการรายงานทางการแพทย์เพื่อความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูล 13. วิธีปฏิบัติในการร้องเรียนบนเรือ
MLC Standards 14. การจ่ายค่าจ้าง รอบเวลาจ่ายค่าตอบแทนไม่เกิน 1 เดือน ต้องจัดทำบัญชีรายเดือนให้กับคนประจำเรือ ต้องจัดให้คนประจำเรือสามารถโอนเงิน กำหนดเรื่อง ค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุดไว้เป็นพิเศษ กำหนดเรื่องชั่วโมงการทำงานปกติ การจัดทำบันทึกการทำงานล่วงเวลา ฯลฯ