สถานที่ท่องเที่ยว 10 อันดับ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ท่องเที่ยวจจังหวัดสุพรรณบุรี
Advertisements

ไหว้พระเก้าวัด โดย นางวัฒนา ศรีประเสริฐ อาจารย์ 2 ระดับ 7.
ตำนานเมืองฟ้าแดด เนื้อเรื่อง
เทศกาลลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หรืออยู่ในราวเดือนพฤศจิกายนค่ะ ถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่มีตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเชียวนะคะ.
โดย นายสุนทร พุกสุข สพป ปทุมธานี เขต 1
สื่อประกอบการเรียนรู้
ชวนไปทัศนา “ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน”
เรียบเรียงโดย อ.พลอยชนก ปทุมานนท์
วัดพระแก้ว.
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว
พระบรมมหาราชวัง Grand Palace.
จิตรกรรม จิตรกรรมสมัยสุโขทัย ส่วนใหญ่เล่าเรื่องทางศาสนาเป็นลักษณะการเขียนภาพแบบอุดมคติ เช่น ภาพอดีตพุทธเจ้า ประทับยืนเรียงรายเป็นแถว แต่ละองค์คั่นสลับด้วยภาพบุคคลชั้นสูงประทับอัญชลี
ประติมากรรม พระพุทธรูป พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย อาจแบ่งออกได้เป็น
ตำแหน่งที่ตั้งของบ้านเมืองฟูนัน
พุทธประวัติ.
โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม
พัฒนาการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
นางสาว โศจิรัตน์ หลงอุย เลขประจำตัว คณะศึกษาศาสตร์
นางสาวสุกัญญา จันทร์ทอง (ฝน) คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิทยาการสิ่งทอ
แนะนำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่สำคัญ ของกรุงรัตนโกสินทร์
ศาสนา.
กำหนดการพิธีเททองหล่อ ครบรอบวันสถาปนากรมปศุสัตว์ ๗๒ ปี
จังหวัดสุพรรณบุรี โดย เด็กชายอธิภัทร แป้นทิม ชั้นป4/3 เลขที่10
โดย เด็กชายชนสิษฏ์ วุฒิรักษ์ชัยนันท์ ป.4/3 เลขที่7
84 พรรษา องมหาชัน.
แหล่งท่องเที่ยวในสุพรรณบุรี
คำนำ งานนำเสนอเรื่องใช้ประกอบการเรียนการสอน รายวิชา ง20210เทคโนโลยีสารสนเทศ 3 โปรแกรม PowerPoint 2007 เพื่อศึกษาในเรื่อง เขาวัง(พระนครคีรี) ผู้จัดหวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ศึกษาหากมีข้อผิดพลาประการใดผู้จัดทำขออภัยมา.
The designs inspired by Phra Maha Chedi of King Rama I-IV at Wat Phra Chetuphon Vimolmangklararm Rajwaramahaviharn Mr. Taechit Cheuypoung.
จังหวัดราชบุรี จัดทำโดย
ประเพณีชักพระ.
จังหวัดพะเยา นางสาววชิรา สร้อยสน รหัสนิสิต คณะสาธารณสุขศาสตร์
อำเภอพนัสนิคม โดย นางสาวสิราวรรณ พรงาม.
จังหวัดปราจีนบุรี คำขวัญประจำจังหวัด
สถานที่ท่องเที่ยว ติดบางแสนของจังหวัดชลบุรี
บ้านของฉัน “สุพรรณบุรี”
สถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดนครนายก.
นครชุมเมืองเก่า โดย พลอยกนก เวชเจริญ.
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี
สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่
สถานที่ท่องเที่ยวอยุธยา
สถานที่ท้องเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา
สถานที่ท่องเที่ยวอยุธยา
WELCOME To ANGTHONG.
นางสาวชุธิดา สุขสวัสดิ์ รหัสนิสิต คณะวิทยาศาสตร์ < วาริชศาสตร์ >
วัดมโนภิรมย์ จังหวัด มุกดาหาร.
แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดสกลนคร
รวบรวมข้อมูลมาจาก วิกิพีเดีย
วิธีการศึกษา ประวัติศาสตร์.
ประวัติสุนทรภู่ ตระกูล วัยเยาว์ ออกบวช (ช่วงตกยาก) วิกิพีเดีย.
ประวัติ พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของ เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า " บางกอก " มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสำคัญ.
จดหมายเหตุของภิกษุจีนชื่อ เหี้ยนจั๋ง หรือ พระถังซัมจั๋ง (Hieun Tsing) ซึ่งเดินทางจากเมืองจีนไปประเทศอินเดียทางบก ราว พ.ศ – 1188  และพระภิกษุจีนชื่อ.
จัดทำโดย: น.ส.กนกวรรณ มาลา
ทัศนะศึกษา วัดอรุณราชวราราม.
ข. ประเภทตำนาน-พงศาวดารท้องถิ่น
สถานที่ที่สำคัญในอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา.
วิหารลักซอร์ สร้างโดยฟาโรห์ อเมโนฟิส ที่ 3 พระองค์ทรงสร้างวิหารแห่งนี้พร้อมกับการ บูรณะต่อเติมวิหารคาร์นักไปด้วย หากนับวิหาร ถึงปัจจุบันจะมีอายุรวม.
บทที่11 สถานที่ท่องเที่ยวอันลือชื่อของไทย
กรุงธนบุรีเกิดความไม่สงบ
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย
สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดลำพูน จัดทำโดย ด.ญ.ธวัลรัตน์ ศรีวรรณา ชั้น ม.1/4 เลขที่ 17 เสนอ คุณครูอรอุมา พงค์ธัญญะดิลก โรงเรียน จักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน.
อุโบสถวัดราช บูรณะ ลักษณะ อุโบสถเป็นอาคารก่อ อิฐถือปูน ด้านหน้ามีทางเข้า ๒ ทาง มีประตู ๒ คู่ มีหน้าต่างด้านละ ๔ คู่ รวมเป็น ๘ คู่ พื้นภายในพระอุโบสถยกระดับสูง.
สถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยา
LAO Best Asian Lao Rapper from Texas- Kay feat. Tony Vee-Struggle
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส 41102
พระบรมมหาราชวัง.
กระเบื้องดินเผา กระเบื้องดินเผาค้นพบที่แรกในพิษณุโลกคือที่ใด?
พ่อขุนรามคำแหง จัดทำโดย นาย เจษฎากร ลิมปนุสรณ์ นาย เชิงชาย ตะโฉ
ด.ช. ภาคภูมิ ณ วรรณา ม.2/6 เลขที่ 45.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สถานที่ท่องเที่ยว 10 อันดับ จัดทำโดย ด.ช.พีรวัส เกิดสมนึก เสนอ อ.ฐิตาพร ดวงเกตุ

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสามพระยา สถานที่น่าสนใจในพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ พระพุทธรูประทับนั่งห้อยพระบาท      เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีที่เคยประดิษฐานในซุ้มพระสถูป โบราณวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐมซึ่งกรมศิลปากร ได้พยายามติดตาม ชิ้นส่วนต่าง ๆ ขององค์พระที่กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่างๆ มาประกอบขึ้นเป็นองค์ได้อย่างสมบูรณ์ นับเป็นพระพุทธรูปที่มีค่ามากองค์หนึ่งเพราะในโลกมีเพียง 6 องค์เท่านั้น เศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยอู่ทอง      มีขนาดใหญ่มาก ได้จากวัดธรรมมิกราช แสดงถึงความเก่าแก่ ของวัด และฝีมือการหล่อวัตถุ ขนาดใหญ่ในสมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุที่ขุดพบอีกมากมายโดยเฉพาะที่ได้จากกรุวัดราชบูรณะรวบรวมไว้ในห้องมหรรฆภัณฑ์ มีเครื่องราชูปโภคทองคำทองกรพาหุรัตน์ ทับทรวง เครื่องประดับเศียรสำหรับชายและหญิง พระแสงดาบฝักทองคำประดับพลอยสีต่างๆ เป็นต้น แสดงความรุ่งเรืองของ กรุงศรีอยุธยาในอดีตไว้อย่างน่าชมน่าศึกษามาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาเปิดทำการตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. วันพุธ-วันอาทิตย์ ปิดวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าธรรมเนียมการเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร. (035) 241587 เรือนไทยโบราณ      ภายในเรือนไทย จะแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และของใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันในสมัยก่อน เช่น ห้องครัว ห้องนอน ระเบียงนั่งเล่น ฯลฯ

วัดพระมงคลบพิตร                                                                                      ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปคุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตรจะอยู่ถัดไปไม่ไกลนัก พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นระหว่างปี พ.ศ. 1991–2145 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯให้ย้ายจากทิศตะวันออกนอกพระราชวังมาไว้ทางด้านทิศตะวันตกที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันและโปรดเกล้าฯให้ก่อมณฑปสวมไว้      ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 อสุนีบาตตกลงมาต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตรเกิดไฟไหม้ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมแซมใหม่ แปลงหลังคายอดมณฑปเป็นมหาวิหารและต่อพระเศียรพระมงคลบพิตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. 2285–2286) ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 วิหารพระมงคลบพิตรถูกข้าศึกเผาเครื่องบนโทรมลงมาต้องพระเมาฬีและพระกรขวาของพระมงคลบพิตรหัก รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้การปฏิสังขรณ์ใหม่ สำหรับบริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเช่นเดียวกับท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ

หมู่บ้านญี่ปุ่น      หมู่บ้านญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน สามารถเดินทางจากวัดพนัญเชิงไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นอาคารผนวกหมู่บ้านญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางด้านขวามือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีชาวต่างประเทศเข้ามา ค้าขายเป็นจำนวนมาก ญี่ปุ่นเป็นชนชาติหนึ่งที่เดินทางเข้ามาในสมัยนั้น      เมื่อทางการญี่ปุ่นอนุญาตให้ชาว ญี่ปุ่นค้าขายกับชาวต่างชาติได้โดยให้มีหัวหน้าปกครองในกลุ่มตน นับแต่นั้นมาชาวญี่ปุ่นก็เข้ามาอาศัยในกรุงศรีอยุธยามากขึ้น หัวหน้าชาวญี่ปุ่นในขณะนั้นคือ นากามาซา ยามาดาเป็นผู้มีอำนาจและเป็นที่โปรด ปรานของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนได้รับแต่งตั้งเป็นออกญาเสนาภิมุขรับราชการต่อมาจนได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจนสิ้นชีวิต       ปัจจุบันสมาคมไทย-ญี่ปุ่นได้จารึกเรื่องราวประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านญี่ปุ่นในสมัยกรุงศรี อยุธยามาจัดแสดงไว้ภายในหมู่บ้านญี่ปุ่น และปรับปรุงบริเวณหมู่บ้านให้เป็นอาคารผนวกของศูนย์ศึกษา ประวัติศาสตร์อยุธยา รวมทั้งจัดแสดงเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง    อยุธยากับต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ ความรู้แก่บุคคลทั่วไป 

วัดไชยวัฒนาราม     สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๗๓ โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือกรุงละแวก(พนมเปญ) โดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด สถาปัตยกรรม ฐานภายใน      วัดไชยวัฒนาราม มีปรางค์ประธานและปรางค์มุมอยู่บนฐานเดียวกัน พระปรางค์ประธานนำรูปแบบของพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้าง แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคยประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็ก สื่อถึงพระเจดีย์จุฬามณีบนยอดเขาพระสุเมรุ รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมีหลังคา ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่เคยลงรักปิดทองจำนวน ๑๒๐ องค์ เป็นเสมือนกำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์ ตามแนวระเบียงคตตรงทิศทั้งแปดสร้างเมรุทิศ และ เมรุมุม(เจดีย์รอบๆพระปรางค์ใหญ่) ภายในเมรุทุกองค์ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทอง ฝ่าเพดานทำด้วยไม้ประดับลวดลายลงรักปิดทองเช่นกัน เมรุทิศเมรุราย      เมรุทิศเมรุราย ตั้งล้อมรอบพระปรางค์อยู่ทั้งสิ้น ๘ หลัง โดยผนังภายในเมรุเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปใบไม้ใบกนก ซึ่งลบเลือนไปมากแล้ว ผนังด้านนอกของเมรุมีภาพปูนปั้นพุทธประวัติ จำนวน ๑๒ ภาพ ซึ่งในปัจจุบันเลือนไปแล้วเช่นกัน แต่เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วยังสามารถเห็นได้ชัด เมรุทิศ (ซ้าย) ปรางค์มุม (ขวา)      เมรุเป็นทรงปราสาท ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๗ ชั้น รองรับส่วนยอดที่ ชื่อที่มานั้นนำมาจากเมรุ พระบรมศพพระมหากษัตริย์สมัยพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแนวความคิด มาจากคติเขาพระสุเมรุอีกต่อหนึ่ง      พระอุโบสถ สร้างอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย นอกระเบียงคต ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ข้างๆมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง มีกำแพงล้อมรอบโบราณสถานสำคัญแหล่านี้ถึง ๓ ชั้น และ มีปรางค์เจดีย์ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างเพื่อในภายหลัง      วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ้นพระชนม์ก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดนี้      ก่อนกรุงแตก พ.ศ. ๒๓๑๐ วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก และเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา วัดไชยวัฒนารามจึงได้ถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง ผู้ร้ายเข้าไปลักลอบขุดหาสมบัติ เศียรพระพุทธรูปถูกตัดขโมย มีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ และกำแพงวัดไปขาย แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาอนุรักษ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๕

วังจันทรเกษม      โบราณสถานโบราณวัตถุที่น่าสนใจในพระราชวังจันทรเกษม มีดังนี้ กำแพงและประตูวัง  เป็นสิ่งที่สร้างใหม่ในรัชกาลที่ 4 ของเดิมมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าที่เห็นในปัจจุบัน เพราะขุดพบรากฐานของพระที่นั่งนอกกำแพงวัดด้านใน และพบซากอิฐ ในบริเวณเรือนจำหลายแห่ง พลับพลาจตุรมุข  เป็นพลับพลาเครื่องไม้ ตั้งอยู่บนศาลาใกล้ประตูวังด้านทิศตะวันออก เดิมเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เวลาเสด็จประพาส ปัจจุบันจัดแสดงเครื่องชามลายครามของจีน อาวุธสมัยโบราณ และเครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   พระที่นั่งพิสัยศัลยลักษณ์ (หอส่องกล้อง)  เป็นหอสูงสี่ชั้นอยู่ที่ริมพระราชวังด้านทิศตะวันตก สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หักพังลงมาเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 หอที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตามรากฐานเดิม ทรงใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดาว พระที่นั่งพิมานรัตยา  เป็นตึกหมู่อยู่กลางพระราชวัง เคยเป็นที่ตั้งศาลากลางมณฑลและจังหวัดมาหลายปี ปัจจุบันแสดงพระพุทธรูป เทวรูป พระพิมพ์สมัยต่างๆ และเครื่องไม้จำหลักสมัยอยุธยา

วัดประดู่ทรงธรรม       ตั้งอยู่ในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง บริเวณกลุ่มวัดในเขต อโยธยา เดินทางโดยรถยนต์ตามเส้นทางถนนจากวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้มไปทางทิศเหนือผ่านวัดกุฏีดาว และวัดจักรวรรดิ เลี้ยวทางซ้ายมือแรก เข้าไปประมาณ 300 เมตร ตัววัดอยู่ทางขวามือ      เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้าง เพียงถูกกล่าวในพงศาวดารปี 2163 ความว่าในคราวที่พระภิกษุสงฆ์ของวัดประดู่แปดรูป ได้ช่วยเหลือพระเจ้าทรงธรรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาหลบหนีจากการก่อกบฏของพวกญี่ปุ่นที่หมายปลงพระชนม์ชีพ ครั้งฝ่ายมหาอำมาตย์พอคุมพลได้ก็ไล่รบญี่ปุ่นล้มตายและแตกไปจากพระราชวัง ต่อมาพระมหาอำมาตย์มีความชอบดังนี้จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ (ต่อมาได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าปราสาททอง)      นอกจากนี้ยังมี การกล่าวถึงในคราวที่พระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร หรือที่เรียกกันว่า "ขุนหลวงหาวัด" ทรงผนวชและพำนักที่วัดประดู่ทรงธรรมนี้เป็นวันสุดท้าย ก่อนถูกกวาดต้อนไปอังวะภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310       จากผลสงครามได้ส่งผลให้วัดประดู่เป็นวัดร้างจนกระทั่งหลวงพ่อรอดเสือได้มาปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพเป็นวัดและมีพระสงฆ์จำพรรษาเจริญมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน      สถานที่สำคัญภายในวัด คือพระอุโบสถสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีการบูรณะใหม่ในราวสมัยรัชกาลที่ 4 (จากคำบอกเล่าของพระภิกษุท่านหนึ่งของวัด) มีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวทศชาติชาดกพุทธประวัติภาพขบวนเสด็จทางสถลมารควิถีชีวิตและการละเล่นของคนไทยในสมัยก่อน       ปัจจุบันวัดประดู่ทรงธรรมเป็นแหล่งศิลปศาสตร์พุทธศาสตร์หลายแขนง โดยเฉพาะมนต์คาถาการตีเหล็กของหลวงพ่อเลื่องและหลวงพ่อรอดเสือพระเถระเจ้าอาวาส ในสมัยก่อน นอกจากนี้ภายในวัดประดู่ฯ ยังมีพันธุ์ไม้โบราณขนาดใหญ่นานาชนิดขึ้นอยู่รอบวัดพาให้ร่มรื่นแก่ผู้มาเยือน

เจดีย์พระศรีสุริโยทัย      เจดีย์พระศรีสุริโยทัยอยู่ในเกาะเมืองด้านทิศตะวันตก ติดกับสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 3 ถนนอู่ทอง พระเจดีย์แห่งนี้เป็นโบราณสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอนุสรณ์สถานของวีรสตรีไทยพระองค์แรก สมเด็จพระสุริโยทัยซึ่งสิ้นพระชนม์ในการทำสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าแปรและเป็นการยืนยันเกียรติแห่งสตรีไทยที่ได้รับการยกย่องจากสังคมไทยมาแต่ครั้งบรรพกาล ปี พ.ศ. 2091 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชสมบัติมีสมเด็จพระสุริโยทัยเป็นพระมเหสี หลังจากครองราชย์ได้ 7 เดือน พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และบุเรงนองยกทัพเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาโดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงช้างออกไปพร้อมกับพระราชโอรส สมเด็จพระสุริโยทัยทรงเป็นห่วงพระราชสวามีจึงได้ทรงเครื่องแบบอย่างนักรบชายประทับช้างตามเสด็จออกไป กองทัพกรุงศรีอยุธยาปะทะกับทัพหน้าของกรุงหงสาวดีซึ่งมีพระเจ้าแปรเป็นแม่ทัพ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงไสช้างเข้าชนกับช้างของพระเจ้าแปรและบังเอิญช้างทรงเกิดเพลี่ยงพล้ำ สมเด็จพระสุริโยทัยจึงไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง       เมื่อสงครามยุติลงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาวัดที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัดสวนหลวงสบสวรรค์ (เดิมชื่อ วัดสบสวรรค์) ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสอบสวนหาตำแหน่งสถานที่ต่างๆ ที่กล่าวถึงในพระราชพงศาวดารเพื่อเรียบเรียงเป็นหนังสือประชุมพงศาวดารขึ้นทูลเกล้าฯถวาย จึงเป็นเหตุให้ทราบตำแหน่งของวัดสบสวรรค์ ซึ่งยังคงพบเจดีย์แบบย่อไม้สิบสองสูงใหญ่ปรากฏตามที่ตั้งในปัจจุบันนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงขนานนามเรียกชื่อเจดีย์ว่า "เจดีย์พระศรีสุริโยทัย"      ในปี พ.ศ. 2533 รัฐบาลได้มอบให้กรมศิลปากรและกรป.กลาง ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมเสริมรูปทรงพระเจดีย์ที่ชำรุดให้อยู่ในสภาพเดิมและจากการบูรณะ ศิลปากรได้พบวัตถุโบราณ เช่น พระพุทธรูปผลึกแก้วสีขาวปางมารวิชัย พระเจดีย์จำลอง ผอบทองคำบรรจุพระธาตุ เป็นต้น ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

พระราชานุสาวรีย์สุริโยทัย       เป็นพระอนุสาวรีย์ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสุริโยทัย วีรสตรีไทยสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ มีลักษณะเป็นอนุสรณ์สถาน ประกอบด้วยพระราชานุสาวรีย์ช้างทรงของสมเด็จพระสุริโยทัย มีนักรบจาตุรงคบาทที่มีเค้าโครงหน้าละม้ายนายพลฯในยุคนั้น 2 ท่าน คือ พลเอก วิมล วงศ์วานิช และ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำ พื้นที่จำลองค่ายข้าศึกและกองทัพข้าศึก 4 ทัพ ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของพื้นที่อ่างเก็บน้ำมีเนื้อที่ราว 180 ไร่ จุน้ำราว 1,000,000 ลูกบาศก์เมตร อาคารอเนกประสงค์ และสวนสาธารณะริมอ่างเก็บน้ำ ประวัติ      พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยเป็นโครงการอนุสรณ์สถานที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยในวันที่ 21 มิถุนายน 2531 คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแก่พระองค์ท่าน ที่ทรงเป็นวีรสตรีผู้กล้าหาญในประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จนกระทั่งสมัย พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการ (ชื่อในขณะนั้น) ได้ดำเนินการออกแบบวางผังก่อสร้างเพื่อเสนอต่อ นาย อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีเพื่อขอรับความเห็นชอบ และได้ลงนามเห็นชอบ และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2534 ส่วนองค์พระราชานุสาวรีย์และประติมากรรมภายในพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยนั้น ออกแบบและปั้นรูปโดย คุณไข่มุกด์ ชูโต

วัดใหญ่ชัยมงคล                                                                                      วัดใหญ่ชัยมงคลเดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1900 สำหรับเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัตน์มหาเถรในประเทศลังกา คณะสงฆ์ที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยเรียกนามนิกายในภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว” วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดคณะป่าแก้ว ต่อมาเรียกให้สั้นลงว่า “วัดป่าแก้ว” ต่อมาคนเลื่อมใสบวชเรียนพระสงฆ์นิกายนี้ พระราชาธิบดีจึงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตน์มีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับ      พระพุทธโฆษาจารย์เป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระมีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายซ้าย หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น“วัดเจ้าพระยาไทย” สันนิษฐานว่ามาจากที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสร้างวัดป่าแก้วขึ้น ณ บริเวณที่ซึ่งได้ถวายพระเพลิงพระศพของเจ้าแก้วเจ้าไทยหรืออาจมาจากการที่วัดนี้เป็นที่ประทับของพระสังฆราชฝ่ายขวา ซึ่งในสมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า “เจ้าไทย” ฉะนั้นเจ้าพระยาไทยจึงหมายถึงตำแหน่งพระสังฆราชในปี พ.ศ. 2135 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ การสร้างพระเจดีย์อาจสร้างเสริมพระเจดีย์เดิมที่มีอยู่หรืออาจสร้างใหม่ทั้งองค์ก็ได้ ไม่มีหลักฐานแน่นอน ขนานนามว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ราษฎรเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” ฉะนั้นนานวันเข้าวัดนี้จึงเรียกชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล” วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย และเพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้  นอกจากนี้ยังมี วิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวร เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก ค่าเข้าชม ต่างชาติ คนละ 20 บาท

วัดนิเวศธรรมประวัติ                                                                              วัดนิเวศธรรมประวัติ                                                                                      ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้คนละฝั่งกับพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่ง เมื่อ พ.ศ. 2421 อาคาร และการตกแต่งทำแบบ โกธิค มีกระจกสีประดับ อย่างสวยงาม ภายในเป็นแบบฝรั่ง แม้แต่ฐานที่ประดิษฐาน พระประทาน คือ พระพุทธนฤมลธรรโมภาสและพระสาวกก็ไม่ได้ทำเป็นฐานชุกชีอย่างในโบสถ์ทั่วไป แต่ทำเหมือนที่ตั้งไม้กางเขนในโบสถ์คริสต์ ช่องหน้าต่างที่เจาะไว้ก็เป็นหน้าต่างโค้งที่ฝาผนังโบสถ์ด้านหน้าพระประธานจะเห็นภาพประดิษฐ์กระจกสีเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 5 ด้านขวามือของ พระอุโบสถนั้นมีหอแห่งหนึ่ง คือ หอประดิษฐานพระคันธารราษฎร์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางขอฝนตรงข้ามกับหอพระคันธารราษฎร์เป็นหอประดิษฐานพระ พุทธศิลาเก่าแก่ปางนาคปรกอันเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรีฝีมือช่างขอมอายุเก่าแก่นับพันปี พระนาคปรกนี้อยู่ติดกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ใหญ่ที่แผ่กิ่งไปทั่วบริเวณหน้าพระอุโบสถ ถัดไปอีกไม่ไกลนักเป็นหมู่ศิลาชนิดต่างๆ ที่มีในประเทศไทย เป็นที่บรรจุอัฐิเจ้าจอมมารดาชุ่ม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และราชสกุลดิศกุล เมื่อเข้าชมพระราชวังบางปะอินแล้ว สามารถข้ามไปชมวัดนิเวศธรรมประวัต ิได้โดยกระเช้าสำหรับส่งผู้โดยสารประมาณครั้งละ 6-8 คน ค่าโดยสารแล้วแต่บริจาค