งานเครื่องล่างรถยนต์ งานบริการดิสเบรก โดย สราวุฒิ คงสุข
ระบบเบรกดิสก์ การใช้เบรกดิสก์จะกำจัดการเบรกไม่อยู่และให้เสถียรภาพการเบรกและความปลอดภัยได้ดี ถึงแม้ที่ความเร็วรถสูง ๆจานเบรกของเบรกดิสก์เป็นรูปจานแบนซึ่งหมุนไปพร้อมกับล้อรถ ทำด้วยเหล็กหล่อผสม การเบรกกระทำโดยการที่ลูกสูบออกแรงดันผ้าเบรกต้านการหมุนของจานเบรกทั้ง 2 ด้าน
หลักการทำงานของดิสก์เบรก ขณะเหยียบเบรก ผ้าเบรกถูกลูกสูบกระบอกเบรกอัดให้บีบจานเบรก วงจรเบรกดิสก์ต้องเพิ่มแรงเหยียบเบรกด้วยหม้อลมเบรก
ข้อดีของเบรกดิสก์ เบรกดิสก์ เนื่องจากเบรกดิสก์ติดตั้งแบบเปิดโล่ง จึงระบายความร้อนได้ดี ไม่มีผลเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความร้อนหรือการสึกหรอของผ้าเบรก โครงสร้างเป็นแบบง่าย สามารถให้การบริการหรือเปลี่ยนผ้าเบรกได้ง่าย สมรรถนะในการเบรกระหว่างข้างซ้ายและข้างขวาจึงไม่แตกต่างกัน
ข้อเสียของเบรกดิสก์ เนื่องจากพื้นผิวหน้าสัมผัสของผ้าเบรกมีน้อย จึงต้องการความดันในการเบรก (แรงเหยียบเบรก) มากกว่า ต้องใช้ผ้าเบรกที่มีความฝืดมากกว่า และทนต่อความร้อนได้ดีกว่า เพราะไม่มีการเพิ่มกำลังในเบรกเอง จึงต้องการความดันน้ำมันเบรกสูงกว่าเบรกดุม เพื่อจะให้มีผลในการเบรกได้ดี จึงต้องใช้แรงเหยียบเบรกมากกว่า หรือต้องใช้หม้อลมเบรกช่วย
ประเภทก้ามปูเบรก ก้ามปูเบรกแบบลอยตัว (แบบกระบอกเบรกเดียว) ก้ามปูเบรกแบบตายตัว ( แบบกระบอกเบรก 2 ชุด)
จานเบรกดิสก์ (Disc) โดยทั่วไปจานเบรกจะทำจากเหล็กหล่อสีเทา มีทั้งแบบมีช่องระบายอากาศและแบบไม่มีช่องระบาย จานเบรกดิสก์
ผ้าเบรกดิสก์ ผ้าเบรกทำจากเส้นใยโลหะและสารเคลือบ (Resin) ประกอบด้วยผงโลหะเล็ก ๆ จึงเรียกว่า แบบกึ่งโลหะเล็ก ๆ จึงเรียกว่า แบบกึ่งโลหะ (Semi-Metallic Disc Pad) ร่องที่อยู่หน้าแผ่นผ้าเบรก เป็นตัวแสดงความหนาของผ้าเบรก (ค่าจำกัดการใช้งาน)