มารยาทในการไหว้ ด.ช.คณิตติณ พ่วงแสง ม.2/6 เลขที่ 2
การประนมมือ (อัญชลี) นิยมใช้แสดงความเคารพพระรัตนตรัย ในเวลาฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ สวดพระอภิธรรม ฟังพระธรรมเทศนา เป็นต้น วิธีการประนมมือ ยกมือทั้งสองขึ้นประกบกัน ตั้ง เป็นกระพุ่มมือ ประนมไว้ระหว่างอก ให้ปลายมือตั้งขึ้น ข้างบนนิ้วมือ ทั้งสองข้าง ทุกนิ้วแนบชิดสนิทกัน อย่าให้เหลื่อมล้ำกัน อย่าให้กางห่างออกจากกัน ข้อศอกทั้งสองแนบชิดชาย โครง (ดังรูป)
การประนมมือนี้เป็นกิริยาอาการที่แสดงความเคารพพระรัตนตรัย จึงนิยมทำด้วยความเรียบร้อยตั้งใจไม่นิยมปล่อยให้นิ้วมืองอหงิก นิยมตั้งกระพุ่มไว้ระหว่างอกเอียงกับลำตัวประมาณ ๔๕ องศา ไม่ยกให้สูงจรดคางหรือจรดปาก ไม่ปล่อยปลายมือให้ตกต่ำลงมาวางอยู่ที่ท้องหรือวางไว้ที่หน้าตักหรือหัวเข่า การไหว้ (นมัสการ) การไหว้พระรัตนตรัย นิยมแสดงความเคารพพระรัตนตรัยด้วยการไหว้เมื่อนั่งเก้าอี้หรือยืนอยู่ มีวิธีการทำดังนี้คือ ๑. ประนมมือไว้ระหว่างอก ๒. ยกมือประนมขึ้นพร้อมกับก้มศรีษะลงเล็กน้อย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก ทำเพียงครั้งเดียว แล้วลดมือลงตามเดิม (ดังรูป)
การไหว้บุคคล การไหว้ซึ่งกันและกันนั้นนิยมปฏิบัติเพื่อความ เหมาะสมแก่ชั้นและวัยของบุคคลนั้น ๆ มี ๓ แบบ คือ ๑. การไหว้บุคคลผู้มีอายุมากกว่า (เป็นผู้ใหญ่มากกว่า) ๒. การไหว้บุคคลผู้มีอายุเสมอกัน ๓. การไหว้บุคคลผู้มีอายุน้อยกว่า ๑. การไหว้บุคคลที่มีอายุมากกว่า สำหรับผู้น้อยปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ โดย ถือหลักมีชาติกำเนิดสูงกว่า มีคุณ ธรรมความดีได้รับยกย่องให้เป็นผู้ ปกครอง บังคับบัญชา และมีอายุ แก่กว่าตน
การไหว้นิยมยกกระพุ่มมือขึ้นไหว้ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้วนิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่บนดั้งจมูกพร้อม กับก้มศรีษะน้อมตัวลงพองาม สายตามองดูท่านด้วยความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตน
๒. การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกัน นิยมยกมือกระพุ่มขึ้นไหว้ ให้ปลายนิ้ชี้อยู่ ที่ดั้งจมูก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ที่คางก้มศรีษะ เล็กน้อยสายตามองกันและกันด้วยความหวังดี ปราถนาดีต่อกัน ๓. การรับไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสน้อยกว่า สำหรับผู้ใหญ่รับไหว้ผู้น้อย นิยมยกกระพุ่ม มือขึ้นประนมอยู่ระหว่างอกหรือที่หน้าให้ปลาย นิ้วชี้อยู่ที่ตั้งจมูกปลายนิ้วอยู่ที่ดั้งจมูกปลายนิ้ว หัวแม่ มืออยู่ที่คางสายตามองดูผู้ไหว้ ด้วย ความปราถนาดี
การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์ การกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุด ต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด ซึ่งก็คือพระนั่นเอง เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า โดย เบญจ ซึ่งแปลว่า ๕ นั้น หมายถึง อวัยวะทั้ง ๕ อันได้แก่ หน้าผาก มือทั้งสอง และเข่าทั้งสอง โดยอวัยวะที่ว่านั้น เวลากราบจะต้องจรดลงให้ติดกับพื้น ซึ่งท่านี้จะปฏิบัติแตกต่างกันใน หญิง และ ชาย
สำหรับชายนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้ ท่าเตรียม ท่าเตรียมของชายนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพบุตร ท่าเทพบุตร นั่ง คุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้า ไม่นั่งบนเท้า แบบนั่งญี่ปุ่นนะครับ มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ส้นเท้าไม่แบะออก จังหวะที่ ๑: อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก จังหวะที่ ๒ : วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง จังหวะที่ ๓ : อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างต่อเข่า ขนานไปกับพื้น หลังไม่โก่ง หรือ ก้นไม่โด่งจนเกินงาม
การไหว้พระ ประนมมือ นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก ชาย ยืนตรง ค้อมตัวลงต่ำ พร้อมกับประนมมือขึ้นไหว้ หญิง ยืนตรง ย่อเข่าลงให้ต่ำ โดยถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับประนมมือขึ้นไหว้
การหมอบกราบ ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลงมาถึงพระ บรมวงศ์ในโอกาสเข้าเผ้าฯ ทั้งชายและหญิง ให้นั่งพับเีพียบเก็บปลายเท้า แล้วหมอบลงให้ศอกทั้งสองข้างถึงพื้น คร่อมเข่าี่ที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประสาน เรียกว่า หมอบเฝ้า เวลากราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือ ถ้าท่านทรงพระราชทานสิ่งของให้ ให้ยกมือขวาขึ้นเอางาน ในลักษณะเดียวกับการรับปริญญาบัตร คือยกมือขวาขึ้น ฝ่ามือตั้งฉากกับพื้น กระดกข้อมือขึ้นเล็กน้อย แล้วตวัดมือมาอยู่ในท่าเตรียมรับสิ่งของ โดยทำมือเป็นอุ้งเล็กน้อย เมื่อรบสิ่งของมาแล้ว ให้ประคองสิ่งของนั้นไว้ แล้วกราบอีกครั้งหนึ่ง แล้วกลับมานั่งในท่าหมอบเฝ้า แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบ หรือคลานถอยหลังออกไปจนพ้นที่ประทับ