เครื่องสำรองไฟฟ้า(UPS)
เครื่องสำรองไฟฟ้า(UPS) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อจ่ายไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ เพื่อให้มีเวลาเพียงพอที่จะสำรองข้อมูล หรือปิด (Shutdown) เครื่องเซอร์เวอร์ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับไฟล์ฐานข้อมูลอันมีค่าได้ในกรณีที่เครื่องดับโดยกะทันหัน
เครื่องสำรองไฟฟ้าประเภทต่างๆ (UPS Technology) Offline (Standby) UPS Technology
ข้อดี - ต้นทุนต่ำราคาถูก - ขนาดเล็ก เสียงเงียบเมื่ออยู่ใน Standby mode - ประสิทธิภาพสูง ข้อเสีย - ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ปลอดภัยจากสภาวะไฟฟ้า Spike, Surgeได้จำกัด - ควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้อุปกรณ์ได้จำกัด จะได้ประมาณ +/- 10~15 % - ไม่สามารถรับแรงดันไฟฟ้าด้านขาเข้าได้กว้าง ปกติจะได้ประมาณ +/- 10~15% - มีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหายไปประมาณ 2 ms ในระหว่างโอนย้ายจากการจ่ายไฟฟ้าปกติไปยังแหล่งจ่ายแบตเตอรี่ - ไม่มีระบบสำรองในกรณีที่ Inverter เสีย หรือ อุปกรณ์กินไฟฟ้ามากกว่าปกติในชั่วขณะ
Line Interactive UPS Technology
ข้อดี - ต้นทุนและราคาต่ำกว่า True Online - ขนาดเล็ก เสียงเงียบเมื่ออยู่ใน Standby mode - ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าจากปัญหาทางไฟฟ้าได้ดีกว่า Offline - ประสิทธิภาพสูง ข้อเสีย - ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ปลอดภัยจากสภาวะไฟฟ้าได้จำกัด - ควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ได้จำกัด จะได้ประมาณ +/- 10 % - มีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหายไปประมาณ 2 ms ในระหว่างโอนย้ายจากการจ่ายไฟฟ้าปกติไปยังแหล่งจ่ายแบตเตอรี่ - ไม่มีระบบสำรองในกรณีที่ Inverter เสีย หรือ อุปกรณ์กินไฟฟ้ามากกว่าปกติในชั่วขณะ
True Online Double Conversion UPS Technology
ข้อดี สามารถปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ในทุกกรณี - มีระบบตรวจสอบตัวเอง และโอนย้ายไฟฟ้าเพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าตรงให้กับอุปกรณ์ด้วย Automatic Bypass Mode ในกรณีที่เครื่องเสีย หรืออุปกรณ์ใช้กำลังไฟฟ้าเกินพิกัดที่กำหนด - รูปคลื่นไฟฟ้าจะไม่ขาดหายไปในระหว่างเกิดไฟฟ้าดับ - สามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม ข้อเสีย - ราคาสูงเมื่อเทียบกับเครื่องประเภทอื่นๆ
N+X Parallel Redundancy UPS Technology
ข้อดี - เป็นระบบการจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบต่อเนื่องที่มีเสถียรภาพสูงที่สุดในขณะนี้ - สามารถปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ในทุกกรณี - มีระบบตรวจสอบตัวเอง และโอนย้ายไฟฟ้าเพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าตรงให้กับอุปกรณ์ในกรณีที่เครื่องเสีย หรืออุปกรณ์ใช้กำลังไฟฟ้าเกินพิกัดที่กำหนด - รูปคลื่นทางไฟฟ้าจะไม่ขาดหายไปในระหว่างเกิดไฟฟ้าดับ (Zero Transfer time DC to AC)
สามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม (220 +/- 1%) - สามารถเพิ่มขนาดกำลังไฟฟ้าเพื่อรองรับกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต - เป็นระบบแบบโมดูลล่า (Modular)โดยสามารถเพิ่มหรือลด เพื่อนำเครื่องสำรองไฟฟ้าออกจากระบบได้ทันที เพื่อการขยายกำลัง หรือซ่อมบำรุง โดยไม่กระทบต่อการจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง ข้อเสีย - ราคาสูงเมื่อเทียบกับเครื่องประเภทอื่นๆ
วิธีการติดตั้ง
การดูแลรักษาเครื่องสำรองไฟ 1 การดูแลรักษาเครื่องสำรองไฟ 1. ดูแลเรื่องความสะอาด โดยใช้ผ้าแห้งทำความสะอาดที่ตัวเครื่อง 2. ดูแลเรื่องการระบายอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม และปราศจากฝุ่นละออง 3. อย่านำเครื่องสำรองไฟไปใช้งานผิดประเภท ไม่ควรนำอุปกรณ์ทำความร้อน หรือที่กินไฟมากๆ มาใช้งานกับ เครื่องสำรองไฟ 4. ใช้งาน เครื่องสำรองไฟและปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆ ที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งาน 5. ในกรณีที่ UPS มีปัญหาขัดข้อง ให้แจ้งทางฝ่ายบริการ อย่าเปิดฝาเครื่อง เพื่อทำการซ่อมเอง ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายกับตัวเองและอาจเกิดความเสียหายกับ เครื่องสำรองไฟได้ 6. ควรทำการทดสอบสภาพแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจในสภาพของ เครื่องสำรองไฟ
น.ส.เบญจมาภรณ์ ทองดอนเหมือน จัดทำโดย น.ส.เบญจมาภรณ์ ทองดอนเหมือน ปวส.2/1 การบัญชี เลขที่ 17