คำสรรพนาม จัดทำโดย ด.ช.ธนวัฒน์ เตชะนิรัติศัย เลขที่ 30 ด.ช.ธนวัฒน์ เตชะนิรัติศัย เลขที่ 30 ด.ช.พิสรัล เลิศปัญญาโรจน์ เลขที่ 48 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/8
คำสรรพนาม คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้เรียกแทน ชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ทั้งที่ มีตัวตนและไม่มีตัวตน หรือ คำที่ใช้เรียกแทนนาม คำสรรพนามแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด คือ ๑) บุรุษสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้ในการสนทนา ดังนี้ สรรพนามบุรุษที่ ๑ เช่น ฉัน ผม ข้า เรา กระผม ฯลฯ สรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เธอ คุณ ท่าน ฯลฯ สรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น เขา มัน หล่อน ท่าน ฯลฯ
๒) นิยมสรรพนาม เป็นสรรพนามชี้เฉพาะ มีคำว่า นี่ นั่น โน่น และคำเหล่านี้ต้องอยู่หน้าประโยค เช่น นี่สมุดของเธอ นั่นสนามเด็กเล่น ๓) ปฤจฉาสรรพนาม เป็นสรรนามที่ใช้ถาม มีคำว่าใคร อะไร ไหน อย่างไร เช่น อะไรตก ไหนปากกาของเธอ ทำไมจึงร้องไห้ ๔) อนิยมสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้บอกความไม่ชี้เฉพาะ คำที่ใช้ได้แก่ คำประเภทเดียวกับปฤจฉาสรรพนาม คือ ใคร อะไร ไหน อย่างไร แต่ไม่เป็นคำถาม เช่น ใครก็อ่านหนังสือ อะไรก็เอาแต่ร้องไห้ ๕) วิภาคสรรพนาม เป็นสรรพนามที่แสดงการแบ่งแยก โดยแบ่งนามนั้น ออกเป็นส่วนๆ มีคำว่าต่าง บ้าง กัน เช่น ทุกคนต่างดีใจ ใครบ้างชอบกุหลาบ ๖
๖) ประพันธสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อม มีคำว่า ที่ ซึ่ง อัน เช่น ฉันชอบสุนัขที่มีลายสีขาวน้ำตาล นักเรียนที่ตั้งใจเรียนควร เอาเยี่ยงอย่าง หน้าที่ของคำสรรพนาม ๑) เป็นประธานของประโยค เช่น ผมกินข้าว เราไปตลาด ๒) เป็นกรรมของประโยค เช่น แม่เรียกฉัน ครูสอนหนู ๓) เป็นส่วนเติมเต็มของประโยค เช่น เด็กคนนี้เหมือนคุณมาก ๔) เป็นคำขยาย เช่น ห้องนอนฉัน เจ้าปุยมันเห่าเสียงดังแต่เช้า ๕) เป็นคำเรียกขาน เช่น คุณลืมประเป๋า เธอจะกลับหรือยัง ๖) ทำหน้าที่เชื่อมประโยค เช่น ฉันรักคนไทยที่รักชาติไทย ดอกไม้ซึ่งอยู่กลางบึงย่อมเย้ายวนใจ
เกมคำถามสรรพนาม
1. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของคำสรรพนาม ก. เป็นประธาน ข. เป็นกรรม ค 1. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของคำสรรพนาม ก. เป็นประธาน ข. เป็นกรรม ค. เป็นส่วนเติมเต็ม ง. บอกลักษณะ ชิด พวก สัณฐาน
2. ข้อใดไม่จัดอยู่ในชนิดของสรรพนาม ก. นิยมสรรพนาม ข. วิสามานยนาม ค 2. ข้อใดไม่จัดอยู่ในชนิดของสรรพนาม ก. นิยมสรรพนาม ข. วิสามานยนาม ค. ปฤจฉาสรรพนาม ง. ประพันธสรรพนาม
3. คำสรรพนามบอกความไม่เจาะจงคือข้อใด ก. นู้น ค. ที่ไหน ข. บ้าง ง. อัน
4. ข้อใดใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 ได้ถูกต้อง ก. ฉันไปเป็นเพื่อนคุณก็ได้ ข 4. ข้อใดใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 ได้ถูกต้อง ก. ฉันไปเป็นเพื่อนคุณก็ได้ ข. วันเพ็ญเธอทำการบ้านหรือยัง ค. คุณพ่อของผมท่านไม่อยู่บ้านครับ ง. ใต้เท้าท่านจะเดินทางวันไหนขอรับ
5. ข้อใดเป็นสรรพนามชี้ระยะ ก. ใครน่ะเห็นแต่ไกล ข. นักเรียนวิ่งเล่นกัน ค. นั่นมาแต่เช้าเชียว ง. กินนี่ให้หมด
6. “ฉันไม่เห็นใครขยันอย่างเธอ” คำที่ขีดเส้นใต้ เป็นคำสรรพนามชนิดใด ก 6.“ฉันไม่เห็นใครขยันอย่างเธอ” คำที่ขีดเส้นใต้ เป็นคำสรรพนามชนิดใด ก. วิภาคสรรพนาม ข. ประพันธสรรพนาม ค. อนิยมสรรพนาม ง. ปฤจฉาสรรพนาม
7. ข้อใดมีสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค ก. ใครแต่งเรื่องรามเกียรติ์ ข 7. ข้อใดมีสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค ก. ใครแต่งเรื่องรามเกียรติ์ ข. น้ำฝนที่รองเอาไว้ใช้ดื่มไม่ได้ ค. เธอทำอะไรอยู่ ง. ข้อสอบวิชานี้ยากจริง ๆ
8. สรรพนามที่ใช้แทนนาม ที่แบ่งเป็นส่วนๆ เรียกว่า อะไร ก 8. สรรพนามที่ใช้แทนนาม ที่แบ่งเป็นส่วนๆ เรียกว่า อะไร ก. ประพันธสรรพนาม ข. นิยมสรรพนาม ค. วิภาคสรรพนาม ง. อนิยมสรรพนาม
9. คำในข้อใดเป็นได้ทั้งสรรพนามบุรุษที่ ๒ และ ๓ ก. ฉัน. ค. ผม ข. คุณ ง 9. คำในข้อใดเป็นได้ทั้งสรรพนามบุรุษที่ ๒ และ ๓ ก. ฉัน ค. ผม ข. คุณ ง. ท่าน
10. สรรพนามในข้อใดทำหน้าที่เป็นกรรม ก 10. สรรพนามในข้อใดทำหน้าที่เป็นกรรม ก. คุณสมศักดิ์เขาไม่ค่อยตรงเวลาเลย ข. คุณย่าท่านไม่ใคร่ได้พักผ่อน ค. พระคุณเจ้าไปไหนมาคะ ง. คุณพ่อตีมันเสียงดังสนั่น
ขอบคุณที่รับชมครับ Thank you
เก่งมากครับ ถูกต้องแล้วครับ☺ ข้อ 1 ข้อ 6 ข้อ 2 ข้อ 7 ข้อ 3 ข้อ 8 ข้อ 4 ข้อ 9 ข้อ 5 ข้อ 10
ผิดครับ ลองใหม่นะครับ ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10