Lecture 14 ประสิทธิภาพของการบริโภคจาก Edgeworth’s Box Diagram มือที่มองไม่เห็นในดุลยภาพทั่วไป ความล้มเหลวของกลไกราคา บทบาทของรัฐบาลในการแก้ไขความล้มเหลว
ประสิทธิภาพในการบริโภค ประสิทธิภาพเกิดขึ้นเมื่อ มีการแลกเปลี่ยนสินค้า ระหว่างผู้บริโภคจนกระทั่ง mrs ของทุกคนเท่ากัน เส้น contract ของ การบริโภค
การผลิตและการบริโภคที่ให้ประโยชน์สูงสุด ต้องผลิตที่จุดใดบนเส้น ppc จัดสรรการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างไร? ประโยชน์สูงสุดของสังคมขึ้นอยู่กับ “ความต้องการ” ของสังคม แนวคิดฟังก์ชันสวัสดิการสังคม เส้นความพอใจเท่ากันของสังคม
เงื่อนไขการผลิตและการบริโภคที่ให้ประโยชน์สูงสุด ถ้ามีการผลิตที่จุด T MRT เท่ากับ 5 MRS สังคมเท่ากับ 2 สังคมพร้อมที่จะสละน้ำประปา 1 หน่วยถ้าได้น้ำแร่ 2 หน่วย แต่สังคม สามารถผลิตน้ำแร่เพิ่มขึ้นถึง 5 หน่วย ประโยชน์ของสังคมเพิ่มขึ้นจากการผลิตน้ำแร่เพิ่มขึ้น ประโยชน์สูงสุดเมื่อ mrs = mrt ผู้บริโภคแต่ละคนแลกเปลี่ยนสินค้ากันจน mrs เท่ากัน
กลไกราคาทำให้สังคมได้ประโยชน์สูงสุด ให้ทุกตลาดมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ตลาดกำหนดราคาสินค้าและปัจจัยการผลิต pr pp pk pl ผู้ผลิตน้ำแร่เลือกส่วนผสมของ K และ L ที่ทำให้ mrtsr= pl/pk ผู้ผลิตน้ำประปาเลือกส่วนผสมของ K และ L ที่ทำให้ mrtsp= pl/pk mrtsr= mrtsp ผู้บริโภคทุกคนได้รับความพอใจสูงสุดเมื่อ mrs = pp/pr mrs ของแต่ละคนจึงเท่ากัน mrt = mcp/mcr ผู้ผลิต r และ p ได้กำไรสูงสุดเมื่อ pr=mcr และ pp=mcp ทำให้ mcp/mcr=pp/pr mrt = mrs ผลงานของ invisible hand กำหนดจุด Z จากกลไกราคา
กฏของวอลราส์(Walras’ Law) ถ้ามี n ตลาดอยู่ในระบบเศรษฐกิจ และตลาดจำนวน n-1 เป็นตลาดที่มีดุลยภาพ ตลาดที่เหลืออีก 1 ตลาดจะมีดุลยภาพโดยอัตโนมัติ สมมติว่ามี 3 ตลาด รายจ่ายเท่ากับรายได้รวมของผู้บริโภค Pa.Da + Pb.Db + Pc.Dc รายได้รวมของผู้ผลิต Pa.Sa + Pb.Sb + Pc.Sc Pa.Da + Pb.Db + Pc.Dc = Pa.Sa + Pb.Sb + Pc.Sc ถ้า a และ b มีดุลยภาพ C จะมีดุลยภาพ
การหาดุลยภาพทั่วไป แบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็นตลาดน้ำประปา ตลาดน้ำแร่ ตลาดแรงงาน และตลาดเครื่องจักร หาดุลยภาพในแต่ละตลาด กำหนดสินค้าอย่างหนึ่งเพื่อเป็นฐานของราคาเปรียบเทียบ เช่น ถ้ากำหนดให้เครื่องจักรเป็นฐานของราคาเปรียบเทียบก็จะกำหนดให้ Pk = 1
บทบาทของตลาดเงินในดุลยภาพทั่วไป การใช้เครื่องจักรหรือสินค้าอื่นเป็นสื่อการแลกเปลี่ยนไม่มีความสะดวกในการซื้อขายสินค้า การใช้เงินเป็นสื่อการแลกเปลี่ยนจะทำให้เกิดความสะดวกในการซื้อขายสินค้า พิจารณาตลาดเงินเหมือนกับตลาดสินค้าอย่างหนึ่ง มีอุปสงค์และอุปทาน มีดุลยภาพเช่นเดียวกับตลาดสินค้า เมื่อตลาดปรับตัวจนอุปสงค์เท่ากับอุปทาน การเพิ่มตลาดเงินในการวิเคราะห์ดุลยภาพทั่วไปไม่ได้เปลี่ยนข้อสรุป ราคาเปรียบเทียบในดุลยภาพยังเหมือนกับกรณีที่ใช้เครื่องจักรหรือสินค้าอื่นเป็นสื่อการแลกเปลี่ยน
การล้มเหลวในระบบตลาด(market failure) ผลกระทบจากภายนอก(externality) พฤติกรรมที่กระทบต่อสวัสดิการของสมาชิกอื่นในสังคม แต่ไม่มีผลกระทบต่อสวัสดิการของผู้กระทำ externality ทำให้กลไกราคาไม่ทำงาน
ตัวอย่างของ externality ผลกระทบจากภายนอกจากผู้ผลิต สังคมเสียประโยชน์ deb
บทบาทของรัฐบาล มาตรการภาษี เก็บภาษีให้เท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้น ภาษีทำให้ mcp เคลื่อนไปเป็น mcs ราคาถูกกำหนดจากกลไกราคาที่ P2 มาตรการควบคุมปริมาณการผลิต ไม่ให้ผลิตเกิน Q2 ให้ผลเหมือนกับมาตรการภาษี แตกต่างกันในระยะยาว ผู้ผลิตมีกำไรจากมาตรการควบคุมปริมาณมากกว่า จำนวนผู้ผลิตจะเพิ่มขึ้นมากกว่า
มาตรการป้องกันมลภาวะ สังคมยังได้รับความเสียหายเท่ากับ zdfv บาทจากการผลิตน้ำตาลในปริมาณ Q2 ตัน ป้องกันความเสียหายตราบใดที่การลดความเสียหาย 1 บาทใช้ต้นทุนน้อยกว่า 1 บาท
มาตรการสะท้อนผลกระทบจากภายนอก(unitization) ให้ externality กระทบต่อผู้ทำ ตัวอย่างการขุดเจาะน้ำมัน ไม่สามารถใช้ได้ในทุกกรณี
ผลกระทบภายนอกจากการบริโภค externality จากการใช้น้ำมัน บทบาทรัฐบาล มาตรการภาษี การควบคุมการบริโภค