แนวทางการปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการให้สิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ หิรัญญา ปะดุกา กลุ่มประกันสุขภาพ สป.
ใครคือผู้มีสิทธิ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 23 มีนาคม 2553 ใครคือผู้มีสิทธิ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 23 มีนาคม 2553 1. กลุ่มที่คณะรัฐมนตรีรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวร ได้แก่ กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 3และ 4 ที่เข้า เมืองโดย ชอบ ได้สิทธิอาศัยถาวร (พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2552) ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.14 กลุ่มที่เลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 5 และ 8 เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิอาศัยถาวร ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.14 *ไม่ต้องมีใบอนุญาตออกนอกพื้นที่
2. กลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอกระบวนการแก้ปัญหา 2.1 กลุ่มที่มีปัญหาการส่งกลับซึ่งได้รับการสำรวจทำทะเบียนประวัติและบัตรสี/บัตรประจำตัวผู้ไม่ใช่สัญชาติไทยเพื่อการควบคุมและอยู่ระหว่างการแก้ปัญหา (1) กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 6 เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราว (ม.12,13,34,35 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2552) และคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ม.17 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522) ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.13 (2) กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 7 เป็นบุตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราวที่เกิดในประเทศไทย (ม.12,13,34,35 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522) และบุตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกิดในประเทศไทย (ม.17 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522) ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร. 13
2.2 กลุ่มที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล เฉพาะกลุ่มต่อไปนี้ (1) กลุ่มนักเรียนในสถานศึกษาที่รับสวัสดิการจากรัฐบาลด้านการศึกษา มีเลขขึ้นต้นด้วย เลข 0 ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร. 38 ก (2) กลุ่มไร้รากเหง้า มีเลขขึ้นต้นใน บัตรประจำตัวบุคคล เลข 0 ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.38 ก (3) กลุ่มคนที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศ มีเลขขึ้นต้นใน บัตรประจำตัวบุคคล เลข 0ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.38ก
เอกสารประกอบในการขอใช้สิทธิจะต้องมีแบบ 89 ด้วย จะต้องเป็นกลุ่มบุคคลที่มีเลขประจำตัวบุคคลดังนี้ O-XXXX-89XXX-XX-X เช่น 0-5709-89090-39-1 เอกสารประกอบในการขอใช้สิทธิจะต้องมีแบบ 89 ด้วย
บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ปี 2555 จังหวัด เลข 3 เลข 4 เลข 5 เลข 8 เลข 6 เลข 7 เลข 0 (89) อื่นๆ ภาพรวม 6,813 36 756 15,342 223,785 67,353 132,313 12,574 3,002
แนวทางการลงทะเบียนและการตรวจสอบสิทธิ ปีงบประมาณ2555 สำหรับผู้ที่มีการขึ้นทะเบียนไว้ในปีงบประมาณ 2554 (ขึ้นทะเบียนถูกต้อง ณ วันที่ 30 กันยายน 2554) ระบบได้ปรับปรุงฐานข้อมูลมาเป็นปีงบประมาณ 2555 (1 ตุลาคม 2554) ทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากต้องการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสามารถส่งเอกสารกลับมาที่ กลุ่มประกันสุขภาพ ทาง Email : hisstate@gmail.com ในกรณีต่อไปนี้ ตาย, ย้ายที่อยู่, ย้ายทะเบียนบ้าน, เปลี่ยนสิทธิ
แนวทางการใช้บริการของกลุ่มเป้าหมาย ใช้บริการ ณ หน่วยบริการที่ลงทะเบียนไว้ (ตามทะเบียนบ้าน) กรณีอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลข้ามเขตภายในจังหวัดหรือข้ามจังหวัด ณ หน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในกรณีข้ามเขตจังหวัดต้องมีใบอนุญาตออกนอกพื้นที่ของกรมการปกครอง (กรณีประสบภัยจากรถสามารถใช้สิทธิต่อเนื่องจากค่าเสียหายเบื้องต้นที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถหรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้จ่าย) ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ทั้ง 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลราชวิถี และ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
ระบบการส่งต่อผู้ป่วย การส่งต่อผู้ป่วย ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนระบบการส่งต่อของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กรณีต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาในเขตกรุงเทพมหานครต้องมีใบส่งตัวจากโรงพยาบาลที่ทำการรักษาขั้นต้น โดยให้ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 3แห่ง ยกเว้นกรณีที่โรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง ไม่สามารถรับการส่งต่อได้ สามารถทำใบส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาลอื่นได้ตามความเหมาะสม (ยกเว้น โรงพยาบาลเอกชน)
การเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ การขอเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์จากกองทุนกลาง ให้เบิกได้ในกรณีต่อไปนี้ 1.บริการผู้ป่วยในทั่วไป (IP Normal) 2.บริการผู้ป่วยในส่งต่อ (IP Refer) 3.บริการผู้ป่วยในที่มีค่าใช้จ่ายสูง (IP HC) 4.บริการผู้ป่วยในกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน (IP AE) ที่มีใบอนุญาตออกนอกพื้นที่ 5.กรณีผู้ป่วยนอกที่มีค่าใช้จ่ายสูง (OP HC) 6.กรณีผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน (OP AE) ที่มีใบอนุญาตออกนอกพื้นที่ 7.กรณีการใช้อวัยวะเทียมหรืออุปกรณ์ในการบำบัดโรค (Instrument: INST) 8.กรณีตรวจวินิจฉัยราคาแพง และการทำหัตถการหัวใจ ของผู้ป่วยนอกที่เป็นบริการ แบบ Ambulatory care กรณีผู้ป่วยโรคไตวาย ผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยวัณโรค และผู้ป่วยต้องใช้ยา จ.2 ให้ส่งเบิกที่ สปสช.