แก่นเรื่อง
แก่นเรื่อง หรือ สารัตถะของเรื่อง ( Theme ) คือ ทัศนะที่ผู้แต่งแสดงให้เห็นถึงธรรมดาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างของมนุษย์ เรียกว่า ชีวทัศน์ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงทัศนะที่ผู้แต่งมองดูความเป็นไปในโลกมนุษย์ หรือที่เรียกว่า โลกทัศน์ แล้วนำมาแสดงในวรรณคดีเพื่อเป็นการสื่อสารให้ผู้อ่านได้ประจักษ์
ในขณะที่ดำเนินเรื่องนั้น สารัตถะของเรื่องก็จะปรากฏ ขึ้นอย่างสม่ำเสมอเพื่อยืนยันว่านั่นคือความมุ่งหมายที่ผู้แต่งมีเจตนาจะเปิดเผยถึงธรรมชาติของลักษณะชีวิตมนุษย์
วรรณคดีบางเรื่องอาจจะไม่มีสารัตถะก็ได้ ถ้าผู้แต่งประสงค์จะให้เป็น ๑ วรรณคดีบางเรื่องอาจจะไม่มีสารัตถะก็ได้ ถ้าผู้แต่งประสงค์จะให้เป็น ๑.เรื่องสนุกขบขัน ๒. เพื่อให้เรื่องตื่นเต้น ๓.น่าสยองขวัญ ๔.หรือเพื่อให้เกิดความปรารถนาใคร่รู้เรื่องต่อไป
แก่นเรื่องโดยทั่วไปมี 4 ประเภทคือ 1.แก่นเรื่องแสดงทัศนะ ส่วนมากแก่นเรื่องแบบนี้จะเสนอหรือแสดงทัศนะของผู้อ่านต่อประเด็นทางสังคม การเมือง ศาสนา หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นแก่นเรื่องแนวเพื่อชีวิต 2.แก่นเรื่องแสดงอารมณ์ เป็นแก่นเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งเน้นแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ที่สะเทือนใจไม่ว่าจะเป็น สุข เศร้า เหงา ทุกข์ โศก พยาบาท ร่าเริง หวาดกลัว ว้าเหว่ ฯลฯ
3.แก่นเรื่องแสดงพฤติกรรม มุ่งที่แสดงพฤติกรรมในบางแงมุมหรือทุกแง่มุมของตัวละครเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของตัวละครอันเป็นผลมาจากทัศนะคติต่อค่านิยมบางอย่างใน สังคม และพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากอารมณ์ของตัวละครเอง 4.แก่นเรื่องแสดงภาพและเหตุการณ์ เป็นแก่นเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งที่จะแสดงสภาพบางอย่างหรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์ในบางช่วงตอนของชีวิตตัวละคร
๑. สารัตถะนั้นมีลักษณะสมจริงต่อสภาพสังคมและของมนุษย์เพียงใด ๑. สารัตถะนั้นมีลักษณะสมจริงต่อสภาพสังคมและของมนุษย์เพียงใด ทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจมนุษย์ และพฤติกรรมของมนุษย์ได้ลึกซึ้งเพียงใด การประเมินสารัตถะของบันเทิงคดี ๒. ผู้แต่งสามารถแสดงลักษณะอัน เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ได้ชัดเจนแจ่มแจ้งหรือคลุมเครือ หรือให้ความเข้าใจยังไม่ชัดเจน ไม่เพียงพอ ๓. สารัตถะนั้นเป็นไปในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมยกระดับจิตใจ หรือตระหนักในอุดมการณ์ของมนุษย์เพียงใด หรือช่วยให้บังเกิดความรู้ ความเข้าใจในชีวิตและโลกเพียงใด
สรุป... โดยสรุปแล้วสารัตถะของบันเทิงคดี ก็คือลักษณะอันเป็นวิสัยธรรมดา ธรรมชาติของโลกและมนุษย์ที่ผู้แต่งมองเห็น และ มุ่งหมายจะแสดงลักษณะนั้นออกมาให้ปรากฏแก่ผู้อ่าน สารัตถะของเรื่องจึงเป็น “ สาร ” ที่ผู้แต่งสื่อมายังผู้อ่าน แสดงให้เข้าใจว่าวิถีทางแห่งโลกเราหรือวิถีทางของมนุษย์เรานี้เป็นเช่นนี้แหละ